ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 15349
ตอบกลับ: 32
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อใช่ สุชีโว วัดปาลิไลยวัน(วัดเขาฉลาก) ~

[คัดลอกลิงก์]

ประวัติและปฏิปทา
พระครูวิสุทธิสังวร
(หลวงพ่อใช่ สุชีโว)


วัดปาลิไลยวัน (วัดเขาฉลาก)
ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี



๏ คำนำ
๏ กิตติกรรมประกาศ
๏ ปฐมบทแห่งตำนานชีวิต  
๏ เฉียดเงามัจจุราช
๏ สัจธรรมแห่งความทุกข์
๏ ออกบวช
๏ ชีวิตพระวัดบ้าน
๏ วัดเขาพระบาทบางพระ
๏ สร้างวัดเขาฉลาก
๏ ความเป็นอยู่ในยุคแรก
๏ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต  
๏ ติดความว่าง
๏ ศึกษาธรรมกับหลวงพ่อสาลี
๏ อุบายธรรมจากส้วมหลุม
๏ ณ เกาะสีชัง  
๏ กลางดงจงอาง
๏ อยู่กระท่อมผี
๏ ถอนอารมณ์
๏ โยมจวน
๏ ใต้ร่มเงาแห่งธรรม ณ วัดป่าบ้านตาด  
๏ สายสัมพันธ์หนองป่าพง
๏ สุปฏิปันโนแห่งหุบเขาฉลาก
๏ งานด้านการปกครองและสมณศักดิ์
๏ สู่แดนพุทธภูมิ
๏ ความเสื่อมแห่งสังขาร
๏ ล่วงลับลาโลก
๏ บรรณานุกรม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
“พระหลงใหลยศศักดิ์ผิดหลักพระ

ต้องมุ่งละทุกข์โทษโลภโกรธหลง

จึงจะชอบระบอบบุตรพุทธองค์

พระถ้าหลงลาภยศก็หมดงาม”


ลิขิตหลวงพ่อใช่


ขอบคุณครับ
“ถึงบิดามารดาคณาญาติ
อีกโอวาทของครูผู้สงสาร
จะเตือนเราเช้าค่ำประจำการ
ฤๅจะปานตัวเราเฝ้าเตือนตัว”


ลิขิตหลวงพ่อใช่




30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 20:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2013-10-22 20:04

บรรณานุกรม

(1) สุชีโวรำลึก อาจาริยบูชาแด่พระครูวิสุทธิสังวร (ใช่ สุชีโว)

(2) ทรง จิตประสาท, นที ลิ้มประสิทธิ์ศักดิ์, อรรณพ ดิษริยกุล และคณะ. วิสุทธิสังวรบูชา

(3) พระครูวิสุทธิสังวร (ใช่ สุชีโว). วิสุทธิสังวรธรรม, 2541

(4) อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิสุทธิสังวร (ใช่ สุชีโว)

(5) บันทึกประวัติบางส่วนของหลวงพ่อ โดยลูกศิษย์ท่านหนึ่ง



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.geocities.com/dharmapage/
                                                                                       
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22809
29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 20:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2013-10-22 20:01

• รวมภาพเกี่ยวกับหลวงพ่อใช่-วัดปาลิไลยวัน •


อัฐิธาตุหลวงพ่อใช่ สุชีโว


อัฐิธาตุและรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อใช่ สุชีโว


อัฐิธาตุหลวงพ่อใช่ สุชีโว


ภายในกุฏิหลวงพ่อใช่ สุชีโว


ศาลาไม้ วัดปาลิไลยวัน (วัดเขาฉลาก)

28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 19:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เครื่องบริขาร พัดยศ และรูปภาพของหลวงพ่อใช่ สุชีโว

27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 19:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สรีระสังขารของหลวงพ่อใช่ สุชีโว


การจากไปของหลวงพ่อได้นำความอาลัยมาสู่คณะศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง จากนั้นได้มีการบำเพ็ญกุศลเรื่อยมา ในการสวดพระอภิธรรม 7 คืนแรก ได้อาราธนาครูบาอาจารย์มาแสดงพระธรรมเทศนารูปละคืน



12 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ทำบุญเลี้ยงพระเมื่อสวดครบเจ็ดวัน



24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทำบุญเลี้ยงพระเมื่อครบห้าสิบวัน



13 มกราคม พ.ศ. 2539 ทำบุญเลี้ยงพระเมื่อครบ 100 วัน



7 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานเพลิงศพ โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เสด็จทรงเป็นองค์ประธาน ณ เมรุชั่วคราว วัดปาลิไลยวัน (วัดเขาฉลาก) ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

แม้ธาตุขันธ์ของหลวงพ่อจะแตกสลายไปตามกฎของธรรมชาติแล้วก็ตาม แต่ความดีทั้งหลายที่ท่านได้กระทำบำเพ็ญไว้ จะยังคงเป็นอนุสรณ์ถึงท่าน และเป็นคติแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

“ถึงบิดามารดาคณาญาติ
อีกโอวาทของครูผู้สงสาร
จะเตือนเราเช้าค่ำประจำการ
ฤๅจะปานตัวเราเฝ้าเตือนตัว”

ลิขิตหลวงพ่อใช่


26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 19:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


๏ ความเสื่อมแห่งสังขาร

ร่างกายนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สำหรับสุขภาพของหลวงพ่อในช่วงบั้นปลายชีวิต ท่านได้อาพาธหลายโรคด้วยกัน โดยโรคประจำตัวของท่านคือ โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้อักเสบ ท่านเป็นโรคนี้นานมาก และได้เคยปรารภว่าอาการของโรคนี้เป็นวิบากกรรมจากสมัยที่ท่านเป็นเด็ก ได้ร่วมกับเพื่อนเด็กวัด นำข้าวก้นบาตรมาคลุกกับลูกสลอดให้กากิน พอกากินแล้วเกิดอาการถ่ายท้อง ไม่สามารถบินไปไหนได้ ท่านและเพื่อนๆ ได้ตีกาตัวนั้นจนตาย และนำไปให้บึ้งกิน

นอกจากนี้ ท่านยังมีอาการปวดหลัง ความดันโลหิต เบาหวาน โรคหลอดลมอักเสบ ไขมันในโลหิตสูง โรคหัวใจ ท่านต้องเดินทางไปให้แพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ


๏ ล่วงลับลาโลก

วันที่ 3-4 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันสอบธรรมะประจำปีของพระนวกะ หลวงพ่อยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าคณะตำบล และเจ้าของสนามสอบอย่างบริบูรณ์

5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ได้มีญาติโยมมาทำบุญที่วัด พร้อมทั้งได้นิมนต์พระจากวัดสาขาของวัดเขาฉลากมาร่วมด้วย เมื่อพิธีเสร็จลง พระภิกษุสามเณรที่มาจากวัดสาขาต่างขอโอกาสลาท่านกลับ โดยไม่ได้เฉลียวใจเลยแม้แต่น้อยว่า เป็นการกราบลาครั้งสุดท้าย

ต่อจากนี้จะขอนำบันทึกของ พระวันชัย กิตฺติโสภโณ จากวิสุทธิสังวรบูชา หน้า 223-226 ซึ่งท่านได้ลำดับเหตุการณ์เอาไว้ ดังนี้

“พระเดชพระคุณหลวงพ่อ มีโรคประจำตัวท่านหลายโรค เช่น ท่านเคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดลมอักเสบ และมีไขมันในหลอดเลือดสูงเป็นบางครั้ง โรคที่ท่านเป็นอยู่ประจำคือ โรคหลอดลมอักเสบ ไปตรวจครั้งสุดท้ายเมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ โดยเป็นคนไข้ของคุณหมอสมศักดิ์

ปรากฏว่าความดันปกติ โรคหลอดลมอักเสบก็ใกล้จะปกติแล้ว คุณหมอสมศักดิ์สั่งยาเพิ่มจากเดิมนิดหน่อย และนัดวันที่จะไปตรวจอีกครั้งในวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 แต่ยังไม่ถึงวันที่คุณหมอนัด เหตุการณ์อันเศร้าสลดที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อต้องมามรณภาพละสังขารไปเสียก่อน ดังจะได้ลำดับความไว้เป็นที่ระลึกพระคุณท่าน ดังต่อไปนี้

เมื่อเวลาประมาณ 02.30 น. (ตีสองครึ่ง) ได้ยินเสียงหลวงพ่อท่านเรอเบาๆครั้งหนึ่ง อาตมาจำวัดอยู่ใต้ถุนกุฏิท่านจึงได้ยินเสียง ตอนนี้หลวงพ่อลุกออกมาจากที่พักของท่านแล้ว ซึ่งปกติช่วงระยะเวลานี้ถ้าท่านปกติดี ท่านจะลุกขึ้นมาเดินจงกรม อีกสักครู่ได้ยินเสียงท่านเรออีกครั้ง คราวนี้เสียงดังผิดปกติ คล้ายๆ เหมือนคนแน่นหน้าอก

อาตมารีบลุกออกจากกลดวิ่งขึ้นไปบนกุฏิ พบท่านกำลังนั่งที่พื้นไม้หน้าโซฟาที่ท่านนั่งรับแขกญาติโยมเป็นประจำ มีเหงื่อออกโทรมทั้งกาย ท่านเห็นอาตมาเลยเรียกเข้าไปช่วยท่าน บอกให้อาตมากดหลังท่านเบาๆ อาตมามองดูเหมือนท่านจะแน่นหน้าอก อยากจะอาเจียน แต่อาเจียนไม่ออก มีแต่เสียงเรอลมออกเท่านั้น

ท่านบอกว่าปวดขาข้างซ้ายมาก ให้อาตมาเอามือขวากดแรงๆ สักครู่ท่านบอกปวดแขนซ้ายมากตั้งแต่หัวไหล่ไปตลอดแขนถึงปลายนิ้วมือ เดี๋ยวท่านก็บอกให้กดหัวไหล่ขวาให้ท่านหน่อย กดแรงๆ อาตมาก็เอามือซ้ายกดให้ท่าน ท่านบอกว่าแขนขวาของท่านชาไปหมดเป็นอาการของคนที่จะเป็นอัมพาต ท่านให้กดแรงๆ ค่อยดันเลื่อนมือไปจนสุดปลายนิ้ว ท่านบอกปวดนิ้วมือมาก ก็กดบนนิ้วมือท่าน

อาตมาสังเกตดูที่ใบหน้าท่านตลอด ท่านจะกัดฟันและเป่าลมปากออกมา เนื่องจากคงจะปวดมาก ท่านบอกปวดต้นขาซ้ายและแขนขวามาก อาตมานวดกดตรงที่ท่านปวดสักครู่ใหญ่ ท่านถามว่า “อุ้มประคองผมเข้าไปที่ในกลดไหวหรือเปล่า” อาตมาตอบว่า “ไหวครับหลวงพ่อ” อาตมาเอามือสอดใต้รักแร้ของท่าน ประคองท่านไปที่กลด นอนลงพักบนที่นอนและบีบนวดกดตรงที่ท่านปวดอีก ถ้าความปวดเบาลงบ้างท่านก็นอนสงบ ถ้ามีความปวดเกิดขึ้นท่านก็พลิกไปพลิกมา กัดฟันเป่าปาก เป็นแบบนี้จนได้ยินเสียงพระตีระฆัง ประมาณ 03.30 น. (ตีสามครึ่ง) เป็นเวลาที่พระจะต้องตื่นลงมาทำวัตรเช้าตี 4 และครองผ้า

ท่านบอกอาตมาให้ไปเรียกหลวงพี่แสงชัยมาช่วยนวดด้วย อาตมายังไม่ไปเรียกทันที รอสักครู่เพื่อให้พระลงทำวัตร อาตมาก็กราบเรียนท่านว่า “หลวงพ่อครับ เดี๋ยวกระผมจะไปตามหลวงพี่แสงชัยมาช่วยนวดครับ” ท่านบอกว่า “ไปแล้วท่านจะลงมาทำวัตรหรือ” ความจริงวันนั้นหลวงพี่แสงชัยก็ไม่ได้ลงมาทำวัตรจริงๆ ด้วย อาตมาก็เลยเงียบ

ท่านให้บีบนวดกดตรงที่ท่านปวดต่อไป บางทีท่านเอามือท่านกุมอาตมากดแรงๆ ให้กำมือทุบเบาๆ บ้าง สับเบาๆ บ้าง ช่วงนี้อาตมาคิดในใจว่า ในราตรีนี้อาตมาจะไม่ครองผ้ายอมขาดครองผ้าเพื่อดูแลปรนนิบัติท่าน สักครู่ท่านบอกว่า “วันชัย ลงไปเอาผ้าครองแล้วรีบขึ้นมา” อาตมาก็ลุกขึ้นแล้วรีบลงไปเอาผ้าครองขึ้นมาแล้วบีบนวดท่านต่อ ตอนนี้อาตมาซึ้งใจท่านมาก ท่านมีเมตตากับอาตมามาก ไม่ยอมให้อาตมาขาดครองผ้า ถ้าขาดครองผ้าต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ แสดงว่าท่านเคารพพระธรรมวินัยมาก ถึงแม้ท่านจะเจ็บป่วยถึงขนาดนี้ ยังไม่ยอมผิดพระธรรมวินัยเลย เคารพพระธรรมวินัยจริงๆ

ตอนที่ท่านปวดมากๆ จะมีเหงื่อออกมาก ท่านบอกว่า “ผมก็ภาวนาสู้เหมือนกัน” อาตมาก็นวดและคอยเช็ดเหงื่อท่านไปด้วย ท่านนอนตะแคงข้างขวา บอกให้อาตมาตบหลังท่านเบาๆ สามครั้ง ดูอาการท่านเหมือนกับแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก อยากจะอาเจียนแต่อาเจียนไม่ออก ท่านพูดว่า “ออกสิๆ” แต่ไม่ออก และต่อมาให้อาตมาตบหลังท่านเบาๆ อีกสามครั้ง อาการปวดเริ่มมากขึ้นๆ สักครู่ก็ค่อยๆ เบาลงๆ ท่านบอกอาตมาว่าปวดปัสสาวะ “ปัสสาวะลงในกระโถนได้ไหม” อาตมาตอบว่า “ได้ครับ” ท่านก็ลุกขึ้นนั่งปัสสาวะลงในกระโถนแล้วส่งให้อาตมา อาตมาก็นำออกไปเทในห้องน้ำท่านแล้วล้างกระโถน เช็ดกระโถน

ปกติท่านจะลุกนั่งเองไม่ไหว มีบางเวลาท่านให้อาตมาประคองท่านลุกขึ้นนั่ง ท่านยังนั่งไม่ไหว ต้องลงนอนตามเดิมอีก แต่ตอนปัสสาวะท่านกลับลุกขึ้นนั่งเองไหว อาตมาคิดว่าท่านคงจะค่อยยังชั่วขึ้นแล้ว ขณะมองนาฬิกาเป็นเวลา 05.55 น. รีบลงมารับประเคนเครื่องดื่มใต้กุฏิให้ท่าน แล้วบอกโยมแม่ชีว่า “หลวงพ่อป่วยหนักนะ ไม่รู้จะไหวหรือเปล่า” แล้วรีบขึ้นมาบนกุฏิท่าน ต้มน้ำร้อนให้ท่าน เพราะท่านบอกว่าให้ต้มน้ำร้อนให้ท่านด้วย

พอเสียบปลั๊กกาน้ำร้อน ได้ยินเสียงท่านครางครืดๆ อาตมารีบไปที่มุ้งกลดของท่าน เห็นมือท่านเกี่ยวมุ้งกลดดึงไปแนบที่หน้าอีก อาตมาเลยรีบเข้าไปในมุ้งกลด เห็นท่านเอามือประกบหน้าอก อาตมารีบเข้าไปประคอง แล้วเรียกท่านสามครั้ง ตอนนี้ท่านไม่รู้สึกตัวเสียแล้ว มีแต่เพียงลมปุดๆออกจากปากท่านจนหมดลมสุดท้าย ท่านละสังขารไปด้วยอาการอันสงบในเวลาประมาณ 05.59 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สมกับที่ท่านเคยบอกพระว่า ผมเป็นอะไรจะไม่ร้องสักแอะเดียว” โดยคำสอนของท่านที่ตราตรึงในจิตใจเสมอ ก็คือ

“เยือกเย็นเหมือนดั่งน้ำฝน
อดทนเหมือนดั่งผาหิน”

25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-22 19:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พัดยศสมณศักดิ์ที่พระครูวิสุทธิสังวร  


๏ งานด้านการปกครองและสมณศักดิ์

วันที่ 25 สิงหาคม 2508 รักษาการเจ้าอาวาสวัดปาลิไลยวัน

วันที่  30 มิถุนายน 2509 เจ้าอาวาสวัดปาลิไลยวัน

วันที่  7 กันยายน 2522 เจ้าคณะตำบลบางพระ

วันที่  16 กุมภาพันธ์ 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

วันที่  5 ธันวาคม 2525 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิสังวร ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ


พัดยศสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา


วันที่  15 พฤษภาคม 2531 ได้รับพัดยศสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา


หลวงพ่อกับคณะศิษยานุศิษย์ ถ่ายที่ประเทศอินเดีย  


๏ สู่แดนพุทธภูมิ

หลวงพ่อท่านเคยกล่าวถึงการไปสังเวชนียสถานว่า “ไปแล้วเกิดจิตเกิดใจที่สงบลึกซึ้งปีติมากกว่ากราบไหว้พระองค์ที่อยู่เมืองไทยหลายเท่านัก เสมือนได้เข้าไปกราบนมัสการอยู่แทบฝ่าพระบาทของพระองค์ ใครได้ไปเป็นกำไรของชีวิต” และท่านยังได้พูดให้เห็นเป็นรูปธรรมอีกว่า “ไหว้พระพุทธเจ้าที่เมืองไทย สมมุติเราพูดพระพุทธคุณได้ 100 คำ แต่ถ้าไปไหว้พระองค์ที่อินเดีย จะเกิดปีติ เกิดจิตเกิดใจ พูดถึงพระพุทธคุณได้ถึง 500 คำ”

จากคำปรารภตรงนี้เอง ท่านจึงได้นำคณะศรัทธาญาติโยมไปนมัสการสังเวชนียสถาน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2538 จำนวน 8 ครั้งด้วยกัน ระหว่างที่ไป ท่านได้มีเมตตาแสดงธรรมโปรดคณะศิษยานุศิษย์ แม้ว่าในช่วงครั้งหลังๆ ท่านจะอาพาธก็ตาม

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้