ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2383
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร (พระครูวินัยธรรมอินทร์) ผู้ปลุกเสกเหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกของไทย

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร (พระครูวินัยธรรมอินทร์)
ผู้ปลุกเสกเหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกของไทย      
พระครูวินัยธรรมอินทร์ หรือ หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร ราชบุรี


            พระครูวินัยธรรม (อินทร์ ปัญญาทีโป) วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี หรือ หลวงปู่เฒ่าอินทร์เทวดา พระอริยสงฆ์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่ปลุกเสกเหรียญเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี นั่นก็คือ เหรียญพระพุทธวิริยากร (จิตร ฉันโน) วัดสัตตนารถปริวัตร หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกกันว่า เหรียญเต่า ซึ่งเป็นเหรียญที่แจกในงานพิธีศพของพระพุทธวิริยากร(จิตร)

            พระครูวินัยธรรม(อินทร์) วัดสัตนารถปริวัตร เกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ เวลา ๐๙.๔๐ น. ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ โยมบิดาคือ หลวงวิสาหภัคดี (เพชร) โยมมารดาชื่อ ทิม ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนที่สำนักพะเนินพลู ต่อมาได้มาบรรพชาเป็นสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ที่วัดอัมรินทราราม (วัดตาลอัมรินทร์) จนอายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๒๑  จึงได้อุปสมบทที่วัดอัมรินทราราม โดยมีพระสมุทรมุนี (หน่าย) วัดอัมรินทราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์จิตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปัญญาทีโป"

พระครูวินัยธรรมอินทร์ หรือ หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร ราชบุรี

           
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-9-15 14:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลังจากอุปสมบถ หลวงพ่ออินทร์ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดอัมรินทราราม จนกระทั่งพรรษาที่ ๖ ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์มาอยู่ที่วัดสัตตนารถ และในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ ในทินนาม “พระครูวินัยธรรม”

           วัดสัตตนารถปริวัตร ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นที่ตั้งวัดร้างชื่อ “วัดกลางบ้าน” หรือ “วัดโพธิ์งาม” วัดร้างดังกล่าวนี้ สร้างโดยชุมชนไทยยวนที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

           ซึ่งเดิมที่วัดสัตตนารถฯ ตั้งอยู่ที่ภูเขาสัตตนารถ หรือ ในพื้นที่บริเวณพื้นที่เขาวัง ต่อมาในสมัยพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชประสงค์ ให้สร้างพระราชวังที่ภูเขาสัตตนารถ ทรงให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) จัดทำผาติกรรม ไถ่ถอนที่ดินวัดเขาสัตตนารถให้พ้นจากที่ธรณีสงฆ์ แล้วให้ย้ายวัดสัตตนารถ และก่อสร้างปรับปรุงวัดกลางบ้าน หรือวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดร้างริมแม่น้ำแม่กลองขึ้นใหม่ขนานนามวัดใหม่นี้ว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” แปลว่าวัดที่ย้ายเปลี่ยนไปจากวัดเขาสัตตนารถ


พระครูวินัยธรรมอินทร์ หรือ หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร

            หลวงพ่อพระครูวินัยธรรม(อินทร์) สนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และฝึกฝนจนสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่ออินทร์ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถ มาโดยตลอดจนหลวงพ่อหน่ายมรณภาพ และพระพุทธวิรากร (จิตร) มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงพ่อจิตรก็มรณภาพ ในงานพิธีศพหลวงพ่อจิตรได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึก ที่มักเรียกกันว่า เหรียญเต่า เนื่องจากรูปเหรียญขอบด้านข้างมีขอบยื่นออกมาทำให้มองดูรูปเหรียญแล้วคล้ายๆ รูปเต่า โดยเหรียญนี้หลวงพ่ออินทร์ท่านเป็นผู้ปลุกเสก

           พระครูวินัยธรรม (อินทร์) ปกครองวัดสัตตนารถฯ มาด้วยดีเสมอมา จนถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สิริอายุได้ ๘๒ ปี พรรษาที่ ๖๒

วัตถุมงคลของหลวงพ่ออินทร์

           เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถฯ รุ่นแรก

           สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เมื่อคราวที่หลวงพ่ออินทร์ มีอายุครบ ๗๒ ปี คณะศิษย์และชาวบ้านจึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานทำบุญอายุ มีการสร้างด้วยกัน ๒ แบบ คือแบบตัวหนังสือตรง กับตัวหนังสือโค้ง ด้านข้างของเหรียญจะเป็นขอบข้างเลื่อย

           เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถฯ รุ่นแรก บล็อก พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรง(นิยม)

            สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา ข้างเลื่อย สร้างด้วย เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จำนวนการสร้างบล็อกหลังหนังสือตรงนี้ มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ได้รับไปจะเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด ว่ากันว่าบล็อกนี้เป็นบล็อกที่สร้างครั้งแรก ที่พบเจอส่วนใหญ่กะไหล่จะคล้ำ


เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร รุ่นแรก บล็อก พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรง (นิยม)

            ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่ออินทร์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งเต็มองค์บนอาสนะ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูวินัยธรรมอินทร์"
           ด้านหลัง มีอักขระยันต์ขอมจำนวน ๖ แถว ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๗๓"

            เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถฯ รุ่นแรก บล็อก พ.ศ. ๒๔๗๓ โค้ง

           สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับเหรียญพิมพ์ พ.ศ. ตรง ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา ข้างเลื่อย สร้างด้วยเนื้อทองแดง มีทั้งที่เป็นกะไหล่ทอง และกะไหล่เงิน สาเหตุของการสร้างเกิดจากเหรียญหนังสือตรงที่แจกไปนั้นไม่เพียงพอ ยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับอีกมากจึงต้องสร้างเพิ่ม แต่ด้านหลังจะเป็นตัวหนังสือโค้ง มีจำนวนการสร้างที่มากกว่าพิมพ์หนังสือตรงอยู่มาก ซึ่งบล็อกหนังสือโค้งส่วนหนึ่งที่เหลือจากการแจกให้แก่ศิษย์ไปแล้วท่านได้เก็บรักษาไว้ เพื่อแจกในงานศพของท่านอีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์คือ พิมพ์เลข พ.ศ. หนา และพิมพ์เลข พ.ศ. บาง


เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร รุ่นแรก บล็อก พ.ศ. ๒๔๗๓ โค้ง พิมพ์เลข พ.ศ. หนา

เหรียญหลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร รุ่นแรก บล็อก พ.ศ. ๒๔๗๓ โค้ง พิมพ์เลข พ.ศ.บาง

            ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่ออินทร์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งเต็มองค์บนอาสนะ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูวินัยธรรมอินทร์"
            ด้านหลัง มีอักขระยันต์ขอมจำนวน ๖ แถว ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๗๓" โค้งล้อไปกับขอบเหรียญ

           เหรียญพระวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรก ปัจจุบันหายากพอสมควร โดยเฉพาะเหรียญบล็อกหลังหนังสือตรง ซึ่งสร้างจำนวนน้อยกว่าเหรียญหนังสือโค้ง แต่เหรียญข้างเลื่อยของทั้ง ๒ บล็อกก็หายากเช่นกัน ใครมีควรเก็บไว้ให้ดี.

โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้