ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

แปดหมื่นปีจะบินมาโลกมนุษย์ครั้งหนึ่ง

[คัดลอกลิงก์]
1#
โพสต์ 2013-8-19 10:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด
กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในอุษาคเนย์ คือองค์ศาสนูปถัมภก




วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นวันสำคัญที่ชาวพิมายจะต้องจดจำรำลึกถึง เพราะเป็นวันที่ได้รับโบราณวัตถุชิ้นสำคัญกลับคืนสู่เมือง หลังจากที่ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเป็นเวลานานหลายสิบปี โบราณวัตถุชิ้นนี้ก็คือรูปจำหลักศิลาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งคนส่วนมากเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต เพราะได้พบที่ปรางค์พรหมทัต ปราสาทหินพิมายนั่นเอง ในวันนั้นชาวพิมายทุกครัวเรือนต่างพร้อมใจกันมาต้อนรับและเข้าร่วมขบวนแห่แหนอัญเชิญรูปจำหลักชิ้นนี้ไปประดิษฐารน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นสมบัติศิลป์ชิ้นพิเศษที่ชาวพิมายภาคภูมิใจ

รูปจำหลักศิลาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทำด้วยหินทราย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระเนตรแสดงความสงบ พระหัตถ์ชำรุด มีขนาดสูง ๑๔๒ เซนติเมตร เป็นศิลปะร่วมสมัยกับศิลปะเขมรแบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๘๐ โบราณวัตถุชิ้นนี้ไม่เพียงแต่มีคุณค่าเป็นพิเศษทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีอยู่ชิ้นเดียวในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้ทราบถึงเรื่องราวหนหลังอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่มีความสัมพันธ์กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าสมัยใด ๆ เพราะได้พบร่องรอยของศาสนสถานและโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกันนี้เป็นจำนวนมากในบริเวณต่ง ๆ ของภาคอีสานเกือบทั้งหมด ยกเว้นลุ่มแม่น้ำชี เขตขอนแก่น อุดรธานีและกาฬสินธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เรื่องราวของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษายิ่ง
         
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจากวงศ์กษัตริย์ขอม ซึ่งได้ครอบครองอาณาจักรกัมพูชาตลอดระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๖๕๐ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๒ และพระนางจุฑามณี พระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๑๖๗๐ ในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้ทรงสถาปนาปราสาทนครวัด และในยุคนี้เอง เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ อาณาจักรกัมพูชาก็เกิดการจราจลแย่งชิงบัลลังก์และเกิดสงครามกับอาณาจักรจามปาจนสูญเสียเอกราช

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสามารถกอบกู้เอกราชได้จากจามในที่สุด แล้วทรงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งโปรดฯ ให้สร้างเมือง คือเมืองพระนครหลวง โดยมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลางพระนคร และเนื่องจากทรงนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานจึงโปรดฯ ให้สร้างศาสนสถานต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งในเขตเมืองและนอกราชอาณาจักร เช่น ปราสาทบายน ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาพรหม ปราสาทนาคพัน และปราสาทบันทายกุฎี ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มียอดปราสาทสลักเป็นรูปหน้ามนุษย์ทั้ง ๔ ทิศ นอกจากนี้ยังโปรดฯ ให้สร้างที่พักคนเดินทางตามถนนหนทางและอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลทั่วราชอาณาจักรอีกหลายแห่ง แม้แต่ในประเทศไทยก็มีปรากฏในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ว่าโปรดฯ ให้สร้างที่พักคนเดินทางและอโคยาศาลจากเมืองพระนครหลวงไปยังพิมายอีก ๑๗ แห่ง ส่วนตัวปราสาทหินพิมายนั้นได้ทรงบูรณะหฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พร้อมทั้งสร้างปร่างค์พรหมทัตและปร่างค์หินแดงด้วยหินทรายสีแดงเพิ่มเติม ปราสาทหินพิมายจึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่งในสมัยของพระองค์

พระราชภารกิจที่สำคัญของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การปรับปรุงระบบสุขศาลา หรือโรงพยาบาล การสร้างทางหลวงเชื่อมอินโดจีน การติดต่อกับต่างประเทศ และการขายพระราชอำนาจทางการเมืองเข้าไปในดินแดนต่าง ๆ โดยรอบ ยุคนี้จึงเป็นยุคทองกรุงกัมพูชาที่เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสูงสุด จากนั้นอาณาจักรกัมพูชาก็เสื่อมลงตามลำดับ จนตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๓๖

หลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของปราสาทหินพิมายและความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมขอมของภาคอีสานในอดีตนอกจากบรรดาโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ทั่วไปแล้ว ยังมีโบราณวัตถุอีกเป็นจำนวนมากที่ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
         
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ก่อนถึงตัวปราสาทหินพิมายราว ๓๐๐ เมตร เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง เป็นที่ตั้งแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทหินพิมายและการขุดค้นทางโบราณคดีของภาคอีสานตอนล่าง ต่อมาได้พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว ประกอบด้วยอาคาร ๓ หลัง เชื่อมติดต่อกัน ส่วนแรกเป็นอาคารจัดแสดงชั้นบน แสดงถึงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนแถบอีสานตอนล่างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาคารชั้นล่างจัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในดินแดนอีสานตอนล่าง และอาคารโถงจัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ ยังจัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่พบจากที่ต่าง ๆ

สิ่งที่น่าชมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย นอกจากรูปจำหลักศิลาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แล้ว ยังมีรูปพระอิศวรที่พบบริเวณปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ แผ่นทองศิลปาฤกษ์ บรรจุในแท่นหินมงคล ลูกปัดเปลือกหอย หินและแก้วสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พระวัชรสัตว์ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในพุทธศาสนาลัทธิมหายานทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ พระหัตถ์ถือวัชระและกระดิ่ง พบที่ปราสาทหินพิมาย และทับหลังจำหลักภาพเรื่องกวนเกษียรสมุทรยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ฯลฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ค่าเข้าชม คนไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ (๐๔๔) ๔๗-๑๑๖๗


ข้อมูลจาก : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๑  ฉบับที่ ๔  พฤศจิกายน ๒๕๔๓
2#
โพสต์ 2013-9-17 12:54 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ของวิเศษสุดๆมักรอคอยถือกำเนิดในฤกษ์สำคัญเสมอ
3#
โพสต์ 2013-9-21 07:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด







ดูไว้เป็น แนวทางเลี่ยมกรอบ
4#
โพสต์ 2013-10-7 08:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2013-10-1 13:32
ไปช่วยงานที่สำนัก อาจารย์เลยมอบให้ไว้บูชา เป็นลูกแก ...

ใครไม่มีเวลาเข้ามาช่วยงานทางสำนัก
ส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่าการเข้ามาช่วยต่อเติมบ้านหลังนี้ของหลวงปู่ชื่น
ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกครับ คงจะเข้าตากรรมการบ้าง
5#
โพสต์ 2013-12-4 07:02 | ดูโพสต์ทั้งหมด
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-12-3 21:44
ยอมเยี่ยมจริงๆๆครับ

เยี่ยมด้วยคน
6#
โพสต์ 2013-12-25 10:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-12-12 22:14
พระองค์ยังดูแลลูกหลานตลอดมา
แม้ว่าว่านี้แผ่นดินจะแ ...

7#
โพสต์ 2014-7-18 10:31 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ใครยังไม่มีให้รีบเลยครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้