ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2590
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

นาคาปัญจามี

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-5-29 14:40



นาคาปัญจามี (Naga Panchami) เทศกาลบูชางูของอินเดีย
       การบูชางูนั้นมีความเป็นมาเก่าแก่ในหลายวัฒนธรรม โดยเฉพาะในศาสนาฮินดูมีการบูชางูกันแพร่หลายมาตั้งแต่ก่อนที่ชาวอารยันจะเข้ามา ประเพณีการบูชางูจึงมีความเป็นมายาวนานในอินเดีย และ และเมื่อชาวอารยันเข้ามาแล้วก็ได้นำพิธีกรรมนี้มาผสมผสานกับศาสนาฮินดู

      งูนั้นมักได้รับการกล่าวอ้างถึงในสถานะสูงที่เรียกว่า นาค หรือ นาคา (Naga) แต่ถ้าเป็นเพศหญิงจะเรียกว่า นาคี (Nagi) ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต มีการกล่าวอ้างถึงเทพเจ้างู หรืองูที่มีขนาดใหญ่อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในคัมภีร์ปูรณะของฮินดู หรือแม้แต่ในพุทธศาสนาก็กล่าวถึงไว้ด้วยเช่นกัน

      อีกทั้งในถ้ำโบราณหลายแห่งในอินเดียเรามักจะพบเห็นรูปสลักนาคาหรืองูเห่าที่แผ่แม่เบี้ย ทั้งถ้ำในศาสนาฮินดู พุทธ หรือแม้แต่เชน และรูปที่มักพบเห็นอยู่บ่อยๆ ก็คือ พระศิวะ ที่มีงูคล้องรอบพระศอ หรือพระนารายณ์ (วิษณุ) ประทับอยู่เหนือพญาอนัตนาคราช เป็นต้น งูจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทุกศาสนามาตั้งแต่เริ่มแรก

      และเทศกาลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการบูชางูก็คือ นาคาปัญจามี (Naga Panchami) เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอินเดียเป็นประจำทุกปีในช่วงวันขึ้นห้าค่ำ แห่งเดือนศราวัน (Shravan) ซึ่งอยู่ในราวเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมตามปฏิทินฮินดู แต่สถานที่จัดพิธีบูชางูที่มีชื่อมาก ได้แก่ รัฐเบงกอล รัฐมหาราษฎระ และทางภาคใต้ของอินเดีย ส่วนนาคต่างๆ ที่ได้รับการบูชามากได้แก่ อนันตะ (Ananta) วาสุกี (Vasuki) ตาสัก (Taxak) การ์โกตกา (Karkotaka) และพินคาลา (Pingala) เป็นต้น

      ตามตำนานของอินเดียเชื่อว่างูมีความเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกับศาสนาฮินดู มีการกล่าวถึงในเทพนิยายฮินดูหลายเรื่องที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างงูกับเทพเจ้าองค์สำคัญ เช่น พระกฤษณะ พระศิวะ และพระวิษณุ และงูนั้นปรากฏกายในหลายรูปแบบ




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 14:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตำนานหนึ่งกล่าวกันว่า พระกฤษณะเมื่อยังทรงพระเยาว์นั้นได้เล่นซุกซนกับเด็กเลี้ยงวัวคนอื่นๆ ใกล้แม่น้ำยมุนา เมื่อลูกบอลขึ้นไปติดที่กิ่งไม้บนที่สูง พระกฤษณะอาสาที่จะขึ้นไปเอาลงมา โดยที่เบื้องล่างต้นไม้นั้นเป็นแม่น้ำที่นาคกาลิยะ ผู้ดุร้ายอาศัยอยู่ ทันใดนั้นพระกฤษณะก็ได้ตกลงมาจากต้นไม้ลงไปในน้ำ ทำให้นาคกาลิยะโกรธกริ้ว แต่พระกฤษณะได้กระโดดขึ้นไปที่ศีรษะของนาคกาลิยะและพิชิตนาคนั้นได้ นาคกาลิยะได้ขอขมาต่อพระองค์ พระกฤษณะก็ทรงให้อภัย แต่บางตำราก็กล่าวว่าทรงสังหารนาคกาลิยะเสีย ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการบูชานาคาปัญจามีเพื่อฉลองชัยชนะของพระกฤษณะที่มีต่อพญานาคกาลิยะ


     อีกตำนานกล่าวว่ามีชาวนาผู้หนึ่งทำการไถนาในวันนาคาปัญจามี และได้สังหารลูกงูบางตัวโดยไม่ตั้งใจ แม่งูจึงตามมาแก้แค้นโดยการกัดและสังหารทุกคนในครอบครัวนี้ ยกเว้นลูกสาวของชาวนาที่ได้ทำการบูชานาค ส่งผลให้ชาวนาและคนอื่นๆ ในครอบครัวฟื้นคืนชีพขึ้นมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีการจัดเทศกาลนาคาปัญจามีทั่วอินเดีย เชื่อการว่าผลดีประการหนึ่งของการบูชางูก็คือ จะทำให้ตนและคนในครอบครัวไม่ถูกงูกัด

      เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและรำลึกถึงการมีอยู่ของนาค การบูชานาคาปัญจามี จึงได้ถือปฏิบัติคล้ายกันในทุกๆ ส่วนของประเทศ โดยเทพเจ้างูจะได้รับน้ำนม ขมิ้น และการสวดมนต์อ้อนวอน ยังเชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นมงคลมากที่สุดของปี ถ้าใครได้สรงน้ำนมให้แก่งูหรือนาคในวันนี้ ก็จะเป็นหลักประกันถึงความปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงสำหรับครอบครัวของบุคคลนั้นๆ และสืบเนื่องตามตำนานที่กล่าวมาข้างต้นในวันนาคาปัญจามีนี้จึงห้ามทำการไถนาเป็นอันขาด เพราะอาจทำอันตรายแก่งูโดยไม่ตั้งใจได้


      ในวันแห่งการบูชา นาคาปัญจามี ผู้ที่บูชาเทพเจ้างู จะไปที่วัดและที่บ่องู และทำการสวดอ้อนวอน การถวายน้ำนมและเครื่องประดับเงินแก่งูเห่าเพื่อให้พึงพอใจ โดยเชื่อว่าจะได้รับการปกป้องภัยจากสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล ผู้ศรัทธายังอดอาหารในวันนี้ทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการฉลองกันอย่างสนุกสนานโดยการโล้ชิงช้าซึ่งผูกขึ้นในหมู่บ้าน พร้อมทั้งร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้