ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1648
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

(หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร บุญมาก) วัดดวงแข กทม

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติพระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร บุญมาก)  วัดดวงแข  กทม
พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร บุญมาก) กรุงเทพมหานคร หลวงปู่วิเวียร เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 9 กรกฎาคม 2489อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ พ.ศ. 2484 เป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมถะและวิปัสสนาอย่างมาก ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานต่อผู้ใคร่ศึกษา อาจารย์ของท่านประกอบด้วย พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน (ลูกศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ (ศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท,หลวงปู่เฮง คงฺคสุวณฺโณ วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) วัตถุมงคลที่ท่านอธิฏฐานจิตมีพุทธานุภาพและกฤดาภินิหารอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์และผู้นิยมพระเครื่อง หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร (บุญมาก) ละสังขาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 4 ทุ่มตรง รวมสิริอายุได้ 73 ปี พรรษา 53

การเข้าสู่เส้นทางวิปัสสนากัมมัฎฐานและพระเวทย์วิทยาคม
พระวิมลธรรมภาณ  มีนามเดิมว่า สังเวียน บุญมาก กำเนิด ณ บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา โยมบิดาชื่อ กริ่ม บุญมาก โยมมารดาชื่อ พริ้ง บุญมาก มีพี่น้องรวมด้วยกัน 6 คน คือ 1. นางขาว เหมพิจิตร 2. นางสาวละออง บุญมาก 3. นางน้ำค้าง บุญมาก 4. นางน้ำผึ้ง บุญมาก 5. พระพรหมมุนี (ปุญญารามเถร  หลวงปู่วิชมัย บุญมาก) วัดบวรนิเวศวิหาร 6. พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) วัดดวงแข เมื่อเยาว์วัยได้รับการศึกษา ณ  โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ จบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบวิชาครูเกษตรกรรม  พ.ศ. 2482 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ  เมื่ออายุได้ 18 ปี และได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดดวงแข วันที่ 9 กรกฎาคม 2482  โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์   เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรสอบไล่ได้นักธรรมโท เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้อุปสมบทที่วัดดวงแข โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ ทรงเป็นพระอุปฌาย์ พระสุพจนมุนี (ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระพรหมมุนี สุวจเถรผิน ธรรมประทีป) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดรัตน์ (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระญาณวิสุทธิเถร) วัดดวงแขเป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วได้ทำการสอบบาลีประโยค 3 แต่ปรากฏว่าสอบตกจึงได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเข้าพักอาศัยอยู่กับท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่งหรือบิดาบุญธรรม  และนี่คือวิถีชีวิตของหลวงปู่ที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่เมื่อเสียใจกับการสอบตกในการสอบบาลี หลวงพ่ออยู่ก็เลยให้หันเหชีวิตมาในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานและศึกษาพระเวทย์วิทยาคมจากหลวงพ่ออยู่แทนจนสำเร็จ (หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่งเป็นศิษย์เอกของ 3 พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อนคือศิษย์ของท่านพระครูวิมลคุณากรหรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท พระครูพิสิสถสมถคุณหรือหลวงปู่เฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และพระครูนิวาสธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) วิชาของ 3 พระอาจารย์นี้หลวงพ่อได้ถ่ายทอดให้หลวงปู่วิเวียรจนหมดสิ้น  ตำราพระเวทย์เหล่านี้หลวงปู่วิเวียรได้เคยเล่าให้ฟังว่าปัจจุบันนี้ยังอยู่ที่วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ หลวงปู่ได้เดินทางขึ้น-ลงระหว่างวัดดวงแขกับวัดบ้านแก่ง เวลาเข้าพรรษาจะอยู่ที่วัดดวงแข พอออกพรรษาจะมาอยู่ที่วัดบ้านแก่งเพื่อศึกษาพระเวทย์ต่างๆ กับหลวงพ่อตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2491  หลวงพ่ออยู่ มรณภาพ  พ.ศ. 2491 (อายุ 72 ปี)  เมื่อจัดการงานศพของหลวงพ่ออยู่เสร็จแล้วหลวงปู่ก็ได้เดินทางกลับวัดดวงแขเพื่อทบทวนพระเวทย์วิทยาต่างๆ จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2495 หลวงปู่เล่าให้ฟังว่าในวันหนึ่งมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งได้เดินเข้ามาในวัดดวงแข และขออนุญาตพัก 1 คืน หลวงปู่ก็จัดที่พักให้ที่ศาลาสูง (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) หลวงปู่ก็จัดการกวาดวัดต่อไปจนเวลาประมาณเกือบ 2 ทุ่ม หลวงปู่กวาดวัดเสร็จก็สรงน้ำเพื่อที่จะสวดมนต์ทำวัตร พระภิกษุชรารูปนั้นก็ได้กวักมือเรียกหลวงปู่ไปพบบอกว่าเดี๋ยวสวดมนต์ทำวัตรด้วยกัน เมื่อทั้งสองรูปพร้อมแล้วพระภิกษุชรารูปนั้นก็บอกว่าปลงอาบัติก่อนผมก็เป็นพระธรรมยุติเหมือนกับท่านบวชมาตั้งแต่เป็นเณร เมื่อปลงอาบัติเสร็จแล้วก็เริ่มสวดมนต์กันจนจบ หลวงปู่บอกว่าพระภิกษุชรารูปนี้สวดมนต์ได้เพราะมากอักขระชัดเจนสวดเก่งมาก เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วก็ให้นั่งกัมมัฏฐานประมาณครึ่งชั่วโมง พระภิกษุรูปนั้นก็สั่งให้หยุดนั่ง  และสอบถามประวัติหลวงปู่ว่าใครอบรมสั่งสอนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน  หลวงปู่บอกว่าท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ พระภิกษุชรารูปรูปนั้นก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วพูดว่าท่านหลวงพ่ออยู่นี้เก่งมากอบรมศิษย์ได้ถึงขนาดนี้

พระภิกษุชรารูปนั้นก็บอกว่าตัวของท่านคือพระอาจารย์สิงห์แห่งโคราช  เมื่อหลวงปู่ทราบก็ก้มลงกราบเท้าพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์สิงห์เลยบอกให้หลวงปู่ไปจัดดอกไม้ธูปเทียนผ้าขาวน้ำเปล่าอีก 1 แก้ว พระอาจารย์สิงห์ก็ให้หลวงปู่ถวายท่านเพื่อทำการศึกษาวิชาพระเวทย์วิทยาต่าง ๆ และได้อบรมสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อจนสำเร็จในวิชาของท่าน ในครั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ได้อยู่พักที่วัดดวงแข 10 วัน ได้สอนให้หลวงปู่เขียนอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ มากมาย หลวงปู่บอกว่าวิชากัมมัฏฐานของพระอาจารย์สิงห์นั้นเป็นวิชาที่ลึกซึ้งมากต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี ถึงเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านแนะนำมา  ในระหว่างที่ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้นพระอาจารย์สิงห์ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์ต่าง ๆ ถ้าหากว่าหลวงปู่เดินทางผ่านไปก็ให้ไปกราบพบครูบาอาจารย์เหล่านั้นได้  เมื่อพระอาจารย์สิงห์เดินทางกลับไปจังหวัดนครราชสีมาแล้ว หลวงปู่ก็ได้พบกับพระอาจารย์สิงห์อีกหลายครั้งด้วยกัน อาทิ วัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม จ. กทม. และที่ต่างจังหวัดอีกหลายครั้งรวมทั้งเคยร่วมธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ถึงประเทศลาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่ได้ไปศึกษาวิชาการลบผงจากหลวงพ่อโด่  หลวงปู่เล่าไปให้ฟังว่าหลวงพ่อโด่เก่งมาก ปลุกเสกพระหรือปลัดถึงกับลอยได้วิ่งได้เลยทีเดียวนับได้ว่าพระอาจารย์ของหลวงปู่อีกรูปหนึ่ง  ส่วนสหธรรมิกที่สนิทมีด้วยกันหลายรูป เช่น หลวงปู่อยู่ วัดใหม่หนองพระอง จ.สมุทรสาคร หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง หลวงปู่บุญญฤทธิ์ ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ ฯลฯ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การสร้างวัตถุมงคลวัดดวงแขในแต่ละยุคการสร้างวัตถุมงคลวัดดวงแข มีด้วยกัน  5 ยุค คือ

ยุคแรก ปี 2470 และ ปี2475 พระครูเล้งเป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 3 ท่านได้สร้างเหรียญพระประธานในโบสถ์  วัดดวงแข ออกมา 2 รุ่น  คือ รุ่นที่หนึ่งปี 2470  รุ่นที่สอง ปี2475 เป็นเนื้อดีบุกลักษณะเหรียญรูปไข่ เหมือนกันทั้ง 2 รุ่น ขนาดเท่ากัน ยันต์หลังเหรียญเหมือนกัน แจกในงานซื้อที่ดินถวายวัดดวงแข เหมือนกัน ผิดกันที่พศ.ที่สร้างเท่านั้น

ยุคที่สอง  ระหว่างปี  2494 - 2495  พระภิกษุพันเอกพระบรรจงหัตถกิจ  (หลวงตาบรรจง) เป็นผู้สร้าง เป็นพระผงสมเด็จปรกโพธิ์และขุนแผนจำนวนการสร้างมากหลายพันองค์ ต่อมาหลวงตาบรรจงท่านนำไปบรรจุกรุที่วัดไร่ขิง จ.นครปฐม (ไม่ทราบสาเหตุที่นำไปบรรจุกรุที่วัดไร่ขิง)  มีพิธีพุทธาภิเศกที่วัดดวงแขปี 2495 โดยพระเถราจารย์ 7 หรือ 9 รูป อาทิ  1. หลวงพ่อวัดโกโรโกโส จ.อยุธยา (วัดนี้อยู่หลังวัดสะแกหลวงปู่ดู่)  2.หลวงพ่อวัดเขากะล๊กก๊ก จ.เพ็ชรบุรี  3. หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข 4.พระภิกษุพันเอกพระบรรจงหัตถกิจ (หลวงตาบรรจง) ท่านเป็นพระวัดดวงแข  อดีตท่านรับราชการเป็นทหารยศพันเอก และมีบรรดาศักดิ์เป็นพระบรรจงหัตถกิจ ( เกิด พ.ศ. 2422 มรณะ 2516) อายุ 96 ปี

ยุคที่สาม สร้างเหรียญ 2518 -2520  หลวงพ่อรัตน์ ตุฏฐจิตโต เจ้าอาวาสรูปที่  5  ได้สร้างเหรียญทั้งหมด  3 รุ่น คือ รุ่นแรกปี  2518  แจกในงานฉลองโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดดวงแข  รุ่นที่สอง ปี 2519 เป็นเหรียญกลม มีชื่อหลวงพ่อรัตน์ ด้านหลังยันต์ห้า  รุ่นที่สาม ปี 2520 สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์วัดดวงแขสร้างถวาย โดยเหรียญทั้งสามรุ่น ผ่านการปลุกเศกจาก หลวงพ่อรัตน์ หลวงปู่วิเวียร และหลวงตาเทศ พระวิมลธรรมภาณ

ยุคที่สี่ 2522 -2537   (หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) เจ้าอาวาสรูปที่  6 เริ่มสร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ ปี 2522 – 2537  รวมทั้งหมด 12 รุ่น หลวงปู่ได้สร้างวัตถุมงคลหลายแบบและเป็นที่นิยมเสาะแสวงหาของบรรดาเซียนพระเครื่อง  เช่น ตระกรุดชินบัญชร พระปิดตาขีไก่แบบผงและเหล็ก  เหรียญหล่อและรูปหล่อโบราณ  พระผงสมเด็จ ผ้ายันต์ เป็นต้น  
ยุคที่ห้า 2539 - ปัจจุบัน   พระครูเขมบัณฑิต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เริ่มสร้างปี 2539  ท่านสร้างหลังจากหลวงปู่สิ้นแล้ว 3 ปี
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัตถุมงคลหลวงปู่วิเวียร
การจัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่วิเวียร ท่านจะอนุญาตให้สร้างได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ยกเว้นปีใดที่มีวันสำคัญเช่นวันเสาร์ 5 หรือวันจันทร์ตรีคือ วันจันทร์ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ก็จะอนุญาตให้สร้างเป็นกรณีพิเศษ และจะกำชับเสมอว่าอย่าทำเป็นการค้า แต่ให้ยึดถือปฏิบัติในทางเมตตาคือการแจก หรือมอบให้ผู้มีจิตศรัทธามาร่วมทำบุญ และห้ามให้นำไปทำบุญนอกวัดเด็ดขาด  วัตถุมงคลของท่านจัดสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 และครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 โดยทุกครั้งท่านจะต้องมาคุมพิธีและต้องปฏิบัติตามที่ท่านสั่งทุกอย่าง ที่สำคัญ มีพระเกจิอาจารย์ดังที่มีวิชาอาคมแก่กล้าร่วมปลุกเสกซึ่งหลายๆ องค์ส่วนใหญ่จะมรณภาพไปแล้ว
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเช่น  







  • พระผงพิมพ์สมเด็จประภามณฑลพุทธเมตตา ปี 2522
  • เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกปี 2522
  • พระผงพุทธเมตตาพิมพ์ซุ้มประตูใหญ่ ปี 2528
  • รูปถ่ายอัดกระจก ปี 2524
  • ตะกรุดชินบัญชร ปี 2529
  • พระปิดตาไก่เหล็กเนื้อนวโลหะปี 2532
  • พระหยดน้ำมนต์หลวงปู่เนื้อนวโลหะ  ปี2532
  • หลวงพ่อพระพุทธชินราชหล่อโบราณ ปี 2533
  • เหรียญยันต์พุดซ้อน ปี 2533
  • รูปเหมือนหล่อโบราณ ปี 2534
  • พระปิดตาตุ๊กตาเล็ก ปี2536
  • พระสมเด็จพุทธเมตตารัศมีหล่อโบราณ ปี 2536
  • พระกริ่งชินบัญชรและพระชัยวัฒน์ ปี 2537
  • เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั่งพานเนื้อนวโลหะ ปี 2537 ฯลฯ

พระกริ่งชินบัญชรและเหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)
การจัดสร้างพระกริ่งในครั้งนี้  หลวงปู่ให้จัดสร้างเป็นแบบพระกริ่งในตัว เรียกว่า พระกริ่งชินบัญชร,  พระชัยวัตน์ชินบัญชร, ขันน้ำมนต์ชินบัญชร และไม่ให้จัดสร้างวัตถุมงคลในปีต่อไปอีก เพราะหลวงปู่มิได้ปลุกเสกอะไรให้อีกแล้ว  ให้จัดสร้างชุดนี้เป็นชุดสุดท้าย วัตถุมงคลหลวงปู่วิเวียร ปี 2537  ได้ผสมชนวนเนื้อนวโลหะที่เก็บเอาไว้ตั้งแต่ ปี 2532  การจัดสร้างพระกริ่งในตัวครั้งนี้ หลวงปู่ให้ทำการประยุกต์องค์พระกริ่ง  เพื่อให้เป็นการดูง่ายและจะไม่ซ้ำซ้อนกับพระกริ่งทั่วไป ทำการตอกหมายเลขและตอกโค้ด 3 ตัว ส่วนเหรียญนั่งพาน สมเด็จพุฒจารย์ (โต พรหมรังษี) เหรียญนั่งพานหลวงปู่วิเวียร รูปเหมือนบูชาหลวงปู่วิเวียร ได้นำเอาเนื้อชนวนพระกริ่งมาจัดสร้างด้วยทั้งสามรูปแบบ

  
พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก พ.ศ. 2537


การจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ชินบัญชร (กริ่งในตัว) ได้ทำถูกต้องตามพิธีโบราณ  โดยการจัดหาแร่ธาตุโลหะ 9 ชนิด นำมาลงอักขระยันต์ 108  นะ 14  รวมทั้งแผ่นยันต์ทั่วประเทศจำนวน  2,479 แผ่น แผ่นชินบัญชรของหลวงปู่วิเวียร  แผ่นยันต์คาถาธิเบต แผ่นยันต์คาถาจีน ทองคำสามกิโลครึ่ง และแร่ธาตุโลหะต่าง ๆ ตามสูตรการทำเนื้อนะวะโลหะโบราณ  ได้นำมาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำมาจัดสร้างเป็นพระกริ่งพระชัยวัฒน์ชินบัญชร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ วัดดวงแข มีพระธรรมญาณมนี วัดเศวตฉัตร เป็นประธานเททอง  พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เวลา 14.39 – 18.09  น.  ณ อุโบสถวัดดวงแข  มีพระอริยสงฆ์ผู้ทรงพระเวทวิทยาคม 36 รูป
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระผงปฐวีมงคล พระวิมลธรรมภาณ ( หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) วัดดวงแข ปี ๒๕๒๘
พระผงปฐวีมงคล เป็นพระผงเนื้อดินเผา สร้างประมาณปลายปี ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ (กลางปี) หลวงปู่ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเดียวประมาณ ๘ ปี และทำการเข้าพิธีพุทธาภิเษกตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ – ๒๕๓๕ รวมระยะเวลา ๕  ปี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ได้มาขออนุญาตสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา  โดยรวบรวมเอาพระกรุเก่าที่แตกหัก อายุหลายร้อยปี และดินกรุเก่า  ในจังหวัดสุพรรณบุรี  มาผสมผสานกับมวลสารมากมาย เช่น  ว่าน  ๑๐๘   ดินกากยายักษ์   ผงลบ ผงตำ และผงเศก  เป็นต้น  พระทั้งหมด มี ๕  พิมพ์  ประกอบด้วย

๑. พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นปรกโพธิ์น้ำตาลแดงว่านดอกมะขาม  จำนวน  ๑๐,๐๐๐  องค์
๒. พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นเนื้อดำผสมดินกากยายักษ์ ประมาณ  ๒๐๐๐  องค์
๓. พิมพ์พระนางพญาปางมารวิชัยเนื้อน้ำตาลแดงว่านดอกมะขาม  จำนวน  ๑๐,๐๐๐  องค์
๔. พิมพ์พระนางพญาพิมพ์ประทานพร  จำนวน  ๑๐,๐๐  องค์   ๕.  พิมพ์พระขุนแผนไข่ผ่าซีกเนื้อน้ำตาลแดงว่านดอกมะขาม   จำนวน  ๑๐,๐๐๐  องค์
ด้านหลังพระทุกองค์จะต้องมียันต์พุทธซ้อน (เป็นยันต์ประจำตัวหลวงปู่)

เมื่อพระผงปฐวีมงคลผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกเสร็จแล้ว ต่อมาในปี ๒๕๓๕ ท่านพระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญโญ – บุญมาก) อดีตเจ้าอาวาสวัดดวงแข ได้ให้พระครูนิวิฐศาสนคุณ (หลวงพ่อเทียน ฐิตฉนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ มารับพระไปบรรจุกรุที่วัดบ้านแก่ง แต่ทว่ามีพระกล่องเล็กจำนวนหนึ่งตกลงมาจากรถประมาณ ๒๐๐๐ องค์  แบ่งเป็น ๓ พิมพ์ ได้แก่ ๑. พระพิมพ์สมเด็จ  ๒. พระพิมพ์นางพญาปางมารวิชัยและนั่งขัดสมาธิ  ๓. พระพิมพ์ขุนแผน ลูกศิษย์จึงได้กราบเรียนให้หลวงปู่ทราบ  และขออนุญาตนำพระเหล่านี้มาแจกแก่บรรดาลูกศิษย์รวมทั้งแจกเนื่องในงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๕
  
This is  Somdej  of  Phrawimondhammaphan


  
พระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (บิดาบุญธรรมหลวงปู่)  วัดบ้านแก่ง


ผลงาน
  • พ.ศ. 2500  ปรับปรุงและพัฒนาวัดดวงแข (พ.ศ. 2500 - 2536)
  • พ.ศ. 2501  อุปถัมภ์วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ สร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ สร้างกุกฏิสร้าง 4 หลัง สร้างศาลาดินหลังเล็ก สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม บูรณะพระอุโบสถ  วิหาร ปรับปรุงฌาปนสถาน ฯลฯ
  • พ.ศ. 2507  อุปถัมภ์การก่อสร้างถนนรังสิโขทัย จังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2512  อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • พ.ศ. 2516  จัดสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลบ้านแก่ง
  • พ.ศ. 2518  จัดสร้างโรงเรียนมัธยมชัชวลิตวิทยาประจำตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ โดยการบริจาคที่ดินของตระกูลหลวงปู่ 35 ไร่
  • พ.ศ. 2526  จัดตั้งศูนย์พัฒนาอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนที่ตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2527  อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดเกาะแก้ว วัดมะเกลือ วัดวิชมัยปุญญาราม
  • พ.ศ. 2530  จัดตั้งบุญนิธิพุทธเมตตา (เพื่อการศึกษา แบละอาหารกลางวันเด็กนักเรียนยากจน)
  • พ.ศ. 2531  อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม รัฐแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ร่วมกับท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พ.ศ. 2536  จัดสร้างกุฏิสงฆ์ที่วัดดวงแขเป็นอาคารทรงไทยสูง 4 ชั้น และบูรณะพระอุโบสถวัดดวงแขอีก ฯลฯ  [8]
ตำแหน่งหน้าที่การปกครอง  
พระวิมลธรรมภาณ 1


  • พ.ศ. 2502  เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2508  เป็นที่ปรึกษาของท่านเลขาธิการคณะธรรมยุติในสมัยพระเทพวราภรณ์ เป็นเลขาธิการคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. 2519  เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดวงแข
  • พ.ศ. 2522  เป็นที่ปรึกษาของท่านเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุติ) มีพระธรรมดิลกเป็นเจ้าคณะภาค และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดดวงแข
  • พ.ศ. 2532  เป็นพระวินยาธิการชุดแรกของคณะธรรมยุติและเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ในสมัยพระพรหมมุนี เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2535  เป็นเจ้าอาวาสวัดดวงแข ฯลฯ
อ้างอิง
  • คณะศิษยานุศิษย์หลวง; และนิพนธ์ คันทรง. ม.ป.ป. . ตำนานหลวงปู่พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก).
  • คณะศิษยานุศิษย์หลวง; และนิพนธ์ คันทรง. ม.ป.ป. . ตำนานหลวงปู่พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก).
  • นิพนธ์ คันทรง. (2537). พระกริ่งชินบัญชร พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร).กรุงเทพฯ:บริษัทสยามศิลปการพิมพ์ จำกัด.
  • นิพนธ์ คันทรง. (2537). พระกริ่งชินบัญชร พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร).กรุงเทพฯ:บริษัทสยามศิลปการพิมพ์ จำกัด.]
  • นิพนธ์ คันทรง. (2539). พระวิมลธรรมภาณานุสรณ์ 75 ปี พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก). กรุงเทพฯ: บริษัทสยามศิลปการพิมพ์ จำกัด.
  • นิพนธ์ คันทรง. (2539). พระวิมลธรรมภาณานุสรณ์ 75 ปี พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก). กรุงเทพฯ: บริษัทสยามศิลปการพิมพ์ จำกัด.
  • พระผงปฐวีมงคล พระวิมลธรรมภาณ
  • กองเลขานุการวัดดวงแข. ม.ป.ป.. หนังสือคู่มือวัดดวงแข.
  • พระครูเขมบัณฑิต. (2536). อนุสรณ์พระญาณวิสุทธิเถร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย


แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-17 07:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้