ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 33010
ตอบกลับ: 20
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ~

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติ   องค์พระปฐมเจดีย์



องค์พระปฐมเจดีย์ไม่เคยมีนักโบราณคดีมาขุดค้นทำการศึกษา เป็นหลักฐาน   คงมีแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ทรงให้ทำการขุดลงไปภายในซากเจดีย์พบอิฐหลายขนาด  หลายรุ่น    จึงทรงพิเคราะห์ว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์เก่าแก่     ที่มีการสร้างเสริมต่อเติมมาหลายครั้ง  สมัยที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรครั้งแรกนั้น    พระเจดีย์เป็นฐานกลม  แต่มียอดเป็นปรางค์  ซึ่งเป็นส่วนที่ทำขึ้นใหม่    ยอดเจดีย์เดิมหักไป   จึงให้ทำการบูรณะให้งดงามสูงใหญ่แล้วให้ชื่อว่า   "พระปฐมเจดีย์" จากการศึกษารูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ในอดีตจากข้อมูลด้านต่างๆแล้ว     อาจสันนิษฐานได้ว่าพระเจดีย์องค์นี้คงจะมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปตามยุค    สมัยดังนี้
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป   เผยแพร่พุทธศาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิโดยพระโสณะเถระ    และพระอุตรเถระ  เป็นสมณฑูต  ทำ  ให้เกิดการสร้างสถูปสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าขึ้น   ณ  เมืองโบราณของจังหวัดนครปฐมในอดีตรูปร่างของสถูปคงเป็นลักษณะเดียวกับสถูป  ที่เมืองสาญจิ   ในรัฐมัธยมประเทศ  ภาคกลางของอินเดียในอดีต   เป็นศิลปะสมัยคุปตะมีความสูงประมาณ   37 เมตร (18 วา 2 ศอก)   มีอายุล่วงมาแล้ว 2,245 ปี

องค์พระปฐมเจดีย์รูปแบบที่ 1 น่าจะเกิดขึ้น   ระหว่าง พ.ศ. 300 - 1000 ซึ่งมีข้อมูลประกอบ ดังนี้
*** ระยะนี้อินเดียกำลังนิยมศิลปะแบบคุปตะ    สถูปที่เมืองสาญจิ   มีชื่อเสียงมาก    เมื่อพระพุทธศาสนาจากอินเดียเผยแผ่เข้ามาในสุวรรณภูมิ     มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น   แบบสถูปก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกับของอินเดียสมัยนั้นด้วย
*** หินและอิฐเป็นวัสดุที่นิยมนำมาก่อสร้างกัน   แต่ที่นครปฐมเป็นภูมิประเทศที่ไม่มีภูเขาหิน   วัสดุที่สร้างเป็นองค์เจดีย์ส่วนใหญ่จึงเป็นอิฐดินเผา
***  การเคารพสถูปหรือพระธาตุ  นิยมกระทำการเดินเวียนรอบ    หรือ  ทักษิณาวัตร   สถูปแบบสาญจิจึงมีที่เดินเวียนรอบได้ทั้งตอนล่างและตอนบน     รูปร่างจึงง่ายๆไม่ซับซ้อน    เป็นทรงฟองน้ำรูปครึ่งวงกลมเป็นหลัก           พระเจดีย์องค์แรกที่นครปฐมจึงควรมีลักษณะเดียวกันกับสถูปที่เมืองสา    ญจิ  ในอินเดีย เมื่อมีอายุประมาณ 500 ปี ก็พังลง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ 2 น่าจะเกิดขึ้นในราว พ.ศ.1,000 -  1,600 หลังจากองค์แรกได้พังทลายลงแล้ว   พุทธศาสนิกชนกลุ่มถัดมาได้มาสร้างเจดีย์ตรงที่เดิม     ในช่วงนี้กษัตริย์ราชวงศ์ปาละ    แห่งอินเดียรุ่งเรืองรูปแบบศิลปกรรมใดๆ   ไม่ว่าพระพุทธรูปและสถูปเจดีย์จะมีลักษณะต่างจากราชวงศ์คุปตะที่แล้วมาบ้าง     สมัยนี้เริ่มมีเรื่องของดอกบัว   ซึ่งเป็นฐานที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งและเดินตามพุทธประวัติเข้ามาเป็นองค์    ประกอบในการก่อสร้างเจดีย์  ฐานเจดีย์กลม   และแปดเหลี่ยมทึบเป็นผนังหรือหน้ากระดานเป็นช่วงๆ     แต่ละช่องอาจจะประดับด้วยภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธ    รูปสลับกับฐานรูปกลีบบัว  หรือ "บัววลัย" เป็นชั้นๆ   ถัดขึ้นไปเป็นลานทักษิณาวัตรได้รอบองค์สถูป      ตัวสถูปเป็นองค์ระฆังคว่ำ   มีบัลลังก์สี่เหลี่ยมเป็นส่วนถัดไป  ต่อด้วยส่วนยอดเป็นก้านฉัตร     และตัวฉัตรทำเป็นชั้นๆลดหลั่นกันขึ้นไปจรดยอดดอกบัวตูม     และอาจมีเจดีย์ขนาดเล็กรายรอบเจดีย์ประธานด้วย    เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ  500 ปี     เจดีย์แบบนี้ก็พังลงทับถมที่เดิมทำให้มีกองดินกองอิฐขนาดใหญ่โตขึ้น

องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ 3น่า   จะเกิดขั้นในราว  พ.ศ. 1,600 - 2,000  ในยุคนี้มีอารยธรรมของเขมร   ซึ่งมีศาสนาพราหมณ์เป็นพื้นฐานในความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเข้ามามีอิทธิพลต่อ    อาณาจักรทวารวดี  ซึ่งนิยมพุทธศาสนาลัทธิหินยานเถรวาทอยู่   จึงเกิดการปรับปรน ความเชื่อทางศาสนา   และสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่ต่างไปจากเดิมอยู่ระยะหนึ่ง     ทำให้มีความนิยมก่อสร้างเจดีย์เป็นปรางค์เกิดขึ้นทั่วไป     ซึ่งอยู่ในสมัยอโยธยา (ก่อนกรุงศรีอยุธยา)   องค์พระปฐมเจดีย์ก่อนหน้านี้   คาดว่าเป็นเจดีย์ยอดแหลม   (แบบที่ 2) เมื่อนานเข้ายอดหักลง   ผู้มาบูรณะยุคนี้มีความนิยมเจดีย์ยอดปรางค์จึงได้บูรณะโดยต่อยอดจากฐานเดิม    ให้เป็นปรางค์  ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพบครั้งแรกในป่า     ห่างจากพระประโทนเจดีย์ 2 กิโลเมตร

องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ 4 เกิดขึ้น   เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ทรงพบเจดีย์ขนาดใหญ่มียอดเป็นปรางค์  ก่อขึ้นไปบนเนินดินอยู่กลางป่า     พิเคราะห์ดูแล้วว่าเป็นของโบราณ    ชาวบ้านนับถือสักการะกันมาเป็นเวลายาวนาน เรียกว่า "พระธม"    มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายใน   ทรงเลื่อมใสศรัทธาแล้วทำการบูรณะให้มีความใหญ่โตถาวร     เป็นการสืบพระพุทธศาสนาให้คู่กับชาติไทยสืบไป  พระองค์โปรดเกล้าฯให้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงลังกากลม    สูง 120.45 เมตร   นับว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสูงที่สุดในโลก    ให้ชื่อว่า "พระปฐมเจดีย์" ตาม    หนังสือเก่าๆที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรพบ   ห่อหุ้มเจดีย์ทั้งสามสมัยดังกล่าวไว้ถ้าเดินเข้าไปในช่องบัวใบเทศ     จะพบที่ว่างภายในเป็นทางให้เดินทักษิณาวัตรรอบพระปฐมเจดีย์องค์เดิมได้     แต่จะไม่เห็นผิวของเจดีย์องค์เดิมมากนักเพราะมีการก่ออิฐหุ้มไว้     มีช่องขนาด 175 x 75 เซนติเมตรอยู่ทั้ง   4 ทิศ   เปิดผิวเจดีย์องค์เดิมให้เห็นได้เล็กน้อย   เมื่อเดือนธันวาคม 2544  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามราชกุมาร     เสด็จมาทำพิธีบรรจุพระพุทธรูปของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ     ลงในช่องทิศตะวันออกพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย    ที่สำคัญและเชิดหน้าชูตา  นั่น คือองค์พระปฐมเจดีย์  ปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาเจดีย์องค์แรกในสุวรรณภูมิก่อนแห่งใดในโลก    จึงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยทั้งชาติ   แทบทุกวันจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ     เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์   เนื่องจากรวบรวมโบราณวัตถุไว้มากมาย  เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ    จากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยวของ  ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล  ทรงนิพนธ์ไว้    ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ว่า   การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้น     จะต้องย้อนกล่าวตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธนิพพาน     พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิมประเทศคืออินเดียตอนกลาง     แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่
ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติ   ในแคว้นมคธของอินเดียเมื่อ  พ.ศ. 274  ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพใหญ่หลวง    พระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง   มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรมเพราะทรงเห็นว่า     พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ   จึงทรงอุปถัมภ์และเผยแพร่ในนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็นสมณฑูตออกไป     มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์คือ พงศาวดารของเกาะลังกา    โดยพรรณาไว้ว่า "สุวรรณภูมิ เถเรเทวโสณ อุตตรเมวจ" แปลความว่า ให้พระโสณเถระกับพระอุตรไปยังสุวรรณภูมินักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่าเริ่มต้นแต่รามัญประเทศ   (คือเมืองมอญ)  ไปจดเมืองญวน    และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมาลายูเมืองนครปฐม  น่า  จะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ   และคงเรียกว่า สุวรรณภูมิ  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วยหลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมือง    ที่พระพุทธศาสนามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่คือ องค์พุทธเจดีย์   สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชยังครองราชสมบัติ    อยู่แน่นอน  เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้น  เดิมเป็นสถูปกลมรูปทรงคล้ายบาตรคว่ำ   (โอคว่ำ) แบบสัญจิเจดีย์   ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรก    ในประเทศไทย  ก็คือ   วัดพระปฐมเจดีย์นี่เองผู้ปกครองวัดหรือสมภารเจ้าวัดก็คือพระอรหันต์     ผู้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในยุคนั้นผู้สร้างพระเจดีย์องค์เดิม     จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีกำลังความสามารถมากและคงสร้างไว้    ในเมืองหลวงด้วย  พระสถูปองค์เดิมสูง 19 วา 2 ศอก (35 เมตร) หลักฐานอื่น  ๆ ที่พบมากได้แก่    พระสถูปต่าง ๆ ศิลธรรมจักร  จารึกพระธรรมเป็นภาษามคช   คือ คาถาเยธมมา    พระแท่นพุทธอาสน  และรอยพระพุทธบาท   ทำเป็นที่สักการะแทนพระพุทธรูปในสมัยนั้น    ยังไม่มีพระพุทธรูป   ลักษณะขององค์พระเจดีย์ตอนบนเป็นพุทธอาสนสี่เหลี่ยมตั้งไว้มีฉัตรปักเป็น    ยอด  ฐานพระสถูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบฐานทำเป็นที่เดินประทักษิณ     มีรั้วล้อมรอบภายนอก   ก่อด้วยอิฐชนิดเดียวกันเมื่อมีพระปฐมเจดีย์ก็น่าจะมีสิ่งก่อสร้างอื่น   ๆ   ตามมามีการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์เป็นครั้งคราวโดยเฉพาะในฤดูเข้าพรรษา     สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้าง    วัดในประเทศสยามข้อ 3 ว่า ”…ที่ลานพระปฐมเจดีย์      ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระ     ก็พบซากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ....."  ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทยก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง     และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระเมืองนครปฐมได้เจริญและเสื่อมลง     วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกันได้ชำรุดทรุดโทรมรกร้างไปตามสภาพบ้านเมือง     จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี     กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์     คือทางด้านหน้าวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์   ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณด้านพระศรีมหาโพธิ์  หมู่กุฏิพระสงฆ์     ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ    ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ  ที่เดิมคือ  ด้านตะวันออก    ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน   เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดินการสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรม    สารีริกธาตุ  แน่นอนเพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช   ได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณฑูตทุกสาย   สมณฑูตเหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา    ณ  ที่ใดเป็นหลักฐานมั่งคงแล้ว   ก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้    ทรงกระทำในชมพูทวีป

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระปฐมเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายสมัยจากสถูปทรงโอ่งคว่ำ คือ
1. สมัยสุวรรณภูมิ    ตั้งแต่แรกสร้างปฐมเจดีย์ ราว พ.ศ. 350 - ราว พ.ศ. 1000
2. สมัยทวารวดี    เป็นสมัยที่ก่อสร้างเพิ่มเติมองค์พระปฐมเจดีย์ตั้งแต่ ราว พ.ศ. 1000    จนถึง  พ.ศ. 1600
3. สมัยพระปฐมเจดีย์ทรุดโทรม  ตั้งแต่ พ.ศ. 1600 จนถึง พ.ศ. 2396 จนถึงสมัยปัจจุบัน

รูปพรรณสัณฐานขององค์พระปฐมเจดีย์องค์เดิม   ๆ   เป็นอย่างไรก็ขอให้พิจารณาดูรูปเขียนบนฝาผนังด้านองค์พระเจดีย์     และมีเจดีย์จำลองอย่างทางทิศใต้    ในเรื่องการสร้างองค์เจดีย์แต่เดิมนั้น   มีเล่าสืบ   ๆ กันมาเป็นตำนานอยู่หลายตำนานด้วยกัน   ดังจะยกจากเรื่องพระปฐมเจดีย์ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์   (ชำ บุนนาค)   เรียบเรียงไว้แต่ปีฉลู พ.ศ. 2408      ซึ่งสำนักงานจัดทำประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์   จัดพิมพ์เมื่อ 8  พฤษภาคม พ.ศ.  2516  เป็นตำนานฉบับพระยาราชสัมภากรและฉบับตาประขาวรอดได้เล่าไว้ว่าท้าวภาลีธิราช   ครองเมืองศรีวิชัย (คือ เมืองนครชัยศรี)  มีบุตรชายชื่อ พระยากง  ต่อมาพระยากงได้ครองราชย์สมบัติแทนบิดาที่สวรรคตไป
พระยากง มีมเหสีมีพระกุมารองค์หนึ่ง โหรทำนายว่า  กุมารองค์นี้มีบุญญาธิการมาก     แต่จะทำปิตุฆาตพระยากงจึงรับสั่งให้นำกุมารไปทิ้งเสีย     ราชบุรุษก็นำกุมารไปทิ้งไว้ในป่าไผ่  ข้างบ้านยายพรหม     ยายพรหมก็ได้เลี้ยงกุมารไว้โดยไม่ทราบว่าเป็นบุตรของผู้ใด    ต่อ  มายายพรหมยกกุมารให้ยายหอมซึ่งเป็นญาติเลี้ยงต่อเพราะครอบครัวของยายหอมไม่    มีบุตรยายหอมเลี้ยงกุมารไว้จนโตกุมารลายายขึ้นไปเมืองเหนือถึงสุโขทัย  บังเอิญไปพบช้างพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยอาละวาดสลัดหมอควาญไล่แทงผู้คนอยู่     แต่ไม่มีผู้ใดสามารถจับช้างนั้นได้    กุมารไปดูช้างก็อาละวาดไล่แทงกุมาร   กุมารจึงจับช้างกดลงไว้กับดิน    คนทั้งปวงจึงจับช้างได้   ความทราบถึงพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย    จึงชุบเลี้ยงกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม   จนกระทั่งเจริญวัยพอที่จะปกครองเมืองได้    จึงจัดให้กุมารไปตั้งบ้านเจ็ดเสมียน  ได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นอันมากแล้ว     จึงยกมาตั้งอยู่บ้านเล่าได้รวบรวมพลอีกประมาณสี่หมื่น     ยกมาบ้านยายหอมมาตั้งอยู่ที่ป่าแดง   แล้วมีหนังสือเข้าไปถึงพระยากงให้พระยากงออกมากระทำยุทธหัตถีกันในหนังสือ    บางเรื่องกล่าวว่า  กุมาร  เป็นบุตรบุญธรรมของพระยาราชบุรี     ซึ่งทุกปีจะต้องนำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง   ไปถวายพระยากงเจ้าเมืองกาญจนบุรีกุมารบุตรบุญธรรมเห็นว่า   เมืองราชบุรีไม่สมควรที่จะเป็นเมืองขึ้นใคร   จึงขอให้หยุดส่งเครื่องบรรณาการได้    พระยากงเห็นว่า  พระยาราชบุรี   เป็นขบถ   จึงยกทัพลงมาจะจับพระยาราชบุรีฆ่าเสีย   พระยาราชบุรีจึงให้บุตรบุญธรรมเป็นแม่ทัพออกรับศึกครั้งนี้    ในตำนานกล่าวว่า  ครั้งนั้นสนามรบอยู่ที่แขวงเมืองนครชัยศรี   พระยากงกับกุมารบุตรบุญธรรมไดกระทำยุทธหัตถีกัน พระยากงเสียที     ถูกกุมารฟันด้วยของ้าวคอขาดกับช้างพระที่นั่ง    ที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า   ถนนขาด    และเรียกตำบลนั้นว่าตำบลถนนขาด  มาจนทุกวันนี้   กุมารจึงยกรี้พลเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองกาญจนบุรี   และต้องการให้พระมเหสีพระยากง  ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นภรรยา     แต่ก็มีเหตุผลดลใจให้ทราบว่าเป็นมารดาเสียก่อน    ตอนนี้ตำนานเล่าว่า   เทพยดาเนรนิตเป็นแพะ    บางแห่งว่าเป็น วิฬาร์ (แมว)   แม่ลูกอ่อนนอนขวางบันไดปราสาทของมเหสี    กุมารเดินขึ้นบันไดข้ามสัตว์แม่ลูก  ในขณะนั้นได้ยินลูกสัตว์พูดกับแม่ว่า    "เราเป็นสัตว์เดรัจฉาน  ท่านจึงข้ามเราไป"แม่สัตว์จึงเสริมว่า   "นับประสาอะไรกับเราเป็นสัตว์เดรัจฉาน  แม้มารดาของท่าน ๆ ยังจะเอาเป็นเมีย"     สาเหตุนี้เองที่ทำให้กุมารเกิดความละอายใจ    เมื่อพบพระมเหสี   กุมารจึงตั้งสัจอธิฐานว่า    ถ้าหญิงคนนี้เป็นมารดาจริง   ขอให้น้ำนมไหลออกจากถันทั้งคู่     ถ้าไม่ใช่ก็อย่าให้เกิดปรากฏเช่นนั้นออกมา  ปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาจากถันทั้งคู่จริง     เมื่อแม่ลูกรู้จักกันก็ทราบพระยากงนั้นเป็นบิดาบังเกิดเกล้าก็เสียใจโกรธ    ยายหอมที่ไม่บอกให้ทราบตั้งแต่ต้น  จึงจับยายหอมฆ่าเสีย

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ยายหอมก่อนจะตายด้วยความเสียใจ   ก็รำเย้ยให้   ครั้งตายแล้วแร้งลงมากินศพยายหอม     บ้านยายหอมก็เรียกว่าโคกยายหอมมาจนทุกวันนี้   เหตุนี้เองทั้งปวงจึงเรียกว่า  พระยาพาน (พระยาพาล)   เพราะฆ่าบิดาแล้วยังไม่พอฆ่าผู้มีพระคุณคือ  ยายหอมอีก  แต่ตำนานบางเรื่องว่า   ตอนเกิด   เจ้าพนักงานเอาพานทองรองรับหน้าเลยกระทบพานเป็นแผล    คนทั่วไปจึงเรียกว่า  พระยาพาน    ตั้งแต่นั้นมาเหตุที่เป็นผู้ฆ่าบิดาและยายหอมนี้เอง   จึงกลัวว่าจะรับกรรมหนัก เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 569 ปี  จึงได้ประชุมพระอรหันต์   และพระสงฆ์ทั้งปวงว่าจะทำกุศลสิ่งใดกรรมนั้นจึงจะเบาลง    ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่  สูงชั่วนกเขาเหินกรรมจึงจะเบาบางลง     พระอรหันต์ที่มาประชุมนั้นชื่อ พระคิริมานนท์   พระองคุลิมาลเป็นประธานการประชุม  ที่ประชุมพระอรหันต์ จึงเรียกว่า     ธรรมศาลามาจนที่วันนี้   พระยาพานได้ทำฐานเพื่อจะก่อเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมในส่วนแท่นไว้    ท้ายมหาพรหม  แล้วเอาฆ้องที่ตีสามโหม่งแล้วดังกระหึ่มไปจนค่ำ   มาหนุนไว้ใต้แท่นบรรทม แล้วก่อเจดีย์ขึ้นเป็นลอมฟาง (คล้ายกองฟาง)  สูงชั่วนกเขาเหิน    พร้อมกับบรรจุพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)   ไว้องค์หนึ่ง    สร้างเสร็จถวายเขตแดนโดยรอบชั่วเสียงช้างร้อง     คำว่าสูงชั่วนกเขาเหิน คงจะหมายถึง   มองเห็นนกขนาดตัวเท่านกเขาบินสูงจนเห็นเป็นจุดหรือระยะความสูงที่สุดที่นก    เขาสามารถบินได้  ถ้าสูงกว่านั้นแล้วไม่สามารถบินต่อไปได้  หรือคำว่า  อาณาเขตชั่วเสียงช้างร้อง    คงจะไกลขนาด 3 - 4 กิโลเมตรในสมัยนั้น   เพราะไม่มีเสียงยวดยานรบกวน  คำว่า   ฆ้องตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนค่ำ   ก็คงจะดังประมาณเกือบครึ่งวัน    แต่ไม่ได้บอกว่าตีเวลาใดจึงคาดคะเนยาก  มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์จนถึงสมัยพระเจ้าหงสาวดีแห่ง    เมืองมอญ   มีพระราชประสงค์ฆ้องตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนค่ำ     จึงยกรี้พลมาขุดฆ้องที่ฝังไว้ใต้แท่นพระบรรทม    พอขุดลงไปถึงฆ้อง   ฆ้องก็ทรุดลงไปพระเจดีย์ก็ทรุดลงไปด้วยเจ้าเมืองหงสาวดีเห็นว่า     กระทำของพระองค์ไม่สมควรแน่    คงจะเป็นบาปกรรมเพราะเจ้าของคงจะไม่อนุญาต   จึงให้ก่อเป็นองค์ปรางค์ตั้งขึ้นบนหลังองค์ระฆังเดิมที่พังแต่ก็ยังสูงไม่    เท่าเดิมสำหรับตำนานพระปฐมเจดีย์  ฉบับ  พระยามหาอรรคนิกร    และฉบับนายทอง  ก็ได้เล่าถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์     ซึ่งมีข้อความเกี่ยวข้องกับการสร้างพระประโทนเจดีย์ด้วย     แต่สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1199 พรรษา
ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงก็บอกเวลาไว้ตรงกัน   ตำบลบ้านพราหมณ์ก็มีมาก่อนเมืองนครชัยศรีเรียกบ้านพราหมณ์ว่าบ้านโฑณะ    พราหมณ์โฑณะ  คือ  ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า   ซึ่งบรรจุไว้ในเรือนหิน  เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1133  พรรษาเมื่อท้าวศรีสิทธิชัยสร้างเมืองนครชัยศรีเป็นเมืองหลวง     เจ้าเมืองลังกาต้องการทะนานทองจึงขอให้พระยากัลดิศเถระมาขอเพื่อชาวลังกา    ไว้นมัสการ  ท้าวศรีสิทธิชัยยินดีขอเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่ง      พระยาลังกาก็ยินดีพระยากัลดิศเถระก็รับพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระยาศรี    สิทธิชัย  พระยาศรีสิทธิชัยจึงให้ขอทะนานทองจากหมู่พราหมณ์   หมู่พราหมณ์ไม่ยอมให้   เพราะบรรพบุรุษของตนได้สั่งไว้ว่าท้าวพระยาสามลราชและเทวดาอินทร์พรหมท่าน    ชิง  เอาพระบรมสารีริกธาตุ  ไปสิ้นแล้ว   ยังเหลือแต่ทะนานทองไว้บูชาเท่านั้น     เมื่อไม่ได้ทะนานทองพระยาศรีสิทธิชัยขัดเคืองมาก     จึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองอยู่ต่างหากให้ชื่อว่า     เมืองปาวันท่านจึงให้สร้างพระปฐมไสยาสน์ขึ้นองค์หนึ่งใหญ่ยาวมหึมา     หรือจะเป็นพระปฐมเจดีย์ความตอนนี้กล่าวไว้ไม่ชัดเจน     อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในนั้น   แล้วหักหาญเอาทะนานทองให้พระยากัลดิศเถระนำไปถวายเจ้าเมืองลังกา     เจ้าเมืองนำไปบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์แรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น   กล่าวว่า   พุทธศักราชล่วงไว้วัสสาหนึ่ง (วัสสา มาจาก   ฤดูฝน, บี)   ส่วนพระประโทนเจดีย์    สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1199 พรรษา     โดยเจ้าเมืองละโว้ ชื่อ กากะวรรณดิศราช    ได้ก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลา   ครั้งนั้นพระยาภาลีบดีใจ     ครองเมืองหลวงต่อแดนยโสธรลพบุรีและพระยาไสทองสม  ครองเมืองนครชัยศรี  (คือนครปฐม)  บางตำนานว่าครองเมืองราชบุรี     มีเหตุฆ่าพระยาภาลีธิราชผู้เป็นบิดา    แล้วปลงพระมารดาของตัว  รู้สึกสังเวชใจ    จึงคิดกันมาซ่อมแปลงวัดพระสังฆรัตนธาตุ   พระอารามบ้านธรรมศาลา    ที่พระยาศรีสิทธิชัยสร้างไว้แต่ก่อน   เรื่องต่อจากนี้ไปก็คล้ายกับเรื่องของพระยาราชสัมภากรและตาปะขาวกล่าวไว้     กล่าวคือ มีผู้สร้างเพิ่มเติมพระปฐมเจดีย์เมื่อภายหลัง     คือยอดปรางค์สร้างซ้อนองค์พระสถูปเดิม   แต่นิทานเรื่องพระยากงพระยาพานเป็นเรื่องของมอญ   เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล  ให้ความเห็นว่า     ส่วนที่เป็นองค์ปรางค์นั้นเป็นแบบเขมร   จึงเข้าใจว่าเขมรน่าจะซ่อมแซมปรับปรุงขึ้นใหม่ให้เป็นแบบเขมรครั้งที่เขมร    เป็นใหญ่ในดินแดนมอญ (ละว้า)  ราว พ.ศ. 1500 เป็นต้นมา

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลังจากพุทธศักราช 1500 เป็นต้นมา   พระพุทธเจดีย์ก็ทรุดโทรมคงเนื่องมาจากขาดการทำนุบำรุงรักษา     เหตุที่เจ้าเมืองอ่อนแอก็เป็นได้   จนกระทั่งถูกพระเจ้าอนุรุธแห่งพม่ามาตีเมืองนครปฐม   เพราะหลักฐานวัตถุโบราณที่ขุดได้จากเมืองนครปฐมก็ขุดได้ที่เมืองพุกามแห่ง    เดียว  เช่น พระพิมพ์และเงินเหรียญของโบราณเป็นรูปสังข์ข้างหนึ่ง     ปราสาทข้างหนึ่ง   อานันทเจดีย์ที่เมืองพุกามซึ่งสร้างขึ้นหลังพระเจ้าอนุรุธที่   1  นั้นก็เป็นแบบเดียวกับวัดพระเมรุที่จังหวัดนครปฐมทุกอย่าง     ยกเว้นพระพุทธรูปในซุ้มทั้ง 4 เป็นพระยืน    ที่วัดพระเมรุ  เป็นพระนั่งห้อยพระบาท   หลังจากพระเจ้าอนุรุธตีเมืองนครปฐมได้ก็กวาดต้อนผู้คนไป     เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองร้าง อู่ทองจึงเป็นเมืองหลวงต่อมา     สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงพิจารณาว่า    ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง   พ.ศ.1835 ยังมีชื่อเมืองสุพรรณภูมิ    ซึ่งก็คืออู่ทองนั่นเอง   ซึ่งเป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรทวารวดี    ตามที่ ม.จ.สุภัทรดิศ  ดิศกุลทรงกล่าวว่า    ถ้าพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เรื่อง  พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทองถูกต้องแล้ว    ร้อยปีต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 1731   พระเจ้าไชยศิริ    ต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองสู้มอญไม่ได้   ก็อพยพลงมาตั้งที่เมืองกำแพงแสนนี้อีกครั้งหนึ่ง    ต่อมาเมืองร้างไปอีก   เพราะแม่น้ำตื้นเขิน   ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราว พ.ศ.  2091   จึงตั้งเมืองนี้ขึ้นอีก  เรียกว่า เมืองนครไชยศรี   เพื่อเป็นเมืองต่อต้านข้าศึก     และเนื่องจากพระปฐมเจดีย์ห่างไกลจากเมืองนี้   และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา   จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์   เมืองไทยต้องคอยรับศึกจากพม่า    จนปล่อยให้พระปฐมเจดีย์ปรักหักพัง   เต็มไปด้วยป่ารกไม่มีผู้ดูแลเป็นเวลานาน     จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย     พบว่าศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์     หมู่กุฏิพระสงฆ์ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญส่วนพระอุโบสถคง    อยู่  ณ  ที่เดิม  คือด้านตะวันออกตรงกับพระอุโบสถ   ขณะนี้เพียงแต่อยู่กับพื้นดิน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ พ.ศ. 2374  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวครั้งยังทรงผนวช  ณ วัดสมอราย    (วัดราชาธิวาส)   ได้เสด็จธุดงค์ที่เมืองนครปฐมพร้อมด้วยคณะสงฆ์และทรงปักกลดประทับ    ณ  โคนต้นตะคร้อ  ได้สังเกตลักษณะขององค์พระเจดีย์ทรงเห็นว่า     ไม่มีพระเจดีย์ใดที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่เท่าเจดีย์องค์นี้     ตั้งแต่เสด็จไปพบเห็นมาทั่วประเทศไทย    พระองค์ทรงเห็นว่า  น่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นแน่     หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นสวดมนต์  บนลานพระปฐมเจดีย์แล้ว     ทรงอธิษฐานว่า  ถ้าพระมหาเจดีย์นี้มีพระบรมธาตุบรรจุไว้ภายใน     ขอเทวดาผู้รักษาจงได้แบ่งให้สักสององค์จะนำไปบรรจุไว้ภายในพระพุทธรูปที่    สร้างใหม่  และในพระเจดีย์เงิน เพื่อไว้บูชาในกรุงเทพฯ   แล้วรับสั่งให้นายรื่นมหาดเล็ก   นำผอบใส่พานขึ้นไปตั้งไว้ในโพรงพระเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออก     ในตอนบ่ายวันที่จะเสด็จกลับก็ให้เชิญผอบลงมาก็หาได้มีอะไรไม่     หลังจากที่ท่านเสด็จกลับได้ประมาณเดือนเศษ    คืนหนึ่งประมาณ 5 ทุ่ม   ขณะที่พระสงฆ์สวดมนต์ในหอวัดพระมหาธาตุซึ่งพระองค์ทรงสร้างพระเนาวรัตน์ไว้    องค์หนึ่งปรากฏว่าพระสงฆ์สวดมนต์ไปได้ครึ่งหนึ่ง ก็ มีกลุ่มควันสีแดง     กลิ่นหอมเหมือนควันธูปควันนั้นมากขึ้น    จนพระพุทธรูปแลดูแดงเหมือนสีนาก  พระสงฆ์ทั้งปวงตกใจลุกไปดูด้วยสำคัญว่าไฟไหม้แต่ก็ไม่เห็นอะไร     จึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ  เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ควันจางลง    จึง  ช่วยกันค้นดูว่าใครสุมไฟไว้ที่ไหนก็ไม่พบ รุ่งขึ้นไปกราบทูลให้ทราบ  พระบาทสมเด็จจอมเกล้าฯ    จึงเสด็จทอดพระเนตรพบพระธาตุที่พระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง   ในพระเจดีย์สุวรรณผลึกองค์หนึ่ง  พระองค์มีศรัทธามากมุ่งจะทรงสถาปนาบูรณะปฏิสังขรณ์    องค์พระปฐมเจดีย์   ด้วยมั่นพระทัยว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่     จึงนำความกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ   พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดฯเพราะทรงเห็นว่าเป็นของอยู่ในป่ารก     จะทำขึ้นก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์ใด    จึงทรงพระจินตนาไว้ว่า   จะทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ให้จงได้

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ   เสวยราชย์ได้ 2 ปี     โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เป็นการใหญ่ในปีแรก    พ.ศ. 2395    โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมมหาประยูรวงศ์ควบคุมการสร้างต่อมาถึงแก่    พิราลัย  จึงโปรดเก้าฯให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี   เป็นแม่กองเจ้าของการจัดทำต่อไปเมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2400   (เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีมะเมีย)    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ    ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดปฐมเจดีย์     และทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์  ตามรูปแบบที่ช่างได้จัดทำรูปถวาย     โดยจัดทำครอบองค์ไว้ภายใน   การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์     โดยเสด็จทางเรือขึ้นที่วัดไชยพฤกษมาลา    ตอนนั้นคลองมหาสวัสดิ์   คลองเจดีย์บูชาขุดยังไม่เสร็จ     แล้วเสด็จทางสถลมารคไปประทับแรมที่พลับพลาท่าหาดคืนหนึ่ง  วันรุ่งขึ้น    คืนวันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2400 (เดือน   5 ขึ้น 10 ค่ำ) เสด็จทางชลมารค     ขึ้นที่คลองเจดีย์บูชาแล้วเสด็จทางสถลมารคถึงองค์พระปฐมเจดีย์ประทับที่    พลับพลาบนลานพระปฐมเจดีย์  ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์   จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินประทักษิณ (เวียนเทียน)  แล้วจุดดอกไม้เพลิง     กระทำสักการะบูชา พอทรงจุดฝักแค   ก็เห็นดวงย้อยออกมาจากซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออก   เป็นรัศมีขาวตกลงมาหลังพระวิหารพระไสยาสน์เก่า   ซึ่งอยู่ที่วิหารหลวงเดี๋ยวนี้   บรรดาผู้เข้าเฝ้าได้เห็นเป็นอันมาก วันพฤหัสบดี 25 มีนาคม พ.ศ. 2540   ทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นพระฤกษ์โปรดให้มีการเวียนเทียน  สมโภชต่าง ๆ    พระราชทานเงินสามสิบชั่งเป็นพระราชกุศลและทรงโปรดทานแจกราษฎรที่มาชมพระ  บารมี     ข้าราชการที่ตามเสด็จก็เกิดศรัทธาบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลทั่วทุกคน      กับโปรดเกล้าฯให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปฐมเจดีย์ถวายเป็น    ข้าพระ 126 คน และทรงตั้งผู้ดูแลรักษาพระราชทานนามว่า     ขุนพุทธเกษตรารักษ์  และผู้ช่วยพระราชทานนามว่า     ขุนพุทธจักรรักษาสมุหบัญชี พระราชทานนามว่า  หมื่นฐานาภิบาล    ทรงยกค่านาและสมพัตสร (สมพัตสร คือ  อากรที่เรียกเก็บเป็นรายปีส่วนใหญ่เก็บจากผลไม้ยืนต้น)     ที่ใกล้องค์พระเป็นกัลปนา (กัลปนา คือ   สิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด,  ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้ผู้ตาย)   ขึ้นวัด ทรงถวายนิตยภัตด้วย (นิตยภัต คือ  อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์)     แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์     สร้างเป็นเจดีย์ใหญ่หุ้มองค์เดิมเปลี่ยนจากบาตรคว่ำมีพุทธบัลลังก์     ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนระฆัง   มียอดนพศูลและมีพระมหามงกุฏสวมไว้บนยอดองค์พระเจดีย์    มีขนาดสูง 3 เส้น 1  คืบ 6   นิ้ว (120.5 เมตร)  ฐานโดยรอบยาว 5   เส้น 17 วา 3 ศอก (233    เมตร)  รอบฐานองค์ปฐมเจดีย์สร้างเป็นวิหารคตล้อมรอบเป็น   2 ชั้น ทั้ง 4  ทิศ มีพระวิหารและพระระเบียงต่อเชื่อมกันรอบพระเจดีย์     พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้ที่วิหารทั้ง 4 ทิศ    วิหารทิศตะวันออก เรียกว่า "พระวิหารหลวง" ห้องนอก    ประดิษฐ์พระพุทธ รูปปางตรัสรู้ประทับนั่งขัดสมาชิกอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์     ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก     ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่ง ๆ   มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่  4   ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์     ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ    ให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์  แสดงให้เห็นลักษณะขององค์เจดีย์ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน     ผนังทั้งสองข้างเป็นภาพวาดรูปเทวดา  นักพรต  ฤาษี    และพระยาครุฑ  ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการะบูชาพระปฐมเจดีย์ที่ระเบียงกลม   (วิหารคต)  ล้อมรอบองค์พระเจดีย์ภายในจารึกกถาธรรมทุกห้อง   รอบนอกก่อนหน้าหอระฆังไว้เป็นระยะ ๆ มี 24 หอ     ชั้นล่างก่อกำแพงถมดินเป็นกระเปาะขึ้นมาทั้ง 4 ทิศ  บนกระเปาะด้านตะวันออก   ทำโรงธรรมและหน้าพระอุโบสถด้านใต้ประดิษฐานพระคันธาราฐ    (พระพุทธรูปศิลาขาว)   ซึ่งได้มาจากวัดพระเมรุและจำลองพระปฐมเจดีย์ไว้ทางด้านทิศตะวันออก     หรือทางซ้ายของพระพุทธคันธาราได้จำลองรูปพระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช    ที่เรียกว่าพระบรมธาตุใหญ่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ    ยังโปรดให้สร้างพระราชวังที่ประทับไว้คู่กันกับวัดชื่อว่า วังปฐมนคร   ปัจจุบันพระตำหนักได้ปรับปรุงเป็นที่ทำการเทศบาลจังหวัดนครปฐม     การที่สร้างขึ้นเป็นวังเพราะเหตุเป็นเมืองโบราณ  พระราชวังเดิมนั้นอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระปฐมเจดีย์    ห่างประมาณ 30  เส้น    เดี๋ยวนี้มีตึกรามบ้านช่องแน่นขนัดไปหมด  จนไม่ปรากฏหลักฐานเลย     คลองเจดีย์บูชาในสมัยนี้   ทรงตัดถนนสายหนึ่งไว้เสด็จในฤดูแล้ง  ตั้งแต่ช่องสะเดาถึงวัง การสร้างยังไม่เสร็จ    ก็เสด็จสวรรคตก่อน   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อไป   เมื่อ พ.ศ. 2413 ได้เสด็จพระราชดำเนินมายกยอดพระปฐมเจดีย์โปรดให้สั่ง  กระเบื้องเคลือบสีเหลืองทองจากเมืองจีนมาประดับมหาสถูปทั้งองค์     ซึ่งมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 6  (เมืองนครไชยศรีได้ย้ายกลับมาอยู่ในบริเวณพระปฐมเจดีย์ในรัชกาลที่   5  แต่ก็ยังเป็นป่ารกอยู่จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6    เมื่อมีการตัดถนนมากขึ้นและสร้างที่ทำการของรัฐบาล   สร้างสถานที่พักของข้าราชการ สร้างตลาด  บริเวณพระปฐมเจดีย์กลายเป็นศูนย์กลางของเมืองและเรียกว่า    จังหวัดนครปฐม  ในรัชกาลที่ 6 นี้เอง)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   โปรดให้ปฏิสังขรณ์วิหารหลวงและให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์    ตั้งแต่ที่มีอยู่เดิมกับภาพเทวดา ครุฑ นาค และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ   ไว้ที่ผนังวิหารยังโปรดให้สร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์     ซึ่งเดิมได้อัญเชิญชิ้นส่วนพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท  ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัยมาจากสวรรคโลก     นำมาปฏิสังขรณ์จนเป็นพระพุทธรูปยืนที่สมบูรณ์   ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ในฐานของพระพุทธรูป    องค์นี้ด้วย  และถวายพระนามพระพุทธรูปว่า  "พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรมโมภาสมหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร"   ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์   และมาเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 7

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระปฐมเจดีย์
มีหน้าที่ทางธุรการขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ
หน้าที่ทางวิชาการขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร
การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์นั้น   มีมาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์มาจนปัจจุบัน     ก็ยังต้องบูรณะซ่อมแซมกันอยู่เรื่อย ๆ    และต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ๆ   ก็ยังไม่เพียงพอ   คณะกรรมการวัดพระปฐมเจดีย์   จึงได้จัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นทุกปี     เพื่อรวบรวมรายได้จากผู้มาทำบุญและผู้ที่บริจาค     เพื่อทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญยิ่งของชาติไทยให้คงอยู่ชั่วกาล    นาน  โดยปกติจะจัดงานนมัสการระหว่างเดือนพฤศจิกายน     หรือระหว่างกลางเดือน 12 ซึ่งชาวบ้านเรียกว่างานกลางเดือน    มีงานทั้งหมด  9 วัน 9 คืน     เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วทุกสารทิศได้มากราบไหว้นมัสการร่วมกันทำบุญ     การจัดงานทุกครั้ง   ทางคณะกรรมการวัดจะขอให้ส่วนราชการทุกส่วนในจังหวัดให้ความร่วมมือด้วย     มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการศึกษา    เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน  การแสดงต่าง ๆ  ของนักเรียน    และประชาชนข้าราชการตำรวจ  ลูกเสือชาวบ้าน   การแสดงสินค้าพื้นเมือง  การแสดงผลงานของทุกส่วนราชการ     การจัดประกวดแข่งขันหลายประเภท ฯลฯ     เปิดโอกาสให้ประชาชนนำสินค้าพื้นเมือง  และสินค้าต่างจังหวัดมาขาย    มีมหรสพมากมาย  นับเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครปฐม

ด้านในของกำแพงแก้ว

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สถานที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 และพระอังคารของพระเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6
นอกจากนี้ภายในองค์พระปฐมเจดีย์ยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งบรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์  พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร  ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม ต่อมา ในพุทธศักราช 2529  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เชิญพระอังคารของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6  ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6  ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์


ที่มา http://www.api586.com/index.php? ... 9-51&Itemid=101


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจากกรุงเทพประมาณ 60 กิโลเมตร นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวช ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต


ต่อมารัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือสร้างใหม่ เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และรัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่


นับแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อเติมในครั้งนั้นแล้ว จนบัดนี้เป็นเวลาร้อยปีเศษ มิได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เลย นอกจากซ่อมแซมเล็กน้อย ที่ชำรุดเป็นบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2509 ทางวัดพบว่าตัวองค์พระปฐมเจดีย์มีรอยร้าวแตกร้าวหลายแห่ง กระเบื้องที่ประดับหลุดร่วงลงมา จึงได้แจ้งเรื่องไปยังรัฐบาลสมัยนั้น ทางรัฐบาลเองก็ได้ส่งเรื่องต่อไปยังกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้พิจารณาดำเนินการและมอบให้กรมโยธาธิการส่งช่างผู้เชี่ยวชาญไปทำ

การสำรวจตรวจสอบซึ่งใช้เวลาอยู่ประมาณ 9 ปี และในที่สุดลงความเห็นว่าองค์พระปฐมเจดีย์ มีความชำรุดมาก ควรดำเนินการบูรณะเป็นการด่วน เมื่อรัฐบาลได้ทราบข้อเท็จจริงและ พิจารณาเห็นว่าพระมหาเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์สำคัญ เป็นสมบัติที่มีค่ายิ่ง สมควรที่จะต้องรักษาให้ยืนยงคงอยู่ตลอดไป จึงได้อนุมัติงบประมาณ ให้กรมโยธาธิการกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของโครงการระยะที่ 1-2 และกรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ เป็นเจ้าของโครง การระยะที่ 3 ได้ลงมือทำการ ซ่อมแซมบูรณะมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2518 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็น จำนวนเงิน 24,625,375 บาท
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 10:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพ สักการบูชาของ บรรดา พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี

องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น



พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระพุทะรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวนครปฐม

ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตร พระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานครฯ

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของ พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 แต่ประชาชนทั่วไป จะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์


พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ เป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุม แนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ทำด้วยโลหะทองเหลือง หนัก 100 หาบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้