ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 20173
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วิธีล้างพระเนื้อดิน

[คัดลอกลิงก์]
วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7977 ข่าวสดรายวัน


วิธีล้างพระเนื้อดิน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



พอดีช่วงนี้ออกรายการ "รู้ให้จริงกับ อ.ราม" ช่อง Home channel พูดถึง "การล้างพระ" ซึ่งผู้ชมให้ความสนใจกันแบบถล่มทลาย เลยถือโอกาสมาเล่าสู่แฟนานุแฟนในลักษณะข้อเขียนบ้างครับ



ต่อข้อถามว่า ทำไมต้องล้างพระ ก็ต้องตอบว่า เพราะพระเปื้อน หรือมีอะไรต่อมิอะไรปกคลุมสภาพพระเอาไว้ เช่น เมื่อนำ "พระมาห้อยคอ" ก็มี เหงื่อไคล คราบสกปรก ฝุ่นละออง ขี้เกลือ ฯลฯ หรือ "พระออกจากกรุ" ก็จะมี ดิน ทราย ขี้กรุ คราบกรุ คราบน้ำฮาก (น้ำที่ต้นไม้ใหญ่ดูดไว้ในรากตอนหน้าน้ำ พอหน้าแล้งก็จะคายออกมา ส่วนมากจะมีแร่เหล็กปนอยู่) หินปูน สนิม ราดำ รักน้ำเกลี้ยง รักดิบ เป็นต้น



วันนี้พูดถึง "การล้างพระเนื้อดิน" ก่อน พระเนื้อดินที่ทำลายสถิติการล้าง จนสนนราคาก่อนและหลังล้างห่างกันหลายพันลี้ ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก เนื้อสีแดง ที่วงการเรียกกันว่า "องค์เจ้าเงาะ" ล้างโดย ท่านอาจารย์เชียร ธีระศานต์ เชื่อไหมครับ อาจารย์เชียรล้างตั้ง 11 ครั้ง กว่าจะ "เห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน รูปเงาะนั้นใส่ให้คนหลง ใครๆ ไม่เห็นรูปทรง พระเป็นทองทั้งองค์อร่ามตา" ที่คลุมท่านไว้น่ะเขาเรียกว่า ราดำ เป็นพืชชนิดหนึ่ง ถ้าพระไม่แท้ราดำจะไม่ขึ้นหรอกนะครับ คนล้างก็เก่งทิ้งราดำไว้นิดๆ เป็นการการันตีว่าของแท้แน่นอน ต่างชาติเช่าไปราคาตั้งห้าสิบล้านนะครับ ล้างพระดี- ไม่ดี น่าศึกษารึไม่ ... คิดเอาเอง



ทีนี้ถ้าจะล้างพระเนื้อดินทั่วๆ ไปที่ห้อยคออยู่ หรือมีคราบสกปรกจับ ก็ให้เอาน้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อนนะครับ) แช่พระลงไป เอาพู่กันของ อ.สง่า มยุระ อันไม่ต้องใหญ่มาก ขริบปลายให้ยืดหยุ่น ค่อยๆ ปัดคราบสกปรกออก ถ้ายังเหนียวแน่น ให้เอาสบู่เหลวละลายลงไป แล้วปัดไปปัดมา แต่อย่าปัดซะหน้าพระหายไปด้วยก็แล้วกัน เสร็จแล้วอัญเชิญขึ้นมาเป่าด้วยไดร์เป่าผมให้แห้ง เป่าไกลๆ หน่อยนะครับ แล้วไม่ต้องกดปุ่มร้อนมาก เดี๋ยวพระแตก เมื่อก่อนเขาใช้วิธีผึ่งให้แห้งเอง แต่เดี๋ยวนี้ผึ่งไม่ทันแล้วเพราะคนไทยใจร้อน



แล้วอีกอย่าง เดี๋ยวพระหาย !
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-8 20:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อันว่า การล้างคราบสกปรกแบบนี้ เป็นวิธีการตรวจสอบพระแท้-พระซ่อม ได้อีกประการหนึ่ง ถ้าแท้แน่นอนจริงๆ พระจะไม่ละลายไปกับน้ำอุ่น เพราะพระเนื้อดินแท้ย่อมเผาได้ที่ คงทนแดดฝน ทนร้อนหนาวได้ แต่ปัญหาหนึ่งก็คือ ถ้าซ่อมเอาไว้มักจะหลุดตามน้ำออกมา ดังนั้น หากรู้ว่าพระตัวเองมีซ่อม ไม่ต้องแช่ลงไปในน้ำ ให้ใช้พู่กันหรือคอตตอนบัด จุ่มแล้วค่อยๆ ลูบก็พอแล้ว ตรงไหนรู้ว่าซ่อมก็ข้ามๆ ไปซะ



มีอยู่รายหนึ่งหย่อน "เม็ดขนุน" ลงไปในถ้วยน้ำชา หน้าหลุดออกมา คนไทเกอร์มาขายต้องวิ่งมาหยอด แล้วเอากลับไปอยู่กับก๋งตามเดิม นี่แสดงว่าคนหย่อนเป็น "มวย"

ขอบคุณค่ะ

เยี่ยมๆๆๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้