ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 229
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>>>พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 รุ่น 3 (108 ปี ชาตกาล)<<<

[คัดลอกลิงก์]
1#
โพสต์ 2024-4-17 16:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด
“...พระราชาผู้ปรารถนาความดีและประโยชน์อย่างยิ่งแก่มวลสัตว์โลก พระองค์ได้เปล่งพระปณิธานซ้ำอีกครั้งว่า พระองค์จะช่วยสัตว์โลกทั้งหลายที่จมอยู่ในมหาสมุทร (แห่งทุกข์) ให้หลุดพ้น ก็ด้วยความดีของพระองค์”

พระปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ในการสถาปนาอโรคยศาลา ปรากฏหลักฐานจากการแปลข้อความในจารึกประจำอโรคยศาลาหลายหลัก เช่นโศลกบทที่ว่า
“...โรคที่เบียดเบียนร่างกายของประชาชนนั้น กลับกลายเป็นโรคทางใจ ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นจะไม่ใช่เป็นของตนเอง แต่ความทุกข์ของราษฎรก็เปรียบเหมือนความทุกข์ของผู้ปกครอง...”

จากการศึกษาจารึกที่พบอยู่ในอโรคยาศาล พบการแสดงพระราชปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ปรารถนาให้พสกนิกรของพระองค์พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และในจารึกที่อโรคยาศาล ยังได้บันทึกเกี่ยวกับเครื่องยา กิจกรรมของอโรคยาศาล บัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่และสิ่งของต่างๆ มีการวิเคราะห์กันว่า รายการยาที่ปรากฏในจารึกของอโรคยาศาลนั้นเป็นไปตามหลักอายุรเวท และแตกต่างจากระบบการใช้ยาของคนพื้นเมืองในท้องที่

การสำรวจทางโบราณคดีได้พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า มีอโรคยาศาลที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยไม่น้อยไปกว่า ๓๐ แห่ง จาก ๑๐๒ แห่งที่มีระบุในจารึกว่ามีการสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยมีที่ตั้งกระจายไปอยู่ใน ๑๐ จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อโรคยศาลอาจถือได้ว่าเป็นความพยายามของผู้ถืออำนาจรัฐในการอำนวยสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนในสมัยแรกที่พอจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่

อโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีการดูแลอย่างเป็นระบบ มีแพทย์ผู้ทรงความรู้ในอายุรเวทและอัสดรเวท ประจำอยู่ทำการรักษาโรคโดยการใช้สมุนไพร ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละแห่งมีจำนวนมากน้อยต่างกันไป ได้พบจารึกในอโรคยาศาลบางแห่งกล่าวว่า มีพนักงานอยู่ประจำถึง ๙๘ คน ประกอบด้วยผู้ดูแล ๔ คน แพทย์ ๒ คน ผู้ช่วยแพทย์เป็นผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๔ คน พนักงานเก็บของผู้ชาย ๒ คน เป็นผู้เก็บรักษาดูแลเครื่องยา ช้างและฟืน พ่อครัว ๒ คน มีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำ จัดหาดอกไม้และหญ้าเป็นเครื่องบูชา ตลอดจนทำความสะอาดศาสนสถาน ชาย ๒ คนเป็นผู้จัดหาเครื่องพลีทาน และหาฟืนต้มยา บุรุษพยาบาล ๑๔ คน เป็นผู้ส่งยาให้แก่แพทย์ คนงานผู้หญิง ๘ คน แบ่งหน้าที่ไปทำหน้าที่บดยา ๖ คน และตำข้าว ๒ คน ธุรการชาย ๓๒ คน และผู้ช่วยงานอื่นๆ  แพทย์และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับวัตถุสิ่งของ เสบียงอาหาร รวมทั้งเครื่องยาในการปรุงโอสถจากท้องพระคลังหลวงปีละ ๓ ครั้ง

พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา
พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถ ในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน
พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์
พระนามอื่น ๆ คือ เภษัชราชา ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชา  ผู้ปลดเปลื้องมนุษย์จากโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ หากได้สดับนามของพระองค์ และน้อมจิตบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปของพระองค์ ก็อาจหายจากโรคทางกายและทางใจ กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเภสัชกรผู้เยียวยา จิตวิญญาณของมนุษย์ให้หลุดพ้นอวิชชา มิจฉาทิฐิ ไปสู่โพธิมรรคและนิพพาน ด้วยพระมหาปณิธานที่ ทรงตั้งไว้ระหว่างบำเพ็ญบารมี 12 ประการ

รูปเคารพโดยทั่วไปของพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือครองจีวรแบบนักบวช พร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ วรรณะสีน้ำเงินหรือสีทอง ประทับขัดสมาธิเพชรบนบัลลังก์สิงห์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ถือบาตร บรรจุโอสถ
พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ ถือยาสมุนไพร หรือขวดบรรจุยา โอสถที่บรรจุในบาตรหรือถือในพระหัตถ์ บ้างว่าเป็นกิ่ง อรุรา (arura ไม่มีนามทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รู้จัก) บ้างว่าเป็นกิ่งสมอ บ้างก็ว่าเป็นมะขามป้อม บางครั้งรูปเคารพของพระองค์ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์สุริยประภา และพระโพธิสัตว์จันทรประภา และแวดล้อมด้วยมหายักษ์เสนาบดี 12 ตน ผู้พิทักษ์มหาปณิธานของพระองค์ คือ กุมภิระ  วัชระ  มิหิระ อัณฑีระ  อนิล  ศัณฑิละ อินทระ  ปัชระ  มโหรคะ  กินนระ  จตุระ  และวิกราละ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้