ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7) <<

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ
หรืออีกพระนามหนึ่งคือ
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตะฎากะ
ดวงตราอาถรรพณ์แท้ที่จริงแล้ว คือ การจำลอง สระอนวตัปตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแดนหิมพานต์
เคลื่อนแกนมิติลงมาสู่โลกมนุษย์ ในประวัติที่พอสืบทราบว่าในโลกนี้มีเพียงสามท่านเท่านั้นที่ทำได้

นั่น ก็คือ

พระเจ้าจักรพรรดิ์อโศกมหาราช
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จักรพรรดิศรีราชาเวทย์)
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (ผู้สำเร็จวิชาราชาอาถรรพ์)



สายวิชาอาถรรพณ์มีที่มาที่ไป สายสัมพันธ์ ตรัยราชา ทั้งสามอย่างไม่น่าเชื่อ



12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:16 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระเจ้าอโศกมหาราช




           จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

            พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนาก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

            ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี

           หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ ที่สารนาถ ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้นำมาใช้เป็นรูปตราแผ่นดิน ดำเนินรัฐศาสนโยบายด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
อัครศาสนูปถัมภกพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

            ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษเอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells; 1866 – 1946) นักเขียนชาวอังกฤษ ก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น

             พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศไทย บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป

            หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคตพระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง

พระเจ้าอโศกมหาราช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:19 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระเจ้าอโศกมหาราช




         “มีกษัตริย์และจักรพรรดิมากมายหลายพันพระองค์ในประวัติศาสตร์โลก… ท่านเหล่านั้นปรากฏแสงอยู่เพียงชั่วขณะก่อนจะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่พระเจ้าอโศกยังคงสว่างเรืองรองไม่ต่างจากเดือนดารา แม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน” – เอช. จี. เวลส์

พระเจ้าอโศก (304-232 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โมริยะ ผู้ปกครองพื้นที่เกือบทั้งหมดของอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน (269-232 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสาร โดยมีพระอนุชาร่วมสายพระโลหิตเพียงพระองค์เดียว

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าอโศกมีพระนิสัยแข็งกร้าวและคึกคะนอง พระองค์ทรงศึกษาเรียนรู้วิชายุทธ์และวิชาการทุกแขนง ความสามารถในการใช้ดาบของพระองค์นั้นเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว พระองค์ทรงเป็นนักล่าที่น่าพรั่นพรึง และเป็นนักรบชั้นเยี่ยมที่ไร้เมตตา

บนหนทางสู่การเป็นจอมทัพและจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอโศกทรงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารหน่วยต่างๆ ของอาณาจักร และทรงจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นตามแคว้นต่างๆ ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของพระองค์ขจรขจายไปทั่ว บรรดาพระเชษฐาต่างพระมารดาจึงทรงวิตกกังวลว่าพระเจ้าพินทุสารจะทรงเลือกพระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป เจ้าชายสุสิมะซึ่งเป็นองค์รัชทายาทจึงทรงวางแผนให้พระเจ้าพินทุสารเนรเทศพระเจ้าอโศก แต่หลังจากพระองค์ถูกเนรเทศสองปี ก็เกิดความวุ่นวายขึ้นที่แคว้นแคว้นหนึ่ง พระเจ้าพินทุสารจึงมีพระบัญชาให้พระเจ้าอโศกไปจัดการความวุ่นวายที่นั่น

ศึกครั้งนั้นพระเจ้าอโศกทรงได้รับบาดเจ็บ และได้รับการถวายการรักษาโดยพระและแม่ชี นี่เป็นครั้งแรกที่พระองค์ทรงได้สัมผัสกับคำสอนของพุทธศาสนา (ศาสนาเชนคือศาสนาหลักในสังคมยุคนั้น) ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงได้พบกับพระนางเทวีซึ่งทำหน้าที่เป็นนางพยาบาล ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะอภิเษกสมรสกันในเวลาต่อมา

ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าพินทุสาร เจ้าชายสุสิมะพยายามลอบสังหารพระนางเทวีซึ่งกำลังตั้งครรภ์ แต่แผนการล้มเหลว พระเจ้าอโศกจึงสังหารพระเชษฐา ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิ  ในช่วง 8 ปีแรกของการเป็นจักรพรรดิ พระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้กระหายสงคราม และทรงมุ่งมั่นที่จะขยายอาณาจักรของพระองค์ออกไปไม่หยุดหย่อน จนผู้คนเรียกขานพระองค์ว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม)  แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของพระองค์ก็เกิดขึ้น นั่นคือสงครามที่แคว้นกาลิงคะ (265 หรือ 263 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

กล่าวกันว่าสงครามครั้งนั้นเป็นการโจมตีที่ยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเดีย แคว้นกาลิงคะทั้งแคว้นราพณาสูร ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่าผู้คนในแคว้นกาลิงคะเสียชีวิตประมาณ 100,000 คน ทหารของพระเจ้าอโศกเสียชีวิตประมาณ 10,000 คน และมีผู้ที่ต้องลี้ภัยหลายพันคน


หลังจากสงครามจบสิ้นลง สภาพบ้านเรือนที่ถูกเผาทำลายและซากศพจำนวนมหาศาลที่เกลื่อนกระจายไปทั่ว ทำให้พระเจ้าอโศกทรงได้สติ พระองค์ทรงไต่ถามตัวเองถึงความหมายที่แท้จริงของชัยชนะและผู้ปกครอง  หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงได้ฟังธรรมจากนิโครธสามเณรและพระสมุทระเถระ ก่อนที่พระองค์จะนำหลักการของศาสนาพุทธมาใช้กับการบริหารปกครองบ้านเมืองในที่สุด

พระองค์ทรงสร้างพระสถูปและพระวิหารหลายพันแห่งสำหรับชาวพุทธ ทรงนำเสนอนโยบายอหิงสา ไม่ทำร้ายทำลายทั้งชีวิตสัตว์และผู้คน โดยการฆ่าสัตว์จะได้รับอนุญาตเพื่อการบริโภคเท่านั้น ทรงสนับสนุนให้ประชาชนกินอาหารมังสวิรัติ ทรงสร้างมหาวิทยาลัย ทรงสร้างระบบการชลประทานเพื่อการค้าและการเพาะปลูก ทรงสร้างโรงพยาบาลทั้งสำหรับคนและสัตว์ ทรงปรับปรุงถนนสายหลักตลอดทั้งอินเดีย ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้พระองค์มิได้ทรงคำนึงถึงศาสนา ความคิดทางการเมือง หรือชนชั้นของประชาชน  นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกยังทรงส่งสมณะทูตออกไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย และสายที่ 8 ได้เดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ

มรดกที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พระเจ้าอโศกทรงทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลังคือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธกับรัฐ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับแนวคิดทางการปกครองที่พัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าอโศกเข้ามาแทนที่แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับที่มาของผู้ปกครอง (เทวสิทธิ์)  ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบศาสนจักร ความชอบธรรมของผู้ปกครองมิได้มาจากอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่มาจากการยอมรับของสังฆะ  ดังนั้น ผู้ปกครองจึงต้องปกครองบนพื้นฐานของหลักคุณธรรมจริยธรรม อันเกี่ยวโยงกับหลักการทางศาสนาอย่างแยกไม่ออก

พระเจ้าอโศกทรงปกครองอาณาจักรโมริยะ (ประมาณ 40 ปี) จนกระทั่งสวรรคต ก่อนที่ราชวงศ์โมริยะจะล่มสลายในอีกประมาณ 50 ปีต่อมา

ข้อมูลเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกมาจากจารึกบนแผ่นหินและเสาหินที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วอาณาจักร ทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักและความเมตตาที่พระองค์มีต่อประชาชน นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาที่สนับสนุนคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธศาสนา การไม่ใช้ความรุนแรง และการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมะ

เสาหินที่สารนาถคือเสาหินที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่พระเจ้าอโศกทรงทิ้งเอาไว้ มันทำมาจากหินทราย จารึกบนเสาหินระบุการเสด็จพระราชดำเนินมาที่สารนาถขององค์จักรพรรดิในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ยอดเสามีสิงโต 4 ตัวหันหลังชนกัน ซึ่งรัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นตราราชการในปัจจุบัน

ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากในการระบุว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ถูกจารึกไว้นั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่อักษรเหล่านั้นก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระเจ้าอโศกต้องการให้โลกจดจำพระองค์เช่นไร

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:22 | ดูโพสต์ทั้งหมด

         

          เสาอโศก หรือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Pillars of Ashoka, ฮินดี: अशोक स्तंभ, อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

          เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรม ราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช

          เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมือง เวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

          เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:28 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระราชลัญจกรประจำองค์พระเจ้าอโศมหาราช



ทรงใช้จตุราชสิงห์แทนพระบรมเดชานุภาพแห่งพระองค์

สังเกตุให้ดีที่ฐานสิงห์จะเห็นสัตว์ทั้งสี่อย่างที่ประจำทิศในสระอโนดาต

ท่านเป็นองค์แรกที่จำลองสระอโนดาตมาเสริมพระเกียรติ์บารมีให้ยั่งยืนนานคู่ฟ้าดินสลาย

ท่านเป็นพระมหาธรรมราชาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยอมรับนับถือในพระปรีชาสามารถ

ทรงเอามาเป็นแบบอย่างในชีวิตและการปกครองตลอดจนอัครศาสนูปถัมภก

เจริญตามรอยแห่งพระองค์ท่าน แม้นแต่การสร้างประสาทนาคพัน ก็ได้แรงบันดาลใจจาก

พระเจ้าอโศกมหาราชอีกเช่นกัน




    พระเจ้าอโศกมหาราชท่านมีบารมีมาก
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
มาเสริมพระบารมีบรมเดชานุภาพ
ได้เป็นปฐม พระองค์แรก-

มหาจักรพรรดิ ธรรมาโศกราช







........................................................................




1. บนยอดเสาแกะสลักเป็นรูปสิงโต ๔ ตัว นั่งหลังชนกัน ซึ่งอยู่ในลักษณะคำรามหรือเปล่งสีหนาท แต่เดิมมีธรรมจักรตั้งอยู่บนหลังของสิงห์ทั้ง ๔ เป็นลักษณะสิงห์แบกธรรมจักร ซึ่งมี ๒๔ ซี่ ธรรมจักร คือ เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา
2. ใต้ฐานสิงโตมีรูปธรรมจักร ๔ ด้าน วงล้อธรรมจักรมี ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งขบวนการเกิดและขบวนการดับ (ทุกข์)
3. ระหว่างรูปธรรมจักรแต่ละด้านมีรูปสัตว์สำคัญ ๔ ชนิด เรียงไปตามลำดับ คือ
      "ช้าง โค ม้า และสิงโต" ซึ่งล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งนักปราชญ์ได้ให้ความหมายดังนี้
      "ช้าง" หมายถึง การเสด็จลงสู่พระครรภ์ (พระมารดาสุบินเห็นช้างเผือก) หรือ ปัญญาชาญฉลาด สุขุมเยือกเย็น
      "โค" หมายถึง ทรงได้ปฐมฌาน (ขณะพระบิดาทรงทำพิธีแรกนาขวัญ) หรือ ความแข็งแรง อดทน
      "ม้า" หมายถึง การทรงม้าเสด็จออกผนวช หรือ ฝีเท้าอันรวดเร็ว
      "สิงโต" หมายถึง การแสดงธรรมจักร ซึ่งเปรียบเหมือนการเปล่งสีหนาท หรือการคำรามของพญาราชสีห์
.............................................................................................

    จากคำของนักปราชญ์ที่ตีความหมายข้างต้นผมยังไม่ปักใจเชื่อนัก ตามไตรภูมิพระร่วง ได้ระบุชัดถึงเรื่องราวที่เทวะนำน้ำอันบริสุทธิ์จาก สระอนัปวตตา ไปถวายพระเจ้าธรรมอโศก เพื่อเสริมพระบารมี จึงมีความเชื่อว่าสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 ความหมายคือสัตว์จาก สระอโนดาตอย่าแน่นอน

Sornpraram

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:30 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ผู้ที่มีพระบารมีองค์ที่สอง
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
มาเสริมพระบารมีบรมเดชานุภาพ


ก็คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่น เอง
ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจน ก็คือ
ปราสาทนาคพัน ที่พระองค์ทรงสร้างไว้



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:38 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ผู้ที่มีพระบารมีองค์ที่สาม
ที่สามารถเคลื่อนแกนมิติสระอนวัปตตา
เพื่อมาช่วงสงเคราะห์บรรดาเหล่าลูกศิษย์



ผ่าน ดวงตราอาถรรพ์ชัยมหานาถ



ก็คือ หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ นั่นเอง



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:46 | ดูโพสต์ทั้งหมด


      คราวนี้พวกเราจะพอเข้าใจแล้วหรือยังว่าทำไม??
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตฎากะ
จึงรักษาโรคและล้างบาปทางกายและใจได้
จากการวมบารมีความศักดิ์สิทธิ์ ของสระอนัปวตตา
และแรงอธิฐานต่อเนื่องกันมาของ

พระเจ้าจักรพรรดิอโศกมหาราช-
พระเจ้าศรีชัยวรมัน-และล่าสุด
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ

และ ถ้าจะมองภาพ ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตฎากะให้เด่นชัด
ตีความหมายออกต้องศึกษา
ไตรภูมิพระร่วง + สระอโนดาต+ ราชวงศ์ไศเลนทร์
เพราะทั้งสามสิ่งเป็นภาพเชิงซ้อนผนึกอยู่ในองค์เดียวกัน


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ในบรรดาจารึกที่ปราสาทจรุง ได้กล่าวว่า
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทรงสร้าง

ชัยคีรี (ภูเขาแห่งชัยชนะ)
เสียดยอดฟ้าที่ส่องแสงสว่าง และ
ชัยสินธุ ( มหาสมุทรแห่งชัยชนะ)
ซึ่งด้วยความลึกอันไม่อาจคณาได้ ได้ลงไปถึงยังโลกแห่งนาค





        ดังนั้น กําแพงของเมืองพระนครหลวง จึงมีลักษณะมากยิ่งกว่าการป้องกันเมือง แต่ยังเต็มไปด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์

        ด้วย กําแพง นั้นก็คือ ทิวเขาซึ่งล้อมรอบจักรวาลของโลกมนุษย์

และ

        คู ก็คือมหาสมุทรในโลกซึ่งติดต่อกับพระยานาค ๘ ตน ซึ่งรอบรับโลกอยู่



           นี่คือที่มาของ พญานาคแปดตน ที่ปรากฎอยู่บนดวงตราอาถรรพ์ ฯ นั่นเอง



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:31 | ดูโพสต์ทั้งหมด
                        
เขาสิเนรุ และ ทวีปทั้ง๔




             ทวีปทั้ง 4 ในมงคลจักวาลเรา คือ จักรวาลย่อย ล้อม รอบ ภูเขาสิเนรุ และ ตำแหน่งของทวีป คือ ดาว ทั้ง 4 ดวง รวมทั้งดาวโลก ด้วย แต่ อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดตามขวาง

            ที่เรียกว่าทวีปเพราะเกิดขึ้นท่ามกลางอากาศ.....เมื่อง้วนดินเกิดขึ้นลอยอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรจักรวาล(เหมือนเนยข้นลอยอยู่บนผิวน้ำคล้ายน้ำมัน)เวลานั้น ง้วนดินได้จับกลุ่มเป็นโลกขึ้น ไม่ใช่โลกเราโลกเดียว แต่เกิดเป็นถึง 4 ทวีปใหญ่

.......หลายทวีป = 1 จักรวาล(Universe)......หลายจักรวาล = 1 โลกธาตุ(Galaxy)........4 ทวีปใหญ่นี้คือ

1.อุตตครุทวีป คือ จักรวาลสัคเคดากา
2.บุพพวิเทหะทวีป คือ จักรวาลเทคเคอร์นากา
3.อปรโคยานทวีป คือ จักรวาล แคทเทอร์ราดา
4.ชมพูทวีป คือ จักรวาลสิทธัตถะเมดา



มนุษย์ 4 ทวีป ตามจักวาลพุทธ



ภูเขาสิเนรุ
เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา

จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์
ส่วนที่เป็นพื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
โดยมีพื้นน้ำรองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
น้ำนี้ตั้งอยู่บนลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์

เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล ยอดเขาสิเนรุ เป็นผืนแผ่นดินแห่งแรก ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำ
ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก คือ ถึง ชั้นสุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓)

แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง คือหยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน...ด้านตะวันออกเป็น เงิน ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก...ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
ด้านเหนือเป็น ทอง...น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ตามสีของไหล่เขานั้นด้วย


       กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้ ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ประจำอยู่ทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแล เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย


       ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ
เป็นภูเขาทิพย์ เรียกว่า สัตตบรรพ์
รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสินธร
รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิก
รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ
รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร
รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินัตตถะ
รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกรรณ

นอกจากนี้ ยังมีภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย

ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม

จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ

๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

ทวีปใหญ่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ แต่ละทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แลดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป

ทวีปใหญ่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ
      ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน
๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี
มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน ดังสารัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า
คติปิ นิพฺพตฺถา มโต สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ
แปลความว่า มนุษย์อุตตกุรุนี้ เมื่อตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน
หมายความว่า เมื่อตายจากภพมนุษย์แล้วย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกแต่ถึงเวลาที่จุติจากเทวโลกแล้ว อาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือมนุษย์ในทวีปอื่นใดก็ได้ จะไม่ไปสู่อบายภูมิเพียงชั่วภพถัดไปจากที่กำลังเป็นมนุษย์อุตตรกุรุเท่านั้น

๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี

๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี

๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืนถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อยถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย
กำหนดเกณฑ์อายุขัยของผู้เกิดใน ๔ ทวีปนี้มาใน สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า
ชมฺพูทีปวาสีนํ อายุปฺปมาณํ นตฺถิ, ปุพฺพวิเทหานํ สตฺตวสฺสสตายุกา, อปรโคยานวาสีนํ ปญฺจวสฺสสตายุกา อุตฺตรกุรุวาสีนํ วสฺสสหสฺสายุกา เตสํ เตสํ ปริตฺตทีปวา สีนมฺปิ ตทนุคติกาล

ในมนุษย์ภูมินี้ มุ่งหมายเอามนุษย์ที่เกิดในชมพูทวีป เป็นมุขยนัย (โดยตรง) โดยสทิสูปจารนัย (โดยอ้อม) ได้แก่มนุษย์ในทวีป ทั้ง ๓ อีกด้วย คุณสมบัติของมนุษย์ชมพูทวีป มีแสดงไว้หลายนัย ตามวจนัตถะ ดังต่อไปนี้

๑. มโน อุสฺสนฺตํ เอเตสนฺติ = มนุสฺสา
คนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
หมายความว่า จิตใจของคนชมพูทวีปนั้น กล้าแข็งทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือฝ่ายดีนั้นสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, อัครสาวก, มหาสาวก, ปกติสาวก, สำเร็จอภิญญาลาภีหรือฌานลาภีบุคคล, ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ข้างฝ่ายไม่ดีนั้น ให้กระทำการวิบัติตัดชีวิต บิดามารดา, พระอรหันต์, กระทำโลหิตุปบาท, และสังฆเภท
๒. การณากรณํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส
คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร
หมายความว่า คนชมพูทวีป ย่อมมีความสามารถค้นหาเหตุผลของธรรมได้โดยเฉพาะ เช่นการเห็น เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์ กระทบกันเป็นต้น ตลอดจนรู้ภาวะของรูป



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้