ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ ครูบาอภิชัย (ขาวปี) วัดพระพุทธบาทผาหนาม ~

[คัดลอกลิงก์]

[size=85%] รูปหล่อ “ครูบาอภิชัย (ครูบาขาวปี)”
ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ถูกจับห่มขาว


[size=85%] ครูบาอภิชัย (ครูบาขาวปี) วัดผาหนาม


เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๙) ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก
เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญ
ที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัยอย่างเคร่งครัด
(ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ครั้งสุดท้าย)
แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้
เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึกและให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส
ท่านไม่ยอมเพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์
แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึกไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์
เลียนเยี่ยงอย่างครูบาขาวปี วัดผาหนาม (ซึ่งเคยถูกจับสึกไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน
ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม
ผู้เขียนได้ทราบจากหลวงพ่อครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า,
ครูบาบุญทืม และเจ้าคุณราชฯ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนองค์ก่อน วัดจามเทวี พูดให้ผู้เขียนฟังว่า

"ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย
ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์
ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้นจิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก
ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม
ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตร พระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ"


หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก
บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้าง เพื่อไม่ให้ถูกจับสึก


เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2465 ขุนระมาดไมตรี  กำนันคนแรกของตำบลแม่ระมาด จังหวัดตาก และชาวบ้านแม่ระมาด  มีความปรารถนาจะได้มีพระพุทธรูปไว้กราบสักการบูชาเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ  จึงได้ไปติดต่อขอเช่าบูชาพระพุทธรูปแกะสลักจากหินอ่อนทั้งแท่ง มาจากประเทศพม่า  นับเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนขนาดใหญ่ ลำดับ 3 ของโลก  รองจากองค์ใหญ่ที่สุดในโลกประดิษฐานที่ประเทศอินเดีย และลำดับ 2  ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศปากีสถาน และองค์ที่สามคือองค์นี้ ในราคา 800  รูปี มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.30 เมตร สูงจากพระแท่นฐานถึงรัศมี 1.60 เมตร  
แม้องค์ท่านจะมีน้ำหนักมากแค่ไหน แต่ความศรัทธาที่มี  ผู้ไปอัญเชิญต่างก็ไม่ย่อท้อ นำท่านมาทางเรือผ่านเมืองมะละแหม่ง  แล้วเดินทางต่อจนถึงท่าเรือจองโต
จากท่าเรือแห่งนี้ท่านครูบาขาวปี  ซึ่งเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านและชาวภาคเหนือ  ได้ไปรับพระพุทธรูปหินอ่อนพร้อมญาติโยม  อัญเชิญขึ้นบนเกวียนแล้วเดินทางถึงเมืองกรุกกริก บ้านจ่อแฮ (บ้านกะเหรี่ยง)  การเดินทางด้วยความยากลำบากเพราะเป็นภูเขาสูงชันมากจึงล่าช้ามาก  ต้องนอนพักแรมระหว่างทางถึง 2 คืน
จากนั้นก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านป้างกา  การเดินทางรวดเร็วขึ้นเพราะเป็นพื้นที่ราบจนกระทั่งถึงหมู่บ้านเมียวดีริมฝั่งแม่น้ำเมย  เขตประเทศพม่า ตรงข้ามบ้านท่าสายลวด อำเภอแม่สอดปัจจุบัน  จึงอัญเชิญลงจากเกวียนข้ามแม่น้ำเมยเข้าประเทศไทย ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  โดยพักผ่อนที่บ้านท่าสายลวด 3 คืน แล้วเดินทางเข้าเขตอำเภอแม่ระมาด  และอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษฐาน ณ วัดดอนแก้วแห่งนี้

พระพุทธรูปหินอ่อน ที่วัดดอนแก้ว
อ.แม่ระมาด จ.ตาก
มีเรื่องเล่ากันว่าตอนที่นำองค์พระพุทธรูปข้ามแม่น้ำด้วยแพนั้น  มีช่วงหนึ่งที่น้ำไหลเชี่ยวรุนแรงมาก จนแพพลิกและองค์พระได้เลื่อนหลุดจมลงในน้ำ  ชาวบ้านต่างพากันใช้เชือกช่วยกันฉุดรั้งกันอย่างเต็มที่ ครั้งแล้วครั้งเล่า  แต่ไม่ว่าจะทำประการใด ก็ไม่เป็นผล จนต้องนิมนต์ขอบารมีท่านครูบาอภิชัยขาวปีช่วย
ครูบาท่านลงแพไม้ไผ่ แล้วใช้ด้ายเส้นเล็กๆ  ส่งให้คนดำลงไปคล้ององค์พระพุทธรูป แล้วท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานอัญเชิญพระพุทธรูป  จบคำอธิษฐาน ท่านครูบาดึงเส้นด้ายที่คล้ององค์พระขึ้นมา  องค์พระพุทธรูปที่ปกติต้องใช้คนหามนับสิบคนจึงจะยกไหวก็ได้ลอยขึ้นมาและสามารถอัญเชิญขึ้นฝั่งได้สำเร็จเป็นที่อัศจรรย์มาก รวมเวลาที่ไปอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนในครั้งนี้เป็นเวลา 12 วัน


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้