ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 60275
ตอบกลับ: 233
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> เหรียญขวัญถุง <<

[คัดลอกลิงก์]
เหรียญขวัญถุง
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ





       เป็นเหรียญที่หลวงปู่ชื่นได้ให้อาจารย์สรายุทธลูกศิษย์ก้นกุฏิ เก็บจากเศษเหรียญที่คนมาทำบุญในวัด โดยผ่านพิธีแลกเงินแล้ว ( จะได้ไม่ผิดศีล ) จากนั้นนำมาอธิฐานจิตอย่างเข้มขลังได้ทั้งหมดจำนวน 200 เหรียญ ตอกด้วยโค๊ตตัวเฑาะ บางเหรียญก็มีรอยจาร

มี 5 แบบคือ

1. เหรียญ 25 สต. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังรวงข้าว จำนวน 40 เหรียญ




2. เหรียญ 50 สต. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังรวงข้าว จำนวน 30 เหรียญ





3. เหรียญ 25 สต. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังตราแผ่นดิน จำนวน 40 เหรียญ




4. เหรียญ50 สต. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังตราแผ่นดิน จำนวน 60 เหรียญ




5. เหรียญ50 สต. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังดอยสุเทพ จำนวน 20 เหรียญ



เหรียญขวัญถุง และ จาตุมหาราชิกา




          เทวดาชั้นนี้ที่หลวงปู่เคยเล่าให้อาจารย์สรายุทธ ฟังว่า พวกกาตุม มาช่วยเสกเหรียญขวัญถุงมากันเยอะแยะมากมาย ครั้งแรกอาจารย์ก็งง ว่าใครหว๋าพวกกาตุม กว่าจะรู้ความจริงต้องสอบถามหลวงปู่ชื่นท่านอยู่นานสองนาน

         กาตุมก็คือเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา หลวงปู่ท่านพูดไม่ค่อยชัดจากจตุ เลยกลายเป็นกาตุม ท่านมาทุกๆพระองค์ เทวดาชั้นนี้ยังไปมาหาสู่โลกมนุษย์ได้ง่าย ผู้มีบุญญาบารมีที่ยังห่วงแผ่นดินสยามอยู่ ส่วนใหญ่แล้วจะมาจุติทำหน้าที่อยู่ชั้นนี้กันมาก ดั่งกรมหลวงชุมพร เป็นต้นครับ

         อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่า เหรียญขวัญถุง หนึ่งเหรียญจะมีเทวดาชั้นกาตุม (จตุมหาราชิกา) มาคุ้มครองดูแล 1 เหรียญต่อ 1 องค์ ถึงว่าทำไมอาจารย์ถึงหวงนักหวงหนา คงเกรงว่าผู้ได้ไปจะไม่เห็นคุณค่า

        เพราะว่าของที่หลวงปู่ท่านสร้างมัน"มีดีอยู่แล้ว"ไม่จำเป็นต้องให้ใครตรวจสอบ เดี๋ยวจะออกทะเลหาทางกลับไม่เจอ

By ศรพระราม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 12:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เกร็ดความรู้ ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับเหรียญขวัญถุง



- การใช้เหรียญในทางที่ถูกที่ควร คือ เจริญสมาธิ และแผ่กระแสจิตด้วยจิตที่ประกอบด้วยพรหมวิหาร มีอุเบกขา เป็นต้น
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมมูล ย่อมสามารถอาราธนาบารมีเเห่งเหรียญเพื่อใช้ทางด้านต่างๆได้ เช่น แผ่กระแสแห่งเหรียญไปยังคนที่เรารักเคารพ หรือมิตรสหาย เพื่อช่วยคำจุนดวงชะตา หรือ แผ่ให้คนที่ผูกพยาบาทเรา หรือคนที่คิดร้ายบ้านเมือง เขาจะพบอุปสรรคตามกรรมที่เขาได้กระทำมา แต่การแผ่ให้กับคนที่คิดร้ายกับเรานั้นทำได้ยากกว่า เพราะจิตเราจะเจือด้วยโทสะได้ง่าย และหากแผ่พลังของเหรียญด้วยจิตที่มีโทสะ ผู้รับจะพบกับความวิบัติบางอย่างในชีวิต แต่นั่นก็เป็นการก่อกรรม และเกิดบาปอกุศล จึงควรแผ่บารมีของเหรียญด้วยจิตที่มีสภาพเหมาะสม หากไม่ถนัดจะแผ่แบบจำเพาะบุคคล ก็ให้แผ่แก่ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน เสมอกันหมด ในฐานะสัตว์โลกผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เมื่อเรามองสัตว์ทั้งหลายด้วยจิตที่เท่าเทียมกันแล้ว ก็จะสามารถแผ่ให้กับคนที่ไม่ชอบได้ การแผ่บารมีของเหรียญนี้ แม้จะฟังดูธรรมดา และมิได้ประกอบกับคาถาใดๆ แต่เป็นวิธีที่ทรงพลานุภาพ ให้ผลเสมือนหนึ่งว่า เรามอบเหรียญนั้นให้เขาแขวนเอง

- เหรียญเงินขวัญถุง ตั้งแต่หลวงปู่ปลุกเสกมา ยังไม่เคยได้แจกใครมาก่อน ก่อนที่อาจารย์สรายุทธจะนำมาแจกให้กับลูกศิษย์ รวมทั้งนำมาประมูลร่วมบุญในงานต่างๆแล้ว ก่อนที่หลวปู่จะละสังขารนั้น ท่านได้มอบเหรียญชุดนี้เอาไว้ ใสถุงเป็นอย่างดี พร้อมทั้งสายสิญที่ปลุกเสกด้วย รวมถึง มวลสารวัตถุมงคล เครื่องใช้ต่างๆ ให้กับอาจารย์สรายุทธแล้ว

- วิชาที่หลวงปุ่ลงเหรียญขวัญถุงนี้นั้น ถือเป็นวิชาเฉพาะที่หาใครยากเทียบ หลวงปู่ไม่ได้ปลุกเสกเหรียญชุดนี้เป็นชุดแรก มีเหรียญขวัญถุงที่หลวงปู่ปลุกเสกก่อนหน้านั้นด้วย แต่เป็นเหรียญที่ลูกศิษยืนมาให้หลวงปู่ปลุกครับ เค้าจะไปเปิดกิจการร้านอาหาร ตั้งแต่เขาได้เหรียญที่หลวงปู่ปลุกเสกไว้ไปกิจการก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ครั้งหนึ่ง มีคณัทัวร์ที่เสร็จสิ้นการปฏบัติธรรม ไปที่ร้านแห่งนี้ ขณะที่กำลังจะจ่ายเงิน หัวหน้าคณะได้เห็นแสงสว่างออกมาจากลิ้นชักเก็บเงินของเจ้าของร้าน ซึ่งเป็นที่เก็บเหรียญขวัญถุงของหลวงปู่ชื่นอยู่นี่เอง

- จำนวนเหรียญที่อาจารย์สรายุทธแจกลูกศิษย์ไปก่อนหน้านี้ พอสมควรแล้ว ตอนนี้เหรียญเหลืออยู่ไม่มาก อาจารย์เลยไม่ได้แจกใครครับ ดังนั้นเมื่อลูกศิษย์รุ่นหลังๆที่อยากได้ ก็ต้องรองานบุญอย่างนี้แหละครับ ราคาจึงไปถึง 5 หลักแล้ว

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-24 12:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถอดรหัสเครื่องหมายตราแผ่นดิน





ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2416 โดยอิงกับหลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า Heraldry (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลคำนี้ลงในหนังสือเรื่อง ฝรั่งศักดินา เอาไว้ว่า “มุทราศาสตร์”) ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม อันมีลักษณะดังต่อไปนี้


    * ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี
    * ทางด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร 7 ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฏลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์ การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินท ราธิราช
    * ใต้ลงมาเป็นรูปโล่แบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยส่วนบนแบ่งเป็น 1 ห้อง ส่วนล่างเป็น 2 ห้อง มีความหมายดังนี้
          o ห้องด้านบนเป็นภาพช้าง 3 เศียร หมายถึง สยามเหนือ, สยามกลาง และสยามใต้ พื้นโล่เป็นสีเหลือง
          o ห้องล่างด้านขวาเป็นภาพช้างเผือก หมายถึงประเทศราชลาวล้านช้าง (กรุงศรีสัตนาคนหุต) พื้นโล่เป็นสีแดง
          o ห้องล่างด้านซ้ายเป็นภาพกริชคดและกริชตรงไขว้กัน หมายถึง หัวเมืองประเทศราชมลายู พื้นโล่เป็นสีชมพู
    * ความหมายโดยรวมของรูปสัญลักษณ์ภายในโล่จึงหมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยามในเวลานั้น
    * ต่อจากฉัตรทางด้านขวาเป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร ส่วนทางด้านซ้ายเป็นภาพราชสีห์ประคอง ฉัตร คชสีห์หมายถึงข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร ส่วนราชสีห์หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน ทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์
    * ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุดล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น

ตราแผ่นดินของสยามซึ่งตีพิมพ์ในเอกสารของทางราชการ (ในภาพ เป็นประกาศนียบัตรกระทรวงธรรมการ ตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ. 2453)

    * ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา หมายถึงการบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ อันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ และบุตรทายาทของผู้ปฏิบัติราชการ โดยพระราชทานสืบสกุลลงไปจนสิ้นสายบุตรชายเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และเพื่อให้ผู้สืบสกุลกระทำความชอบต่อแผ่นดิน และสามัคคีกันรับใช้ชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

* ส่วนล่างสุดของภาพ คือ คาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย เป็นข้อความว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา" แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ" คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นข้อเตือนใจประจำโรงเรียนเตรียมทหารในเวลาต่อมาอีกด้วย
    * เครื่องหมายอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในตรา แต่เห็นได้ไม่สู้ชัดเจนนัก คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ดังบรรยายต่อไปนี้
          o ตรงกลางภาพส่วนบนสุดเป็นภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ
          o บนมุมซ้ายด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้หางจามรี
          o บนมุมขวาด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ และพัดวาลวิชนี
          o ส่วนฉลองพระบาทเชิงงอนแยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ 1 ข้าง
          o เบื้องหลังตราแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน คือ ฉลองพระองค์ครุยทอง
    * องค์พระราชลัญจกรตราแผ่นดินนั้นเป็นตรากลม มีอักษรตามขอบพระราชลัญจกรจารึกไว้ว่า "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม"

อ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0 ... 4%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบคุณครับ ของดีสุดยอดอีกชิ้น
ขอบคุณครับ
โดนเจ้าตัวเล็กยึดไปแล้ว
รอแล้วรออีกก็ยังไม่ได้สักที
เก็บรักษาอย่างดีครับ
อยากฟังเรื่องราวของเหรียญขวัญถุงอีกซักครั้งครับอาจารย์
รอฟังด้วยคนคร้าบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้