ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 150
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>>>พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 รุ่น 3 (108 ปี ชาตกาล)<<<

[คัดลอกลิงก์]
                                                                                                                                                        
                        รอ...ข้อมูล  อีกนิดครับ  จะรีบลงให้......





               

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-3-22 12:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                                                                                                                                                        
                        
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (เขมร: ជ័យវរ្ម័នទី៧)








เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 1693 - พ.ศ. 1703) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร
ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้วย

พระราชประวัติ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ. 1663 หรือ พ.ศ. 1668 พระนามเดิมคือเจ้าชายวรมัน ทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี สตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ กองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธรปุระครั้งนั้น เจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปี จนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบ ในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ
พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนคร” หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่” และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมา ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม
พระองค์ทรงสถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขึ้นมา ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เอง คือพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ในหลายปราสาทที่ทรงสร้างขึ้น เชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง
หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้ นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายซึ่งสันนิษฐานเป็นเมืองเกิดของพระมารดา และปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และยังมีอาณาจักรละโว้ เมืองศรีเทพ อีกด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่าง ๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสด็จสวรรคตประมาณปี พ.ศ. 1758 หรือ พ.ศ. 1762 เชื่อกันว่ามีพระชนมพรรษายืนยาวถึง 94 ปี ด้วยฉลองพระนามหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
นครธม
[size=12.3704px]




นครธม (เขมร: អង្គរធំ)
เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ
และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน
และมีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ
จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย
เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ
อีก 3 ด้าน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-3-22 12:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากหนังสือ....“พระไภษัชยคุรุ (เภสัชคุรุ) และตันตระศาสตร์ ในอโรคยาศาลาสมัยวรมันที่ 7” (Bhaisajyaguru and tantric medicine in JayavaramanVII’s hospitals) สมมติฐานเกี่ยวกับโยคศาสตร์สมัยชัยวรมันที่ 7 ส่วนที่เป็นความสงสัย ได้ถูกคลี่คลายโดยเฌ็ม คีธ ฤทธี ศาสตราจารย์ด้านรังสีและมานุษยวิทยา (สิกขาจักร/Journal of the Center for Khmer Studies : 2548)  ทว่าบทความซึ่งเน้นประเด็นอัตลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุและตันตระวิทยานี้ แม้จะไม่เชื่อมโยงกับโยคศาสตร์ในเชิงลึก    แต่ก็ไม่ทิ้งประเด็นว่า ทั้งกระบวนโยคะและวิปัสสนาคือองค์ประกอบของตันตระวิทยา
            แต่ก่อนจะไปถึง สมมติฐานเชิงจินตนาการว่าด้วยท่าโยคะในบางอาสนะเหล่านี้ คือต้นแบบพื้นฐานในงานประติมากรรม (บางชิ้น) สมัยเมืองพระนคร แต่ด้วยเหตุหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มีปรากฏเชิงประจักษ์
เห็นทีต้องเริ่มไปที่ “ตันตระแพทย์” หรือ “แพทย์แนวพุทธ” ของนิกายมหายาน ที่พระเมธีไภษัชยคุรุนำไปเผยแพร่ในอาณาจักรเขมรเมื่อกว่า 800 ปี และเป็นสมมติฐานย่อยว่า   นี่อาจเป็นจุดแรกของปฏิสัมพันธ์ตันตระเวทย์วิทยา ก่อนเคลื่อนไปสู่โยคศาสตร์และวิปัสสนาในสมัยชัยวรมันที่ 7  และเป็นชุดความรู้ทางการแพทย์ที่สำคัญมากยุคหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยองค์ “พระไภษัชยคุรุ” กูรูผู้สถาปนาทางการแพทย์ผู้มีอิทธิพลต่อพระบาทชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมผู้มีพระบัญชาให้มีการสร้าง “อโรคยาศาลา” หรือโรงพยาบาลทั่วราชอาณาจักร  ในเวลาเดียวกัน พุทธศาสนามหายานก็แผ่ไพศาลไปทั่วราชธานี
            กระนั้น ก็ใช่ว่า อันตันตระเวทย์นี้จะเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเมืองพระนครในคริสต์ศตวรรษที่ 12
ก่อนหน้านั้นสมัยเจนละในคริสต์ศักราช 663 อ้างจากจารึกหลักหนึ่ง อ้างถึงภิกษุจากอินเดียนามว่าปุญโญทัญญะ ผู้ถ่ายทอดเวชศาสตร์แขนงหนึ่งแก่ราชสำนักเจนละ (ลิน : 1937)    ต่อมา ปุญโญทัญญะได้จาริกกลับไปเจนละ และนำเอาวิทยาการด้านสันสกฤต เภสัชวิทยาแบบตันตระและองค์ความรู้ด้านรุกขวิทยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคมาเผยแพร่แก่มหาคุรุชาวเจนละ    และจารึกชิ้นหนึ่งเมืองไซฟง (ตอนใต้ของเวียดนาม) กล่าวถึงพระนิมมาณยกาย, พระธรรมกาย และพระสมโภยกาย หรือ “ตรีกาย” ตัวแทนหลักคำสอน 3 ประการของลัทธิกายสามของพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีอยู่ในพุทธนิกายมหายานแบบตันตระ (ฟิโนต์ 1903; Keown, Damien 2004)
นัยยะที่ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 นั้น ยังมีอรรถกถาแบบตันตระบางพระสูตร ที่เอ่ยนามพระโพธิสัตว์ทั้ง 5 และพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ซึ่งมีฐานะสูงกว่าพระโพธิสัตว์     ส่วนหลักฐานจากเมืองพระนครนั้น คือศิลาจารึกและรูปจำหลักประติมากรรมนูนต่ำ ในซุ้มห้องยา-อโรคยาศาลาของปราสาทตาพรหมกิล (Ta Prom Kel) ทางตอนใต้นครธม    อย่างไรก็ตาม บทวิจัยของเฌ็ม คีธ ฤทธี เน้นไปที่อัตลักษณ์ในพระไภษัชยคุรุ กระบวนวิธี บริบาลทางการแพทย์ และสัญลักษณ์ “๑๐๒” ของอโรคยาศาลา ที่ถูกมองข้ามความสำคัญมาตั้งแต่นักประวัติเขมรยุคก่อน
โดยเฉพาะการตีความในจารึกที่เกี่ยวกับอโรคยาศาลาของหลุยส์ ฟิโนต์ (1906) และจอร์จ เซเดส (1940) จนส่งอิทธิพลทางความคิดต่อนักวิจัยรุ่นหลัง อาทิ วิกตอร์ โกลูบิว (1937), คล้อด ฆักส์ (1968) และบรูโน ดาเก็นส์ (1991) ในงานวิจัยอโรคยาศาลาในต่างกรรมต่างวาระ

                 กระนั้น ไม่พบการวิเคราะห์วิจัยอย่างเชิงลึกต่อประเด็นตันตระอายุรเวทสมัยชัยวรมันที่ 7 และพระไภษัชยคุรุ ข้ามศตวรรษที่ผ่านมา    โดยขอกล่าวว่า แนวทางอายุรเวทศาสตร์ทางแพทย์แนวมหายานของพระไภษัชยคุรุ ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในสมัยชัยวรมันที่ 7 นั้น ยังรวมไว้ด้วยพระสูตรและอรรถกถาและบทภาวนาต่างๆ ที่น่าจะถูกนำไปใช้ในการปลาสนาจากโรคาพยาธิ และมิติแห่งความตายของราชสำนักของราชอาณาจักรขอมยุคนั้น   แต่เฌ็ม คีธ ฤทธี เห็นว่า ตัวเลข “๑๐๒” การสร้างอโรคยาศาลานี้ คือมิติเดียวกับสัญลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุฉัน    เองก็เกิดข้อปุจฉาว่า นอกจากความเชื่อด้านพุทธมหายานที่เต็มไปด้วยพิธีกรรมต่างๆ แล้ว มนุษย์ยุคเมืองพระนคร ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แบบใดบ้าง    อีกความเลื่อมใสในศาสตร์ตันตระ จนนำไปสู่การสร้างอโรคยาศาลาของพระบาทชัยวรมันที่ 7 และตัวเลข “๑๐๒” นี้ อาจเกี่ยวกับคำ “บนบาน” พิธีนิยมของราชสำนักแต่บรรพกาล หรือไม่?

            และเหตุใดกระบวนวิธีการรักษาอันน่าเลื่อมใสและกึ่งวิทยาศาสตร์นี้จึงสูญหาย จนเหลือหลักฐานเชื่อมโยงต่อมาที่น้อยมาก?    ทั้งหมดที่กล่าวนี้ หากว่าพระไภษัชยคุรุ ผู้เปรียบได้ไม่ต่างจากโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลทางการแพทย์อย่างมากในสมัยพระบาทชัยวรมันที่ 7 แล้ว    เหตุใดพระองค์จึงไม่ดำริสร้างจารึก อาศรมหรือประติมากรรมรูปจำหลักถวายต่อพระไภษัชยคุรุ ผู้ที่พระองค์ทรงเลื่อมใสตามแบบราชประเพณีสรรเสริญนิยม?
            ฤๅเคยมีอยู่ หากแต่อุบัติอำนาจของอีกฝ่ายในสมัยชัยวรมันที่ 7 ได้นำไปสู่การทำลายหลักฐานะเหล่านั้น?
                พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ.1181 ทรงสร้างเมืองพระนคร ปราสาท อาศรมน้อยใหญ่ โรงพยาบาล ศาลาที่พักผู้เดินทาง ตลอดจนเส้นทางเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบของการออกแบบ ทว่า ในท้ายต่อมาของศูนย์กลางอำนาจ (เกือบ) ทั้งหมด กลับอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพุทธศาสนามหายาน ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระไภษัชยคุรุ และมีข้อสังเกตว่า เหตุที่มีจำหลักพระไภษัชยคุรุอยู่น้อยมากนั้น มาจากความวุ่นวายในปลายรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ 7 ที่เกิดการยึดอำนาจและทำลายล้างลัทธิมหายานของฝ่ายพระองค์จนหมดสิ้น


               ถ้าเช่นนั้น การที่จารึกอโรคยาศาลาและสัญลักษณ์ “๑๐๒” ตลอดจนอัตลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุ จะไม่ได้รับความสำคัญจากปราชญ์วิทูเขมรยุคแรกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร   หากแต่การที่ความสำคัญในองค์รวมของ อโรคยาศาลาที่จะนำไปสู่กระบวนวิธีด้านรุกขศาสตร์พันธุ์พืชและสมุนไพร รวมทั้งประเด็นการรักษาโรคเรื้อนซึ่งเป็นโรคร้ายและระบาด รวมทั้งศิลปศาสตร์ระหว่างโอสถศาสตร์และแพทย์แนวพุทธแบบตันตระที่รวมไว้ด้วยพระสูตรและอภิปรัชญาต่างๆ ที่ถือเป็นวิทยาการสำคัญในยุคนั้น
         อีกความสำคัญของแพทย์แนวพุทธมหายานนี้ ยังเป็นวิธีที่ใช้สืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน นั่นคือ การจับชีพจรเพื่อการวินิจฉัยโรค   ทว่ากระบวนลึกลับของตันตระเวทย์ที่น่าสนใจนี้ อยู่ที่ความเป็นอมตะ และการเล่นแร่แปรธาตุ  โดยหลักฐานที่สนับสนุนวิธีรักษาพยาบาลโรคของสมัยวรมันที่ 7 นั้น ประกอบด้วยโอสถยาพื้นฐาน 5 ชนิด ประกอบด้วย กีร์-น้ำมันเนยบริสุทธิ์, เนยสด, น้ำมัน, น้ำผึ้งและกากน้ำตาลที่พบว่าถูกใช้ในเขตอาศรมปราสาทตาพรหมและพระขรรค์ ซึ่งพบว่ามีจารไว้บนจารึกที่ปราสาททั้งสองแห่งเป็นจำนวน 4 และ 6 ครั้งตามลำดับ


        เช่นเดียวกับเอ็น ดัตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระสูตรพุทธเวชศาสตร์ ตรรกะอภิปรัชญา ศิลปศาสตร์และโอสถศาสตร์ (1988) เอกสารชุดนี้ช่วยเชื่อมโยงว่า มีประวัติการใช้ยาทางการแพทย์และศาสตร์แห่งพระไภษัชยคุรุว่า เปรียบได้ไม่ต่างพระโพธิสัตว์ด้านการรักษาโรค และความสำคัญนี้ได้ส่งอิทธิพลพระบาทชัยวรมันที่ 7 ทั้งด้านศาสนาและสาธารณสุขศาสตร์ของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12   ซึ่งการเล่นแร่แปรธาตุ หรืออายุรเวทศาสตร์ว่าด้วยการชะลอวัยชรา ความยืนยงของชีวิตและอมตนิรันดร์นั้นคือยอดปรารถนาของชาวนครทมโดยเฉพาะชนชั้นกษัตริย์  ผ่านความสำเร็จจากโรคเรื้อนและกระบวนรักษาที่น่าเลื่อมใสในตันตระวิธีมาแล้ว จากหลักฐานปราสาทพระขรรค์และตาพรหม   กระนั้น กระบวนเล่นแร่แปรธาตุแห่งชีวิตและความเป็นอมตะนี้   ยังเป็นความลับที่สาบสูญไปกับยุคหนึ่งของเมืองพระนคร

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
“...พระราชาผู้ปรารถนาความดีและประโยชน์อย่างยิ่งแก่มวลสัตว์โลก พระองค์ได้เปล่งพระปณิธานซ้ำอีกครั้งว่า พระองค์จะช่วยสัตว์โลกทั้งหลายที่จมอยู่ในมหาสมุทร (แห่งทุกข์) ให้หลุดพ้น ก็ด้วยความดีของพระองค์”

พระปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ในการสถาปนาอโรคยศาลา ปรากฏหลักฐานจากการแปลข้อความในจารึกประจำอโรคยศาลาหลายหลัก เช่นโศลกบทที่ว่า
“...โรคที่เบียดเบียนร่างกายของประชาชนนั้น กลับกลายเป็นโรคทางใจ ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นจะไม่ใช่เป็นของตนเอง แต่ความทุกข์ของราษฎรก็เปรียบเหมือนความทุกข์ของผู้ปกครอง...”

จากการศึกษาจารึกที่พบอยู่ในอโรคยาศาล พบการแสดงพระราชปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ปรารถนาให้พสกนิกรของพระองค์พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และในจารึกที่อโรคยาศาล ยังได้บันทึกเกี่ยวกับเครื่องยา กิจกรรมของอโรคยาศาล บัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่และสิ่งของต่างๆ มีการวิเคราะห์กันว่า รายการยาที่ปรากฏในจารึกของอโรคยาศาลนั้นเป็นไปตามหลักอายุรเวท และแตกต่างจากระบบการใช้ยาของคนพื้นเมืองในท้องที่

การสำรวจทางโบราณคดีได้พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า มีอโรคยาศาลที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยไม่น้อยไปกว่า ๓๐ แห่ง จาก ๑๐๒ แห่งที่มีระบุในจารึกว่ามีการสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยมีที่ตั้งกระจายไปอยู่ใน ๑๐ จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อโรคยศาลอาจถือได้ว่าเป็นความพยายามของผู้ถืออำนาจรัฐในการอำนวยสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนในสมัยแรกที่พอจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่

อโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีการดูแลอย่างเป็นระบบ มีแพทย์ผู้ทรงความรู้ในอายุรเวทและอัสดรเวท ประจำอยู่ทำการรักษาโรคโดยการใช้สมุนไพร ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละแห่งมีจำนวนมากน้อยต่างกันไป ได้พบจารึกในอโรคยาศาลบางแห่งกล่าวว่า มีพนักงานอยู่ประจำถึง ๙๘ คน ประกอบด้วยผู้ดูแล ๔ คน แพทย์ ๒ คน ผู้ช่วยแพทย์เป็นผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๔ คน พนักงานเก็บของผู้ชาย ๒ คน เป็นผู้เก็บรักษาดูแลเครื่องยา ช้างและฟืน พ่อครัว ๒ คน มีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำ จัดหาดอกไม้และหญ้าเป็นเครื่องบูชา ตลอดจนทำความสะอาดศาสนสถาน ชาย ๒ คนเป็นผู้จัดหาเครื่องพลีทาน และหาฟืนต้มยา บุรุษพยาบาล ๑๔ คน เป็นผู้ส่งยาให้แก่แพทย์ คนงานผู้หญิง ๘ คน แบ่งหน้าที่ไปทำหน้าที่บดยา ๖ คน และตำข้าว ๒ คน ธุรการชาย ๓๒ คน และผู้ช่วยงานอื่นๆ  แพทย์และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับวัตถุสิ่งของ เสบียงอาหาร รวมทั้งเครื่องยาในการปรุงโอสถจากท้องพระคลังหลวงปีละ ๓ ครั้ง

พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา
พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถ ในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน
พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์
พระนามอื่น ๆ คือ เภษัชราชา ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชา  ผู้ปลดเปลื้องมนุษย์จากโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ หากได้สดับนามของพระองค์ และน้อมจิตบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปของพระองค์ ก็อาจหายจากโรคทางกายและทางใจ กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเภสัชกรผู้เยียวยา จิตวิญญาณของมนุษย์ให้หลุดพ้นอวิชชา มิจฉาทิฐิ ไปสู่โพธิมรรคและนิพพาน ด้วยพระมหาปณิธานที่ ทรงตั้งไว้ระหว่างบำเพ็ญบารมี 12 ประการ

รูปเคารพโดยทั่วไปของพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือครองจีวรแบบนักบวช พร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ วรรณะสีน้ำเงินหรือสีทอง ประทับขัดสมาธิเพชรบนบัลลังก์สิงห์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ถือบาตร บรรจุโอสถ
พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ ถือยาสมุนไพร หรือขวดบรรจุยา โอสถที่บรรจุในบาตรหรือถือในพระหัตถ์ บ้างว่าเป็นกิ่ง อรุรา (arura ไม่มีนามทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รู้จัก) บ้างว่าเป็นกิ่งสมอ บ้างก็ว่าเป็นมะขามป้อม บางครั้งรูปเคารพของพระองค์ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์สุริยประภา และพระโพธิสัตว์จันทรประภา และแวดล้อมด้วยมหายักษ์เสนาบดี 12 ตน ผู้พิทักษ์มหาปณิธานของพระองค์ คือ กุมภิระ  วัชระ  มิหิระ อัณฑีระ  อนิล  ศัณฑิละ อินทระ  ปัชระ  มโหรคะ  กินนระ  จตุระ  และวิกราละ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้