ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 17225
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม

[คัดลอกลิงก์]
เปิดประวัติ'หลวงพ่อเที่ยง' เครื่องรางตะกรุดหนังเสือ

มุมพระเก่า
อภิญญา




ช่วงนี้กระแสวัตถุมงคลพระเกจิอาจารย์จังหวัดกาญจนบุรีหลายรูปเริ่มกลับมาร้อนแรง ของรูปนี้ก็ไม่ธรรมดา หนึ่งในพระดี-เกจิดังแห่งอ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ที่มีนามว่า "พระครูจันทสโรภาส" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร" อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม เจ้าตำรับตะกรุดโทนหนังเสือ อันลือลั่น

หลวงพ่อเที่ยงท่านเป็นศิษย์ และเป็นหลานหลวงปู่เปลี่ยน (พระวิสุทธิรังษี) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) สหธรรมิกที่โด่งดังในยุคท่านคือ หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ส่วนที่สนิทชิดเชื้ออย่างมากคือ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม ว่ากันว่าท่านเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน สหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบปะสนิทสนมกันในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัด กลางบางแก้ว เป็นต้น

ท่านเกิดในตระกูล "ท่านกเอี้ยง" ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เมื่อปีพ.ศ.2431 เป็นบุตรของนายเขียว และนางทองแคล้ว มีพี่น้องรวม 8 คน หญิง 5 คน ชาย 3 คน วัยเด็กมีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรรม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกันยกให้เป็นพี่ใหญ่

เมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการได้กลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา กระทั่งอายุ 24 ปี จึงเข้าอุปสมบท ณ วัดบ้านถ้ำ แล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน โดยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสืออย่างจริงจังและเต็มที่ เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนท่านก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานเรื่องหนังสืออย่างมาก

หลังจากได้ศึกษาธรรมวินัย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ ท่านจึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาไสยเวทกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษ ในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคมแขนงต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก

ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่า เวลาหลวงพ่อเที่ยงได้รับนิมนต์ไปร่วมพุทธาภิเษกในงานพิธีใดก็ตาม ท่านมักจะมีอาการร้อนวิชาเสมอ จะเห็นท่านชอบสัพยอกให้พระเกจิที่ร่วมในพิธีแสดงอิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันชาตรี โดยท้าให้เอามีดเฉือนแขนว่าคมมีดจะบาดเข้าเนื้อหนังหรือไม่ แสดงให้เห็นว่าวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ อย่างที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปมักพูดว่าใครแขวนวัตถุมงคลของท่านแมลงวันไม่ได้กินเลือดนั้น หมายความว่าคนๆ นั้นหนังเหนียว แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก แม้กระทั่ง หลวงปู่แย้ม เกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ยังกล่าวยกย่องหลวงปู่เที่ยงว่าท่านเก่งมาก โดยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงพ่อแย้ม) ซึ่งทั้ง 2 ท่านต่างมีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ



"พระครูจันทสโรภาส" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร" อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี ท่านเป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษาที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณ เป็นภาษาไทยแท้ๆ ฟังไม่เพราะหู แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา

จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่า ท่านชอบกีฬาชกมวยอย่างมาก การละเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง ท่านเป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดังเข้มขลังด้วยประสบการณ์

หลวงพ่อเที่ยงเริ่มลงมือสร้างอุโบสถเมื่อปีพ.ศ.2484 ท่านค่อยๆ สร้างโดยไม่มีการเรี่ยไรเพราะไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้าน ในช่วงนั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองกาญจนบุรีได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมากเพราะทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2494

ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2523 เวลา 09.00 น. เศษ ณ วัดม่วงชุม ทางวัดได้เก็บสรีระของท่านไว้ถึง 10 ปี ปรากฏว่าสังขารของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ชาวม่วงชุมจึงพร้อมใจกันสร้างมณฑปพร้อมทั้งโลงแก้วบรรจุร่างที่เป็นอมตะไว้ให้ผู้คนกราบไหว้ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2534

หลวงพ่อเที่ยงท่านจะขึ้นชื่อสุดๆ ในเรื่องเหนียว ทั้งมีดทั้งปืน เล่ากันว่าของๆ ท่านเวลานำออกมาจากพิธีก็ลองกันตรงนั้นเลย วัตถุมงคลของท่านจึงโด่งดังเป็นที่เล่าขานกันมาก เคยมีทหารใส่เหรียญของท่านไปขับเฮลิคอปเตอร์ แล้วเฮลิคอปเตอร์ตกทหารคนนั้นรอดตายมาได้ราวกับปาฏิหาริย์

วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังและผู้คนนิยมเล่นหามากที่สุดของท่านก็คือ

ตะกรุดหนังเสือ

เพราะใช้ดีมีประสบการณ์ในด้านคงกระพันชาตรีและเหนียวสุดๆ ตะกรุดของหลวงพ่อเที่ยงแท้ๆ นั้นหายากมาก เพราะตามตำราของท่านต้องทำมาจากหนังเสือ ตะกรุดของท่านจึงมีน้อย วัตถุมงคลของหลวงพ่อเที่ยงนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่นักสะสม เพราะมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับเสือ ทั้งตะกรุดหนังเสือ เหรียญรุ่นเสือเผ่น

การทำตะกรุดของหลวงพ่อนั้นเริ่มจากท่านออกธุดงค์เป็นเวลานานหลายสิบปี มีกะเหรี่ยงที่นับถือท่านเอาหนังหน้าผากเสือไฟและเสือโคร่งมาถวายกับท่านหลายผืน เมื่อท่านกลับมาอยู่วัดจึงตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดมัดตะกรุดได้ โดยให้แยกหนังหน้าผากเสือไว้ส่วนหนึ่ง ส่วน หนังทั้งตัวเสือหลวงพ่อลงอักขระคาถาแผ่นตะกรุดแล้วม้วนใช้เชือกมัดหัวท้ายตะกรุดจากนั้นทารักเป็นตัวจับยึดให้แน่นแล้วนำไปปลุกเสกเฉพาะวันอังคารกับวันเสาร์จนครบไตรมาส จึงนำไปแจกจ่ายญาติโยมที่ศรัทธา


ส่วนประเภทเหรียญรูปเหมือนก็ได้รับความนิยม และเต็มไปด้วยประสบการณ์ด้าน "ความเหนียว" อย่างเช่น

เหรียญรุ่นแรก ปี 2508 ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์, เหรียญรุ่น 2 พิธีเสาร์ห้า ปี 2509

เหรียญรูปไข่ รุ่นพิเศษ ปี 17 ด้านหลังเป็นยันต์ห้าของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

และหลวงปู่ทิมได้เดินทางมาปลุกเสกร่วมกับเกจิที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

ส่วนประเภทพระเนื้อผงก็ต้องพระสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อผงชานหมาก

ทุกอย่างมีประสบการณ์ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของผู้ที่เอาไปใช้

เพราะเรื่องเหนียว ไม่เข้าใครออกใคร แต่อย่าริไปลองเด็ดขาด!!


ที่มา..http://www.khaosod.co.th
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-24 12:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-24 12:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติพระครูจันทสโรภาส (หลวงปู่เที่ยง จันทสโร) อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สถานนะเดิม……..นามเดิม นายเที่ยง ท่านกเอี้ยง เกิดวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ โยมบิดาชื่อนายเขียว ท่านกเอี้ยง โยมมารดาชื่อนางทองแคล้ว ท่านกเอี้ยง มีพี่น้องรวม ๘ คน หญิง ๕ คน ชาย ๓ คน มีรายชื่อดังนี้ ๑.หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร (มรณภาพแล้ว) ๒.พระสาย ท่านกเอี้ยง (มรณภาพแล้ว) ๓.นางทองดี ท่านกเอี้ยง (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๔.นางทองคำ วรรณวงศ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๕.นางเปลื้อง ท่านกเอี้ยง (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๖.นางปลด ท่านกเอี้ยง (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๗.นายตุ้น ท่านกเอี้ยง (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๘.นางปุ้น ท่านกเอี้ยง (ยังมีชีวิตอยู่) วัยเด็กหลวงพ่อเที่ยง ใช้ชีวิตแบบเด็กชนบททั่วไป การดำเนินชีวิตอยู่ตามท้องไร่ท้องนา


มีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และความยุติธรรม เป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกันยกให้เป็นพี่ใหญ่ เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร หลวงพ่อเที่ยงได้ช่วย บิดา มารดา ทำนา จนมีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้รับหมายเรียกจากทางราชการ ให้เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเป็นทหารเกณฑ์ ตามกฎหมาย หลังจากรับราชการทหารครบ ๒ ปี ได้ปลดประจำการออกจากราชการทหาร เมื่อมีอายุ ๒๓ ปี กลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา อีก ๑ ปี เมื่ออายุ ๒๔ ปี ได้อุปสมบทตามประเพณี ณ.วัดบ้านถ้ำ เมื่ออุปสมบทแล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน หลวงพ่อเที่ยงตั้งแต่มาอยู่วัดม่วงชุมก็ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ อย่างตั้งใจ

เนื่องจากในวัยเด็กหลวงพ่อเที่ยงมีโอกาสได้เล่าเรียนไม่มากนักเพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนหลวงพ่อเที่ยงก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้หลวงพ่อเที่ยงมีความแตกฉานเรื่องหนังสืออย่างมาก หลังจากนั้นหลวงพ่อเที่ยงได้ศึกษาธรรมวินัย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ จึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ได้เล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาไสยเวชกับหลวงพ่อปู่เปลี่ยนวัดใต้ ในฐานที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่วัดใต้เป็นพิเศษ ในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านพุทธาคมและไสยเวชแขนงต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่าเวลาหลวงปู่เที่ยงได้รับนิมนต์ไปร่วมพุทธาภิเศกในงานพิธีใดก็ตาม ท่านมักจะมีอาการร้อนวิชาเสมอ มักจะเห็นท่านชอบสัพยอกให้พระเกจิที่ร่วมในพิธีแสดงอิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันชาตรี

โดยท้าให้เอามีดเชือนแขนว่าคมมีดจะบาดเข้าเนื้อหนังหรือไม่ แสดงให้เห็นว่าวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกเต็มเปลี่ยมไปด้วยพุทธคุณ อย่างที่ชาวบ้านทั่วๆไปมักพูดว่าใครแขวนวัตถุมงคลของท่านแมลงวันไม่ได้กินเลือดนั้นหมายความว่าคนๆนั้นหนังเหนียวแทงไม่เข้ายิงไม่ออก นายอารามบอยเคยได้ยินได้ฟังจากจากหลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม เล่าให้ฟังบ่อยๆว่าหลวงปู่เที่ยง องค์นี้ท่านเก่งมากและเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง และทั้งหลวงปู่เที่ยงและหลวงพ่อเต๋ ต่างก็มีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อเที่ยงท่านเป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษาที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณเป็นภาษาไทยแท้ๆฟังไม่เพราะหู

แต่เต็มเปลี่ยมไปด้วยความเมตตา ญาติโยมที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน ไม่เคยปรากฏว่าจะไม่ได้รับความเมตตาจากท่าน ทุกคนได้ความเมตตาช่วยเหลือในทุกๆเรื่องด้วยดี จากการบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าท่านชอบกีฬาชกมวยอย่างมาก การเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง ท่านเป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบทชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย นี่จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดังมาก หลวงพ่อเที่ยงเริ่มลงมือสร้างอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านค่อยๆสร้างโดยไม่มีการเรี่ยไร ท่านไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้านเพราะช่วงเวลานั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างปลายสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เมืองกาญจนบุรีได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมากเพราะทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง

ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจของชาวบ้านตกต่ำอย่างมาก ตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จได้ในที่สุด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๔ สมณศักดิ์ที่ได้รับ ๑.ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูจันทสโรภาส เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๕ ลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธาหลวงพ่อเที่ยงได้จัดงานเฉลิมฉลองและเพื่อแสดงมุทิตาจิตร และได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและเพื่อมอบให้ชาวบ้านที่มาร่วมงาน จึงเป็นการสร้างเหรียญรูปท่านเป็นครั้งแรก ๒.ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูจันทสโรภาส ครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐ ๓.ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูจันทสโรภาส ครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒o

หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๓ เวลา ๙.๐๐ นาฬิกาเศษ ณ วัดม่วงชุม ท่ามกลางความเศร้าอาลัยของศิษย์ยานุศิษย์ และชาวม่วงชุม ชาวม่วงชุมได้เก็บสรีระของหลวงพ่อไว้ถึง ๑๐ ปี ปรากฏว่าร่างของหลวงพ่อไม่เน่าไม่เปื่อย ชาวม่วงชุมจึงพร้อมใจกันสร้างมณฑป พร้อมทั้งโลงแก้วบรรจุร่างที่เป็นอมตะไว้ ณ.มณฑป เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔

จากวันที่หลวงพ่อเที่ยงจากไปถึงปัจจุบันเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ร่างหลวงพ่อเที่ยงก็ยังคงสภาพไม่เน่าเปื่อยเหมือนท่านยังอยู่เป็นที่พึ่งของชาวม่วงชุมตลอดไป ด้วยคุณงามความดีและเมตตาบารมีของท่านยังคงอยู่ในดวงใจของชาวม่วงชุม ชาวม่วงชุมและลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่านมาขอความเมตตาจากรูปหล่อเหมือนจริงหน้าสรีระของท่านในโลงแก้ว จะประสบผลสำเร็จตามใจปรารถนาทุกประการ นายอารามบอยทราบจากเจ้าอาวาสว่าเมื่อผู้มาขอพรจากท่านแล้วประสบผลจะนำหมากพลู ขนมจีนน้ำพริก และแกงเทโพหมู มาแก้บน บางท่านก็จะนำหนังตะลุง มวย ยี่เก มาแสดงแก้บนด้วย
อยากได้เหรียญของท่านสักเหรียญครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2014-11-19 08:06

มีอยู่ดอกหนึ่งครับของหลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม นครปฐม  ช่วงที่ไปกราบหลวงปู่แย้ม

ไปเจอมาเลยนำมาให้ดูว่า หลวงปู่แย้ม ท่าน ลงอะไรไว้ในตะกรุด

คลี่ตะกรุดหนังเสือ หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม ปี52อัพเดทล่าสุดเมื่อ มากกว่าหนึ่งปี

Credit: อ.วินัย Winai (วิธีการดู ตะกรุดหนังเสือ หลวงปู่แย้ม เก๊/แท้ )

หนังเสือเหมือนหนังเสือ ซึ่งจะบอกว่า เป็นของหลวงปู่แย้ม หรือ รับมากับมือ เช่ามาจากวัด ใครก็พูดได้ ทำให้ตัดสินเก๊/แท้ ยาก เพราะฉะนั้น มาคลี่กันแบบไม่หมกเม็ดดีกว่า ถึงใครจะว่า คลี่ตะกรุดแล้ว ตะกรุดจะเสื่อม ก็ช่าง ดีกว่า ห้อยตะกรุดปลอมของใครก็ไม่รู้ ลองมาดูกันชัดๆ ไม้ก้านลาน+รอยจารยันต์ครู ลายมือหลวงปู่แย้ม ชัดเจนมั้ยครับ! ฯ

: ตะกรุดหนังเสือ หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม ปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา 2551 จึ่งออกให้บูชา ปี51-52 ตะกรุดหนังเสือชุดนี้ หลวงปู่จะจารด้วยตัวท่านเองทั้งหมด แล้วนำมาม้วนรอบกับไม้ก้านตาล ฯ







ตะกรุดหนังเสือ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-10-14 08:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-10-14 08:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทุกอย่างมีประสบการณ์ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของผู้ที่เอาไปใช้

เพราะเรื่องเหนียว ไม่เข้าใครออกใคร แต่อย่าริไปลองเด็ดขาด!!



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้