ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 10019
ตอบกลับ: 46
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาลวัน ~

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติย่อหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม


พระญาณวิศิษฎ์ สมิทธิวีราจารย์

    นามเดิม สิงห์ บุญโท
    บิดา เพียอินทวงษ์ (อ้วน)
    มารดา นางหล้า
    เกิดที่ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เวลา ๐๕.๑๐ น. มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นคนที่ ๕
    บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๔๖
    บรรพชาอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นสามเณรธรรมยุตในสำนักพระครูสมุห์โฉม เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙
    อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งพระศาสนดิลกเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเสน ชิตเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่าพระครูญาณวิศิษฎ์
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่าพระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณครับ
46#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-31 01:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

45#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภาพพระธาตุหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม


พระธาตุพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
ประดิษฐานภายในบูรพาจารย์เจดีย์
วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา



ที่มา : http://www.doisaengdham.com/

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19481

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
44#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ปัจฉิมบท

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต องค์ที่สำคัญยิ่ง และมีบารมีธรรมมากองค์หนึ่งที่ให้การอบรมพระภิกษุ สามเณร และคณะศรัทธาญาติโยม โดยสืบต่อจากหลวงปู่มั่น ผู้เป็นพระอาจารย์ ถือหลักธรรมสืบทอดมาเป็นลำดับจนถึงสมัยปัจจุบัน หลวงปู่สิงห์ได้ทำคุณประโยชน์แก่ปวงชนอย่างกว้างขวาง ด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆ ท่านสามารถใช้สติปัญญาแยกแยะอุบายธรรม แนะนำศิษย์รุ่นน้องให้ได้รับการภาวนาอย่างได้ผล โน้มน้าวจิตใจของบุคคลที่เคยเคารพยึดถือนับถือภูตผีต่างๆ ให้หันกลับมายึดถือในพระไตรสรณคมณ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ธรรมะของท่านมีทั้งอ่อนน้อมละมุนละไม และเข้มแข็งกระด้างในบางเวลา หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะออกธุดงค์กัมมัฏฐานไปโปรดเทศนาธรรมอบรมญาติโยมไปตามถิ่นต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับและในที่สุดทุกพื้นที่โคมทองแห่งพระศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้แจ่มจำรัสจนทั่วทุกหนแห่ง ด้วยความสามารถอำนาจบุญบารมีของพระปรมาจารย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ผู้เป็นพระน้องชาย ก็ได้สามารถปั้นยอดขุนพลแห่งกองทัพธรรมได้อีกเป็นจำนวนมาก นับว่าหลวงปู่สิงห์เป็นลูกศิษย์ผู้เป็นคู่บารมีของหลวงปู่มั่นโดยแท้จริง

ท่านสาธุชนทั้งหลายที่เดินทางผ่านมายังจังหวัดนครราชสีมา สามารถแวะเข้าไปกราบระลึกถึงพระคุณท่านได้ ที่วัดป่าสาลวัน ณ ที่นี้มีรูปหล่อเหมือนของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้สร้างไว้เพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสมากราบไหว้บูชา และระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(๑) หนังสือแก้วมณีอีสาน
http://www.manager.co.th/Dhamma/
(๒) http://www.dharma-gateway.com/
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง
43#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ โอวาทธรรม

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เรียบเรียงหนังสือ แบบวิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ตามที่คุณหา บุญมาไชย์ ปลัดขวาอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้เรียบเรียงไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ดังนี้

คำปรารภของพระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์
ในการพิมพ์หนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี


หนังสือพระไตรสรณคมน์นี้ เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย ทั้งได้ใช้เป็นวิธีไหว้พระทุกวันด้วย ตามระเบียบธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา ในครั้งพุทธกาลก็มีพระบาลีแสดงให้ปรากฎอยู่แล้วว่า บรรดาประชาชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่ได้ประกาศปฏิญานตนถึงพระไตรสรณาคมน์ทั้งนั้น

อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นมารดาบิดาแห่งยสกุลบุตร แลสิงคาลกมาณพเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิญาณตนถึงสรณะนี้ ดูเหมือนขาดคราว ไม่ได้ใช้ทำกันมานาน จนพวกอุบาสกอุบาสิกากลายเป็นมิจฉาทิฎฐิถือผิดเป็นชอบคือ นับถือภูตผีปีศาจนับถือเทวดาอารักษ์หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่จะตั้งใจนับถือพระไตรสรณาคมน์จริงๆ ไม่ใคร่มีเลยถึงแม้มีก็น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าปรารภถึงพระพุทธศาสนาบ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มากมายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือแจกจึงได้พิมพ์หนังสือ “พระไตรสรณาคมน์” นี้ขึ้น

อีกประการหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาแสดงว่าบุญกับบาปสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้บุคคลที่ได้ทำบาปทำอกุศาลไว้แล้วจะทำบุญแก้บาปก็แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้น จะต้องทำอย่างไรกัน ก็ต้องตอบได้ง่ายๆ ว่า ไม่มีวิธีอย่างอื่น นอกจากวิธีแก้จิตเพราะเหตุว่าวิธีแก้จิตเป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา แลเป็นหัวใจแห่งสมถะและวิปัสนากัมมัฎฐาน มีในพระบาลีก็แสดงให้รู้แจ้งรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าก็ดี ล้วนแต่ได้ทรงแก้จิตมาแล้วทั้งนั้นจึงสำเร็จพระโพธิญาณแลสาวกบารมีญาณพันจากทุข์ในวัฎฎสงสารไปได้ เมื่อบุคคลมาแก้ไขซึ่งจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้ว บาปอกุศลที่ตนทำไว้ทั้งหลายก็หลุดหายไปเอง อุทาหรณ์ข้อนี้ถึงเห็นองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง

วิธีแก้จิตก็คือวิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็เป็นของที่ขาดคราวมานาน จนผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาเข้าใจผิดไปหมดว่าหมดคราวหมดสมัย หมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว จึงทำตนให้เป็นคนจนท้อแท้อปราชัย ไม่สามารถหาอุบายแก้ไขซึ่งจิตของตนต่อไปได้ มีข้อเหล่านี้แลเป็นเหตุทำให้ข้าพเจ้าได้รับความสังเวชมามาก จึงปรารภถึงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น คุณหา บุญมาชัย ปลัดขวา อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้ข้าพเจ้าเรียบเรียบวิธีแก้จิตคือสมาธินี้ขึ้น เชื่อว่าคงเป็นประโยชน์แก่เหล่าพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ได้ปฏิบัติสืบไป อุบาสก อุบาสิกา มีศรัทธาบริจาคทรัพย์พิมพ์ไว้ในพระพุทธศาสนา

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

42#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ วัตถุมงคล

หากจะไม่กล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลของท่าน ก็จะไม่นับเป็นเรื่องราวที่สมบูรณ์ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลไว้ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ดังนี้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สิงห์ได้จัดให้สร้างเหรียญปางลีลา ด้านหน้าเขียนว่า “ฉลองพุทธศาสนา ๒๕๐๐” โดยทำเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหลังเป็นยันต์หมอมหาวิเศษของท่าน แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ แบ่งเป็นของชายของหญิงแยกกัน ไม่ใช้รวมกัน ได้จัดสร้างขึ้นที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

พ.ศ. ๒๕๐๑ หลวงปู่สิงห์ได้จัดสั่งให้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน ให้ทำเป็นรูปไข่ แต่คนรับไปทำคือ นายสมศักดิ์ แสงจันทร์ กลับไปสั่งให้ร้านรับทำที่กรุงเทพฯ จัดทำเป็นรูปโดยตัดตามรอยหยักขององค์พระตามรูปท่านั่งสมาธิของหลวงปู่สิงห์ แต่เมื่อนำกลับมาส่งมอบให้ท่านปลุกเสก ท่านเห็นรูปเหรียญที่ทำมาท่านบอกว่า “แบบนี้เราไม่ต้องการ เราสั่งให้ทำเหรียญแบบรูปไข่แบบกลมๆ ไปทำแบบไหนมา ให้นำไปฝัง” แต่ท่านก็ปลุกเสกให้ เมื่อท่านปลุกเสกให้แล้วจะนำไปฝังดินทิ้ง แต่ทหารค่ายจักรพงษ์ขอไปแล้วนำไปทดลองยิงปรากฏว่ายิงไม่ออก ยิงครั้งที่สามปืนแตกจนไหม้คนทดลองยิง เป็นเหตุให้คนต่างอยากได้ไว้บูชาประจำตัวกัน พวกลูกศิษย์ลูกหาจงมาขออ้อนวอนให้ท่านนำมาแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยนำเหรียญดังกล่าวใส่บาตรไว้ตามแต่ใครจะเอา ให้ทำบุญบูชาองค์ละ ๒๐ บาท นับว่าเหรียญรุ่นนี้แปลกกว่าเหรียญอื่นๆ การทำทำได้สวยงามมาก นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์ ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้หาดูยากแล้ว

พ.ศ. ๒๕๐๔ หลวงปู่สิงห์ได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เป็นแบบตัดริมหยักตามองค์พระอีก ด้านหลังเป็นยันต์หมอมหาวิเศษของท่านเช่นเดิม คราวนี้จัดสร้างเป็นล็อกเกตรูปของท่านด้วย แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ แบ่งเป็นของชายของหญิงแยกกัน ทำแผ่นยันต์หมอมหาวิเศษ และแหวนเงินลงยารูปหลวงปู่สิงห์ด้วย พระชุดนี้สร้างขึ้นแจกในงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

เหรียญรูปหลวงปู่สิงห์รุ่นนี้นับเป็นรุ่นที่ ๒ มีพวกรถไฟนำไปใช้แขวนสร้อยอยู่ ไปทะเลาะมีเรื่องกัน โดนฟันด้วยมีดขอ ๓ ครั้งไม่เข้า พอโดนฟันอีกครั้งโดนสร้อยขาดหลวงพ่อกระเด็น ไม่เข้าอีก หนที่ห้าหลวงพ่อไม่อยู่ด้วย ปรากฏว่าเข้า ตั้งแต่นั้นมาเหรียญหลวงพ่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมาก เหรียญรุ่นนี้เคยมีคนขอเช่ากันในราคาเหรียญละหลายพันบาท จึงเป็นเหรียญเงียบๆ ที่มีราคาค่างวดสูง รู้กันเฉพาะคนที่สนใจในพุทธคุณจริงๆ คนที่มีอยู่ต่างก็หวงแหน พูดถึงด้านพุทธคุณกันแล้วเหรียญอาจารย์ดังๆ ในปัจจุบันยังเป็นรองหลายชั้นนัก

หลังจากนั้นหลวงปู่สิงห์ท่านก็ไม่ได้สร้างวัตถุมงคลอีก นับว่าเหรียญรูปหลวงปู่สิงห์รุ่นที่ ๒ เป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายของท่าน เพราะหลังจากงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา แล้ว หลวงปู่สิงห์ก็ล้มป่วยและได้มรณภาพลงในเวลาต่อมาด้วยโรคมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้ดังกล่าวแล้ว
41#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ สิ่งมหัศจรรย์

หลังจากที่หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม มรณภาพแล้ว ลูกศิษย์จะนำศพของท่านจากกุฏิลงศาลาไปสรงน้ำ พอเจ้าหน้าที่ยกศพขึ้นจากที่ ฝนก็ตกลงมาอย่างไม่มีเค้าเลย แต่พอวางศพท่านลงถึงพื้น ฝนหยุดตกทันที พอหมอนำยามาฉีดกันศพเน่า ก็เกิดฉีดไม่เข้าอีก เล่นเอาเข็มฉีดยาหักไป ๓ เล่ม เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาในขณะนั้น ต้องหาดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาและขออนุญาต พอแทงเข็มเข้าก็ยาไม่เดินอีก ต้องจัดหาดอกไม้ขัน ๕ มาบอกกล่าวอีก และเกิดปาฏิหาริย์ ไม่ต้องเร่งดันเข็มยาวิ่งเข้าเองเลย ทำให้คณะศิษยานุศิษย์ที่อยู่ในบริเวณยกมือท่วมหัวสาธุการกันทั่วหน้า เป็นบุญบารมีของหลวงปู่สิงห์ท่านอย่างแท้จริง

เมื่อตกแต่งศาลาหลังต่ำเสร็จ จะนำศพท่านไปสรงน้ำและตั้งศพท่าน พอเจ้าหน้าที่ยกศพท่านขึ้น ฝนก็ตกลงมาอีกแต่พอถึงที่วางศพท่านลง ฝนก็หยุดทันที ยังความแปลกประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นกันทั่วหน้า

เมื่องานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่สิงห์ก็เช่นกัน พอเจ้าหน้าที่ยกศพของท่านขึ้น ฝนก็เริ่มดกปรอยๆ ได้นำศพของท่านแห่รอบศาลาเมรุสามรอบแล้วนำขึ้นตั้งบนเมรุ พอวางศพท่านลงฝนก็หยุดตกทันที ในวันพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่สิงห์นั้นมีผู้คนจากทั่วสารทิศ มีคณะศิษย์ทั้งฆราวาสและสามเณรรวมทั้งภิกษุในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาร่วมชุมนุมกันครบถ้วน จนบริเวณวัดป่าสาลวันแน่นขนัด คับแคบไปถนัดตา
40#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ขันติธรรมของหลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ท่านมีความเพียรพยายามจริงๆ เดินจงกรมตลอดวัน นั่งสมาธิตลอดคืน บางทีท่านจะสั่งลูกศิษย์คือ พระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ให้ปฏิบัติท่าน โดยท่านจะเข้าสมาบัติเป็นเวลา ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ซึ่งก็หมายความว่าท่านได้อดอาหารเป็นเวลา ๕-๗ วันไปด้วย แต่ร่างกายของหลวงปู่สิงห์ก็มิได้มีอะไรผิดปรกติ ยังเห็นท่านปฏิบัติกัมมัฏฐานเดินจงกรมทุกวี่วันมิได้ขาด

เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเจ็บปวดมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ท่านก็ไม่เคยปริปากบอกใคร เวลาเจ็บป่วยหนักๆ ลุกไม่ขึ้น เมื่อมีแขกมาเยี่ยม แขกถามว่า “ท่านอาจารย์สบายดีหรือ” หลวงปู่สิงห์ท่านก็ตอบเขาไปว่า “สบายดีอยู่” ทั้งๆ ที่เจ็บปวดอย่างที่คนธรรมดาสามัญจะทนไม่ได้ หลวงปู่สิงห์เป็นโรคมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้ ช่วงระยะเวลาบั้นปลายของชีวิต ท่านถูกโรคร้ายนี้คุกคามตลอดเวลา

ครั้งหนึ่งตอนที่หลวงปู่สิงห์นอนป่วยอยู่ พระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ได้เข้าเวรรักษาพยาบาลปรนนิบัติท่าน ขณะกำลังนั่งทำงานพัดอยู่ กลดเจ้ากรรมหล่นลงมากระแทกหน้าอกของหลวงปู่สิงห์ เป็นกลดแบบกัมมัฏฐานที่ฝ่ายมหานิกายใช้เสียด้วย มันเบาอยู่เสียเมื่อไหร่ น้ำหนักร่วม ๓๐ กิโลกรัม ด้ามกลดเป็นเหล็กด้วยซ้ำ ตกลงมาถูกหน้าอกของท่านเป็นรอยช้ำ ท่านมิได้ปริปากพูดแต่ประการใด เพียงแต่นอนมองทำตาปริบๆ เท่านั้น ถ้าเป็นคนอื่นโดนเข้าแบบนี้ ในขณะที่ไม่สบายด้วยเช่นนี้ มิด่าโขมงโฉงเฉงไปหมดหรือ แต่ท่านมีขันติธรรมความอดทนเสียทุกเรื่องทุกอย่าง เป็นพระแท้จริงๆ สมกับเพศสมณะ

ในตอนงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ขณะคณะสงฆ์กำลังทำสังฆกรรมภายในอุโบสถ พอดีกับเวลานั้นโรคมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้ของหลวงปู่สิงห์กำเริบ เจ็บปวดจนกระดิกตัวไม่ได้ ท่านก็ไม่ยอมปริปากบอกให้ใครรู้ จนเสร็จจากสังฆกรรมเรียบร้อย พระสงฆ์องค์อื่นลุกออกไปเกือบหมดแล้ว หลวงปู่สิงห์ท่านจึงได้บอกกับพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ว่า “ขณะนี้ในท้องของเราไม่ปรกติเสียแล้ว” ท่านพูดเพียงแค่นี้เอง แต่ความไม่ปรกติของท่านนั้นทำเอาท่านลุกไม่ขึ้น ต้องหามส่งเข้าโรงพยาบาลทันที ปฏิปทาในด้านความมีขันติธรรมของท่านเป็นที่กล่าวขวัญในระหว่างลูกศิษย์ลูกหาทุกคนด้วยความเคารพศรัทธา


๏ กลับสู่สำนักเดิม

ระยะหลังบั้นปลายของชีวิตของหลวงปู่สิงห์ ท่านถูกโรคมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้รบกวนอย่างหนักตลอดเวลา แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่สั่งสอนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอมิได้ขาด

จวบจนปี พ.ศ. ๒๕๐๒ คณะสัปบุรุษวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ได้มาอาราธนาหลวงปู่สิงห์จากวัดป่าทรงคุณ จังหวัดปราจีนบุรี ให้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันอีก ท่านจึงได้ไปจำพรรษาวัดป่าสาลวัน ๑ พรรษา

พอปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าทรงคุณ ช่วงนี้เองอาการป่วยเริ่มเบียดเบียนท่านอีก ต้องเข้าทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ

พอปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านได้จัดงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา งานเสร็จก็ป่วยหนักจนต้องหามส่งเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ อีก

วันเข้าพรรษาลูกศิษย์ได้รับมาพักรักษาตัวที่วัดป่าสาลวันตามเจตนาของหลวงปู่สิงห์ ดูเหมือนท่านจะรู้วาระของท่านอย่างแน่ชัด โดยท่านได้จัดการสั่งสอนศิษย์และพระภิกษุสามเณร มอบงานหน้าที่ต่างๆ จนเป็นที่เรียบร้อย

จวบจนวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ หลวงปู่สิงห์ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ท่ามกลางคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ที่เฝ้าดูแล ยังความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง วันมรณภาพของหลวงปู่สิงห์นั้นได้มีนิมิตบอกมายังพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่วัดป่าทรงคุณ จังหวัดปราจีนบุรี พระครูใบฎีกาณรงค์ชัยจึงรีบเดินทางมายังวัดป่าสาลวัน แต่ก็มาถึงช้าไป ปรากฏว่าหลวงปู่สิงห์ได้มรณภาพไปเสียก่อนแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง หลวงปู่สิงห์มรณภาพเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ น. ของวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียพระวิปัสสนาจารย์องค์สำคัญของพระกัมมัฏฐานในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ทีเดียว
39#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-23 15:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ สมณศักดิ์และหน้าที่ทางคณะสงฆ์

เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุตผู้ช่วยจังหวัดปราจีนบุรี

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ คณะสงฆ์ขอสมณศักดิ์ที่พระครูญาณวิศิษฏ์ ให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมกันกับหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แต่คำขอสมณศักดิ์ให้หลวงปู่เทสก์ได้ตกไปเพราะท่านยังไม่มีสำนักเป็นที่อยู่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยจังหวัดปราจีนบุรี-นครนายก

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชทินนามที่ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์

และในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นี้เอง ท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนีได้มรณภาพ หลวงปู่สิงห์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายก สืบแทนท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนี


๏ ปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์

ตลอดระยะเวลาหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมิได้ขาด ตอนเช้าทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะนำคณะออกบิณฑบาตแผ่บุญกุศลให้แก่คณะศรัทธาญาติโยม หลังจากนั้นท่านจะทำการอบรมพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติกัมมัฏฐานทุกๆ วันมิให้ขาด ตอนเย็นเมื่อกระทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะอบรมธรรมะ แก้ปัญหาธรรมที่มีพระภิกษุสามเณรติดขัดจนเป็นที่เข้าใจ ตอนกลางคืนท่านจะให้พระภิกษุสามเณรนั่งสมาธิภาวนาทุกรูป ซึ่งปรากฏว่าไม่มีใครกล้าหลีกเลี่ยง พอตอนเช้าท่านก็จะเรียกพระภิกษุสามเณรที่ไม่ปฏิบัติกัมมัฏฐานมาว่ากล่าวตักเตือน ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่างๆ จนเป็นที่ยำเกรงของคณะศิษยานุศิษย์ทุกรูป

หลวงปู่สิงห์ฉันหนเดียว และฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรตลอดชีวิต ท่านถือผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร ท่านถือผ้านิสีทนะปูนั่งเป็นวัตร คือ จะนั่ง ณ ที่ใดก็ตาม ท่านต้องปูผ้านิสีทนะของท่านก่อนจึงจะนั่งทับลงไป การปฏิบัติข้อวัวัตรต่างๆ หลวงปู่สิงห์ท่านถือเคร่งครัดมาก
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้