ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นครนาคราช
›
ทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับ "พญานาคราช" เชิญที่นี่
»
"หากดวงตก ใจอย่าตกตาม"
1
2
3
4
5
6
7
8
/ 8 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 52693
ตอบกลับ: 75
"หากดวงตก ใจอย่าตกตาม"
[คัดลอกลิงก์]
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
โพสต์ 2013-8-24 06:18
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นาคปรก เมื่อ 2013-8-24 06:19
"หากดวงตก ใจอย่าตกตาม"
"ให้บูชาพญานาคไว้ พญานาคจะคุ้มครองผู้ที่บูชา"
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
วััดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-8-24 06:26
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ตามคำบอกเล่าของ"หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ"วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม กล่าวว่า ทางฝั่งไทยและฝั่งลาวต่างมี กษัตริย์แห่งนาคราช หรือ นาคาธิบดี แยกปกครองดูแล
ฝั่งไทย คือ พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) เป็นกษัตริย์พญานาคฝั่งไทย เป็นพญานาคหนึ่งเศียร
ฝั่งลาว คือ พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) ซึ่งเชื่อว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว เป็นพญานาคเจ็ดเศียร
พญาศรีสุทโธ ท่านชอบจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่าพญานาค 6 อำมาตย์ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำศีลภาวน
หลวงปู่คำพันธ์ยังได้กล่าวอีกว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร หรือ แม่น้ำใหญ่ หากจะจัดให้มีพิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
หลวงปู่เอ่ยชื่อ 6 อำมาตย์แห่งพญานาคไว้เพียง 3 คือ
1. พญาจิตรนาคราช
เป็นพญานาคที่รักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ตาลีฟู ถึงจังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำโขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง
2.
พญาโสมนาคราช
มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาจนถึงวัดพระธาตุพนม สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราช มีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช คือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจ และโปรดปรานแก่พญาศรีสุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่น ๆ
3.
พญาชัยยะนาคราช
มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำโขงลงทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ทำสงคราม คือชอบการต่อสู้เป็นนิสัย
พญาศรีสุทโธนาคราช
เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวงในฝั่งไทย เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ท่านเป็นพญานาคที่ชอบจำศีลและประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนพญาศรีสัตตนาคราช โดยชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือนกัน
ท่านได้กล่าวพยากรณ์ว่า...
" พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัติที่จะ เกิดขึ้นหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 3 ปี ... หลังหลวงปู่ตาย 3 ปี บ้านเมืองจะเริ่มวุ่นวายเดือดร้อนให้พวกเจ้าศรัทธา และบูชาพญานาค ก็จะพ้นวิกฤตินั้นได้
"
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-8-24 06:29
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
คาถาบูชาพญานาค
นะโมฯ 3 จบ
นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
AUD
AUD
ออฟไลน์
เครดิต
4386
โพสต์ 2013-9-22 06:39
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
morntanti
morntanti
ออฟไลน์
เครดิต
10113
โพสต์ 2013-9-22 08:21
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-9-22 12:17
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ตามความเชื่อของชาวพุทธ เทวดาแห่งน้ำ คือ วรุณและสาคร
ที่ต่างก็เป็นจอมแห่งนาคราช นอกจากที่เกี่ยวข้องกับน้ำบนโลกแล้ว
นาคยังเกี่ยวข้องกับน้ำในสวรรค์อีกด้วย คนโบราณเชื่อว่า สายรุ้ง กับ นาค
เป็นอันเดียวกัน ที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ข้างหนึ่งของรุ้ง
จะดูดน้ำจากพื้นโลก ขึ้นไปข้างบน เมื่อถึงจุดที่สูงสุดก็จะปล่อยน้ำ
ลงมาเป็นฝนที่มีลำตัวของนาคเป็นท่อส่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-9-22 12:19
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
พ ญ า น า ค กั บ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาของทุกปี
นอกจากจะมีการปวารณาของพระภิกษุสามเณรแล้ว
ยังมี การตักบาตรเทโวโรหนะ
ส่วนริมฝั่งแม่น้ำโขงคลื่นมนุษย์หลายแสนคน
แห่กันไปชมบั้งไฟพญานาคที่จังหวัดหนองคาย
ซึ่งมีขึ้นใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
การผุดขึ้นของดวงไฟคาดคะเนไม่ได้ว่าจะมากหรือน้อย
แต่คนส่วนหนึ่งก็ยังคงเตรียมตัวเตรียมใจ
เฝ้ารอชมมหกรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง
จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของผู้คนสองฝั่งโขง
เรื่องของพญานาคนั้นพระพุทธศาสนา
ได้แสดงหลักฐานไว้อย่างไรหรือไม่
[โขนเรืออนันตนาคราช]
พญานาค หมายถึง งูใหญ่ มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล
เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา
ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
พญานาคนั้นเรามักจะพบเห็นเป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์
ตามวัดต่างๆ บันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนา
ภาพเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย
และนครวัดมหาปราสาท
ถ้าเราจะสังเกต ก็คงจะเป็นที่ศาสนาพุทธ
ทำไมมีเรื่องราวพญานาคมาเกี่ยวข้องมาก
พญานาค ในตำนานของฝรั่ง หรือชาวตะวันตก
ถือว่าเป็นตัวแทนของกิเลส ความชั่วร้าย
ตรงข้ามกับชาวตะวันออก ที่ถือว่า งูใหญ่ พญานาค มังกร
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลังอำนาจ
ชาวฮินดูถือว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่าง ๆ
เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช
ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์
ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ ๑ ตัว
หมายถึงน้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา
ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อย
ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์
เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
[พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ทรงประทับบนอนันตนาคราชบัลลังก์
ในคติความเชื่อของฮินดู]
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-9-22 12:19
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
[ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิตาราม ตอนมุจจลินทนาคราชแผ่พังพานใหญ่
เหนือพระเศียรพระพุทธองค์ขณะที่ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน]
• พญานาคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
พญานาคมีปรากฎหลายแห่งทั้งในพระไตรปิฎก
อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท
และอรรถกถาดังต่อไปนี้
• ในวินัยปิฎก มหาวรรค (๔/๕/๗)
กล่าวถึง มุจจลินทนาคราช ความว่า
ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น
เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์
แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ ตลอด ๗ วัน
ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว
ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน
มุจจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ของตน
ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ
ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า
ความหนาว ความร้อนอย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค
ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราช รู้ว่า
อากาศปลอดโปร่งปราศจากฝนแล้ว
จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค
จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ
ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค
ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
• ต้นจิก ไม้พญานาค•
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=19565
• ในอรรถกถาพระวินัย สมันตปาสาทิกา
มหาวิภังควรรณนา หน้า ๒๐๒
ในการอรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า “ปุริสทมฺมสารถิ”
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นที่ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป
มีอธิบายไว้ว่าย่อมฝึก
คือแนะนำ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี
อมนุษย์ผู้ชายก็ดี ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้
ชื่อว่าปุริสทัมมา ในคำว่าปุริสทมฺมสารถินั้น
แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีอาทิอย่างนี้
คือ อปลาลนาคราช จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช
อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช
อาลวาฬนาคราช ช้างชื่อธนบาลก์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว
คือทรงทำให้สิ้นพยศแล้วให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-9-22 12:20
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
[ภาพพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงอธิษฐานลอยถาดทวนกระแส
และตกไปยังพิภพของท้าวกาฬนาคราช]
• อรรถกถาปาสราสิสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๕๖
ได้กล่าวถึงพญานาคไว้ว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
แล้ววางถาดทองไว้ริมฝั่งลงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว
ทรงปั้นข้าวมธุปายาสจำนวน ๔๙ ก้อน
เสวยข้าวมธุปายาสแล้วทรงเสี่ยงทายว่า
ถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าวันนี้
ขอถาดจงลอยทวนกระแสน้ำดังนี้แล้วทรงเหวี่ยงถาดไป
ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำแล้วหยุดหน่อยหนึ่ง
เข้าไปสู่ภพของ ท้าวกาฬนาคราช
วางทับถาดของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
• อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๑๕
กล่าวไว้ทำนองเดียวกันว่า
พระโพธิสัตว์ครั้นเสวยข้าวข้าวปายาสนั้นแล้ว
จับถาดทองทรงอธิษฐานว่า
ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ไซร้
ถาดของเราใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป
ถ้าจักไม่ได้เป็นจงลอยไปตามกระแสน้ำ
ครั้นทรงอธิษฐานแล้วได้ลอยถาดไป
ถาดนั้นลอยตัดกระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ
ณ ที่ตรงกลางแม่น้ำนั่นแลได้ลอยทวนกระแสน้ำ
ไปสิ้นสถานที่ประมาณ ๘๐ ศอก
เปรียบเหมือนม้าซึ่งเพียบพร้อมด้วยฝีเท้าอันเร็วไวฉะนั้น
แล้วจมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่งจมลงไปถึงภพของกาลนาคราช
กระทบถาดเครื่องบริโภคของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
มีเสียงดังกริ๊ก ๆ แล้วได้วางรองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น
กาลนาคราช ครั้นได้สดับเสียงนั้นแล้ว
กล่าวว่า เมื่อวานนี้พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดแล้วองค์หนึ่ง
วันนี้บังเกิดอีกองค์หนึ่ง
จึงได้ยืนกล่าวสดุดีด้วยบทหลายร้อยบท ได้ยินว่า
เวลาที่มหาปฐพีงอกขึ้นเต็มท้องฟ้า
ประมาณหนึ่งโยชน์สามคาวุต
ได้เป็นเสมือนวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้แก่ กาลนาคราช นั้น
อายุของกาลนาคราชยืนยาวมาก
เพราะหากถือตามนี้หนึ่งพุทธันดร
เท่ากับ ๑ วันของพญานาค
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-9-22 12:20
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
• พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ หน้าที่ ๑๑๙
บรรยายไว้ว่า เวลาเย็นทรงรับหญ้าที่นายโสตถิยะถวาย
มีพระคุณอันพระยากาฬนาคราชชมเชยแล้ว
เสด็จสู่ควงไม้โพธิ ปฏิญญาว่า
“เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้
ตลอดเวลาที่จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
ด้วยการไม่เข้าไปถือมั่น”
• อรรถกถารัฏฐปาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๘
ได้กล่าวถึงพญานาคเคยถวายทานแด่พระพุทธเจ้าว่า
ครั้งนั้นกุฏุมพีทั้งสองนั้นทำการบำรุงดาบสเหล่านั้นจนตลอดชีวิต
เมื่อเหล่าดาบสบริโภค แล้วอนุโมทนา
รูปหนึ่งกล่าวพรรณนาคุณของภพท้าวสักกะ
รูปหนึ่งพรรณนาคุณภพของนาคราช เจ้าแผ่นดิน
บรรดากุฏุมพีทั้งสอง
คนหนึ่งปรารถนาภพท้าวสักกะ ก็บังเกิดเป็นท้าวสักกะ
คนหนึ่งปรารถนาภพนาคก็เป็นนาคราชชื่อ ปาลิตะ
ท้าวสักกะเห็นนาคนั้นมายังที่บำรุงของตน
จึงถามว่า ท่านยังยินดียิ่งในกำเนิดนาคอยู่หรือ
ปาลิตะนาคราช นั้นตอบว่า
เราไม่ยินดีดอกท้าวสักกะบอกว่า
ถ้าอย่างนั้นท่านจงถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระสิ
แล้วทำความปรารถนาจะอยู่ในที่นี้
เราทั้งสองจะอยู่เป็นสุข
นาคราชนิมนต์พระศาสดามาถวายมหาทาน ๗ วัน
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมี ภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร
เห็นสามเณรโอรสของพระปทุมุตตรทศพลชื่ออุปเรวตะ
วันที่ ๗ ถวายผ้าทิพย์แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
จึงปรารถนาตำแหน่งของสามเณร
• อรรถกถาปุณโณวาทสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๔๙
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปแม่น้ำชื่อ นิมมทา
ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น
นิมมทานาคราช ถวายการต้อนรับ
พระศาสดาทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาค
ได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว
พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว
ก็เสด็จออกจากภพนาค
นาคราชนั้นกราบทูลขอว่า
ได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบทเจดีย์
รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา
รอยพระบาทนั้นเมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด
เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด
กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่
เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์
ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่ามหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย
เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย
แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน
แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้น ก็ทูลชื่อสิ่งที่จะต้องบำรุง
พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้
บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสด ๆ
ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวัน
(เราอาจจะเคยได้ยินชื่อแม่น้ำว่าแม่น้ำนัมมทานที
แต่ในอรรถกถาปปัญจสูทนี ฉบับภาษาบาลี หน้า ๘๘๒
เขียนเป็น “นิมมทานที” อาจจะฟังแปลกหูไปบ้าง
ผู้เรียบเรียงจึงใช้ตามที่ปรากฏในอรรถกถาฉบับบาลีและฉบับแปล
ขอผู้รู้ใคร่ครวญพิจารณาว่า
“นิมมทานที” กับ “นัมมทานที” มีที่มาอย่างไร)
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
5
6
7
8
/ 8 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...