ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ ครูบาอภิชัย (ขาวปี) วัดพระพุทธบาทผาหนาม ~
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
~ ครูบาอภิชัย (ขาวปี) วัดพระพุทธบาทผาหนาม ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-15 13:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๐ สร้างวัดพระบาทตะเมาะ
ก็พอดีท่านคิดได้ว่ามีญาติทางพ่อของท่านเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลดอยเต่า จึงให้คนไปบอกให้มาพบท่าน เมื่อกำนันมาถึงแล้วท่านก็ถามว่า "อาตมาจะไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะได้หรือไม่" กำนันดอยเต่าจึงไปปรึกษากับทางอำเภอ ๆ จึงบอกว่า ดีแล้ว ให้ไปบอกท่านให้มาอยู่เร็วๆ เถิด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ไปอยู่พระบาทตะเมาะ โดยสร้างอารามขึ้นที่นั้น ด้วยความร่วมมือทั้งฝ่ายนายอำเภอและป่าไม้อำเภอ ไปจองที่กว้าง 500 วา ยาว 500 วา และที่พระบาทตะเมาะนี้เอง ท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทหนึ่งหลัง มีเจดีย์ตั้งอยู่บนวิหารถึง 9 ยอด นับเป็นศิลปะที่งดงาม ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งท่านจะไปเที่ยวชมได้ นับเป็นวิเวกสถานที่เหมาะกับผู้ใฝ่หาความสงบที่เหมาะมากอีกแห่งหนึ่ง
ในเรื่องการสร้างวัดพระบาทตะเมาะนี้ ครูบาชัยยะวงศา แห่งวัดพระบาทห้วยต้มท่านได้เล่าให้ฟังว่า ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2467 รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ 33 ปี คำว่า “ตะเมาะ” นั้น เป็นคำพูดที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เต่าหมอบ” เพราะที่วัดมีก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายเต่าหมอบอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพูดคำว่าเต่าหมอบ นานเข้าจึงเพี้ยนเป็น ตะเมาะ
ครูบาชัยยะวงศาได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ ยอดครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และครูบาชัยยะวงศาได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา 5 ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือ กำแพงซึ่งทำจากหินล้วน ไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงหินดังกล่าวเป็นแนวยาว 2 ชั้น แต่ละชั้นยาวประมาณ 100 เมตร
นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปี พ.ศ. 2500 ครูบาชัยยะวงศายังได้สร้างมณฑปไม้ไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนา และทำจากไม้ทั้งหลัง ซึ่งปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยาก เพราะมณฑปทั้งหลัง ใช้การเข้าลิ่มสลักด้วยไม้ทั้งสิ้น จะใช้นอตเหล็กยึดเพียงไม่กี่ตัว ครูบาชัยยะวงศาเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าสำหรับท่าน เพราะต้องผจญกับอุปสรรคต่าง ๆ นานับปการ เนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มาก แม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก
ในระหว่างที่ครูบาชัยยะวงศามาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้น ท่านต้องพักผ่อนจำวัดอยู่ที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นวัดห้วยน้ำอุ่น มีครูบาบุญยังเป็นเจ้าอาวาส) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน ห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ 5 กิโลเมตร
เหตุที่ครูบาชัยยะวงศาไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่ วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้ เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวด ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมือง จนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งห่มขาว (ครูบาขาวคำปัน) เป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปี ต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปอยู่วัดพระธาตุห้าดวง และ วัดพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และเมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้ว ก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่ง เมื่อฉลองเสร็จครูบาชัยยะวงศาก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไปพำนักยังสถานที่ อื่นเพื่อสร้างบารมีต่อไป
(คัดลอกจาก หนังสือประวัติครูบาชัยยะวงศา ถ่ายทอดโดย สิริวฑฺฒโนภิกขุ )
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-15 13:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ.ศ. 2470 ครูบาอภิชัยขาวปี ได้บูรณะพระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก บ้านท่าสองยาง จังหวัดตาก ขึ้นใหม่ ต่อจากที่ นายพะสุแฮ ที่เป็นศรัทธาชาวกระเหรี่ยงได้บูรณะไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2412 โดยในการบูรณะในปี 2470 นี้ ท่านครูบาได้เปลี่ยนรูปทรงทำเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และในปีเดียวกัน ท่านก็ได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารวัดพระนอนม่อนช้าง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และธรณีพระธาตุโดยรอบแต่ไม่แล้วเสร็จ ต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มาบูรณะและสร้างต่อจนเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2473
๐ ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
แต่ด้วยวิญญาณของนักพัฒนา ท่านก็อยู่จำพรรษาที่พระบาทตะเมาะไม่นาน ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เชียงใหม่อยู่ ซึ่งครูบาศรีวิชัย ได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 ท่านจึงพากะเหรี่ยง 500 คน ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นดอยสุเทพร่วมกับอาจารย์จนแล้วเสร็จ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงกลับลงมาพักกับอาจารย์ที่วัดพระสิงห์
๐ อุปสมบทครั้งที่ 3
ที่วัดพระสิงห์นี้ ท่านครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นาน ๆ พอท่านครูบาศรีวิชัยก็เกิดคดีต่าง ๆ นานา ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว
แต่ระหว่างการสอบสวนครูบาศรีวิชัยที่กรุงเทพฯ นั้น คณะสงฆ์เชียงใหม่ก็เปิดการสอบสวนภิกษุเจ้าอาวาสต่างๆ ที่ขอลาออกจากคณะสงฆ์มาขึ้นกับครูบาศรีวิชัยถึงขั้นมีการ "สึก" เจ้าอาวาสหลายต่อหลายวัด การสอบสวนเจ้าอาวาสวัดต่างๆ กว่า ๖๐ วัด ในเชียงใหม่และลำพูนนี้ เป็นเหตุให้มีเจ้าอาวาสหลายวัดถูกจับสึก เพราะไม่ยอมรับที่จะเข้ามาอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ ยืนยันจะขอขึ้นกับครูบาศรีวิชัยต่อไป
เจ้าอาวาสบางวัดก็หนีไปจากวัดเฉยๆ ไม่ยอมให้การกับคณะสงฆ์เชียงใหม่ นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยอยู่ในกรุงเทพฯ อันนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่คณะสงฆ์เกิดการแตกแยกกันขึ้นอย่างขนาดใหญ่ในหัวเมืองพายัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เชียงใหม่ และลำพูนกันมาอีกหลายเดือน ตลอดระยะเวลาที่ครูบาศรีวิชัยถูกส่งไปอบรมและสอบสวนที่กรุงเทพฯ
จากหนังสือประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย (ฉบับสมบูรณ์)
พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จันทสิริ) รวบรวม และเรียบเรียง
ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวอาจารย์ของท่านยิ่งนัก แล้วก็มีมารมาผจญอีกจนได้เมื่อ มหาสุดใจ วัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาหลอกให้ท่านสึกเสีย เพราะมิฉะนั้น ท่านจะเอาครูบาศรีวิชัยจำคุก ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งสุดท้าย แล้วออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง จึงได้สร้างกุฏิที่วัดบ้านปางอีก 1 หลัง แล้วกลับไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะตามเดิม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-15 13:14
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๐ สูญเสียอาจารย์
ชีวิตท่านช่วงนี้ คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหา ท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย แต่ความดีใจนั้นคงมีอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ยังความโศกาอาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป
๐ ที่วัดบ้านปาง ลำพูน
ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หากจะเอาเสียงร่ำไห้มารวมกันแล้วไซร้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อย แต่ก็ปลงได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กัมมัฏฐาน แล้วทำทุกอย่างในฐานะศิษย์จะพึงมีต่ออาจารย์ด้วยกตเวทิตาธรรม ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมหีบบรรจุศพ เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปาง ซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีก 8 ปีต่อมาหลังจากมรณภาพ ณ เมรุที่ได้สร้างขึ้นที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489
หลังจากงานถวายเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วในปี 2489 นั้น ท่านได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกะโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งมาด้วย และครูบาดวงดี สุภัทฺโท ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 32 ปีและได้ติดตามท่านมาตั้งแต่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพไป นำมาเก็บรักษาสักการบูชาจนถึงทุกวันนี้ จากนั้นท่านก็มาสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสาร โดยครูบาดวงดี สุภัทฺโทได้อยู่ช่วยท่านจนเสร็จงานดังกล่าว
๐ สร้างวัดผาหนาม ที่พำนักในปัจฉิมวัย
วัดคืนยังคงหมุนไป พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างนักพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัย ผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมืดฟ้ามัวดิน ในฐานะทายาททางธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ระยะต่อมา เมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น ผลงานจึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น จนถึงพุทธศักราช 2507 (หมายเหตุ: ตามบทความเดิมเป็นปี 2470 - Webmaster) อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้ว คือมีอายุ 76 ปี แต่ท่านยังคงแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้ จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมในปัจฉิมวัย
ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพจาก อ.ฮอด หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพ่อน้อยฝน ตุ่นวงศ์ เป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ
ท่านก็รับนิมนต์ พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและ ตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรมของท่าน คณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ จึงพร้อมใจกันก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้น จนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าท่านจะงดมิไปสร้าง หรือพัฒนาที่อื่นอีก แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกตั้งหลาย ๆ แห่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-15 13:14
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รายนามถาวรวัตถุบางส่วนที่ท่านสร้าง
-พ.ศ. 2483 ได้มาสร้างวัดแม่ต๋ำ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางขึ้นในช่วงที่ท่านได้พาคณะศิษย์มาขุดภูเขาดอยผาเบ้อ ให้เป็นทางเดินข้ามชายแดนเขตติดต่อระหว่างจังหวัดลำพูน กับจังหวัดลำปาง ระยะทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร
-ปี พ.ศ. 2489 ครูบาผุย มหาชโย เจ้าคณะอำเภอลี้ ครูบาอินต๊ะ วัดพวงคำ ครูบาคำสุข วัดบ้านแวน ได้พิจารณาเห็นว่ามณฑปครอบรอยพระพุทธบาทห้วยต้มและสิ่งก่อสร้างทั้งหลายทั้งปวงในบริเวณวัดพระพุทธบาทห้วยต้มได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปและได้กลายเป็นวัดร้าง สมควรที่จะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เสียใหม่ จึงได้ประชุมคณะศรัทธาทั้งหลาย และตกลงกันนิมนต์ครูบาชัยยะวงศา ซึ่งท่านได้ตอบรับนิมนต์และได้เดินทางมาอยู่จำพรรษาที่วัดดังกล่าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา เมื่อคณะศรัทธาบ้านผาลาดได้จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว จึงได้ไปนิมนต์ครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระบาทตะเมาะ มาตรวจและวางแผนสร้างวิหาร จากนั้นครูบาขาวปี จึงกลับไปพระบาทตะเมาะตามเดิม
-พ.ศ. 2491 สร้างวิหารวัดท่าจำปี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีครูบาดวงดี สุภัทโท ติดตามมาด้วย หลังจากนั้นครูบาดวงดีก็ได้อยู่ประจำวัดท่าจำปีตลอดมาจนมรณภาพ
-พ.ศ. 2495 สร้างอาคารโรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
-พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นประธานในการสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแซ่ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ที่ได้สร้างค้างคาเพียงแค่ฐานรากไว้เนื่องจากหมดเงินบริจาค
-พ.ศ. 2499 นายแก้ว เยตาสุข ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืนในขณะนั้น ร่วมกับ กำนันตำบลแม่ตืนพร้อมทั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาและราษฎรภายในหมู่บ้าน ร่วมกับผู้บริหารระดับอำเภอ ได้ปรึกษาหารือกันว่า สมควรย้ายโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน ซึ่งเดิมตั้งอยู่กลางหมู่บ้านแม่ตืน มาตั้งยังที่ริมถนนตัดใหม่ คือถนนพหลโยธินจะดีกว่า เพราะจะมีความสง่างามมากกว่าที่เดิมและ สะดวกในการติดต่อราชการ และการสัญจรไปมา เมื่อมีความเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงได้ไปอาราธนานิมนต์ท่านครูบาอภิชัย ขาวปี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของราษฎรภายในหมู่บ้าน และผู้คนทั่วไปมานั่งเป็นประธานในการจัดหาที่ดิน และได้ที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืนในปัจจุบัน
-พ.ศ. 2499 นายสุรินทร์ เดชะวัง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านปากเหมือง ตำบลขัวมุง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้นิมนต์ท่านครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมกับ นายอำเภอสารภี ได้ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง 4 ห้องเรียน
-ประมาณปี 2499 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บ้านปงแม่ลอบ อ.แม่ทา จ.ลำพูน ได้นิมนต์ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี มาปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับชาวบ้าน ต่อมาในปี 2515 ชาวบ้านร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาจึงได้จัดตั้งเป็นวัดปงแม่ลอบ
-พ.ศ. 2501 ท่าน และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระบาทห้วยต้ม) ได้มาทำการบูรณะวัดพระธาตุห้าดวงตามที่ นาย สนิท จิตวงศ์พันธ์ ซึ่งเป็นนายอำเภอลี้ในขณะนั้น ได้อาราธนาท่านทั้งสองไว้ ซึ่งเป็นการบูรณะอีกครั้ง หลังจากที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณะวัดนี้ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างไว้ จนสำเร็จ แล้วได้ทำการฉลองสมโภชองค์พระธาตุเมื่อปี พ.ศ. 2468 และเมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว ท่านพระครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับวัดบ้านปาง (อำเภอลี้) แต่วัดพระธาตุห้าดวงก็กลับร้างอีกหลังจากนั้นไม่นาน
-เมื่อปี 2501 อำเภอเถินประสบภาวะแห้งแล้ง พระธาตุวัดดอยป่าตาล ตำบลเถินบุรี จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเจดีย์สูง 30 เมตร มีฐานจตุรัส กว้าง 9 เมตร บนยอดฉัตรของเจดีย์ มีลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานไว้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ บางเดือนลูกแก้วบนยอดเจดีย์จะแสดงอภินิหารด้วยการเปล่งแสงเป็นประกายสุกสว่าง ลูกแก้วหลุดจากยอดเจดีย์ มีผู้เก็บกลับมาไว้ เมื่อปี 2502 ครูบาอภิชัยขาวปี มาเป็นประธานยกฉัตรนำลูกแก้วขึ้นประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์ตามเดิม ซึ่งปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
-ปี พ.ศ. 2497 ครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท วัดบ้านควน ตำบลพรหมหลวง อำเภอสันป่าตอง มาบูรณะวัดหลวงขุนวิน ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เมื่อบูรณะเสร็จได้นิมนต์ครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมฉลอง เมื่อปี พ.ศ. 2501
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-15 13:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
-พ.ศ. 2506 ครูบาขาวปีได้มาเป็นประธานในการก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดชลประทานรังสรรค์ ต.บ้านนา อ.สามงา จ.ตาก ซึ่งเป็นวัดที่ทางราชการสร้างขึ้นเพื่อทดแทน (ผาติกรรม) วัดพระบรมธาตุลอย ซึ่งจะถูกน้ำท่วมเมื่อสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ
๐ วันจากที่ยิ่งใหญ่
แล้วในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮ่าม แห่งจังหวัดลำปาง ก็ได้มานิมนต์ท่าน เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตไม่ได้ของท่าน แม้ตอนนั้นท่านจะชราภาพมากแล้ว คือมีอายุถึง 83 ปี ก็ตาม ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวของท่านว่า ท่านเหนื่อยอ่อนแค่ไหน แต่ด้วยใจที่แกร่งเหมือนเพชร ท่านคงไม่ปริปากบ่น เป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่าม
ไม่นานคณะศรัทธาจากวัดท่าต้นธงชัย จ.สุโขทัยก็ได้มานิมนต์ท่านอีก เพื่อเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร
วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2520 ตอนนั้น ท่านเหนื่อยอ่อนมากแล้ว ท่านได้บอกผู้ใกล้ชิดว่าท่านอยากกลับอารามผาหนาม เหมือนดั่งจะรู้ตัวของท่านว่าไม่มีเวลาในการโปรดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีใครล่วงรู้ถึงข้อนี้ก็หาไม่ คงพาท่านมุ่งสู่สุโขทัยอีกต่อไป และเมื่อถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. ท่านได้จากไปอย่างสงบ
ข่าวการจากไปของท่านกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทุกคนตกตะลึง ต่างพากันช็อกไปชั่วขณะมันเหมือนสายฟ้าที่ฟาดเปรี้ยงลงบนกลางใจของทุกคน ที่เลื่อมใสเคารพรักในตัวท่าน แล้วจากนั้น เสียงร่ำไห้ก็ระงมไปทุกมุมเมืองพวกเขาได้สูญเสียร่มโพธิ์แก้วอันร่มเย็นไพศาลไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ ตั้งแต่นี้จะหาครูบาเจ้าที่มีความเมตตาอันหาของเขตมิได้และยิ่งใหญ่ปานนี้
แต่แรกมีหลายคนไม่เชื่อและตะโกนว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านยังอยู่และจะต้องอยู่ต่อไป ต่อเมื่อได้รับการยืนยันว่าท่านสิ้นแล้ว สิ้นแล้วจริง ๆ ก็ทุ่มตัวลงเกลือกกลิ้งร่ำไห้พิลาปรำพันอย่างน่าเวทนายิ่งนัก โอ้...ท่านผู้เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ป่านนี้ท่านคงเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่สะพรั่งพร้อมด้วยทิพยวิมานอันเพริดแพร้วใหญ่โดสุดพรรณนาด้วยผลบุญแห่งการบำเพ็ญมาอย่างใหญ่หลวงเหลือคณา คงเหลือแต่ผลงานและประวัติชีวิตอันบริสุทธิ์ทิ้งไว้แด่อนุชน ได้ชื่นชม และเสวยผลเป็นอมตะชั่วกาลปาวสาน
ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/mo ... hist-index-page.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
16
#
โพสต์ 2013-7-15 18:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบหลวงปู่ครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
55125
17
#
โพสต์ 2013-12-11 18:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบนมัสการครับ
ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
majoy
majoy
ออฟไลน์
เครดิต
24700
18
#
โพสต์ 2015-3-26 19:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
19
#
โพสต์ 2016-2-15 09:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การบรรลุธรรม
ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแบบจริงๆ
สาธุ
ๆ ๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
20
#
โพสต์ 2018-6-28 07:00
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ดูบอร์ด
ข่าวสารความเคลื่อนไหวกิจกรรม คศช.
เรื่องราวของ หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ และวัตถุมงคลต่างๆ
ทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับ "พญานาคราช" เชิญที่นี่
บันทึกสุดยอดประสบการณ์
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...