ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7) <<

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 14:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วลาหกัสสชาดก


ม้าวลาหก ภาพแกะสลักหินทราบที่ปราสาทบาแค็ง


หญิงใดรัก แต่งกาย หมายงดงาม
ชายหลงตาม งามชั่ว ยั่วยวนใหญ่
พุทธองค์ ทรงสอน สั่งเอาไว้
หญิงนั้นไง ให้เรียก "ยักษิณี"

นางยักษิณี (วลาหกัสสชาดก)

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ได้ตรัสถามภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งกำลังถูก กามราคะ กลุ้มรุมในจิตใจ

"ดูก่อนภิกษุ เธอเกิดจิตกระสันอยู่จริงหรือ"

"จริงพระเจ้าข้า เพราะได้เห็นมาตุคาม(หญิงสาว)แต่งตัวงดงามนางหนึ่ง จิตใจจึงเกิดความกระสันขึ้น ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา"

ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า

"ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาหญิงที่แต่งตัวงดงาม เล้าโลมชายด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของ มารยาหญิง กระทำให้ชาย ตกอยู่ในอำนาจ ของตน เขาเรียกว่า นางยักษิณี

นางยักษิณีจะเล้าโลมชายด้วยอาการกรีดกราย ครั้นรู้ว่าชายตกอยู่ในอำนาจแล้ว ก็จะทำให้ถึง ความพินาศ แห่งศีล สร้างความพินาศ แห่งขนบประเพณีอันดีงาม

แม้แต่ในกาลก่อน พวกนางยักษิณีก็ได้กระทำเช่นนี้ ลวงฆ่าพวกพ่อค้าทั้งหลาย ได้เคี้ยวกิน หมุบหมับ ตามสบาย มีเลือดไหลอาบแก้มและคางมาแล้ว"

แล้วทรงนำเรื่องของนางยักษิณีมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล ณ เกาะตามพปัณณิ มีเมืองชื่อ สิริสวัตถุ เป็นเมืองของเหล่านางยักษิณี อาศัยอยู่ จำนวนมาก

พวกนางยักษิณีเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ ด้วยการจับมนุษย์ที่มาเรือแตกอยู่ใกล้ ๆ เกาะนั้น โดยพวกที่ถูกจับ มาใหม่ๆ จะทำให้เป็น สามีของพวกตน ส่วนพวกเก่า จะโดนล่ามโซ่ คุมขังไว้ รอถูกกินเป็นอาหาร ไปในแต่ละวัน

แต่ถ้าหากไม่มีเรืออับปาง พวกนางยักษิณีก็จะตระเวนเที่ยวหาเหยื่อ ตามฝั่งสมุทร ตามเกาะอื่น ๆ เช่น เกาะไม้ขานาง ที่ฝั่งโน้นบ้าง เกาะไม้กากะทิง ที่ฝั่งนี้บ้าง

อยู่มาวันหนึ่ง......มีพ่อค้า ๕๐๐ คน นำเรือใหญ่บรรทุกสินค้าผ่านมา เกิดพายุจัด เรือจึงอับปาง ใกล้เกาะนั้น พวกพ่อค้าทั้งหมด ช่วยพากัน แหวกว่ายน้ำ ขึ้นเกาะได้โดยปลอดภัย

ส่วนพวกนางยักษิณีพอรู้ว่า มีเรือมาอับปาง ก็พากันตกแต่งร่างกายให้งดงาม แล้วถือของกิน ของเคี้ยว มากมาย ทั้งยังอุ้ม ทารกน้อยไปด้วย เพื่อลวงให้เหล่าพ่อค้า ทั้งหลายคิดว่า

"พวกนี้ก็เป็นมนุษย์เช่นเรา มีชีวิตความเป็นอยู่เช่นเดียวกับเรา"

เมื่อพวกนางยักษิณีเข้าไปหาพวกพ่อค้าแล้ว ก็จะกล่าวต้อนรับอย่างดีว่า

"เชิญดื่มน้ำใสสะอาดนี้เถิด เชิญกินของขบเคี้ยวนี้เถิด"

ด้วยความเหน็ดเหนื่อยและหิวกระหาย บรรดาพ่อค้าทั้งหมด ก็พากันกินอาหารเต็มที่ จนกระทั่ง อิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ให้รู้สึกอยากได้ที่พักผ่อน คราวนี้พวกนางยักษิณี จะชวนคุย ซักถามว่า

"พวกท่านมาจากที่ไหนกันนี่ แล้วจะไปกันที่ใด มาทำอะไรกันถึงที่นี้"

พ่อค้าทั้งหลายก็จะตอบความจริงไปว่า

"พวกเราเป็นพ่อค้า เรือเกิดอับปาง ต้องติดเกาะอยู่ที่นี่"

เหล่านางยักษิณีได้ช่องได้โอกาส จะแสร้งวางเหยื่อล่อว่า

"ดีล่ะ! พ่อคุณเอ๋ย แม้แต่สามีของพวกเราทั้งหมด ก็เป็นพ่อค้าขึ้นเรือจากไปนาน นี่ล่วงสามเดือนกว่าแล้ว ก็ยังไม่กลับคืนมา ชะรอยพวกเขา คงจะตายหมดสิ้นแน่ พอดีกับพวกท่าน ก็เป็นพ่อค้าเหมือนกัน พวกเราเป็นหญิง ต้องมีที่พึ่งพิง จึงขอเป็นผู้รับใช้ ของพวกท่านเถิด"

แล้วก็เข้าเล้าโลมพวกพ่อค้า ด้วยมารยาหัวเราะ และจริตของสตรี พาเข้าไปพักผ่อนในเมือง ตามบ้านของตน เป็นอันว่า นางยักษิณีได้ทำให้พ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน ตกเป็นสามีได้สำเร็จ สมใจหมาย โดยหัวหน้า นางยักษิณี ก็ได้หัวหน้าพ่อค้า เป็นสามี นางยักษิณีที่เหลือ ก็ได้พ่อค้านอกนั้น เป็นสามี

ครั้นตกเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นนางยักษิณีหัวหน้า หรือนางยักษิณีอื่น ๆ มักรอให้พวกพ่อค้าหลับแล้ว ก็จะลุกไปฆ่ามนุษย์ ที่คุมขังไว้ พอกินเลือดเนื้อเสร็จแล้ว จึงค่อยกลับมานอน ร่วมกับพ่อค้าอีก และ ทุกครั้ง ที่ได้กินเนื้อมนุษย์แล้ว ร่างกายของพวกนางยักษิณี จะเย็นผิดปกติ



ด้วยเหตุนี้เองทำให้หัวหน้าพ่อค้าได้รู้สึกเกิดสงสัยยิ่งนัก จึงคอยเฝ้าสังเกตอยู่ จนมั่นใจว่า เป็นยักษิณีแน่ ทั้งมั่นใจว่า หญิงอื่น ๆ ก็เป็นยักษิณีด้วย ดังนั้น จึงแอบบอกกับเพื่อนพ่อค้า ทั้งหลายว่า "พวกเรากำลัง ตกอยู่ในอันตรายแล้วหนอ หญิงทั้งหมดนี้ ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นพวก นางยักษิณีกินคน เร็วเถอะ พวกเราต้อง หาทางหนีกันไป จากที่นี่โดยเร็ว"

แม้จะบอกให้รู้ความจริงแล้ว แต่พวกพ่อค้าประมาณครึ่งหนึ่ง ก็ยังตอบว่า

"เราไม่เห็นว่าหญิงเหล่านี้จะดุร้ายอะไร ทั้งเราก็ไม่อาจละทิ้งพวกนาง ไปได้ด้วย พวกท่าน จงไปกันเถิด พวกเราจะไม่หนีไปไหนล่ะ"

ดังนั้น หัวหน้าพ่อค้าจึงพาพรรคพวกอีกครึ่งหนึ่ง ที่เชื่อถือในถ้อยคำของตน พากันหลบหนี ออกจาก เมืองยักษิณี แต่ก็ยังหาทาง ออกจากเกาะนั้นไม่ได้

ขณะนั้นเอง....มีม้าบินตัวหนึ่ง เป็นม้าวลาหก สีขาวปลอด ศีรษะคล้ายกา มีผมเป็นปอย สามารถบินเหาะ ไปไหน ทางอากาศ ได้รวดเร็ว ปกติจะบินจากป่าหิมพานต์ ไปหาข้าวสาลีกิน ที่สระแห่งหนึ่ง บนเกาะตามพปัณณิ พอกินอิ่มดีแล้ว ก่อนจะบินกลับไป ทุกครั้ง จะต้องแผ่เมตตาจิต ด้วยการกล่าวถึง ๓ ครั้งว่า

"จงมาเถิดผู้ปรารถนาจะไปสู่ฝั่งชนบท จงมาเถิดผู้ปรารถนาจะไปสู่ฝั่งชนบท จงมาเถิด ผู้ปรารถนาจะไป สู่ฝั่งชนบท เราจะพาไป"

เป็นเวลาพอดีกับพวกพ่อค้า ได้ยินเสียงเข้า จึงพากันเข้าไปหา ม้าวลาหก ยกมือขึ้นไหว้ แล้วกล่าวว่า

"ม้าผู้ประเสริฐ พวกข้าพเจ้าเชื่อถือถ้อยคำของท่าน จึงต่างก็ปรารถนา ที่จะไปสู่ชนบท ฝั่งโน้น"

"ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงขึ้นขี่บนหลังเราเถิด เราจะพาไปให้ถึง อย่างรวดเร็ว"

พ่อค้าบางคนจึงขึ้นขี่บนหลัง บางคนก็จับหางม้าไว้แน่น บางคนก็ยืนประนมมือไหว้ รอให้ม้าวลาหก มารับ ในเที่ยวต่อ ๆ ไป ในที่สุด.....ม้าวลาหกก็พาพวกพ่อค้า ที่หนีมาทั้งหมด ให้กลับคืน สู่ชนบทของตน ได้โดยปลอดภัย

ฝ่ายพวกนางยักษิณี เมื่อมีคนเรือแตก มาติดเกาะอีก ก็หลอกไว้เป็นสามีใหม่ แล้วจับพวกพ่อค้าสามีเก่า ที่ไม่ยอมหนีไปนั้น กักขังไว้ฆ่ากิน เป็นอาหาร อันโอชะต่อไป

พระศาสดาทรงจบธรรมเทศนานี้ ด้วยคำตรัสว่า

"พวกพ่อค้าครึ่งหนึ่ง ที่เชื่อคำของม้าวลาหกในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทของเรา ในบัดนี้ ส่วนม้า วลาหกตัวนั้น ก็คือเราตถาคตเอง"

แล้วทรงย้ำเตือนสติให้เกิดปัญญาว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดไม่ทำตามคำสั่งสอน ที่เราตถาคต แสดงไว้ดีแล้ว ผู้นั้นย่อมจะต้องถึง ความพินาศ ย่อมถึงความทุกข์ใหญ่ในอบาย ๔ (คือได้นรก ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย) เปรียบเสมือนพวกพ่อค้า ที่ถูกนางยักษิณี หลอกลวง ให้ตกอยู่ในอำนาจ ต้องสิ้นชีวิตไป ฉะนั้น

ส่วนผู้ใดทำตามคำสั่งสอน ที่เราตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว ผู้นั้นย่อมจะไปถึง ฝั่งพระนิพพาน ดุจพวกพ่อค้า ที่เชื่อฟัง กระทำตามคำของ ม้าวลาหก ไปถึงฝั่งชนบท โดยสวัสดี ได้กลับคืน สู่ที่อยู่ของตน ฉะนั้น"

ครั้นจบคำตรัสนี้แล้ว ทรงประกาศอริยสัจทันที เมื่อจบสัจธรรมแล้ว ภิกษุผู้กระสันนั้น ก็ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล ส่วนภิกษุอื่น ๆ อีกหลายรูป บ้างก็บรรลุเป็น พระโสดาบัน บ้างก็ได้เป็น พระสกิทาคามี บ้างก็ได้เป็น พระอนาคามี หรือแม้แต่ได้เป็น พระอรหันต์ก็มี


เชื่อผู้ใหญ่ เขาว่า หมาไม่กัด
เชื่อธรรมะ ปฏิบัติ ไม่กลัวผี
เชื่อพุทธองค์ หลุดพ้น ยักษิณี
เชื่อกรรมดี มีบุญ หนุนสุขใจ.


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 14:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“สระน้ำอโนดาต”

ในป่าหิมพานต์ เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคภัยได้จริง




        บ่อน้ำพุตามธรรมชาติที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนผู้คนก็มักเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคภัยต่างๆ ได้ อย่างที่วัดปุราเตียร์ตาอัมปึล หรือ วัดน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองบาหลี ซึ่งก็มีบ่อน้ำพุผุดขึ้นจากใต้ดิน ชาวบาหลีเชื่อกันว่าพระอินทร์เป็นผู้ดลบันดาลให้เกิด ใครได้อาบจะเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งเลวร้าย และรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสรรพคุณและความศักดิ์สิทธิ์จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ไม่ยืนยัน

       แต่ถ้าพูดถึงแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในสมัยบรรพกาลแล้ว ก็จะชวนให้นึกถึง “สระน้ำอโนดาต” ในป่าหิมพานต์ ว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคภัยได้จริง
ทั้งนี้ รอบๆ สระอโนดาตจะมีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก คือ “สุทัศนกูฏ” ซึ่งเป็นภูเขาล้วนไปด้วยทอง “จิตรกูฏ” ล้วนไปด้วยแก้ว “กาลกูฏ” ล้วนไปด้วยนิลมณี “ไกรลาส” ล้วนแล้วด้วยเงิน และ “คันธมาทนกูฏ” ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและพันธุ์ไม้หอมต่างๆ ซึ่งบางชนิดดอกหอม บางชนิดเปลือกหอม บางชนิดยางหอม บางชนิดรากหอม
โดยที่ที่เชิงเขานี้จะมีผาชะโงกเรียกว่านันทมูล ซึ่งเป็นที่อยู่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

       ทั้งนี้ที่สระอโนดาตจะมีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า เป็นที่อาบน้ำชำระร่างกายของเทวดา เทพธิดาท่าหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าท่าหนึ่งฤๅษีวิทยาธรท่าหนึ่ง และพระอรหันต์อีกท่าหนึ่ง
ลักษณะของน้ำในสระอโนดาตจะใสสะอาดมากๆ และไม่มีมลพิษใดๆ เจือปน และว่ากันว่า น้ำในสระจะไหลออกไปจากซอกภูเขาที่อยู่รอบ 4 ทิศ โดยซอกภูเขานี้จะมีรูปปากช่องเป็นหน้าสิงห์ หน้าช้าง หน้าม้า และหน้าวัว

        ที่ไหลออกไปทางซอกเขาหน้าสิงห์ จะผ่านไปทางแดนตะวันออกของเขาหิมพานต์อันเป็นที่อยู่ของราชสีห์พันธุ์ต่างๆ

        ที่ไหลออกจากเขาหน้าวัวก็กลายเป็นแม่น้ำ 5 สาย เรียกว่าปัญจมหานที คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหี

        ที่ไหลออกทางหน้าม้า เป็นน้ำสีเขียว ผ่านเป็นแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของม้าสินธพ

        ส่วนที่ผ่านด้านหน้าเหนือที่ไหลออกจากเขาหน้าช้าง น้ำเป็นสีเหลือง ผ่านแดนที่อาศัยของช้างตระกูล 10 ตระกูล

ถึงแม้ว่าน้ำจะไหลออกจากสระอโนดาต แต่น้ำในสระก็ไม่เคยพร่อง แต่กลับเต็มเปี่ยมเสมอ

“อโนดาต”
แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน
เมื่อสิ้นสุดกัลป์จะมีไฟบรรไลกัลเผาผลาญโลก




        สระอนวตัปตาจะเป็นแหล่งสุดท้ายที่จะถูกทําลายจากไฟบรรลัยกัลป์  หลวงปู่ท่านห่วงลูกหลานจึงได้สร้าง ดวงตราอาถรรพ์ฯ โดยการจําลองสระอโนดาต จึงถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีอายุยืนยาวที่สุด ถึงจะเกิดอะไรขึ้นร้ายแรง ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือคลาดแคล้วจากภัยอันตรายทั้งปวง



       เคยได้ยินอาจารย์เล่าว่า พระราชพิธีสรงน้ำราชาภิเษก พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีที่เกี่ยวกับพระมหาจักรพรรดิ์ ก็ล้วนแต่นำเอาสาระความเชื่อจากสระอโนดาตมาทั้งสิ้น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 14:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สระอโนดาต




     ถัดจากเขาสุทัสสนะ หรือติดเขาสุทัสสนะ จะเป็นป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ เป็นรอยต่อแห่งมิติ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์เป็นแดนทิพย์ ส่วนหนึ่งเป็นแดนมนุษย์ และส่วนหนึ่งเป็นแดนรอยต่อระหว่างโลกทิพย์กับโลกมนุษย์

     ในป่าหิมพานต์ จึงมีพืชพันธุ์แปลกๆ มากมาย สัตว์พันธุ์แปลกๆ มากมาย ทั้งสัตว์กึ่งเทพ สัตว์กายสิทธิ์ ก็อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นี่เอง

     ป่าหิมพานต์ ความจริงเป็นภูเขา เรียกว่าภูเขาหิมพานต์ หรือ หิมวันตบรรพต เมื่อมองลักษณะรูปร่างแล้ว เรียกภูเขาหิมพานต์ แต่เมื่อมองในลักษณะมีต้นไม้มากแล้ว ก็คือป่าหิมพานต์

     เขาหิมพานต์ ยังประกอบด้วยยอดเขาย่อยๆ อีกมากมาย
     เขาหิมพานต์ มีสระสำคัญๆ อยู่ ๗ สระ คือ

     ๑. สระอโนดาต  
     ๒. สระกรรณมุณฑะ
     ๓. สระรถการะ  
     ๔. สระฉัททันต์
     ๕. สระกุณาละ  
     ๖. สระมันทากินี
     ๗. สระสีหปปาตะ

     สระอโนดาต เป็นสระที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุด ธารน้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงมาที่สระอโนดาต พื้นสระอโนดาต เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อมโนศิลา บริเวณที่เป็นดิน ก็เป็นดินกายสิทธิ์ชื่อหรดาล (ใช้ถูตัวได้ดี) น้ำใสแจ๋วสะอาด ท่าอาบน้ำ มีมากมาย เป็นที่สรงสนานแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าผู้วิเศษผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค เทวดา เป็นต้น  
รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ ๕ ยอดเขาได้แก่

     ยอดเขาสุทัสสนะ (สุทัสสนกูฏ)
     ยอดเขาจิตตะ (จิตรกูฎ )
     ยอดเขากาฬะ (กาฬกูฎ)
     ยอดเขาคันธมาทน์ (คันธมาทนกูฏ)
     ยอดเขาไกรลาส  (ไกรลาสกูฏ)

     ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ

     ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

     ยอดเขากาฬะ  เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

     ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์  ทั้งไม้รากหอม  ไม้แก่นหอม  ไม้กระพี้หอม  ไม้เปลือกหอม  ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม  ไม้ใบหอม  ไม้ดอกหอม  ไม้ผลหอม  ไม้ลำต้นหอม  ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ  ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม... ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน

     ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน  รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้

ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต
(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”...แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)

     จากสระอโนดาต... จะมีปากทางให้น้ำไหลระบายออกอยู่สี่แห่ง ทิศละแห่ง คือ

     สีหมุข... ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก)
     หัตถีมุข... ปากแม่น้ำแดนช้าง (เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก)
     อัสสมุข... ปากแม่น้ำแดนม้า (เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก)
     อุสภมุข... ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ (เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก)

เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่สี่สาย ไหลล่อเลี้ยงรอบนอกของเขาหิมพานต์ ก่อนลงสู่มหาสมุทร...


     ด้านทิศตะวันออก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก  ลงสู่มหาสมุทร  

     ด้านทิศตะวันตก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันตก  ลงสู่มหาสมุทร  

     ด้านทิศเหนือ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศเหนือ  ลงสู่มหาสมุทร  
(ที่แม่น้ำทุกสาย ไหลวนรอบสระอโนดาตเหมือนกัน แต่ไม่ข้องแวะกัน เพราะ ไหลลอดอุโมงค์หิน ไหลลอดภูเขา ออกไป)

     ด้านทิศใต้ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  แล้วไหลตรงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ โยชน์  โผล่ออกมาใต้แผ่นหิน ตรงบริเวณหน้าผา กลายเป็นน้ำตกสูงใหญ่ยิ่ง ความสูงสายน้ำตกประมาณ ๖๐ โยชน์ สายน้ำตกอันรุนแรงนั้น ตกกระทบแผ่นหินเบื้องล่าง จนหินแตกกระจายออก  ในที่สุดกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ รองรับสายน้ำตกนั้น  แอ่งน้ำนี้มีชื่อเรียกว่า “ติยัคคฬา”  เมื่อน้ำมากขึ้น ได้พังทำลายหินอันโอบล้อมอยู่ออกไปได้ทางหนึ่ง เจาะกระแทกหินที่ไม่แข็ง เป็นอุโมงค์ ไหลไป จนถึงส่วนที่เป็นดิน ก็เจาะทะลุดิน เป็นอุโมงค์ และไหลลอดตามอุโมงค์ดินนั้นไป  จนถึงภูเขาหินขวางอยู่ (ติรัจฉานบรรพต=ภูเขาขวาง) ภูเขานี้เรียกว่า วิชฌะ เมื่อน้ำกระทบหินเข้า ก็ไปต่อไม่ได้โดยง่าย แรงน้ำได้ดันจุดที่อ่อนแอที่สุดออกไปได้ ๕ จุด เกิดเป็นทางแยก ๕ แยก และกลายเป็นต้นน้ำสำคัญแห่งมนุษย์ ๕ สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ และแม่น้ำทั้ง๕ นี้ นอกจากผู้ตาทิพย์แล้ว ไม่มีใครบอกได้ว่า ของจริงอยู่ที่ไหน ...

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ
หรืออีกพระนามหนึ่งคือ
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตะฎากะ
ดวงตราอาถรรพณ์แท้ที่จริงแล้ว คือ การจำลอง สระอนวตัปตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแดนหิมพานต์
เคลื่อนแกนมิติลงมาสู่โลกมนุษย์ ในประวัติที่พอสืบทราบว่าในโลกนี้มีเพียงสามท่านเท่านั้นที่ทำได้

นั่น ก็คือ

พระเจ้าจักรพรรดิ์อโศกมหาราช
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จักรพรรดิศรีราชาเวทย์)
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (ผู้สำเร็จวิชาราชาอาถรรพ์)



สายวิชาอาถรรพณ์มีที่มาที่ไป สายสัมพันธ์ ตรัยราชา ทั้งสามอย่างไม่น่าเชื่อ



15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเจ้าอโศกมหาราช




           จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

            พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนาก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

            ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี

           หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ ที่สารนาถ ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้นำมาใช้เป็นรูปตราแผ่นดิน ดำเนินรัฐศาสนโยบายด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
อัครศาสนูปถัมภกพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

            ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษเอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells; 1866 – 1946) นักเขียนชาวอังกฤษ ก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น

             พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศไทย บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป

            หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคตพระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง

พระเจ้าอโศกมหาราช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเจ้าอโศกมหาราช




         “มีกษัตริย์และจักรพรรดิมากมายหลายพันพระองค์ในประวัติศาสตร์โลก… ท่านเหล่านั้นปรากฏแสงอยู่เพียงชั่วขณะก่อนจะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่พระเจ้าอโศกยังคงสว่างเรืองรองไม่ต่างจากเดือนดารา แม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน” – เอช. จี. เวลส์

พระเจ้าอโศก (304-232 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โมริยะ ผู้ปกครองพื้นที่เกือบทั้งหมดของอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน (269-232 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสาร โดยมีพระอนุชาร่วมสายพระโลหิตเพียงพระองค์เดียว

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าอโศกมีพระนิสัยแข็งกร้าวและคึกคะนอง พระองค์ทรงศึกษาเรียนรู้วิชายุทธ์และวิชาการทุกแขนง ความสามารถในการใช้ดาบของพระองค์นั้นเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว พระองค์ทรงเป็นนักล่าที่น่าพรั่นพรึง และเป็นนักรบชั้นเยี่ยมที่ไร้เมตตา

บนหนทางสู่การเป็นจอมทัพและจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอโศกทรงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารหน่วยต่างๆ ของอาณาจักร และทรงจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นตามแคว้นต่างๆ ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของพระองค์ขจรขจายไปทั่ว บรรดาพระเชษฐาต่างพระมารดาจึงทรงวิตกกังวลว่าพระเจ้าพินทุสารจะทรงเลือกพระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป เจ้าชายสุสิมะซึ่งเป็นองค์รัชทายาทจึงทรงวางแผนให้พระเจ้าพินทุสารเนรเทศพระเจ้าอโศก แต่หลังจากพระองค์ถูกเนรเทศสองปี ก็เกิดความวุ่นวายขึ้นที่แคว้นแคว้นหนึ่ง พระเจ้าพินทุสารจึงมีพระบัญชาให้พระเจ้าอโศกไปจัดการความวุ่นวายที่นั่น

ศึกครั้งนั้นพระเจ้าอโศกทรงได้รับบาดเจ็บ และได้รับการถวายการรักษาโดยพระและแม่ชี นี่เป็นครั้งแรกที่พระองค์ทรงได้สัมผัสกับคำสอนของพุทธศาสนา (ศาสนาเชนคือศาสนาหลักในสังคมยุคนั้น) ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงได้พบกับพระนางเทวีซึ่งทำหน้าที่เป็นนางพยาบาล ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะอภิเษกสมรสกันในเวลาต่อมา

ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าพินทุสาร เจ้าชายสุสิมะพยายามลอบสังหารพระนางเทวีซึ่งกำลังตั้งครรภ์ แต่แผนการล้มเหลว พระเจ้าอโศกจึงสังหารพระเชษฐา ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิ  ในช่วง 8 ปีแรกของการเป็นจักรพรรดิ พระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้กระหายสงคราม และทรงมุ่งมั่นที่จะขยายอาณาจักรของพระองค์ออกไปไม่หยุดหย่อน จนผู้คนเรียกขานพระองค์ว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม)  แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของพระองค์ก็เกิดขึ้น นั่นคือสงครามที่แคว้นกาลิงคะ (265 หรือ 263 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

กล่าวกันว่าสงครามครั้งนั้นเป็นการโจมตีที่ยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเดีย แคว้นกาลิงคะทั้งแคว้นราพณาสูร ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่าผู้คนในแคว้นกาลิงคะเสียชีวิตประมาณ 100,000 คน ทหารของพระเจ้าอโศกเสียชีวิตประมาณ 10,000 คน และมีผู้ที่ต้องลี้ภัยหลายพันคน


หลังจากสงครามจบสิ้นลง สภาพบ้านเรือนที่ถูกเผาทำลายและซากศพจำนวนมหาศาลที่เกลื่อนกระจายไปทั่ว ทำให้พระเจ้าอโศกทรงได้สติ พระองค์ทรงไต่ถามตัวเองถึงความหมายที่แท้จริงของชัยชนะและผู้ปกครอง  หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงได้ฟังธรรมจากนิโครธสามเณรและพระสมุทระเถระ ก่อนที่พระองค์จะนำหลักการของศาสนาพุทธมาใช้กับการบริหารปกครองบ้านเมืองในที่สุด

พระองค์ทรงสร้างพระสถูปและพระวิหารหลายพันแห่งสำหรับชาวพุทธ ทรงนำเสนอนโยบายอหิงสา ไม่ทำร้ายทำลายทั้งชีวิตสัตว์และผู้คน โดยการฆ่าสัตว์จะได้รับอนุญาตเพื่อการบริโภคเท่านั้น ทรงสนับสนุนให้ประชาชนกินอาหารมังสวิรัติ ทรงสร้างมหาวิทยาลัย ทรงสร้างระบบการชลประทานเพื่อการค้าและการเพาะปลูก ทรงสร้างโรงพยาบาลทั้งสำหรับคนและสัตว์ ทรงปรับปรุงถนนสายหลักตลอดทั้งอินเดีย ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้พระองค์มิได้ทรงคำนึงถึงศาสนา ความคิดทางการเมือง หรือชนชั้นของประชาชน  นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกยังทรงส่งสมณะทูตออกไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย และสายที่ 8 ได้เดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ

มรดกที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พระเจ้าอโศกทรงทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลังคือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธกับรัฐ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับแนวคิดทางการปกครองที่พัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าอโศกเข้ามาแทนที่แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับที่มาของผู้ปกครอง (เทวสิทธิ์)  ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบศาสนจักร ความชอบธรรมของผู้ปกครองมิได้มาจากอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่มาจากการยอมรับของสังฆะ  ดังนั้น ผู้ปกครองจึงต้องปกครองบนพื้นฐานของหลักคุณธรรมจริยธรรม อันเกี่ยวโยงกับหลักการทางศาสนาอย่างแยกไม่ออก

พระเจ้าอโศกทรงปกครองอาณาจักรโมริยะ (ประมาณ 40 ปี) จนกระทั่งสวรรคต ก่อนที่ราชวงศ์โมริยะจะล่มสลายในอีกประมาณ 50 ปีต่อมา

ข้อมูลเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกมาจากจารึกบนแผ่นหินและเสาหินที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วอาณาจักร ทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักและความเมตตาที่พระองค์มีต่อประชาชน นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาที่สนับสนุนคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธศาสนา การไม่ใช้ความรุนแรง และการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมะ

เสาหินที่สารนาถคือเสาหินที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่พระเจ้าอโศกทรงทิ้งเอาไว้ มันทำมาจากหินทราย จารึกบนเสาหินระบุการเสด็จพระราชดำเนินมาที่สารนาถขององค์จักรพรรดิในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ยอดเสามีสิงโต 4 ตัวหันหลังชนกัน ซึ่งรัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นตราราชการในปัจจุบัน

ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากในการระบุว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ถูกจารึกไว้นั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่อักษรเหล่านั้นก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระเจ้าอโศกต้องการให้โลกจดจำพระองค์เช่นไร

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

         

          เสาอโศก หรือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Pillars of Ashoka, ฮินดี: अशोक स्तंभ, อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

          เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรม ราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช

          เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมือง เวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

          เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระราชลัญจกรประจำองค์พระเจ้าอโศมหาราช



ทรงใช้จตุราชสิงห์แทนพระบรมเดชานุภาพแห่งพระองค์

สังเกตุให้ดีที่ฐานสิงห์จะเห็นสัตว์ทั้งสี่อย่างที่ประจำทิศในสระอโนดาต

ท่านเป็นองค์แรกที่จำลองสระอโนดาตมาเสริมพระเกียรติ์บารมีให้ยั่งยืนนานคู่ฟ้าดินสลาย

ท่านเป็นพระมหาธรรมราชาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยอมรับนับถือในพระปรีชาสามารถ

ทรงเอามาเป็นแบบอย่างในชีวิตและการปกครองตลอดจนอัครศาสนูปถัมภก

เจริญตามรอยแห่งพระองค์ท่าน แม้นแต่การสร้างประสาทนาคพัน ก็ได้แรงบันดาลใจจาก

พระเจ้าอโศกมหาราชอีกเช่นกัน




    พระเจ้าอโศกมหาราชท่านมีบารมีมาก
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
มาเสริมพระบารมีบรมเดชานุภาพ
ได้เป็นปฐม พระองค์แรก-

มหาจักรพรรดิ ธรรมาโศกราช







........................................................................




1. บนยอดเสาแกะสลักเป็นรูปสิงโต ๔ ตัว นั่งหลังชนกัน ซึ่งอยู่ในลักษณะคำรามหรือเปล่งสีหนาท แต่เดิมมีธรรมจักรตั้งอยู่บนหลังของสิงห์ทั้ง ๔ เป็นลักษณะสิงห์แบกธรรมจักร ซึ่งมี ๒๔ ซี่ ธรรมจักร คือ เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา
2. ใต้ฐานสิงโตมีรูปธรรมจักร ๔ ด้าน วงล้อธรรมจักรมี ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งขบวนการเกิดและขบวนการดับ (ทุกข์)
3. ระหว่างรูปธรรมจักรแต่ละด้านมีรูปสัตว์สำคัญ ๔ ชนิด เรียงไปตามลำดับ คือ
      "ช้าง โค ม้า และสิงโต" ซึ่งล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งนักปราชญ์ได้ให้ความหมายดังนี้
      "ช้าง" หมายถึง การเสด็จลงสู่พระครรภ์ (พระมารดาสุบินเห็นช้างเผือก) หรือ ปัญญาชาญฉลาด สุขุมเยือกเย็น
      "โค" หมายถึง ทรงได้ปฐมฌาน (ขณะพระบิดาทรงทำพิธีแรกนาขวัญ) หรือ ความแข็งแรง อดทน
      "ม้า" หมายถึง การทรงม้าเสด็จออกผนวช หรือ ฝีเท้าอันรวดเร็ว
      "สิงโต" หมายถึง การแสดงธรรมจักร ซึ่งเปรียบเหมือนการเปล่งสีหนาท หรือการคำรามของพญาราชสีห์
.............................................................................................

    จากคำของนักปราชญ์ที่ตีความหมายข้างต้นผมยังไม่ปักใจเชื่อนัก ตามไตรภูมิพระร่วง ได้ระบุชัดถึงเรื่องราวที่เทวะนำน้ำอันบริสุทธิ์จาก สระอนัปวตตา ไปถวายพระเจ้าธรรมอโศก เพื่อเสริมพระบารมี จึงมีความเชื่อว่าสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 ความหมายคือสัตว์จาก สระอโนดาตอย่าแน่นอน

Sornpraram

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ที่มีพระบารมีองค์ที่สอง
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
มาเสริมพระบารมีบรมเดชานุภาพ


ก็คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่น เอง
ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจน ก็คือ
ปราสาทนาคพัน ที่พระองค์ทรงสร้างไว้



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ที่มีพระบารมีองค์ที่สาม
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
เพื่อมาช่วงสงเคราะห์บรรดาเหล่าลูกศิษย์



ผ่าน ดวงตราอาถรรพ์ชัยมหานาถ



ก็คือ หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ นั่นเอง



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้