ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2439
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มุสาวาท

[คัดลอกลิงก์]

      มุสาวาท  (คำพูดที่ไม่เป็นความจริง)





     มุสาวาท เป็นอกุศลกรรมที่เกิดทางวจีทวาร อันนับว่าเป็นอกุศลกรรม ข้อที่ ๔ คำว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา - วาท


     มุสา  หมายถึง  สิ่งที่ไม่เป็นความจริง

     วาท  หมายถึง  คำพูด


     "มุสาวาท" หมายถึง คำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังวจนัตถะว่า


          มุสา วทนฺติ เอเตนาติ - มุสาวาโท


แปลความว่า คนทั้งหลายย่อมกล่าว สิ่งที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าเป็นจริงด้วย เจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท คือเจตนาที่ให้ผู้อื่นเข้าใจผิด


          องค์ประกอบของมุสาวาท ๔ ประการ


     ๑. อตฺถวตฺถุ           สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นจริง

     ๒. วิสํวาทนจิตฺตตา     มีจิตคิดจะมุสา

     ๓. ปโยโค             ทำความเพียรเพื่อมุสา

     ๔. ตทตฺถ วิชานนํ      ผู้อื่นเชื่อตามความที่มุสา


     มุสาวาท ที่ครบองค์แห่งกรรมบท ทั้ง ๔ ประการนี้ แม้ไม่ทำความเสียหาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ที่หลงเชื่อก็ล่วงกรรมบท ฉะนั้น มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จึงมี ๒ ชนิดคือ


๑. มุสาวาท ชนิดไม่นำไปสู่อบาย ได้แก่ มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มิได้ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ผู้หลงเชื่อ มุสาวาทชนิดนี้ ถือว่า ล่วงกรรมบท เหมือนกัน เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ไม่มีผลเสียหายร้ายแรง แก่ผู้ใด จึงไม่นำไปสู่อบายภูมิได้


๒. มุสาวาท ชนิดที่นำไปสู่อบายได้ ได้แก่ มุสาวาทชนิดที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ และทำความเสียหายให้แก่ผู้หลงเชื่อ ย่อมเป็นมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท นำไปสู่อบายภูมิได้



          ปโยคะ ของมุสาวาทมี ๔ ประการ คือ


๑. สาหัตถิกะ   พยายามมุสาวาทด้วยตนเอง

๒. อาณัตติกะ  ใช้ให้ผู้อื่นมุสา

๓. นิสสัคคิยะ   เขียนเรื่องราวที่ไม่จริง ส่งให้ผู้อื่น เช่น ส่งจดหมาย บัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ

๔. ถาวระ     เขียนเรื่องที่ไม่จริงประกาศไว้ พิมพ์เป็นหนังสือ หรืออัดเสียงไว้ เป็นต้น




     แสดงมุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ กับมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท



     ถ้ามุสาวาทไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มีองค์ประกอบเพียง ๒ ประการคือ มีจิตคิดจะมุสา  และปโยคะ พยายามมุสาด้วยกาย หรือวาจาแล้ว จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม ย่อมสำเร็จเป็น "ศีลวิบัติ" เท่านั้น ไม่เป็นการก้าวล่วงถึงกรรมบท แต่ถ้าครบองค์ทั้ง ๔ ก็เป็นอันสำเร็จกรรมบท


    มุสาวาทที่ทำให้ผู้หลงเชื่อเกิดความเสียหายนั้น ถ้าได้รับความเสียหายมาก มุสาวาทนั้น ก็มีโทษมาก ถ้าเสียหายน้อยก็มีโทษน้อย เช่น...



    ผู้ที่เป็นพยานเท็จ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับโทษ ประหารชีวิต จำคุก หรือได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน จัดเป็นมหาสาวัชชะ คือ มีโทษมาก
    ผู้ได้รับแจกเงิน ถูกผู้อื่นถามถึงจำนวนเงินที่ได้รับ แกล้งตอบว่า ได้รับมา ๒๐๐ บาท ซึ่งความจริงได้รับแจกมาเพียง ๑๒๐ บาทเท่านั้น เช่นนี้จัดเป็น อัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย




   (คัดจาก หนังสือพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ)


ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=88532

เยี่ยมๆๆ
ขอบคุณน่ะขอรับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้