ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 10014
ตอบกลับ: 38
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

15 ค่ำ เดือน 11 ???

[คัดลอกลิงก์]



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-10 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วันเทโวโรหณะ หมายถึง


วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญ วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย

กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว ซึ่งคำว่า "เทโว" ย่อมาจาก "เทโวโรหนะ" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลก การตักบาตรเทโวจึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น

ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตนเมื่อถึงวันเทโวโรหณะ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการปฏิบัติตนดังนี้

เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์
หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีบ
ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับและสรรพสัตว์


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-10 08:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์

คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก

ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน

จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า

วันพระเจ้าเปิดโลก คือ ..

เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง
ใกล้ถึงอีกครั้งแล้ว 15 ค่ำ เดือน 11 ....มีข่าวอะไรช่วยอัพเดทด้วย.....
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-10 08:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2556


ใกล้ถึงเทศกาลออกพรรษา  สิ่งหนึ่งที่ชวนให้นึกถึงเป็นอันดับแรก นอกจากภาพบรรยากาศงานพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง หรือที่เราเรียกกันว่า   “ตักบาตรเทโว” ซึ่งเป็นประเพณีอันงดงามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้ว...

สำหรับผู้นิยมชมชอบการท้าพิสูจน์เรื่องราวมหัศจรรย์คงได้ครึก ครื้นตื่นเต้นกันอีกครั้ง กับการเฝ้าดูปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” ซึ่งเชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นเพียงปีละครั้ง เหนือลำน้ำโขงบริเวณพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดหนองคาย


ปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” เป็นความเชื่อและศรัทธาอย่างยิ่งของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตจังหวัดหนองคาย ตามพระพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันปวารณาออกพรรษา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จฯ กลับจากการไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลาตลอดพรรษา (3 เดือน) เมื่อทั้งสามโลก ทราบข่าวกำหนดการเสด็จฯ กลับในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ แม้แต่พญานาค ต่างก็มีความยินดีและเตรียมการต้อนรับตามศรัทธาของตน โดยเหล่าเทวดาทั้งหลายได้เนรมิตบันไดทอง เงิน และแก้ว ทอดลงมาส่งเสด็จถึงพื้นโลก ชาวมนุษย์ ได้จัดถวายอาหารคาว หวาน และของแห้ง รวมทั้งดอกไม้ ธูป เทียน ในพิธีทำบุญตักบาตรที่เรียกว่า “ตักบาตรเทโวโรหนะ” ส่วนเหล่าพญานาคที่จำพรรษาอยู่เมืองบาดาล ได้ร่วมกันพ่นลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชามีลักษณะเป็นดวงกลมสีแดงอมชมพู พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ไม่มีเสียง ไม่มีควัน และไม่มีกลิ่น เหมือนดอกไม้ไฟหรือพลุ

วันออกพรรษาปีนี้ ตรงกับ    วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม หากใครวางโปรแกรมไปเที่ยวจังหวัดหนองคาย แนะนำให้มาถึงจังหวัดอุดรธานีนี้       ให้ได้ในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี ที่  25 ตุลาคม จากนั้นไปร่วมเดินทางสัมผัสดินแดนมหัศจรรย์ฝั่งโขง อุดร-  หนองคาย “ตามรอยบั้งไฟพญานาค” กันโดยจะเริ่มจาก “คำชะโนด” (พรุลอยน้ำแห่งเดียวในอีสาน) หนึ่งใน Unseen Thailand

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน    ชาวอีสานยังคงมีความเชื่อในเรื่อง       “พญานาค” อยู่ว่า ที่คำชะโนดแห่งนี้ คือ เมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของวังนาคินทร์ที่ประทับของ “ศรีสุทโธ” พญานาคราช และการที่จะเกิด “บั้งไฟพญานาค” มากหรือน้อยในแต่ละปี ผู้เฒ่า  ผู้แก่เชื่อว่าจะต้องมาสังเกตดูที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในคำชะโนด ที่ถือกันว่า เป็นปากทางสู่เมืองบาดาล ถ้าปีใดมีสัตว์น้ำลอยคอเป็นจำนวนมาก แสดงว่าปีนั้นจะเกิดบั้งไฟพญานาคมาก เพราะเมืองบาดาลเปิด ภายในสถานที่แห่งนี้จะมีศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้กราบไหว้ การเดินทางจะอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 101 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางอุดรธานี-สกลนคร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางอำเภอบ้านดุง

ศึกษาประวัติศาสตร์พร้อมกราบนมัสการศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธกันเรียบร้อย เตรียมตัวให้พร้อมมุ่งหน้าสู่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งมาถึงที่นี่คง   ค่ำมืดพอดี เห็นทีต้องหาที่พักนอนเอาแรงเสียก่อน เพื่อรุ่งเช้าจะได้สดชื่นพร้อมเดินทาง “ตามรอยบั้งไฟพญานาค”    กันต่อ

จุดเยี่ยมชมถัดไปสำหรับเช้า   วันใหม่ นั่นก็คือ “วัดไทยและจุดชมบั้งไฟพญานาค” ซึ่งเป็นบริเวณที่กล่าวกันว่าเห็นได้ชัดเจนที่สุด ถึงตรงนี้หากใครรู้สึกหิว เดินทางต่อไปอีกนิดที่อำเภอปากคาด มีร้านอาหารที่ชื่อว่า    “โขงค้ำคูณ” ให้แวะเติมพลังพร้อมชื่นชมบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ฝั่งลาวได้อย่างชัดแจ๋วกันด้วย

อิ่มหนำสำราญกันถ้วนทั่ว เดินทางต่อไปยัง วัดอาฮงศิลาวาส ซึ่งเชื่อกันว่า แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลคดเคี้ยวผ่านวัดแห่งนี้เป็น สะดือแม่น้ำโขง เปรียบเสมือนช่องทางเดินทางจาก  ปากเมืองบาดาล (คำชะโนด) ถึงแม่น้ำโขง ณ จุดนี้ (กม.115-116 ต.ไกสี อ.บึงกาฬ) โดยบริเวณดังกล่าวจะเป็นช่วงที่มีน้ำวนและลึกมาก

ปิดท้ายทริปนี้ด้วยการแวะไปเที่ยว ศาลาแก้วกู่ เมืองเทพนิมิต และจินตนาการ แดนอัศจรรย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “วัดแขก” ตั้งอยู่ห่าง จากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปโพนพิสัย ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธ   มามกะสมาคม จังหวัดหนองคาย เป็นสถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนา ทั้งพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รูปเทพฮินดูต่าง ๆ รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ฯลฯ


เก็บเกี่ยวความรู้เรื่องราวที่มาของตำนานบั้งไฟพญานาคกันเต็มอิ่ม คราวนี้ก็ได้เวลารอพิสูจน์ความมหัศ จรรย์ยามค่ำคืนกันแล้ว โดยต้องไม่ลืมปรัชญาที่ว่า...เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ!!!

ขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยวตามรอยพญานาค และชมปรากฏการณ์ “บั้งไฟ” มหัศจรรย์เหนือลำน้ำโขงโดยทั่วกัน.

‘ทีมวาไรตี้’
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-10 08:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปฐมบท : ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค

มนุษย์มีความเชื่อที่เกี่ยวกับ “นาค” สัตว์ในตำนานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อว่าพญานาคอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำโขง   แต่ต้นกำเนิดของพญานาคมาจากทางอินเดียตอนใต้ เนื่องจากทางอินเดียตอนใต้นับถืองูเป็นเทพเจ้า ในขณะที่ชาวอีสานมีความเชื่อว่าแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี เกิดขึ้นจากการแถตัวของพญานาคจึงเกิดเป็นสายน้ำที่ยิ่งใหญ่                                                                                                                  
ในลัทธิพราหมณ์มีความเชื่อว่านาคเป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ สร้างความอุดมสมบูรณ์ มีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ฝนตกทั่วโลก ส่วนในเมืองไทยในช่วงประเพณีสงกรานต์จะมีการพยากรณ์นาคให้น้ำในแต่ละปี  รวมทั้งมีสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคในงานจิตรกรรม ประติมากรรม อาคารวัด หลังโบสถ์ อาคารที่สร้างสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนามักจะมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับนาคปรากฏอยู่เสมอ เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก จะมีตัวพญานาคเป็นบัลลังก์  บันไดนาคหน้าโบสถ์จะปั้นเป็นรูปนาคสะดุ้ง  ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวดาจะเนรมิตบันไดแก้วมณีสีรุ้ง   และมีพญานาค 2 ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้                                                                  
นอกจากนั้นการสร้าง “ตุง” ของชาวเหนือและพม่า มีความเชื่อว่าคลีคลายมาจากพญานาค หมายถึงบันไดขึ้นสู่สรวงสวรรค์นั้นเอง               
ในปราสาทนครวัด จะมีนาคเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะปกติกับที่สถิตของภพสู่วิษณุโลก จะมีการก่อสร้างเป็นพญานาคราชทอดยาวรับมนุษย์สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์
ในพุทธศาสนามีตำนานเกี่ยวกับพญานาคได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ ภายหลังได้หลับในตอนกลางวันจึงกลายร่างเป็นงูใหญ่ พระพุทธเจ้าจึงให้สึกออกไป นาคจึงได้ถวายคำวิงวอนให้มีคำว่า “นาค” ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาบวชในพุทธศาสนาเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความศรัทธาของตน                                                
จึงนับได้ว่าแนวความเชื่อเกี่ยวกับ “นาค” เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์หลากเผ่าพันธุ์บนพื้นโลก




ความเชื่อเกี่ยวกับ
“นาค” ในประเพณีออกพรรษาของชาวอีสาน


วันออกพรรษา นับเป็นสำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการประจำอยู่ในฤดูฝน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งแปลว่า อนุญาต หรื ยอมให้ คือเป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้ง ล่วงเกิน ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษากิจของชาวพุทธโดยทั่วไปคือการบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังธรรมเทศนา
สำหรับชาวอีสานมีประเพณีที่น่าสนใจเกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา เช่น ที่จังหวัดสกลนครมีงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีงานบุญบนความรื่นเริงอันยิ่งใหญ่ในรอบปี

จังหวัดนครพนมมีงานประเพณีไหลเรือไฟเพื่อบูชารอยพระพุทธเจ้า สักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี  การระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา การขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้าในคืนวันเพ็ญเดือน 11
จังหวัดมุกดาหารมีพิธี “ตีช้างน้ำนอง”  ซึ่งเป็นพิธีเก่าแก่ โดยการนำเรือที่จะแข่งขันทุกลำมาร่วมพิธีเพื่อบวงสรวง ขอขมา พระแม่คงคาตามลำน้ำโขง
จังหวัดหนองคายมีปรากฏการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ “พญานาค”  อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดนั้นคือปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” ตามลำน้ำโขง ซึ่งคนในท้องถิ่นมีความเชื่อว่าพญานาคใต้ลำน้ำโขง ได้จุดบั้งไฟร่วมถวายเป็นพุทธบูชาในการเสด็จกลับจากชั้นดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้าครบ 3 เดือน   สู่โลกมนุษย์ในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยพญานาคได้เนรมิตบันไดแก้ว เงินทอง เป็นบันไดลงมา

บั้งไฟพญานาค : ความลึกลับใต้ผืนน้ำ

ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นบริเวณกลางแม่น้ำน้ำโขงหรือบริเวณใกล้ฝั่ง ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโพนพิสัย อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอรัตนวาปี  จังหวัดหนองคาย ส่วนจุดที่มีบังไฟพญานาคเกิดมากที่สุดคือบริเวณหน้าวัดไทย และวัดจุมพลในเขตสุขาภิบาลอำเภอโพนพิสัย ซึ่งเป็นจุดต้อนรับผู้ที่จะมาชม “บั้งไฟพญานาค” ในช่วงเทศกาลออกพรรษา




ลักษณะของบั้งไฟพญานาคจะเป็นลูกไฟพุ่งจากแม่น้ำโขงขึ้นสู่อากาศมีระยะประมาณ 20 – 30 เมตร แล้วหายไป มีขนาดแตกต่างกันออกไป มีห้วงเวลาที่เกิดเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเย็น ในบางปีจะเริ่ม 2 – 3 ทุ่ม มีระยะการเกิดประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง แล้วจึงค่อย ๆ หมดไป
จากคำบอกเล่าของชาวจังหวัดหนองคายพบว่าการเกิดบั้งไฟพญานาคมีมานานกว่า 60 ปี แต่เริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในปี 2534 ภายหลังที่มีการแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5  ซึ่งในเวลาต่อมาทางจังหวัดหนองคายได้มีการประชาสัมพันธ์และจัดงานเฉลิมฉลองในห้วงเวลาดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด

บั้งไฟพญานาค : ตามแนวทางวิทยาศาสตร์

นายแพทย์มนัส กมลศิลป์ ในสมัยที่เป็นนายแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลหนองคาย ได้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคมาเป็นระยะเวลา 4 ปี และได้ทดลองและวิเคราะห์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่า “บั้งไฟพญานาค” น่าจะเป็นมวลสาร และจะต้องมีมวล เพราะสามารถแทรกน้ำขึ้นมาได้ น่าจะเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และจะต้องเบากว่าอากาศ โดยจะเกิดขึ้นบริเวณน้ำลึกประมาณ 4.55 – 13.40 เมตร หรือหล่มดินเป็นที่เกิดของก๊าซ และก๊าซที่อยู่ใต้พื้นน้ำน่าจะมีจุดกำเนิดมาจากอินทรียวัตถุ เช่น มูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว หมักเป็นก๊าซมากพอที่จะพลิกหรือเผยอหล่มโคลนใต้น้ำนั้นได้ โดยที่ก๊าซที่ได้เป็นลูก ๆ  นั้นจะมีขนาด 200 ซีซี. ลอยจากน้ำลึกขึ้นสู่ผิวน้ำในระดับ 1 – 5 เมตร จากนั้นจะเริ่มติดไฟด้วยตนเอง

ที่มา...http://www.oknation.net/blog/print.php?id=333811
ขอบคุณคร้าบ
ปีนี้จะมีอะไรมั้ยหนอ
วันเปิดโลกอย่างนี้กวนสีผึ้งน่าจะดี
เยี่ยม
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้