ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2016
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' ย้อนรอย 26 ปี อนุสรณ์แห่งความอัปยศ

[คัดลอกลิงก์]
มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' ย้อนรอย 26 ปี อนุสรณ์แห่งความอัปยศ   

    


   
     ไทยรัฐ     



















โครงการ ‘โฮปเวลล์’ หรือ โครงการถนนและทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เกิดขึ้นเมื่อปี 2533 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และมี นายมนตรี พงษ์พานิช นั่งเก้าอี้เป็น รมว.คมนาคม โดยมีการเปิดประมูลก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งผู้ชนะการประมูลโครงการนี้คือ นักธุรกิจชื่อดัง ‘กอร์ดอน วู’ ประธานบริหารโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่แห่งวงการก่อสร้างของฮ่องกง ซึ่งมีผลงานการออกแบบก่อสร้างมาแล้วทั้งในจีนและฟิลิปปินส์
และในวันที่ 9 พ.ย. 2533 ได้มีการลงนามเซ็นสัญญา โดยสัญญาสัมปทานมีอายุยาวนานถึง 30 ปี และรัฐบาลไทยไม่ต้องควักกระเป๋าตังค์จ่ายเองด้วย เพราะโฮปเวลล์จะเป็นผู้ลงทุนออกแบบเองทั้งหมด โดยใช้วงเงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี

องค์ประกอบของระบบ

1.ทางรถไฟของ ร.ฟ.ท. สำหรับขบวนรถไฟในระบบของ ร.ฟ.ท.

2.ระบบทางรถไฟชุมชนของบริษัทโฮปเวลล์ ขนาบซ้าย-ขวาของ ร.ฟ.ท.อีกข้างละ 1 ทาง พร้อมสถานีรถไฟชุมชนทุกๆ ระยะ 0.7-1.2 กม. และเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารในกทม.และปริมณฑล
  


3.ระบบถนนยกระดับเก็บค่าผ่านทาง ขนาด 2-3 ช่องทาง มีลักษณะทำนองเดียวกับทางด่วน กทพ.
4.ระบบถนนเสมอระดับพื้นดิน เดินรถทางเดียวขนานสองข้างทางระบบทางยกระดับ
รวมระยะทางรถไฟทั้งสิ้น 60.1 กม. และทางรถยนต์ 56.8 กม.

  • :




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-26 12:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รัฐบาลได้อะไรจากโครงการนี้
  • โฮปเวลล์จะต้องชำระเงินงวดแรก 300 ล้านบาท ในวันที่สัญญามีผลบังคับใช้ 6 ธ.ค. 2534
  • โฮปเวลล์จะต้องชำระเงินงวดที่สอง 350 ล้านบาท (6 ธ.ค. 2535)
  • ต่อจากนี้ โฮปเวลล์จะต้องชำระเงินเพิ่มขึ้นปีละ 50 ล้านบาท จนถึงงวดที่ 15 (6 ธ.ค. 2548) จำนวน 1,000 ล้านบาท และคงที่ที่ 1,000 ล้านบาท ไปจนถึงงวดที่ 23 (6 ธ.ค. 2556)
  • โฮปเวลล์จะต้องชำระเงินงวดที่ 24 ถึง 38 งวดละ 2,404 ล้านบาท หรือ 30% ของผลกำไร
โดยสรุปแล้วโฮปเวลล์จะต้องจ่ายเงินตอบแทนแก่การรถไฟฯ ตลอดสัมปทาน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านบาท
รัฐบาลเสียเปรียบ จากสัญญาอันน่าครหา
ทั้งนี้ หากพิจารณาดูสัญญาโครงการที่ดูเหมือนจะหละหลวมจนทำให้ฝ่ายรัฐบาลเสียเปรียบฝ่ายเอกชนอย่างมาก นั่นคือการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุนให้บอกเลิกสัญญาได้ แต่ขณะที่รัฐบาลไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ นอกจากนี้ ในสัญญาอันเป็นที่น่าครหานั้น โฮปเวลล์จะได้สิทธิและการสนับสนุนจากรัฐบาล คือ ...
  • รายได้จากอัตราค่าโดยสารรถไฟชุมชน และค่าธรรมเนียมผ่านทางด่วนยกระดับ
  • การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของการรถไฟฯ 2,093.5 ไร่ ตลอดอายุสัมปทานโครงการ 30 ปี
  • ขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับก่อสร้างทุกประเภทในโครงการลงทุนนี้
  • ขอรับสิทธิยกเว้นกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
  • ขอยกเว้นการหักภาษี สำหรับดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของเงินกู้ระยะยาวที่จะต้องชำระแก่สถาบันการเงินในต่างประเทศ
  • ให้สิทธิกับบริษัทในการขอสัมปทานหลังหมดอายุสัมปทานโดยใช้เงื่อนไขที่ต้องเจรจาใหม่

เงินช็อต จุดสะดุดโครงการยักษ์

โฮปเวลล์ อ้างเหตุที่ก่อสร้างล่าช้าเนื่องจากการรถไฟฯ ไม่ส่งมอบที่ดินให้ได้ตามข้อตกลง เพราะประสบปัญหาเรื่องการอพยพโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ในหลายเส้นทาง

ประจวบเหมาะกับการที่โฮปเวลล์เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เคยคาดหวังไว้ดิ่งลงเหว จึงส่งผลให้โครงการยักษ์ใหญ่ต้องสะดุดลง ประกอบกับแหล่งเงินทุนที่เคยให้โฮปเวลล์ผันเงินได้คล่องๆ เริ่มไม่มั่นใจและถอนตัวออกจากการร่วมลงขันให้กู้แก่โครงการโฮปเวลล์
นี่จึงเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐบาลไทยถึงกับกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ครั้นจะบอกเลิกสัญญาก็ทำไม่ได้ เพราะสัญญาที่เขียนกันไว้เหมือนจงใจวางยาประเทศตัวเอง ทำให้รัฐบาลที่ผ่านมาหลายต่อหลายชุดจึงไม่กล้าเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา นอกจากเสียจากการประวิงปัญหาไว้ เพราะกลัวว่าจะถูกโฮปเวลล์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ยกเลิกสัญญา ซึ่งไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้













ลำดับเหตุยืดเยื้อ สู้คดี จนสิ้นสุด

9 พ.ย. 2533 มีการลงนามสัญญาสัมปทานจากการรถไฟฯ

ปี 2534-2535 สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็นรมว.คมนาคม ได้สั่งตรวจสอบสัญญาสัมปทานและสั่งล้มเลิกโครงการ
ปี 2535-2538 โฮปเวลล์คืนชีพอีกครั้งในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี พ.อ.วินัย สมพงษ์ เป็นรมว.คมนาคม แต่ยังคงย่ำอยู่กับที่เพราะมีปัญหาด้านแหล่งเงินทุน หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา อีกทั้ง เรื่องแบบก่อสร้างที่ระยะห่างของรางรถไฟกับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ ซึ่งทำให้การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานตามความปลอดภัยสากล
ปี 2538-2539 สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรมว.คมนาคม มีพรรคพลังธรรมเป็นผู้ดูแลโครงการ ได้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการพร้อมทั้งให้ยืนยันเรื่องผู้รับเหมาและแหล่งเงินทุน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า
ปี 2539-2540 โฮปเวลล์ได้หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรมว.คมนาคม เห็นชอบให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์
ก่อนที่โครงการก่อสร้างจะสิ้นสุดในสมัยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ได้บอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ม.ค.2541 เนื่องจากหลังดำเนินโครงการมา 7 ปี แต่กลับมีความคืบหน้าเพียง 13.7%
แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังไม่จบง่ายๆ เมื่อโฮปเวลล์ เดินหน้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ เป็นจำนวน 5.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ การรถไฟฯ ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการเป็นจำนวน 2 แสนล้านบาท
ต่อมาใน พ.ศ. 2551 คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ คืนเงินชดเชยแก่โฮปเวลล์ 1.1 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีให้แก่โฮปเวลล์ จากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม
จากนั้น กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในกรณีพิพาทการบอกเลิกสัญญา โดยเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2557 ศาลปกครอง ซึ่งมีอำนาจพิจารณาข้อพิพาทสัญญาทางปกครอง จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ วันที่ 30 ก.ย. 2551 และ 15 ต.ค. 2551 ทั้งฉบับ และให้ปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ทำให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาแก่โฮปเวลล์
เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างยื่นเรื่องให้คณะอนุญาโตตุลาการ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น เป็นการยื่นเรื่องให้วินิจฉัยที่เกินกรอบระยะเวลา 60 วันที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานข้อที่ 31และระยะเวลาการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ภายในระยะเวลาสูงสุด 5 ปี ตามมาตรา 50 และ 51 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ ได้บอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ วันที่ 27 ม.ค. 2541 ดังนั้น หากจะยื่นเรื่องอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยต้องกระทำภายในวันที่ 27 ม.ค. 2546 ภายหลังจากที่ทั้ง 2 ฝ่าย รับทราบเรื่องการบอกเลิกสัญญา
โครงการยักษ์ 20 ปี พังถล่ม
ขณะที่ การรถไฟฯ ซึ่งได้มรดกเสาหินตกทอดมานั้น ก็ได้มีแนวความคิดจะนำโครงสร้างบางส่วนมาพัฒนาต่อในโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กระทั่ง เมื่อเดือน มี.ค. 2555 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อแผ่นปูนของโครงการโฮปเวลล์ ได้ถล่มลงมาทับรางรถไฟ ระหว่างสถานีบางเขนกับวัดเสมียนนารี โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ด้าน นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานฯ (วสท.) ในสมัยนั้น ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า ใต้คานด้านล่างยังใช้เหล็กนั่งร้านเป็นวัสดุรับน้ำหนัก โดยตามหลักวิศวกรรม เมื่อก่อสร้างเสร็จต้องรื้อเหล็กนั่งร้านออก ดังนั้น เมื่ออายุโครงการมากว่า 20 ปี จึงเป็นเหตุที่ใช้วัสดุที่ผิดวัตถุประสงค์ ขณะเดียวกัน ตามรายงานของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า มีการถอดวัสดุเหล็กและนอตของมิจฉาชีพไปขาย จึงเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พังลงมา
อย่างไรก็ดี มหากาพย์โครงการยักษ์ ‘โฮปเวลล์’ ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะยังมีเสาตอม่อที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าของพื้นที่จะทำอย่างไรกับอนุสรณ์เหล่านี้ โปรดติดตามต่อได้ในตอนหน้า!

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
  • สืบเสาะข่าว รับเรื่องราวร้องทุกข์ สามารถส่งเรื่องราวหรือประเด็นปัญหาของท่านมาได้ที่
 reporter.thairath@gmail.com

เป็นแลนด์มาร์คไว้ให้ต่างชาติมาเที่ยวไงครับ

ที่นี่ประเทศไทย เหอๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้