ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1287
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บ้านห้องแซง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2018-2-28 20:51

....คำขวัญประจำตำบลห้องแซง....
ข้าวหอมมะลิขาวสวย ห้วยลิงโจนน้ำใส
ถิ่นฐานไกลเมืองพิณ หินสามก้อนค่าล้ำ วัฒนธรรมภูไท
""คำขวัญประจำหมู่11""

...ดินแดนวัฒนธรรมภูไท แม่บ้านพร้อมใจร้องสรภัญญะ
ปลอดขยะ ยาเสพติด เศรษฐกิจพอเพียง มีโรงเรียนชุมชนวิทยา มีวัดป่าพัฒนาจิตใจ

::ข้อมูลทั่วไป บ้านห้องแซงใต้ หมู่ที่ 11 ตั้งอยู่ในตำบลห้องแซง   อำเภอเลิงนกทา   จังหวัดยโสธร เดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกันกับบ้านห้องแซง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่มานานกว่า 150 ปี แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีการก่อตั้งถิ่นฐานเมื่อใด มีการสันนิษฐานว่าประชาชนในชุมชนแห่งนี้มีเชื้อสายภูไท(ผู้ไท) อพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองเซโปนและเมืองพิน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
     
          เมื่อประมาณปี พ.ศ.2392 เส้นทางอพยพไม่ปรากฏหลักฐานโดยการตั้งถิ่นฐานมักจะตั้งอยู่ในถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ใกล้แหล่งน้ำเดิมบ้านห้องแซง มีชื่อว่า ฮ่องแซง ซึ่งเรียกตามชื่อแหล่งน้ำที่เลือกตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นลำแซง (หญ้าแซง) ขึ้นอยู่หนาแน่น“ ฮ่อง ” (ภาษาอิสาน) หมายถึง หนองน้ำ หรือคลองน้ำ หรือร่องน้ำ“ แซง ” หมายถึง ต้นแซง ลำแซง หญ้าแซง มีลักษณะลำต้นยาวเรียว ใบคล้ายหญ้าคาปัจจุบัน คำว่า “ ฮ่อง ”ได้ถูกเรียกชื่อเพี้ยนไปตามภาษาเพี้ยน และได้เรียกใหม่ว่า “ ห้อง ” ซึ่งมีความหมายผิดไปจากเดิม  
       เมื่อ ปี พ.ศ. 2524 ได้แยกเขตการปกครองหมู่บ้านจากบ้านห้องแซงหมู่ที่ 1 มาเป็นหมู่ที่ 11 โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายลอด แสงวงศ์  นายบุญเรือง กลางพาพันธ์ ปัจจุบันคือ นายรัชชุพล โอภาส

สภาพทั่วไป/ที่ตั้งหมู่บ้าน
ทิศเหนือจด บ้านดงยาง หมู่ 7ตำบลห้องแซงอำเภอ เลิงนกทาจังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออกจด บ้านห้องแซง หมู่ 17ตำบลห้องแซงอำเภอ เลิงนกทาจังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตกจด บ้านดงยาง หมู่ 16ตำบลห้องแซงอำเภอ เลิงนกทาจังหวัดยโสธร
ทิศใต้จด บ้านหนองติ้ว หมู่ 13ตำบลห้องแซงอำเภอ เลิงนกทาจังหวัดยโสธร
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านห้องแซง  ตั้งอยู่ในตำบลห้องแซง  อำเภอเลิงนกทา  จังหวัดยโสธรบ้านห้องแซง เป็นชุมชนเก่าแก่มานานกว่า 150 ปีแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีการก่อตั้งถิ่นฐานเมื่อใดมีการสันนิษฐานว่าประชาชนในชุมชนแห่งนี้มีเชื้อสายภูไท ( ผู้ไท )อพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองเซโปนและเมืองพิน แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2392 เส้นทางอพยพไม่ปรากฏหลักฐานโดยการตั้งถิ่นฐานมักจะตั้งอยู่ในถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ใกล้แหล่งน้ำเดิมบ้านห้องแซงมีชื่อว่า ฮ่องแซงซึ่งเรียกตามชื่อแหล่งน้ำที่เลือกตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นลำแซง (หญ้าแซง ) ขึ้นอยู่หนาแน่น“ ฮ่อง ” ( ภาษาอิสาน ) หมายถึง หนองน้ำ หรือคลองน้ำหรือร่องน้ำ“ แซง” หมายถึง ต้นแซง ลำแซง หญ้าแซง มีลักษณะลำต้นยาวเรียวใบคล้ายหญ้าคาปัจจุบัน คำว่า “ ฮ่อง ”ได้ถูกเรียกชื่อเพี้ยนไปตามภาษาเพี้ยนและได้เรียกใหม่ว่า “ ห้อง ” ซึ่งมีความหมายผิดไปจากเดิม


บริการสาธารณะ/กลุ่มองค์กรในชุมชน
-ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานและอาสาสมัครสาธารณสุข

-หอกระจายข่างหรือเสียงตามสายที่ใช้การได้
-ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-โรงเรียนบ้านห้องแซง โรงเรียนชุมชนห้องแซงวิทยา
  โรงเรียนห้องแซงพิทยาคม
-สหกรณ์ร้านค้าชุมชน-กองทุนหมู่บ้าน
-กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
การคมนาคมและการสื่อสาร
หมู่บ้านห้องแซง  ห่างจากตัวอำเภอเลิงนกทา ประมาณ  20  กิโลเมตร ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนคอนกรีต 1 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30  นาที


ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ
      บ้านห้องแซง    ตั้งอยู่ในพื้นที่ เทศบาลตำบลห้องแซง  มีเนื้อที่  1,100 ไร่  เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทำนาประมาณ 650 ไร่ ปลูกยางพารา 368 ไร่ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย 82 ไร่ เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นดินร่วนที่อุดมสมบูณณ์ มีลำน้ำห้วยไหลผ่าน มี 3 ฤดู คือ ฤดูแล้ง ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างเย็นสบาย



สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรของหมู่บ้านประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา  มี 100 ครัวเรือนและมีอาชีพรองลงมาคือ ทำสวน มี 50 ครัวเรือน และชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีอาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์ ทำไร่ มีการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มทอผ้าฟ้ายผ้าไหมกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ           ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของหมู่บ้าน 3,178,000 บาท ตามข้อมูล กชช.2 ค ปี 2550จากการที่คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือทำนาผลิตภัณฑ์หลักของหมู่บ้านคือข้าว โดยในปีที่ผ่านมา หมู่บ้านสามารถผลิตข้าวได้ 400 ตัน และรายได้เฉลี่ยของประชากรในหมู่บ้าน คิดเป็นเงิน 43,618 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลจปฐ. ปี 2550

ข้อมูลสินค้าที่น่าสนใจ
กลุ่มทอผ้าบ้านห้อง มีการทอ ผ้าเพื่อใช้และจำหน่ายในและนอกชุมชน มีหลากหลายรูปแบบสามารถทำได้ตามความต้องการของลูกค้า กลุ่มมีรูปแบบการดำเนินงานที่มีการติดต่อทำการตลาดเอง จึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกกว่าทีอื่นๆ
สภาพทางสังคม
สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านห้องแซง มีความมั่นคงถาวรมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบถูกสุขลักษณะครอบครัวมีความอบอุ่น
ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี คนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
- ชาวบ้านห้องแซงได้ประกาศเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด หมู่บ้านมีการเฝ้าระวังเรื่องยาเสพติดมีการปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งผู้สูงอายุและพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
- ครัวเรือนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้านและมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน
- หมู่บ้านมีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
มีภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหมู่บ้านคือ
1. นายดา ขันเงิน อยู่บ้านเลขที่ 42 มีความรู้ความชำนาญในการจักสาน ข้องหวดนึ่งข้าว
2. นายเกษม แก้วหาญ อยู่บ้านเลขที่ 95 มีความรู้ความชำนาญในการทำชุดรับแขกด้วยไม้ไผ่
3. นายทอง ผาเวสอยู่บ้านเลขที่ 47 มีความรู้ความชำนาญในการทำ จักสาน กระติบข้าว
4. นางบัวไรคุณมี อยู่บ้านเลขที่ 54 มีความรู้ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ
5. นายสำราญพุฒจันทร์ อยู่บ้านเลขที่ 3 มีความรู้ภูมิปัญญาด้านยาสมุนไพร ยาต้ม
6. นางปันจาเมืองพิล อยู่บ้านเลขที่ 80 มีความรู้ความชำนาญในการท่อผ้าฝ้ายหมัดหมี่
7. นางผ่องศรี ศรีมุก อยู่บ้านเลขที่ 19 มีความรู้ความชำนาญในการท่อผ้าขาวม้าผ้าห่ม
8. นางทองจันทร์ คุณสุทธิ อยู่บ้านเลขที่ 3 มีความรู้ความชำนาญในการท่อผ้าขาวม้า ผ้าห่ม
9. นางหลุน เจริญตา อยู่บ้านเลขที่ 21 มีความรู้ความชำนาญในการท่อผ้า ตัดเสื้อ
10 นางจันทร์ เมืองพิลอยู่บ้านเลขที่ 38 มีความรู้ความชำนาญในการท่อผ้าขาวม้า ผ้าห่ม





2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-2-28 20:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2018-2-28 20:50

วัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน
ชาวบ้านห้องแซง นับถือศาสนาพุทธมีการดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทอีสานโดยทั่วไป เช่น มีการทำบุญผะเหวด บุญสงกรานต์ บุญเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี มีการแสดงของชาวบ้านเป็นที่สนุกสนานและเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีกันในชุมชนและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนาธรรมชนเผ่าภูไท ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นการแต่งกาย ภาษาพูด การทอผ้ามัดหมี่ ดนตรีพื้นบ้าน และมีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อกัน

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนย่อนใจในชุมชน







1. วัดภูร่มเย็นมโนธรรม (ภูตากแดด)เป็นสถานที่เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรม และชมทิวทัศน์













2. ห้วยลิงโจนเป็นสถานที่เหมาะสำรับพักผ่อนย่อนใจในการชมทิวทัศน์ที่สายงามมาก









เทศกาลและงานประเพณี
ชาวบ้านทั้งหมด นับถือศาสนาพุทธการดำเนินชีวิตประจำวันตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอีสาน
โดยทั่วไป เช่นประเพณีสงกรานต์ บุญบั้งไฟ ซึงจะจัดเป็นประจำทุกปี

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บ้านห้องแซง มีทรัพยากรธรรมชาติ คือแหล่งน้ำธรรมชาติหนองกกโก และป่าชุมชน


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้