ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 20218
ตอบกลับ: 114
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน ~

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติย่อหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าโคกมน บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกราบนมัสการหลวงปู่ชอบ


    นามเดิม บ่อ แก้วสุวรรณ

    บิดา นายมอ แก้วสุวรรณ

    มารดา นางพิลา แก้วสุวรรณ

    เกิด ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง ๔ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๒ คน

    บรรพชาและอุปสมบท เป็นผ้าขาวน้อยถือศีล ๘ อยู่กับอาจารย์พา ซึ่งเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่นอยู่ถึง ๔ ปีเต็ม บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก บ้านนากลาง อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ วัดสร่างโศก (ปัจจุบันวัดศรีธรรมาราม) อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ มีพระครูวิจิตร วิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "ฐานสโม" และได้พบพระอาจารย์มั่น หลังจากออกบวช ๔ ปี ได้ศึกษาธรรมจากท่านอาจารย์มั่นและเป็นผู้เด็ดเดี่ยวในธุดงควัตร

    เทวดามาขอฟังธรรม ท่านเล่าว่า ระหว่างที่ท่านธุดงค์เข้าไปในป่าลึก จะมีพวกกายทิพย์เข้ามาอาราธนาให้อยู่โปรดพวกเขา แม้แต่เสียงที่ท่านสวดมนต์ภาวนา ก็ทำความชุ่มชื่นรื่นรมย์ให้แก่สัตว์โลกไปทั่วทั้งปฐพี แทบไม่เว้นแต่ละคืน จะมีพวกมาจากภพภูมิอื่นเป็นเทวดา นาค มากราบไหว้ขอฟังธรรม มีจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง บางครั้งมีจำนวนเป็นหลักสิบ บางทีก็เป็นจำนวนร้อย บางครั้งก็ถึงจำนวนพัน ๆ

    ปฏิปทาของท่าน ในสายพระธุดงคกรรมฐานศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นที่ยกย่องกันว่า หลวงปู่เป็นศิษย์ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญทางความเพียร มีนิสัยมักน้อย ถือสันโดษ ชอบแสวงหาความสงัดวิเวกอยู่ตามป่าตามเขามาตลอด ข้อปฏิบัติและธรรมภายในของท่านเป็นที่สรรเสริญ แม้จากปากพระอาจารย์ของท่านเอง
    ตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ที่เคยเที่ยวธุดงค์มากับท่านมาแต่สมัยแรก ๆ ว่า ท่านเป็นผู้อยู่ง่าย มาง่าย ไปง่าย ปกติชอบอยู่คนเดียว ไปคนเดียว ถ้ามีหมู่พวกก็จะต้องเลือกเฉพาะผู้มีนิสัยใจเพชร สู้อดทนลำบาก เหมือนอย่างท่าน
    อยู่ง่าย หมายถึงว่าท่านไม่เลือกที่พักนอน ไม่ว่าจะเป็นในป่าในเขา เพียงใช้ใบไม้แห้งหรือใบไม้สดมารอง ปูผ้าอาบลงไปก็ใช้เป็นที่นอนได้ หากอยู่ใกล้หมู่บ้านมีฟางก็ใช้ฟาง มีใบหญ้าก็ใช้ใบหญ้า
    มาง่าย ไปง่าย ของหลวงปู่เป็นที่เลื่องลือ บางคราวอยู่ในป่า ชาวบ้านที่เคารพศรัทธาทำกระต๊อบให้เป็นอย่างดี มีฝา มีหน้าต่าง มีชาน ครบ จัดว่าเลิศในป่าลึก ท่านอยู่เพียง ๒-๓ วันก็ออกเดินธุดงค์ต่อ โดยหาได้ห่วงหาอาลัยต่อกุฏิพิเศษ ที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่

    มรณภาพ เมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๓๘ เวลา ๑๒.๑๕ น. ขณะนำท่านเดินทางจากโรงพยาบาลศิริราชกลับวัดป่าโคกมน จังหวัดเลย ท่านมรณภาพในระหว่างทาง สิริรวมอายุได้ ๙๒ ปี ๑๐ เดือน ๒๗ วัน พรรษา ๗๐ พระราชทานเพลิงศพเสร็จไม่นานนักอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุ

http://www24.brinkster.com/thaniyo/archan0345_2.html

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณครับ
113#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-3 11:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




112#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-3 11:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




111#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-3 11:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




110#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-3 10:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




109#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-27 21:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้เขียนยังจำได้ไม่ลืม เมื่อได้นำหนังสือ “ชีวประวัติพระคุณเจ้า หลวงปู่ชอบ ฐานสโม” ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ไปกราบถวาย พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ แห่ง วัดหินหมากเป้ง ท่านก็อ่านอย่างสนใจ เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน และเป็นเวลาติดต่อกันหลายวันเช่นกัน ที่เรียกผู้เขียนไป... ท่านให้คำวิจารณ์โดยละเอียดและมากด้วยเมตตา จนทำให้ผู้เขียนอดรำพึงในใจไม่ได้ว่า

นี่แหละ ท่านผู้เป็นปราชญ์ ! ...ท่านผู้เป็นปราชญ์แท้ ย่อมเป็นดังนี้...!

....หลังจากที่ พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้อ่านจนจบถึงตอน พระเทวานัมปิยเถระ แล้ว ท่านก็รำพึงกับผู้เขียนว่า

“เทวดารักท่านชอบมาก อันที่จริงแล้ว มากกว่าท่านอาจารย์มั่นด้วยซ้ำไป ...ในเรื่องเกี่ยวกับเทวดานี้แล้ว บางครั้งท่านอาจารย์มั่นก็ยังขอให้ท่านชอบช่วยจัดการให้เสมอ”

เมื่อผู้เขียนแสดงความสงสัยว่า “เอ๊ะ หลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์หลวงปู่ชอบนะเจ้าคะ เทวดาน่าจะรักและเกรงใจหลวงปู่มั่นมากกว่า”

หลวงปู่เทสก์ ท่านก็อธิบายความว่า “เป็นเรื่องบารมีของแต่ละองค์ ก็เหมือนพระพุทธเจ้ากับพระสิวลี ในเรื่องบารมีทางลาภแล้ว บางครั้งพระพุทธเจ้าท่านก็ยังให้พระสิวลีช่วย”

“พระ” ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ

http://www.dharma-gateway.com/mo ... lp-chob-hist-40.htm
108#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-27 21:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่ท่านปฏิบัติธรรมแล้ว สมควรแก่ธรรมแล้วแค่ไหน เราจะทราบได้อย่างไร

นึกถึงที่ครูบาอาจารย์เคยเทศนา สาธกพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาให้ฟัง ยังจำได้ เนื่องด้วยคิดว่า ไพเราะนัก ท่านว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์แท้...”

ถึงเราจะคิดว่า ที่ซึ่งครูบาอาจารย์อย่างหลวงปู่อยู่ เป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์ สงบเย็น แต่ก็อย่าไปนึกสงสัย คาดคิดให้ยุ่งไปเลย...

เราลองนึกถึงความจริงข้อนี้กันดีกว่า...ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นจริง ๆ ...!

ในขณะที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ บรรดาศิษย์ผู้เคารพรัก เลื่อมใส เทิดทูนท่าน ได้กราบขอเส้นเกศาของท่านไปกราบไหว้บูชา เป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว แต่บางคนโชคดี ได้เห็นเส้นเกศาของท่านกำลังรวมตัว ในสภาพจะกลายเป็นพระธาตุแล้ว...!

หรือบางคนนำรูปปั้นเหมือนของท่านบ้าง รูปภาพบ้าง นำขึ้นที่บูชาด้วยเคารพมุ่งมั่น รักเทิดทูนบูชาอย่างสูงสุด วันดีคืนดีจะมีพระธาตุบ้าง เส้นเกศาบ้าง ปรากฏให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ

ในโลกนี้ ยังมีพระอย่างนี้อีกไหมคะ...?

คงมีซี หนูเอ๋ย แต่อาจจะหายากหน่อย และเมื่อเราโชคดีได้พบแล้ว ก็ควรถือเป็นบุญอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสกราบพระอย่างท่าน

“พระ”     ผู้ยิ่งด้วยวิสุทธิธรรม

“พระ”     ผู้ควรแก่สมมตินามของ “พระ” โดยแท้

“พระ”     ผู้แปลว่า ผู้ประเสริฐ ผู้เลิศ ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ผู้ปฏิบัติเป็นธรรมแล้ว ผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ผู้ควรแก่อัญชลีกรรม ผู้ควรแก่ทักษิณาทาน..ผู้เป็นนาบุญเอกแห่งโลก ยากที่จะมีนาบุญใดมาเปรียบได้

“พระ”     ผู้เป็นที่เคารพ สักการะ และเทิดทูนแห่งมวลมนุษย์

“พระ”     ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ

พระเทวานัมปิยเถระ
107#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-27 20:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ท่านเป็นพระอย่างไร.....”

“ท่านเป็นพระอรหันต์ใช่ไหมครับ”


ท่านเป็น...ใช่ไหม ? หนูเอ๋ย ไหนเลยจะตอบได้ ธรรมของท่านอยู่ในจิตของท่าน ท่านผู้รู้เสมอด้วยท่านเท่านั้น จะตอบได้....

เพื่อนสหธรรมิกผู้เป็นกัลยาณมิตรของท่าน อย่างพระคุณเจ้าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระคุณเจ้าหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มรณภาพแล้ว ถวายเพลิง และพระราชทานเพลิงศพแล้ว อัฐิธาตุต่างปรากฏเป็นพระธาตุแล้ว ท่านเหล่านั้นต่างเคยชมจิตของหลวงปู่เสมอ เฉพาะหลวงปู่ขาวนั้น ถ้าชาวจังหวัดเลยไปกราบ ท่านมักบอกเสมอ “....เสียค่ารถมาทำไมให้ลำบาก บ่อเพชรอยู่ที่จังหวัดเลย กลับไปกราบท่านอาจารย์ชอบเด้อ !”

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธดำรัสแก่สามเณรอจีรวตะ ผู้อัคคิเวสนโคตร ณ เวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ความว่า

“ภิกษุนั้น รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย และสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นได้ต่อถ้อยคำกล่าวร้าย กล่าวมาไม่ดี อดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้วอย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด หมดความสำราญเบิกบานใจ ปลิดเสียได้ซึ่งชีวิต ภิกษุนั้นเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ อันกำจัดเสียสิ้นแล้ว มีกิเลสอันย้อมใจดุจน้ำฝาด อันตนสำรอกออกเสียได้แล้ว เป็นอาหุเนยยบุคคล เป็นปาหุเนยบุคคล เป็นทักขิเนยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การอัญชลีกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นใดยิ่งไปกว่า”


หลวงปู่ย่อมรู้ชัดว่า ชาติของท่านสิ้นแล้วหรือไม่ พรหมจรรย์จบแล้วหรือไม่ กิจควรทำของท่านได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกหรือไม่

ท่านได้แสดงให้ประจักษ์ตลอดมาว่า ท่านเป็นผู้อดทนต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย และสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นได้ต่อถ้อยคำกล่าวร้าย กล่าวมาไม่ดี ท่านอดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้วอย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด หมดความสำราญเบิกบานใจ ปลิดเสียได้ซึ่งชีวิต

ท่านคงเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ อันกำจัดเสียสิ้นแล้ว มีกิเลสอันย้อมใจดุจน้ำฝาดอันตนสำรอกออกเสียได้แล้ว

ท่านคงเป็นอาหุเนยยบุคคล เป็นปาหุเนยยบุคคล เป็นทักขิเนยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การอัญชลีกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นใดยิ่งไปกว่า

ท่านเป็นพระอย่างไร...เป็น...ใช่ไหม ? หนูเอ๋ย ดูเหมือนพระพุทธองค์จะเคยตรัสไว้เป็นสัจวาจาว่า “ดูก่อน อานนท์ ...ถ้าผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมยังมีอยู่ พระอรหันต์ย่อมไม่สูญไปจากโลก...”
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้