ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2213
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สัปปายะ 7

[คัดลอกลิงก์]


ในชีวิตของคนทุกคนล้วนแล้วแต่ปรารถนาความสบาย
ทุกคนก็พยายามทำสิ่งที่คิดว่าตนเองสบายให้มากที่สุด
ในเรื่องนี้ด้วยพุทธิปัญญาอันเลิศล้ำของพระพุทธองค์
ก็มีอยู่ในธรรมเรื่องที่ว่า “สัปปายะ 7”
คำว่า “สบาย” แท้ที่จริงก็มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สัปปายะ” นี่เอง
โดยคำนี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎกและถูกขยายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้อย่างกระจ่างแจ้ง
ซึ่งพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ได้อธิบายไว้โดยละเอียดให้เราสามารถหาศึกษาอ่านกันได้…
พระพุทธองค์ทรงระบุไว้ว่า “นี่คือ สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุน
ในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย”
นี่คือ ปัจจัยสำคัญใน “การบรรลุธรรม” นั่นเอง….
ด้วยภูมิปัญญาแห่งจิตอัจฉริยะจึงได้ทำการวิเคราะห์รหัส 7 ประการนี้
พบว่า… เมื่อสิ่งนี้เป็นประโยชน์ทางธรรมแล้ว ย่อมยังผลย้อนกลับมาสู่ทางโลกด้วย
คือ สามารถน้อมมาเป็นแนวทางชีวิตได้เป็นอย่างดี
ในการที่เราจะมีสิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนให้ชีวิต
และการทำงานต่างๆ ได้ผลดีเลิศด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ คือ
1. สบายการอยู่ (อาวาสสัปปายะ) ที่อยู่เหมาะสม ไม่พลุกพล่านจอแจเกินไป
2. สบายการไป (โคจรสัปปายะ) แหล่งการกิน การเดินทาง
สถานที่สำคัญต่าง ๆ มีระยะพอเหมาะ ไม่ไกลเกินไปนัก เดินทางได้ง่าย
3. สบายพูดคุย (ภัสสสัปปายะ) การพูดคุยที่เหมาะสมในหมู่คนดี ไม่พูดมากหรือน้อยเกินไป
4. สบายคบคน (ปุคคลสัปปายะ) คบหาบุคคลที่ถูกกันเหมาะสมกัน
พากันไปในทางที่ดีมีผู้รู้เป็นที่ปรึกษา มีมิตรแท้ที่จริงใจ
5. สบายการกิน (โภชนสัปปายะ) รับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ เพศ วัย
อย่างไม่ยากและไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
6. สบายอากาศ (อุตุสัปปายะ) ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะสม
ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป น้ำไม่ท่วม ไม่มีภัยธรรมชาติ
7. สบายท่าทาง (อิริยาปถสัปปายะ) การอยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
เคลื่อนไหวได้สะดวก อิสระ วางตนได้เหมาะกับกาลเทศะ
เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอันเป็นเที่ยงแท้
เหมาะแก่ทุกกาลเวลา คือไม่ว่าเมื่อใดก็ยังเป็นจริงเสมออย่างชัดแจ้ง
หากเราสามารถนำตนและทำตนให้เดินตามแนวของสัปปายะ 7 นี้ได้บริบูรณ์
ชีวิตความสบายที่เราปรารถนาจะไปไหนเสีย
ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ก็สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว
สอดคล้องกับหลักของการดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาติ และตรงกับวิถีชีวิตของมนุษย์…
ธรรมะ… จึงเป็น… ธรรมชาติ
ธรรมชาติ… จึงเป็น… ความจริง
ความจริง… จึงเป็น… ทุกสิ่ง
ทุกสิ่ง… จึงเป็น… ธรรมะ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้