ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7934
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระทองนางนาค

[คัดลอกลิงก์]
Cr จ๊อ




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ธี ตอบกลับเมื่อ 2016-2-23 17:00
ขอบคุณครับ ประวัติพญานาคกับพระมหาธาตุเจดีย์ จ.น ...

เรื่องจริงครับ..

มีคนนครศรีธรรมราชเดินทางมากราบหลวงปู่ชื่น

ท่านสามารถบอกเรื่องราวของพระมหาธาตุเจดีย์ ได้อย่างถูกต้อง

จนคนนครเอง ยังต้องทึ่ง ในญาณทัศนะของหลวงปู่ชื่น

หลวงปู่ท่านบอกว่า..ในอดีตกาล เคยช่วยเขาสร้างอยู่


ท่านได้มอบพระเครื่องให้คนนคร ไปด้วย

พร้อมกับกำชับว่าให้ติดตัว ไว้ตลอด

ผีพรายน้ำมันจะขึ้นมากินคน

หลังจากนั่นหลายปี พี่แกไปรับเหมางานจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้

ติดชายทะเล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาก่อนก็เกิดขึ้น

เกิดสึนามิ พัดกระทบฝั่ง จนร่างพี่แกลอยไปตามกระแสน้ำ

ก่อนได้สติ ตะโกนออกมาว่า หลวงปู่ชื่นช่วยลูกด้วย

แกบอกเหมือนมีมือมาลากแก ทวนกระแสน้ำ

ไปเกาะอยู่บนยอดกิ่งไม้ จนเหตุการณ์สงบ

แกจึงไต่ลงมาจากยอดกิ่งไม้

รอดตายราวปาฏิหารย์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธี เมื่อ 2016-2-23 17:08

ขอบคุณครับ ประวัติพญานาคกับพระมหาธาตุเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช เท่าที่ทราบ เรือสำเภาไม่สามารถแล่นต่อไปได้จึงนำนางเหมชลาและพระทนกุมารลงน้ำติดฝั่งที่เกาะแก้ว (บางคนก็บอกว่าคือเกาะแก้วที่สุทรภู่นำมาเขียนแต่งในพระอภัยมณี) ระหว่าง 2 ฟี่น้องนอนหลับ พญานาคก็มาขโมยพระสาริริกธาตุลงไปไว้ที่กรุงบาดาล 2 ฟี่น้องร้องให้และระลึกถึงพระมหาเถรอุตคุต ท่านรับทราบและได้ลงไปที่บาดาล พบพญานาคนอนหลับอยู่ในปากมีพระสาริริกธาตุ จึงแปลงตัวเป็นแมลงบินเข้าไปเอาพระสารีริกธาตุคืนแก่ 2 ฟี่น้อง และชี้ทางให้ไปพบพระเจ้าอโศกราช หลังจากพบแล้ว พระเจ้าอโศกราชได้มอบทรัพย์สินและข้าทาสมาสร้างเมือง ณ เกาะทรายแก้ว และสร้างพระมหาธาตุขึ้น ........คนโบราณเชื่อว่า พระธาตุได้บรรจุอยู่บริเวณฐานของพระมหาธาตุ ไม่ใช่ยอดเจดีย์แต่ไม่สามารถบอกจุดที่บรรจุได้เพราะป้องกันขโมยมาลักพระสาริริกธาตุ
......ยายผมบอกเสมอว่า ให้ไหว้พระธาตุที่ด้านล่างห้ามขึ้นไปด้านบนเด็ดขาดจะเป็นบาปกรรม พระธาตุอยู่ข้างล่างเราขึ้นไปอยู่ด้านบนไม่ได้ และรอบพระมหาธาตุก็มีรูปพระอยู่รอบ เราขึ้นไปอยู่เหนือพระจะเป็นบาปกรรม ถ้าขึ้นได้ก็เฉพาะขออนุญาตห่มผ้าพระธาตุเท่านั้นที่ทำเป็นประเพณีปีละครั้ง
... ปัจจุบันผมเห็นเขาเปิดให้คนขึ้นไปเดินรอบด้านบนพระมหาธาตุเจดีย์ ส่วนตัวผมไม่กล้าขึ้นไปเลยครับ จึงไม่เคยเห็นสภาพบนเจดีย์
.......ผมอ่านหนังสือหลวงพ่อเกษมเขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ท่านก็ไม่ชอบให้นำพระไว้ข้างล่าง คนขึ้นอยู่ชั้นบน เพราะท่านเห็นว่า พระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ พระและคนไม่ควรอยู่ที่สูงกว่า
.....ผมอ่านพบว่า หลวงปู่ชื่นก็มีความคิดเห็นแบบเดียวกัน (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ถ้าไปพระมหาธาตุเมื่องนครศรีธรรมราชก็ไม่ควรขึ้นด้านบนพระมหาธาตุเจดีย์ตามคนอื่นนะครับ พระโบราณอยู่ด้านล่างที่ฐานที่ขึ้นไปยืนอยู่ทั้งนั้น ระวังบาปกรรมนะครับ
......เป็นความเชื่อครับ.....เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระมหาธาติและพญานาคจังหวัดนครศรีธรรมราชก็มีแบบนี้ครับ
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
อนุโมทนา สาธุครับ
พระทอง-นางนาค
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 06:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 06:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Cr Sornpraram

แม้ตำนานเก่าแก่ของเขมรอย่าง "พระทอง-นางนาค" จะกล่าวถึงการเกิด

"กัมพูชา" แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีเอี่ยวกับความเชื่อเรื่องการแต่งงานของชาวเขมรด้วย

"พระทอง" เป็นราชบุตรของพระเจ้าอาทิตยวงษ์ กษัตริย์ครองกรุงอินทปรัตบุรีศรีมหานคร

ถูกเนรเทศออกนอกเมือง จึงออกเดินทางรอนแรมจนเจอนครโคกหมัน จึงได้พำนัก

และตั้งบ้านตั้งเมืองของตนอยู่ที่นี่ วันหนึ่ง พระทองเสด็จประพาสเนินโคกธลอก(โคกหมัน)

แต่น้ำเกิดท่วมขึ้นมา กลับที่ประทับไม่ได้ ทำให้ได้พบกับนางทาวดีกุมารี

ราชบุตรีของพญานาค พระทองมีจิตผูกพันรักใคร่นางนาคขึ้นมาทันที หลังน้ำลด

พระทองเสด็จกลับสู่ที่ประทับ เพื่อจัดพระราชบรรณาการเตรียมถวายพญานาค

สู่ขอนางนาคเป็นคู่ครอง เมื่อพญานาคทราบว่าพระทองเป็นลูกกษัตริย์

ก็ยินดียกนางนาคให้ พร้อมทั้งสำแดงฤทธิ์ สูบน้ำบริเวณโคกธลอกออกจนหมด

แล้วเนรมิตเมืองขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "กัมพูชา" อยู่มาวันหนึ่ง พระทองเกิดอยากเห็นเมืองบาดาล

จึงขอร้องให้นางนาคช่วยพาลงไปดู นางนาคจึงให้พระทองเกาะผ้าสไบของตนลงไปเมืองบาดาล

เรื่องราวตอนนี้กลายเป็นที่มาของประเพณีหนึ่งในพิธีแต่งงานของชาวเขมร คือ..

เจ้าบ่าวต้องเกาะชายสไบของเจ้าสาว เพื่อเดินเข้าสู่เรือนหอ

ซึ่งเปรียบเสมือนกับพระทองจับสไบนางนาค เพื่อไปยังดินแดนของนางนาคนั่นเอง
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 06:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากนั้นพระทองจึงสั่งให้ทหารไปไล่พระราชาจามออกไปจากดินแดนนั้นโดยอ้างถึงจารึกที่ตนปลอมขึ้น ถึงแม้พระราชาจามจะไม่เชื่อ คิดจะยกกองทัพมาโจมตี แต่ฝ่ายพระทองด้วยคาดการณ์ไว้จึงชิงโจมตีก่อนและจับพระราชาจามกับไพร่พลได้ พระราชาจามทรงอ้อนวอนขอชีวิตโดยยินยอมที่จะถวายแผ่นดินและไพร่พลให้ พระราชาจามด้วยความคับแค้นใจถึงกับกระอักโลหิตสิ้นพระชนม์


หลังจากนั้นพระทองเกิดกลัดกลุ้มพระทัย จึงทรงชักชวนไพร่พลบริวารออกเที่ยวตามเนินทรายที่เพิ่งงอกขึ้นใหม่ เมื่อเสด็จออกเป็นเวลาน้ำลดจึงทรงท่องเที่ยวไปได้ แต่เมื่อน้ำขึ้นพระองค์จึงทรงหาที่บรรทมเพื่อรอเวลาน้ำลดจะได้กลับพระนคร ครั้นเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้าพระจันทร์ก็ขึ้นเต็มดวงทอแสงกระจ่างนภา


ฝ่ายนางทาวดี ซึ่งเป็นธิดาพญานาคราชนครบาดาล เกิดความร้อนรุ่มอยู่ในปราสาทไม่ได้ เข้าไปกราบขออนุญาตพระบิดาจะพาไพร่บริวารหญิงแทรกแผ่นดินขึ้นเที่ยวเล่นยังโลกมนุษย์ นางทาวดีและบริวารพากันกลิ้งเกลือกเล่นน้ำตามประสานาคไปเรื่อยจนถึงเกาะใหญ่ริมทะเล อาจเป็นเพราะกุศลกรรมแต่ปางก่อนให้นางนาคเป็นคู่ครองพระทอง จึงบันดาลให้ไพร่พลของพระทองหลับไปจนหมดเหลือเพียงพระทองแต่ผู้เดียว พระทองได้ยินเสียงมนุษย์พูดกระซิบกระซาบจึงลุกขึ้นมอง ทรงเห็นเหล่าสตรีเรียงรายอยู่เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงทรงเสด็จเข้าไปใกล้และตรัสถามให้รู้เรื่องราวว่าเป็นใครและมาจากที่ใด


นางทาวดีจึงกราบทูลว่าตนเป็นพระธิดาพญานาค ฝ่ายพระทองที่ทรงมีพระทัยสเน่หานางทาวดีตั้งแต่แรกเห็นจึงเกี้ยวพาและขอให้เป็นอัครมเหสีใหญ่ นางทาวดีจึงกราบทูลว่าตนต้องลงไปกราบทูลขอจากพระราชบิดาเสียก่อน และถวายหมากคำหนึ่งไว้แทนใจแก่พระทองว่าจะไม่ผิดสัญญา จากนั้นนางจึงกลับไปยังเมืองนาค เมื่อพระราชบิดาทรงทราบเรื่องราวทั้งหมดก็ยินยอมตามที่พระธิดาปรารถนา ทรงให้จัดไพร่พลบริวารพร้อมเครื่องบรรณาการแห่แหนพระธิดากลับมายังโลกมนุษย์ และทรงสั่งให้ไพร่พลนาคซึ่งมีฤทธิ์อำนาจสูบน้ำให้แห้งเกิดเป็นแผ่นดินกว้างใหญ่ขึ้น และเนรมิตให้เป็นปราสาทราชวังพร้อมสรรพ


ฝ่ายพระทองก็เข้าไปถวายบังคมพระราชบิดามารดาของนางทาวดี พญานาคราชทรงสั่งให้พระทองเตรียมตัว จะจัดให้มีพระราชพิธีอภิเษกและจะให้เสวยราชสมบัติ และเมื่อเสร็จพระราชพิธี ณ ที่นี้แล้วจะต้องไปจัดที่เมืองของพระราชานาคอีกเพื่อให้เหล่านาคได้รู้จัก อีกทั้งจะถวายพระนครและพระนามของทั้งสองให้ใหม่อีกด้วย


พระทองได้ฟังดังนั้นก็กังวลพระทัยมากเพราะเห็นว่าพระองค์เป็นมนุษย์ จะแทรกแผ่นดินไปเมืองนาคได้อย่างไร นางทาวดีเมื่อทราบเรื่องจึงกราบทูลว่า เพียงพระทองจับชายสไบของนางให้แน่นอย่าปล่อยให้หลุดมือก็จะเสด็จไปได้ ส่วนไพร่พลที่ต้องเข้ากระบวนแห่ทั้งหมดนั้นต้องให้เกาะชายพระภูษาของพระทองให้แน่นก็จะไปถึงเมืองนาคได้เช่นกัน และก็เป็นเช่นนั้นจริง หลังจากที่พระทองพร้อมกระบวนไพร่พลบริวารเดินทางลงถึงเมืองนาค


พระราชานาคก็ได้จัดพระราชพิธีอภิเษกให้แล้วได้ถวายพระนามให้ใหม่ทั้งสองพระองค์คือ พระทองเป็น พระบาทอาทิจจวงษา และนางทาวดีเป็น พระนางทาวธิดา เกาะโคธลอกเป็นกรุงกัมพูชาธิบดี โดยราชานาคทรงจัดเสนานาคที่มีอิทธิฤทธิ์ ๒ ตัวมาคอยเฝ้าคุ้มครองปกป้องแก่กรุงกัมพูชาธิบดีด้วย


ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีปฏิบัติสืบมา คือเมื่อตอนส่งตัวบ่าวสาวเข้าเรือนหอ เจ้าบ่าวต้องเกาะชายสไบเจ้าสาวให้แน่น ตามอย่างที่พระทองเกาะสไบนางทาวดีเพื่อลงไปเข้าพิธีอภิเษกยังเมืองนาคนั่นเอง”


นิทานพระทองที่คัดลอกมานั้นชวนให้ตั้งคำถามมากมาย เช่นที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ (1)* ตั้งข้อสังเกตว่า ในนิทานสำนวนแรกที่เล่าว่าพระทองเป็นโอรสองค์หนึ่งของกษัตริย์จามแล้วมาแต่งงานกับนางนาค นิทานสำนวนนี้มีโครงเรื่องคล้ายกับนิทานที่พบในจารึกจามปาเรื่องพราหมณ์โกณฑิณยะจากอินเดียมาแต่งงานกับนางนาคโสมา ตรงนี้นำไปสู่การตีความได้หรือไม่ว่าเรื่องพระทองโอรสกษัตริย์จามกับนางนาคอาจเป็นตำนานดั้งเดิมก่อนเกิดตำนานเรื่องพราหมณ์โกณฑิณยะที่พบในจารึก


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(1)* เอกสารหลักที่ใช้ในการเรียบเรียงคือ สุจิตต์ วงษ์เทศ, นาคในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ทั้งนี้เพราะจามเป็นพวกที่นับถือฮินดูก่อนมาเปลี่ยนเป็นมุสลิมในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานหลายข้อที่สนับสนุนคำอธิบายว่า จามเป็นพวกที่บุกเบิกการค้าทางทะเลกับผู้คนแถบนี้มาก่อน จึงน่าจะมีความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมกับผู้คนในแถบนี้มาแต่ดึกดำบรรพ์ พระทองจึงอาจเป็นสัญลักษณ์ของพวกจามมากกว่าพวกพราหมณ์จากอินเดียก็เป็นได้ แต่ถึงกระนั้นพระทองก็ยังเป็นตัวแทนของศาสนาฮินดูอันสืบมาจากทิศตะวันตก (อินเดีย) อยู่ดี


ในขณะเดียวกันนิทานสำนวนหลังที่ว่าพระทองหนีมาจากมอญนั้น อาจเป็นเครื่องสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงกัมพูชากับอาณาจักรพุกาม โดยเฉพาะอาจเกี่ยวกับการสืบทอดศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากมอญสู่กัมพูชา ทั้งนี้มีหลักฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ กัมพูชาได้เปลี่ยนจากการนับถือฮินดูมาเป็นนับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งน่าจะแพร่มาจากลังกาเข้าดินแดนมอญ-พม่า ผ่านสยามประเทศแล้วจึงมาถึงกัมพูชา


อย่างไรก็ดี ไม่ว่าพระทองจะเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายใด แต่นิทาน “พระทอง-นางนาค” ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า “นาค” เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมืองให้มั่งคั่งมั่นคง ทั้งนี้ก็ด้วยแรงเสน่หาของพระทองกับนางนาคที่ถือเป็นต้นตระกูลชาวเขมร จนเกิดเป็นประเพณีที่เจ้าสาวต้องจีบหมากพลูคำหนึ่งใส่มือเจ้าบ่าว รวมทั้งประเพณีที่เจ้าบ่าวต้องเกาะชายสไบเจ้าสาวตอนส่งตัวเข้าห้องหอ และเกิดเป็นบทเพลงนางนาคกับพระทองที่ยังคงมีบรรเลงตราบจนปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ของคติความเชื่อเรื่องนาคในดินแดนอุษาคเนย์ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง



นิทานสำนวนนี้คัดลอกจาก ประชุมเรื่องตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมร (ภาคที่ ๑-๙) แปลจากภาษาเขมรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประยูร ทรงศิลป์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี, ๒๕๔๐.




ที่มา..http://tamroiphrabuddhabat.com
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้