ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 10185
ตอบกลับ: 40
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทำไมพระพุทธเจ้าจึง บัญญัติ เป็นศีลข้อแรก

[คัดลอกลิงก์]
ทำไมพระพุทธเจ้าจึง บัญญัติ ห้ามฆ่าสัตว์(ปานาติปาตา เวรมณี) เป็นศีลข้อแรกใน ภัยเวรทั้ง ๕ ???
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำไมไม่ บัญญติ ข้ออื่นขึ้นเป็นข้อแรก ???
มนุษย์กระทำผิด ไม่สำรวม ไม่ระวัง ไม่งดเว้น ไม่เว้นขาด ในภัยเวรข้อใดเป็นข้อแรก ทำให้ภัยเวรที่เหลืออีก ๕ ข้อ เกิดขึ้นตาม ๆ กันมา ???












  ๑. พระพุทธเจ้า บัญญัติ ห้ามฆ่าสัตว์เป็น ข้อแรก ในภัยเวร ๕ ประการ เพราะ


     [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ   ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบ
ในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯ


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ  ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความ

พยาบาท ความคิดร้าย ความ คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ   บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อ เข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


     [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น  เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ  ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ ฯลฯ

     เพราะเหตุนี้หรือไม่ ข้อแรกในภัยเวร ๕ ประการ จึงเป็น "ห้ามฆ่าสัตว์" (จงอย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า) จงใคร่ครวญ พิจารณา สอดส่องธรรมเอาเอง
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 16:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-11-6 16:22

๒. มนุษย์กระทำผิด ไม่สำรวม ไม่ระวัง ไม่งดเว้น ไม่เว้นขาด ในภัยเวรข้อใดเป็นข้อแรก
ทำให้ภัยเวรที่เหลืออีก ๕ ข้อ เกิดขึ้นตาม ๆ กันมา เพราะ
   



     [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราชบริพาร โหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เขาเหล่านั้นอันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวายท้าวเธอ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์  เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ




     บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
     ร. เพราะเหตุไร ฯ
     บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ



     บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
     ร. เพราะเหตุไร ฯ
     บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษเธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของ
ท้าวเธอแล้ว ฯ



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทานทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เราทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯ


     [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ


     บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
     ร. เพราะเหตุไร ฯ
     บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 16:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวีขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะพนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเชือกเหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสียนอก  พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลาย รับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้าทักษิณ     คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนครทิศทักษิณแล้ว ฯ


     [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นอย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ครั้นแล้ว จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนนหนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯ



     [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนา ทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก อายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี  บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ ฯลฯ



     อย่างนี้น่าจะพออ้างอิงได้หรือไม่ว่า "อทินนาทาน" เกิดเป็นอย่างแรก (จงอย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า)
     พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
     พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค  ๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
     หน้าที่ ๔๓- ๖๐    ข้อที่ ๓๓-๕๐



ทีมา..http://webboard.watnapp.com
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 16:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การฆ่าเป็นการทำร้ายสิ่งที่รักที่สุดของสัตว์เพราะสัญชาตญาณ
อันดับแรกสุดของสัตว์ทั้งหลายคือรักตัวกลัวตายทั้งสิ้น


- การฆ่าไม่เพียงมีผลต่อสัตว์นั้นๆยังมีผลต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลานและผู้มีความผูกพันด้วย

-โอกาสในการเกิดเป็นคนนั้นยากยิ่งนัก

-หากคนนั้นมีจิตประสงค์จะบรรลุธรรมหากโดนฆ่าก็จะทำให้โอกาสหมดไป
เข้าใจ แจ่มแจ้งเลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-11-7 16:25

คิดจะตั้งกระทู้ถามอยู่พอดีเลยครับ
สืบเนื่องมาจากเมื่อคืน หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ เสร็จ
ในบทสวดก็มีอารธนาศิล ไหว้พระเสร็จ

ประมาณเที่ยงก็จะเข้านอน พักนี้กินเบียร์ก่อนนอนเกือบทุกวันเลย
สงสัยอยู่ว่าทำไม บทอารธนาศีลถึงไม่ขึ้นต้นด้วย
สุราเมระยะ ฯ
เพราะอาจารย์เคยถามผมว่าให้ทำชั่ว 1 อย่าง โดยมีตัวเลือกให้ดังนี้
1. ฆ่าเด็ก
2. เป็นชู้กับเมียคนอื่น
3. กินเหล้า
ผมก็เลือกกินเหล้าเลย เพราะคิดว่าคงเลวน้อยที่สุด
ผลก็คือโดนด่า...มึงนี้เลวจริงๆๆ  
เลวที่กินเหล้าพอกินเหล้าเมา ฆ่าเด็ก เป็นชู้ ก็ทำได้
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-7 16:20
คิดจะตั้งกระทู้ถามอยู่พอดีเลยครับ
สืบเนื่องมาจากเม ...

สรุปคือละเมิดศีลข้อ 5 หนักสุด เพราะมีโอกาสทำให้ศีลข้อที่เหลือขาดหมดใช่ไหมครับ
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2013-11-7 16:51
สรุปคือละเมิดศีลข้อ 5 หนักสุด เพราะมีโอกาสทำให้ศีลข ...

ศีล ๕ ข้อ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ถ้าเราทำผิดข้อห้า ก่อน หลังจากนั้นเราจะทำผิดข้ออื่นๆๆได้เลย
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-7 22:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศีลทุกข้อจะครอบคุมกันหมดครับ
หลวงปู่ชื่น. ท่านให้ศิษย์ถือศีลปรมันต์เพียงข้อเดียว
แต่เมื่อศีลเราละเอียดมากขึ้นจะได้ครบทั้งห้าข้ออย่างไม่รู้ตัว จริงๆ
ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้