ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2816
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กระบือ บำบัด พัฒนาเด็กพิเศษ

[คัดลอกลิงก์]
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ไม่ปล่อยให้ควายอยู่เปล่าๆ จัดโครงการ กระบือบำบัด ช่วยพัฒนาทักษะและฝึกพัฒนาการของเด็กพิเศษ

พล.ต.เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ ผู้บัญชาการ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ บอกถึงความเป็นมาของโครงการ ว่า เนื่องจากศูนย์การทหารปืนใหญ่ได้ดำเนินการไถ่ชีวิตและอนุรักษ์ควายไทยเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี และได้มอบควายให้กับกำลังพล เกษตรกร และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนำไปใช้งาน

ศูนย์การทหารปืนใหญ่จึงจัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์กระบือไทย ศูนย์การทหารปืนใหญ่ขึ้นในปี ๒๕๕๑ มีการอบรมกำลังพล จัดทำหลักสูตรดูแลควาย และฝึกควายเพื่อให้สามารถนำไปใช้งาน เช่น ไถนา ลากรถ และแสดงในงานต่างๆ ได้

ต่อมาเห็นว่าน่าจะนำควายมาใช้ช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องในด้านพัฒนาการ เช่น ผู้ที่เป็นออทิสติค เพื่อช่วยเหลือในด้านพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะควายเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคน ว่านอนสอนง่าย รู้ภาษา เป็นสัตว์ที่ฉลาดไม่ได้โง่เหมือนที่ใช้เป็นคำว่ากล่าวแต่อย่างใด จึงจัดเป็นโครงการ กระบือบำบัด ขึ้นทุกวันพุธ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์กระบือไทย ศูนย์การทหารปืนใหญ่และบริเวณโดยรอบ

พ.ท.อนุศักดิ์ คงทน ผู้บังคับกองพันบริการ กองบริการ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ผู้ดูแลโครงการกระบือบำบัด เล่าว่า เริ่มจาก การคัดเลือกควายที่เชื่องและผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว ๑๐ ตัว เพื่อช่วยในการบำบัด จากนั้นประสานงานกับโรงพยาบาลอานันทมหิดลเพื่อให้ทางมาอบรมให้ความรู้ รวมทั้งดำเนินการคัดกรองและประเมินผลผู้เข้ารับการบำบัด มีการจัดเตรียมครูฝึก ๑๐ นาย และผู้ช่วยครูฝึก ๑๐ นาย คอยดูแลผู้เข้าร่วมโครงการ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-10 10:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้เข้ารับการบำบัดเป็นคนพิเศษทุกช่วงอายุ แต่กลุ่มเด็กพิเศษจะมีมากกว่า ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล มีทั้งที่พักอาศัยอยู่ในค่ายพหลโยธิน ในเขตเทศบาล ต.เขาพระงาม และพื้นที่ใกล้เคียง

ก่อนบำบัดเด็กๆ ต้องอบอุ่นร่างการเสียก่อน และทำความคุ้นเคยกับควายด้วยการให้อาหาร จากนั้นครูฝึกจะนำเด็กขึ้นควายพาเดินไปตามสถานที่ต่างๆ ภายในศูนย์ฝึกระหว่างนั้นครูฝึกหรือผู้ช่วยครูฝึกจะชวนเด็กๆ คุย เป็นการฝึกการออกเสียงไปด้วยในตัว

เด็กๆ จะฝึกทักษะด้านต่างๆ บนหลังควาย เช่น ฝึกสมาธิในการควบคุมควายด้วยการใช้มือและขา ฝึกการทรงตัวด้วยการกางแขนเสมอไหล่และลดแขนลง ฝึกให้สมองสั่งการโดยสั่งให้ควายเลี้ยวซ้าย-ขวา

ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาและช่วยจัดกระดูกเชิงกรานให้เข้าที่และสมดุล โดยให้ผู้เข้ารับการบำบัดนั่งหันหลังไปทางบริเวณคอควาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลัง โดยให้ผู้เข้ารับการบำบัดนอนคว่ำบนหลังควาย ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีกวิธีคือให้หันหน้าและนอนแนบไปทางบั้นท้ายของควาย

นอกจากนี้ยังมีการฝึกความจำ ด้วยการให้วางของไว้ แล้วนั่งบนหลังควายจนครบ ๑ รอบ แล้วให้ลงมาหาของที่วางไว้ และฝึกสมาธิทางอารมณ์ โดยให้ขี่ควาย ชูแขนทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นเหนือศีรษะ และหัวเราะดังๆ หลายครั้ง

พ.ท.อนุศักดิ์เล่าอีกว่า นอกจากฝึกทักษะบนหลังควายแล้ว เด็กๆ ยังได้พบแพทย์สาธารณสุขทุกครั้ง เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็กในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบำบัด เด็กๆ ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่โครงการกระบือบำบัดจัดเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างทักษะและสร้างสมาธิให้เด็ก เช่น การวาดรูปควาย การระบายสีควาย การต่อจิ๊กซอว์รูปควาย เป็นต้น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-10 10:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-8-10 10:57

ผู้เข้ารับการบำบัดเป็นคนพิเศษทุกช่วงอายุ แต่กลุ่มเด็กพิเศษจะมีมากกว่า ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล มีทั้งที่พักอาศัยอยู่ในค่ายพหลโยธิน ในเขตเทศบาล ต.เขาพระงาม และพื้นที่ใกล้เคียง

ก่อนบำบัดเด็กๆ ต้องอบอุ่นร่างการเสียก่อน และทำความคุ้นเคยกับควายด้วยการให้อาหาร จากนั้นครูฝึกจะนำเด็กขึ้นควายพาเดินไปตามสถานที่ต่างๆ ภายในศูนย์ฝึกระหว่างนั้นครูฝึกหรือผู้ช่วยครูฝึกจะชวนเด็กๆ คุย เป็นการฝึกการออกเสียงไปด้วยในตัว

เด็กๆ จะฝึกทักษะด้านต่างๆ บนหลังควาย เช่น ฝึกสมาธิในการควบคุมควายด้วยการใช้มือและขา ฝึกการทรงตัวด้วยการกางแขนเสมอไหล่และลดแขนลง ฝึกให้สมองสั่งการโดยสั่งให้ควายเลี้ยวซ้าย-ขวา

ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาและช่วยจัดกระดูกเชิงกรานให้เข้าที่และสมดุล โดยให้ผู้เข้ารับการบำบัดนั่งหันหลังไปทางบริเวณคอควาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลัง โดยให้ผู้เข้ารับการบำบัดนอนคว่ำบนหลังควาย ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีกวิธีคือให้หันหน้าและนอนแนบไปทางบั้นท้ายของควาย

นอกจากนี้ยังมีการฝึกความจำ ด้วยการให้วางของไว้ แล้วนั่งบนหลังควายจนครบ ๑ รอบ แล้วให้ลงมาหาของที่วางไว้ และฝึกสมาธิทางอารมณ์ โดยให้ขี่ควาย ชูแขนทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นเหนือศีรษะ และหัวเราะดังๆ หลายครั้ง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-10 10:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-8-10 10:56

พ.ท.อนุศักดิ์เล่าอีกว่า นอกจากฝึกทักษะบนหลังควายแล้ว เด็กๆ ยังได้พบแพทย์สาธารณสุขทุกครั้ง เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็กในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบำบัด เด็กๆ ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่โครงการกระบือบำบัดจัดเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างทักษะและสร้างสมาธิให้เด็ก เช่น การวาดรูปควาย การระบายสีควาย การต่อจิ๊กซอว์รูปควาย เป็นต้น

โครงการกระบือบำบัดยังให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบำบัด โดยคอยสังเกตพัฒนาการของเด็กระหว่างอยู่บ้านและช่วงที่มาเข้าร่วมโครงการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เด็กมีพัฒนาการอย่างไรบ้างหลังเข้ารับการบำบัด

“หลังเข้าร่วมโครงการกระบือบำบัดพบว่า เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างการและจิตใจ เด็กสื่อสารกับครูฝึกมากขึ้น มีความเป็นกันเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก เด็กจะบอกว่าอยากขึ้นหลังควาย อยากอยู่กับครูฝึกแสดงออกมาว่าเด็กอยากจะเข้าร่วมรับการบำบัดดูแล้วเด็กๆ มีความสุขมาก ผู้ปกครองก็ดีใจที่ลูกหลานมีพัฒนาการที่ดีขึ้น พวกเราเองก็ดีใจที่ได้มีส่วนช่วย” พ.ท.อนุศักดิ์บอกอย่างมีความสุข

ใครที่ชอบดุด่าว่าควาย เห็นทีต้องอายไปตามๆ กัน เพราะควายก็ช่วยทำประโยชน์ให้สังคมได้ไม่แพ้คน(มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๖ ม.ค.๒๕๕๔) .....

อ้างอิงจากแหล่งที่มา : http://poobpubboard.lefora.com/2012/09/14/--22/

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้