ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1891
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

รากเหง้าเก่าแก่ร่วมกัน

[คัดลอกลิงก์]
วงปี่พาทย์เขมรในหัวเมือง
เพ็ญชมพู:




นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง

หนังสือเครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ (โดยนักวิชาการดนตรีชาวกัมพูชาจากมหาวิทยาลัยภูมินทรวิจิตรศิลปะ กัมพูชา) ที่สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แปลเป็นไทยจากภาษาเขมร แล้วพิมพ์เป็นเล่ม ขายเล่มละ ๒๒๐ บาท ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผมเขียนคำนำเสนอว่า




“ดนตรีกัมพูชาและดนตรีไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกันราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีระบบเสียงไม่เท่ากันมาแต่ดั้งเดิมเหมือนกัน เป็น ‘วัฒนธรรมร่วม’ ของดนตรีสุวรรณภูมิบนผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ มีความเป็นมายาวนานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้




เช่นเดียวกับดินแดนและผู้คนในกัมพูชาและไทย มีพัฒนาการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับดินแดนและผู้คนสุวรรณภูมิ”




นางนาคเป็นสัญลักษณ์บรรพชนร่วมกันทั้งของตระกูลมอญ-เขมร และไทย-ลาว

มีคำบอกเล่ากับมีพิธีกรรมเกี่ยวกับนางนาคเหมือนกันหมดดูได้จากเพลงนางนาค

ร้องนางนาค พรรณนาความงามของนางนาคที่แต่งตัว

ปักปิ่นทัดดอกไม้ ประดับดอกจำปาสองหู

และที่สำคัญคือห้อยสไบสองบ่าสง่างามตามนิทานและตาม

ประเพณีแต่งงานที่เจ้าบ่าวจะต้องเกาะชายสไบเจ้าสาวเข้าหอ

(แสดงว่าผู้หญิงมีฐานะสูงกว่าผู้ชาย) มีเนื้อร้องอยู่ในบทมโหรีโบราณครั้งกรุงเก่า





เพลงนางนาคเป็นสัญลักษณ์บรรพชนร่วมกันของกัมพูชาและไทย เท่ากับเป็นพยานยืนยันว่าดนตรีกัมพูชาและไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกัน ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ตราบจนทุกวันนี้ จะต่างกันบ้างก็ในรายละเอียดปลีกย่อย เช่น เรียกชื่อเครื่องดนตรีและเพลงบางอย่างไม่เหมือนกัน เพราะอยู่ในตระกูลภาษาต่างกัน ราวหลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ กาฬโรคระบาดรัฐชายทะเล คนชั้นนำตระกูลมอญ-เขมรล้มตายมาก ทำให้ตระกูลไทย-ลาวเติบโตมีอำนาจแทน แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นศูนย์กลาง



ยกภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์ แล้วปรับอักษรเขมร (ขอม)เป็นอักษรไทย เลขเขมรก็เป็นเลขไทย ประชากรที่เคยเป็นขอมหรือเขมรก็กลายเป็นคนไทย อยู่ในอำนาจรัฐไทยที่มีขึ้นมาใหม่



ขณะเดียวกันก็สืบทอดศิลปวิทยาจากเขมรเมืองพระนคร (นครวัด) กับเมืองนครหลวง (นครธม) รวมทั้งสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น พระที่นั่ง, พระเมรุมาศ, ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา, การปกครอง, ฯลฯ

จนถึงดนตรีและ“เพลงการ” แล้วรับคำเขมรมาใช้งานว่า เพลง, ตระ ฯลฯ

ครั้นต่อมาราวหลัง พ.ศ. ๒๔๐๐ กัมพูชารับเทคโนโลยีก้าวหน้าบางอย่างและวัฒนธรรมร่วมสมัยจากไทย เช่น เพลงดนตรี“เถา” ที่สร้างใหม่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


จากบทความเรื่อง "ดนตรีเขมร—ดนตรีไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกัน"



สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนรายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่  ๑๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๔


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4316.315;wap2
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้