ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6214
ตอบกลับ: 26
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระครูวิมลญาณวิจิตร(หลวงปู่บุญ ชินวํโส) วัดป่าศรีสว่างแดนดิน ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
พระครูวิมลญาณวิจิตร
(หลวงปู่บุญ ชินวํโส)


วัดป่าศรีสว่างแดนดิน
ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร



๏ บรรพบุรุษ

เดิมปู่ย่าของท่านเป็นคนท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดหนองบัวลำภู ในปัจจุบัน) แล้วได้อพยพย้ายถิ่นฐานจากอำเภอหนองบัวลำภู มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนใหม่อยู่ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปู่ย่าของท่านได้เสียชีวิตลงที่นี่ จากนั้นไม่นานนัก บุตรชายของปู่ก็ได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวอำเภอเขื่องใน แล้วช่วยกันทำมาหากินประกอบอาชีพชาวไร่ชาวนาตลอดมา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณครับ
อนุโมทนาครับ
25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่บุญ ชินวํโส
                      วัดป่าศรีสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
                      ท่านเป็นลูกศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
                      มีประวัติการเที่ยวธุดงค์ที่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง  ท่านเคยเดินธุดงค์ไปถึงภูเขาควาย  ประเทศลาว                     



พระธาตุหลวงปู่บุญ ชินวํโส
พรรณะสีทับทิมองค์นี้ได้รับมาจากสามเณร
  วัดป่าศรีสว่างครั้งแรกที่ได้รับมารู้สึกสงสัยว่าจะเป็นพระธาตุจริงหรือเปล่า เพราะมีลักษณะคล้ายพลอยมาก ต่อมาอีกหลายปีจึงอัญเชิญพระธาุตุองค์นี้
  ี้ไปให้หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  พิจารณา  ท่านจึงรับรองว่าเป็นพระธาตุของหลวงปู่บุญ  จริง  ๆ  ให้รักษาไว้ให้ดี



อัฐิธาตุหลวงปู่บุญ ชินวํโส ชุดนี้ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ ที่วัดป่าศรีสว่าง
                          อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร  หากต้องการไปกราบไหว้สักการะ  เชิญได้ที่วัดป่าศรีสว่าง
                          ถ้าไปวันพระท่านจะเปิดให้กราบ  แต่ถ้าไปวันธรรมดาต้องไปติดต่อขอให้พระเจ้าหน้าที่มาเปิดให้                        

...............................................................................................................


ที่มา http://www.santidham.com/tatu1st/tatu/present/p-bun/p-bun.html

24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อะไรเป็นธรรม

ถ้าว่าธรรมนั้น อะไรเป็นธรรม สิ่งที่ดีก็กล่าวว่าเป็นธรรม สิ่งที่ชั่วก็กล่าวว่าธรรม สิ่งที่ไม่ดีไม่ชั่วก็กล่าวว่าธรรม ดังบาลีว่า กุศลาธมฺมา อกุศลาธมฺมา อพฺยากตาธมฺมา ดังนี้ อะไรเป็นธรรม ในธรรมรัตน์แก้ว่า ความจริงแต่ไม่ดี ก็ไม่เป็นธรรม ความไม่จริงนี้ก็ไม่เป็นธรรม ความเห็นว่าผลของบุญและบาปไม่มี อธิโลกก็ไม่มี ดังรี้เป็นต้น ชื่อว่าความไม่ดีไม่จริง ความว่า พระอาทิตย์เป็นของส่องโลก ให้ความสว่าง ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นที่อาศัยของสัตว์ และการกราบไหว้บูชา ของเหล่านั้น ชื่อว่าความจริงไม่ดี

แต่การปฏิบัติของพวกคนบางพวกนั้น เมื่อเวลา ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในจิต ก็เห็นว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของไม่ดี เป็นกิเลส แล้วชำระจิตของตนให้หลุดพ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็สบาย เบากายเบาจิต เพราะจิตเราอยู่เหนือราคะ เหนือจากโทสะ และเหนือจากโมหะ

พูดถึงเรื่องกิเลส มันก็อยู่ในจิตใจของเรานี้เอง เหตุฉะนั้น จงทำจิตใจของตนให้รู้เท่าทันต่อกิเลส ไม่ได้หมายเอาภายนอก คือกิเลสภายในจิต อยู่ที่จิตของเรานี้แหละ เราพึงชำระจิตให้สะอาดปราศจากความมัวหมองของใจ จึงจะได้รับความสุขกายสุขใจ สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กณฺห ธมฺม วิปฺปหาย เราควรละธรรมอันดำเสีย สุกฺก ภาเวถ ปณฺฑิโต ผู้ประพฤติแต่ธรรมอันขาวจึงสมควรได้ชื่อว่า เป็นบัณฑิตและนักปราชญ์ ผู้ประพฤติธรรมนำตนของตนให้พ้นทุกข์ได้ สมกับที่ว่า วิริเย ทุกฺขมจฺเจติ ผู้ไม่ละความเพียร นำสุขมาให้ บุคคลใดเกียจคร้าน มีแต่นำความทุกข์มาใส่ตนถ่ายเดียว

ด้วยเหตุนี้ เราควรละกิเลสออกจากดวงใจของแต่ละคน อย่าพากันว่ากิเลสเป็นของดี ที่จริงกิเลสเป็นของเศร้าหมอง ฉะนั้น ให้รู้เท่าทันกิเลสเสีย อย่าเข้าใจผิด บางคนเข้าใจว่า กิเลสมีอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น มือ เท้า พากันเข้าใจผิดอย่างนี้ ผลที่สุด เข้าใจว่า รูปตรงข้ามกันเป็นกิเลส ความเห็นอย่างนี้เป็นการเห็นผิดของบุคคลผู้นั้นต่างหาก ความจริงแล้ว กิเลสมันนั่งอยู่ในใจของตนเท่านั้น เหตุฉะนั้น ควรชำระจิตของตนดีกว่าใส่โทษบุคคลอื่น ใส่โทษตนดีกว่าใส่โทษผู้อื่น ถ้าตนดี บุคคลอื่นก็ดีไปด้วย กิเลสก็ไม่มี ตัวเราก็สบายทั้งกายทั้งใจ อย่าพากันประมาทนะ ความตายใกล้เข้ามาทุกขณะๆ ให้รีบทำความดีเสียก่อนตาย ครูบาอาจารย์ก็ได้แต่บอกให้เท่านั้นนะ ทำให้ไม่ได้ ให้พากันทำความเพียร อย่าเก่งแต่คุย ต้องทำด้วย เห็นไหมครูบาอาจารย์พากันทำมา ถ้าอยากไปสวรรค์ อยากไปนิพพาน ให้ลงมือปฏิบัติกันเดี๋ยวนี้

เอาละ ทีนี้ลงมือลงไม้ปฏิบัติได้แล้ว และในที่สุดนี้ ขอให้มี อายุ วรรณะ สุขะ พละ


...............................................................................................................


ที่มา http://watparsdd.blogspot.com/p/blog-page.html
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิของพระอริยะอันมีเหตุประกอบ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่จิตเป็นอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเป็นไฉน

ภิกษุในวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใจภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดังนี้”


จิตคล้ายกับน้ำ

จิตที่สะอาดก็เหมือนกับน้ำที่สะอาด จะใช้ทำอะไรก็ได้ จะดื่มจะกินก็ได้ จะนำไปรดต้นไม้ก็ได้ ถ้าน้ำไม่สะอาด เช่น น้ำทะเล จะเอามาดื่มกินก็ไม่ได้ จะนำเอามารดต้นไม้ก็คงไม่ได้อีก เพราะมันเค็ม มันไม่สะอาด จิตของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้ามันไม่สะอาด คือมีกิเลสเป็นเครื่องเจือปน ทำให้น้ำจิตของเราเป็นไปตามอำนาจของกิเลสแล้ว จะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรหาทางชำระให้ผ่องใส ด้วยการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา

การภาวนานั้น เป็นการควบคุมไม่ให้จิตของเราไหลไปตามอารมณ์ เหมือนกับสำลีหรือนุ่นที่มันเป็นของเบาก็ต้องมีอะไรคอยรักษาไว้ มิฉะนั้นก็จะลอยไปตามลม จิตของเราก็เหมือนกัน เราต้องควบคุมด้วยการภาวนา ตรวจค้นจิตของเรา โดยการน้อมเข้ามาในตน ทบทวนเข้าหาจิตของเราแล้วตรวจค้นอยู่เสมอ ให้รู้ผิดรู้ถูก รู้ดีรู้ชั่วของจิต ต้องค้นต้องคิดในสิ่งที่ผิด ในสิ่งที่หลง ในสิ่งที่เมา ในเมื่อมันเมาในรูปร่างกายของตนก็ให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อจิตผ่องใสแล้ว เราก็มองเห็นดี มองเห็นชั่ว มองเห็นบาปบุญคุณโทษ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ได้ชัดเจน ถ้ากิเลสของเราไม่เบาบางลงไป จิตใจของเราก็ไม่ผ่องใส ก็เท่ากับว่าจิตของเรามันมืด ท่านจึงเรียกว่า จิตมันมืด จิตมันบอด เพราะไม่สามารถจะมองเห็นความเป็นจริงได้ ด้วยเหตุนี้ สมควรที่เราจะต้องชำระจิตของเราให้สะอาดผ่องใสอยู่เสมอ เมื่อใจผ่องใสแล้วจะฟังธรรมหรือพิจารณาธรรมข้อใดก็ย่อมได้เหตุผลกระจ่างชัด ผิดกับเวลาที่จิตเศร้าหมอง จะฟังธรรมหรือจะพิจารณาธรรมข้อใดก็เข้าใจได้ไม่ชัดหรือไม่ลึกซึ้ง

นิสัยที่ไม่ดีของคนเราจะยังมีอยู่ ถ้าทิฐิ การถือตัวยังมีอยู่ในตัวเรา ฉะนั้น การที่จะกำจัดทิฐิให้หมดไปได้ เราจะต้องชำระจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ ให้สะอาดผ่องใสขึ้นมาเสียก่อน เมื่อจิตของเราบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว ก็ย่อมจะรู้ความจริงของโลกได้อย่างแจ่มชัด จนถึงขนาดปล่อยวางความยึดถือได้ในที่สุด

การที่พระพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งโลก ก็เพราะทรงรู้อย่างนั้นเอง รู้แล้วละได้จนกลายเป็นผู้อยู่เหนือโลกได้ในที่สุด เราไม่รู้โลก มีแต่หลงโลก เพราะจิตใจของเรายังไม่หยั่งรู้ ยังไม่ลืมตา ยังหลับอยู่ในกิเลสนั่นเอง การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการทำให้จิตใจของเราตื่นจากการหลับด้วยอำนาจกิเลส ผู้ที่ตื่นจากกิเลสนิทราแล้ว ได้ชื่อว่า พุทโธ คือ รู้อยู่ รู้สึกอยู่ คนเราต้องรู้สึกตัว ถ้าไม่รู้สึกตัว ไม่ระแวดระวังตัวเอาไว้บ้าง ความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท โดยทำความรู้ตัวอยู่เสมอทุกขณะ และให้มีความคิดระแวดระวังตัวของเราอยู่ทุกวิถีทาง แล้วเราก็จะเป็นไปเพื่อความเจริญได้ นี่แหละความจริงที่ควรแสวงหาอย่างยิ่ง ก็คือธรรมะของพระพุทธเจ้านี่เอง
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระครูวิมลญาณวิจิตร (หลวงปู่บุญ ชินวํโส)


๏ ธรรมเทศนาของหลวงปู่บุญ ชินวํโส


คนเราจะดีจะชั่วก็อยู่ที่ใจ

คนเราจะดีจะชั่วก็เนื่องมาจากจิตหรือใจตัวเดียวเท่านั้น ความจริงแล้ว จิตหรือใจจะเป็นตัวรับรู้สิ่งภายนอกทั้งหมด ไม่ว่าจะผ่านมาทางอายตนะใด จะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือเข้าสู่ใจ (โดยความนึกคิด) โดยตรง จิตใจจะทำหน้าที่เป็นผู้รับรู้ทั้งสิ้น โดยเหตุที่ จิตรับรู้อารมณ์ได้หลายทางนี้เอง ถ้าจิตไม่ได้รับการอบรมหรือการฝึกฝนมาดีพอ เมื่อมากระทบเข้ากับอารมณ์ที่ผ่านมาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จิตก็ย่อมแส่ส่ายฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ จึงไม่สามารถจะทำให้จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ เรียกว่า จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งหมายความว่า จิตไม่เป็นสมาธินั่นเอง เช่น ตามองไปที่โต๊ะที่มีสิ่งของวางอยู่หลายอย่าง โดยไม่มุ่งหมายเจาะจงดูของสิ่งใด ก็จะไม่รู้ว่ามีของอะไรอยู่บนโต๊ะบ้าง แต่ถ้าเราจ้องมองดูไปที่ของสิ่งหนึ่งบนโต๊ะนั้น แล้วพินิจพิจารณาของสิ่งนั้นเพียงสิ่งเดียว ในกรณีเช่นนี้ เราจะมีใจจดจ่ออยู่ที่สิ่งนั้น จึงเรียกว่า เรามีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์เพียงสิ่งเดียว

ตามปรกติแล้ว คนเราจะมีสมาธิอยู่ได้ไม่นาน จิตมักจะซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลาน้อยคนนักที่จะมีสมาธิอยู่ได้นาน และบุคคลที่มีสมาธิเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้สูงๆ และมีปัญญาเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งอันนี้ก็เป็นผลดีของสมาธิอย่างหนึ่งที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ตาม คนที่มีสมาธิดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีสมาธิอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา แต่หมายถึงว่า เขาสามารถตั้งสมาธิได้ลึกและนานกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง

สมาธิที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจจดจ่อให้เกิดขึ้นเพื่อขบคิดพิจารณาสิ่งใดนั้น ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวหรือเป็นขณะๆไป ตามแต่จะต้องการใช้ประโยชน์ คนที่มีสมาธิดีก็คือ คนที่สามารถทำให้เวลาของการมีสมาธิอยู่ได้นานกว่าคนที่มีสมาธิไม่ดี ก็เท่านั้นเอง ระวังจะหลงติดสมาธิ

การทำสมาธิให้เกิดขึ้นมาในจิตใจนี้มีมาแต่ก่อนครั้งพุทธกาลโน้นแล้ว และเป็นเรื่องของการทำให้จิตมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่เนื่องมาจากสมาธิในระดับสูงที่ได้ฝึกให้เกิดขึ้น ทำให้จิตของผู้ฝึกมีความสุขและความสงบของจิตเป็นอันมากด้วย จึงมีผู้เข้าใจกันว่าเป็นจุดสุดยอดของการปฏิบัติทางจิตของมนุษย์ แล้วก็หลงติดอยู่กับสมาธิเหล่านั้น ดังเช่น อุทกดาบสและอาฬารดาบส ผู้เป็นครูของพระพุทธเจ้าก่อนที่ท่านจะตรัสรู้ ก็เป็นที่เข้าใจผิดเช่นนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จไปทรงศึกษาด้วยจนบรรลุฌานสมาบัติขั้นสูงแล้วก็ทรงทราบว่า นั่นยังไม่ใช่จุดสุดยอดอย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่เป็นการระงับทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดเป็นการถาวรนั่นเอง ดังนั้น เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้เสด็จไปทรงค้นคว้าต่อด้วยพระองค์เองจนได้ตรัสรู้มรรค ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดถาวร

ในมรรคนี้เอง มีอยู่ ๓ ข้อที่เป็นเรื่องการฝึกสมาธิให้เกิดขึ้น รวมเรียกว่า สมาธิขันธ์ ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นว่า สมาธิที่พระองค์ทรงนำมาใช้ประโยชน์ในการระงับทุกข์นั้น ไม่ใช่สมาธิธรรมดาสามัญตามที่เข้าใจกัน หากแต่เป็นสมาธิที่มีลักษณะพิเศษ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า

21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ผจญระเบิดสงคราม

ย้อนมาที่วัดบูรพาราม สมัยที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระยะนั้นท่านหลวงปู่บุญเป็นพระหนุ่ม จะไปเที่ยววิเวกที่ไหนไม่ได้เลย ในระหว่างพรรษานั้น ท่านก็อยู่ที่วัดบูรพาราม บางวันทหารประเทศอื่นมาทิ้งระเบิดในบ้านเมือง ทำความเสียหายให้บ้านเมืองและทำให้ประชาชนเดือดร้อน ข้าวปลาอาหารก็แพง น่าสงสารผู้คนจริงๆ บางวันเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในวัด พอท่านได้ยินเสียงระเบิดเท่านั้น ท่านก็เข้าไปอยู่ในอุโบสถ รีบเร่งทำความเพียร เพราะความตายกำลังจะเข้ามาถึงตัว หลวงปู่เสาร์พูดว่า ถ้าใครไม่อยากตายให้รีบเร่งภาวนาเข้าไว้ มันก็เป็นความจริงตามที่หลวงปู่เสาร์พูด เพราะตอนภาวนาอยู่ในอุโบสถนั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดลงในวัด แต่ลูกระเบิดไม่ถูกกุฏิวิหาร แม้แต่อุโบสถก็ไม่ถูกระเบิด น่าอัศจรรย์จริงๆ หลวงปู่เสาร์พูดว่า เพราะบารมีของครูบาอาจารย์คุ้มครองแท้ๆ ส่วนบ้านของประชาชนนั้นพังพินาศหมด ต้องเตรียมเนื้อเตรียมตัวอยู่เสมอ ถ้าได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นต้องวิ่งไปหลุมหลบภัย บางคนกินข้าวยังไม่ทันอิ่มก็มี ถ้าค่ำมาต้องดับไฟหมด เพราะศัตรูจะแลเห็น ทำให้ประชาชนต้องทนทุกข์อยู่กับเสียงระเบิดเป็นเวลานาน

เรื่องราวประวัติความเป็นมาของท่านหลวงปู่บุญ ชินวํโส ยังมีอีกมากมาย ที่ท่านได้เล่าให้ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียง พร้อมกับอัดเทปไว้ ได้คัดมาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะนำมาเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้รู้จักในปฏิปทาของหลวงปู่ ยังมีข้อมูลของหลวงปู่อีกมาก แต่ผู้เรียบเรียงยังไม่กล้านำมาลงเพราะกลัวจะไม่ถูกต้อง จึงต้องรอถามครูบาอาจารย์ผู้อาวุโสมากก่อน แล้วจึงจะนำมาลงเพิ่มเติมในภายภาคหน้าต่อไป ดังนั้น ผู้เรียบเรียงจึงขอยุติการนำประวัติของหลวงปู่บุญ ชินวํโส มาเผยแผ่ไว้แต่เพียงเท่านี้

20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ผจญผึ้งรังใหญ่

ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ซึ่งเป็นปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนนั้นท่านจำพรรษาที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปีนั้นท่านอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหมู่คณะอีกหลายรูปด้วยกัน ท่านเล่าว่า ออกพรรษาแล้ว วันหนึ่งหลวงปู่เสาร์ได้พาลูกศิษย์ไปเที่ยวธุดงค์ที่อำเภอโขงเจียมและนครจำปาศักดิ์ ขณะเที่ยวธุดงค์อยู่นั้นหลวงปู่เสาร์เกิดไม่สบาย ลูกศิษย์ที่เข้ามาปฏิบัติท่านตอน ๔ โมงเย็นได้นิมนต์หลวงปู่ไปสรงน้ำ แต่หลวงปู่เดินไม่ได้เพราะท่านป่วย ลูกศิษย์จึงหาเตียงมาหามท่านไป เพราะหนองน้ำอยู่ไกลมาก พอไปถึงก็วางเตียงลงไว้ใต้ต้นยางต้นหนึ่ง และหมู่คณะสงฆ์ก็พากันไปตักน้ำมาสรงท่าน พอเดินกลับมาใกล้จะถึงตัวท่าน ขณะนั้น ก็มีอีแร้งตัวหนึ่งบินมาที่ต้นยาง ชนเอารังผึ้ง รังใหญ่ประมาณ ๒ วา ซึ่งอยู่บนต้นยางนั้นตกลงมาใส่หลวงปู่พอดี พวกลูกศิษย์เห็นดังนั้น จึงพากันวิ่งมาหามเตียงที่ท่านนอนอยู่ไปที่อื่น ลูกศิษย์อีกพวกหนึ่งก็หลอกล่อไล่ผึ้งไปทางอื่น จากนั้นก็ช่วยกันปฐมพยาบาลหลวงปู่ ลูกศิษย์ถามหลวงปู่ว่า เจ็บมากไหมครับกระผม หลวงปู่ตอบว่า มันต้องเจ็บสิ ผึ้งตั้งรัง ระบมไปหมดทั้งตัวเลย ตอนนั้น หลวงปู่บุญกล่าวว่าสงสารท่านหลวงปู่เสาร์จริงๆ ตัวท่านก็ไม่สบายอยู่แล้ว ยังมาถูกผึ้งต่อยอีก ถ้าพวกลูกศิษย์ไม่พาท่านไป ก็คงจะไม่เป็นอย่างนี้แน่ หลวงปู่เสาร์เลยพูดถึงเรื่องวินัยว่า “พวกคุณไม่มีสติเลยนะ เป็นอะไรจึงพากันวิ่ง มันผิดวินัย รู้ไหม” พวกลูกศิษย์จึงคิดได้ว่า พวกเรานี้ ไม่มีสติกันจริงๆ

เมื่อหลวงปู่เสาร์หายดีแล้ว ท่านก็พาลูกศิษย์มาอยู่ที่วัดดอนธาตุ ซึ่งตั้งอยู่ริมลำน้ำชี การไปมาต้องใช้เรือเป็นพาหนะ หลวงปู่เสาร์กล่าวว่า ที่วัดดอนธาตุนี้ การภาวนาดีมาก ถ้าใครเข้ามาอยู่แล้วแต่ไม่ภาวนาเดี๋ยวจะได้เห็นดีกับเจ้าของเขา ซึ่งท่านหมายถึงเจ้าที่ในวัดดอนธาตุนั้น อีกทั้งกับได้อยู่ใกล้หลวงปู่เสาร์ด้วยแล้ว ทำให้การเจริญเมตตาภาวนาดีมาก ไม่มีคำว่าถอยหลัง พอออกจากวัดดอนธาตุ แล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้ง

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ผจญผีโปร่งค่าง

อีกเรื่องหนึ่ง ท่านกับเพื่อนสหธรรมิกของท่าน คือหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ซึ่งปัจจุบันท่านอยู่ที่วัดป่าภูดิน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พากันเที่ยวหาความวิเวกทางจังหวัดศรีสะเกษ สมัยนั้น บางวันเดินตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ แสนที่จะลำบากจริงๆ ไม่เหมือนกับสมัยนี้ เรื่องอาหารการขบฉันนั้นก็ตามมีตามเกิด บางวันต้องฉันข้าวกับใบมะขามอ่อน บางวันก็ต้องฉันข้าวกับยอดสะเดา มีลูกศิษย์บางคนถามท่านว่าอร่อยหรือเปล่า ท่านตอบว่า เราฉันไปเพื่อให้อยู่รอดไปวันๆ เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้ฉันเพื่อความอยากเพื่อความอร่อยนี่ และบางครั้งท่านก็เที่ยววิเวกไปอยู่กับพวกชาวเผ่าภูไทบ้าง พวกโซ่งบ้าง พวกลาวพวนบ้าง พวกแม้วพวกม้งบ้าง และคนภูเขาเผ่าต่างๆ บ้าง การภาวนาก็สบายดี เพราะต่างคนต่างอยู่ เขาไม่มารบกวนพระเหมือนอย่างทุกวันนี้ดอก

ท่านได้เที่ยววิเวกไปทางฝั่งลาว ผีโปร่งค่างมารบกวน ลักษณะของมันเหมือนหนู แต่ตัวใหญ่เท่ากับแมว ตัวยาวประมาณ ๑ ศอก ท่านว่าผีพวกนี้ชอบดูดเลือดเป็นอาหาร หน้าตามันเหมือนกับลิง ฟันก็เหมือนฟันของลิงไม่มีผิดเลย ตอนที่ท่านไปภาวนาอยู่ที่นั่น มันมารบกวนอยู่ ๓ วัน ทำให้ท่านไม่ได้พักผ่อนเลย พอหลับตาลงนอนมันจะเข้ามารบกวนทันที ถ้าท่านไม่นอน มันจะอยู่ห่างๆ ประมาณ ๑๐ เมตร มันจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตามเถาวัลย์ ถ้าเผลอเมื่อไรมันจะมาดูดกินเลือดทันที

พอถึงวันที่สี่ ท่านก็อธิษฐานว่า ถ้าเคยมีเวรกรรมต่อกัน เราจะใช้กรรมให้ท่าน แต่ถ้าเราไม่เคยมีเวรกรรมต่อกันแล้วก็อย่ามารบกวนเรา เราจะภาวนาแผ่บุญกุศลไปให้ ท่านอธิษฐานแล้วก็นั่งภาวนาต่อไป พอออกจากที่ภาวนา ผีโปร่งค่างที่มารบกวนอยู่นั้นไม่รู้หายไปไหน ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาก็ไม่เห็นวี่แววของมันอีกเลย

เรื่องแบบนี้ บางคนก็ไม่เชื่อ คิดว่าคนสมัยก่อนเห็นอะไรเป็นผีไปหมด คนสมัยนี้กับคนสมัยนั้นไม่เหมือนกัน ดูแต่จิตใจก็รู้ เรื่องผีเรื่องสาง เรื่องเทวดา คนไม่เชื่อว่ามีในโลกนี้ ก็อย่าได้ถือสาหาความ ให้นึกเสียว่าเป็นกรรมของผู้นั้น สำหรับครูบาอาจารย์ย่อมเห็น จึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ เพราะท่านเห็นในโลกธาตุอันนี้ ไม่เหมือนพวกเราซึ่งเป็นพวกหูกระทะ ตาไม้ไผ่

เมื่อท่านออกจากที่นั้นแล้วก็เที่ยววิเวกต่อไปอีกหลายแห่งในสถานที่ต่างๆ ของทางฝั่งประเทศลาวเป็นเวลานานพอสมควรจึงได้กลับมาประเทศไทย แล้วก็มาจำพรรษาที่วัดประชานิยม บ้านหนองหลวงอีกครั้ง ครั้นออกพรรษาแล้วก็เที่ยววิเวกต่อไป เพราะนิสัยของท่านไม่ชอบอยู่กับที่

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้