ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7808
ตอบกลับ: 16
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อัฏฐพญานาคราช พระธาตุแช่แห่ง

[คัดลอกลิงก์]



ประวัติพระธาตุแช่แห้ง


จากประวัติเก่าแก่ของเมืองน่าน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๖๐๐ ปี ที่เมืองน่านดำรงอยู่ในฐานะนครที่มีเจ้าผู้ครองนคร แม้บางครั้งเมืองน่านจะตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงสุโขทัย และกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ด้วยชัยภูมิที่ตั้งของเมืองน่าน เป็นเมืองค่อนข้างเร้นลับ ยากแก่การเดินทางไปถึงของผู้คน และวัฒนธรรม ศิลปกรรมภายนอก เมืองน่านจึงสร้างสมมรดกทางศิลปกรรม และวัฒนธรรม ด้วยเอกลักษณ์ของตนเอง


สำหรับองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่สร้างไว้แต่เดิมนั้น แม้บางยุคบางสมัยจะถูกละทิ้งให้รกร้างไปบ้าง แต่ต่อมาได้มีเจ้าผู้ครองนครองค์อื่นๆ บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่ยิ่งๆขึ้น ปัจจุบันสูงประมาณ ๒ เส้นเศษ


จึงนับว่าพระธาตุแช่แห้งนี้ เป็นปูชนียสถานสำคัญ และศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่โบราณของจังหวัดน่าน ซึ่งมีอายุกว่า ๖๐๐ ปีมาแล้ว (นับถึง พ.ศ. ๒๕๔๐) โดยปกติจะมีงานเทศกาลนมัสการเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) จะอยู่ในราวๆเดือนมีนาคม


เรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระธาตุแช่แห้ง ตามที่ประมวลมาให้เป็นที่รู้จักกันนี้คงเป็นเพียงสังเขปปะติดปะต่อกันกับประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน หากจะเจาะลึกให้ละเอียดลงไปอีก คงต้องขออ้างข้อความตามพงศาวดารเมืองน่านบางตอน ปรากฏข้อความ ดังนี้






เจ้าพระยาการเมือง ท่านอยู่เสวยราชสมบัติ แลอยู่บ่นานเท่าใด พระยาตน ๑ ชื่อว่า โสปัตตกันทิ อยู่เสวยเมืองสุโขทัย ได้มาอาราธนาเชิญเอา พระยาการเมือง เมือ (ไป) ช่วยพิจารณาสร้างวัดหลวงอุทัย กับด้วยเชิญพระยาสุโขทัยหั้น (นั้น) และเมื่อนั้นพระยาการเมืองก็ลงไปช่วยค้ำชูพระยาโสปัตตกันทิ หั้นแล ครั้งสร้างปริวรณ์ (บริบูรณ์) แล้ว พระยาโสปัตตกันทิก็มีความยินดีเซิ่ง (ซึ่ง) พระยาการเมือง แล้วก็เอา พระธาตุเจ้า ๗ องค์ พระพิมพ์คำ (ทองคำ) ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ดังวรรณพระธาตุนั้นต่างกันคือ ๒ องค์ มีวรรณดังคำ (ทองคำ) เท่าเมล็ดงาดำ หั้นแล พระยาการเมือง ครั้นว่า ได้ของดีวิเศษขึ้นมาแล้ว ก็มีความยินดีมากนัก หั้นแล เมื่อนั้นพระยาการเมืองก็เอาพระธาตุเจ้าและพระพิมพ์คำ ไปสำแดงแก่มหาเถรเจ้าธรรมบาลที่เมืองปัว หั้นแล ก็ไหว้สามหาเถรเจ้าว่า จะควรประจุพระธาตุนี้ไว้ที่ใด ขอมหาเถรเจ้าจุ่ง (จง) พิจารณาดูแดเถือะ (ดูเถอะ) ว่าอั้นแล้ว เมื่อนั้นพระมหาเถรเจ้าก็พิจารณาดูที่ควรประจุพระธาตุนั้นก็รู้แจ้ง แล้วก็เจิงจา (จึงกล่าว) กับด้วยพระยาว่า ควรมหาราชเจ้าเอาไปประจุไว้ที่ดอกยภูเพียงแช่แห้ง ตั๊ดที่ (ตรงที่) หว่างกลางแม่น้ำเตี๋ยน และแม่สิง (ชื่อแม่น้ำเหมือนกัน) พันควรซแด (คงเป็นที่สมควรพระเจ้าค่ะ) เมื่อนั้นพระยาการเมืองได้ยินมหาเถรเจ้าสันนั้น (อย่างนั้น) ก็มีความชื่นชมยินดียิ่ง แล้วพระยากาปกป่าว (ป่าวร้อง ประกาศ) พลนิกายทั้งหลาย แลเสนาอำมาตย์ทั้งมวล แล้วก็นิมนต์ มหาเถรเจ้า ลงไปด้วยตน ก็แห่นำเอาพระธาตุเจ้า มาแต่เมืองปัว ก็หื้อ (ให้) ส่งเสบด้วยดนตรีห้าจำพวก (เข้าใจว่าคงจะมี ปี่ ฆ้อง กลองยาว ฉาบ และพิณ) แห่นำเอา พระธาตุเจ้าลงไปที่ภูเพียงแช่แห้ง หั้นแล้ว ก็ตั้งทัพจอด (หยุด) อยู่ที่นั้นวันหนึ่ง ก็ด้วยอานุภาพพระหากทำนายมเหสักข์ ก็หากนำมาด้วยแล เมื่อนั้นพระยาก็หื้อช่างหล่อต้นปูนสำริด (เต้าปูนสำริด) ต้น ๑ ใหญ่แล้ว พระยาก็พร้อมด้วยมหาเถรเจ้า แลเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย เอาพระธาตุเจ้า และพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำ ลงใส่ในต้นปูนแล้ว ก็เอาฝาหับ (ปิด) หื้อทับแทบ (ให้สนิทแน่น) ดีแล้ว ก็วาด (พอก) ด้วยสะตายจีน (ปูนขาวผสมยางไม้ และทรายละเอียด) เกลี้ยงกลมดีเป็นดังก้อนผา (หิน) นั้นแล้ว พระมหาเถรเจ้า และพระยาก็พิจารณาดูที่เป็นสำคัญ หั้นแล เมื่อนั้น เทวบุตร เทวดา มเหสักข์ทั้งมวล (ใช้คนแต่งสมมติ) ก็นำเอาพระมหาเถรเจ้า และพระยาไปสู่ที่ประจุ หั้นแล เมื่อนั้น พระยาก็หื้อขุดลงที่นั้นเลิ้ก (ลึก) วา ๑ แล้วก็นิมนต์ยังพระธาตุเจ้าลงสถิต แล้วก่ออิฐกาถม แล้วก่อเจดีย์ขึ้นสูงเหนือแผ่นดิน ๑ วา หั้นแล ครั้นว่าปริวรณ์ (บริบูรณ์) แล้วก็นิมนต์พระภิกษุสังฆะเจ้า มากระทำการมงคลอบรม (สมโภช) แล้ว พระยาก็ทำสักการบูชา ทำบุญให้ทานตามใจมัก (ปรารถนา) แห่งตนแล้ว ครั้นปริวรณ์ ก็เอารี้พลแห่งตนคืนเมือ (คืนกลับไป) ยังเมืองปัวโพ้น (โน่น) หั้นแล ครั้นอยู่มาบ่นานเท่าใดพระยาก็คิดใจใคร่เถิง (คิดระลึกถึง) ยังพระธาตุเจ้ามัก (ประสงค์) ใคร่ปฏิบัติไหว้สา (กราบไหว้) ซู่ยาม (ทุกคราวที่ต้องการ) หั้นแล พระยาก็ปกป่าว (ประกาศ) เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แลรี้พลโยธาทั้งมวล แล้วก็เสด็จลงมาสร้างตั้งเวียงกุมพระธาตุเจ้า (ตั้งเมืองใกล้พระธาตุเจ้า) ขุดคูเวียงแวดวงใส่พนักนังดิน (กำแพงดิน) แล้วหื้อแต่งแปง (ทำ) ประตูงามสะอาดแล้ว



ที่มา http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_24.html
ดีเลยครับ
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-13 07:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
majoy ตอบกลับเมื่อ 2015-6-13 00:12
เห็นว่าพระธาตุแต่ละแห่งจะเสริมศิริมงคลให้คนเกิดแต่ละปีได้ด้วยนะ

ดีจริง

เห็นว่าพระธาตุแต่ละแห่งจะเสริมศิริมงคลให้คนเกิดแต่ละปีได้ด้วยนะ
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-12 10:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
majoy ตอบกลับเมื่อ 2015-6-12 02:01
น่าไปไหว้พระธาตุนี้ซักครั้งจัง

ไปด้วย
น่าไปไหว้พระธาตุนี้ซักครั้งจัง
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-3 11:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุครับ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-3 11:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



เดินไปกันต่อที่บ่อน้ำทิพย์






รูร่องน้ำข้างกำแพงที่พญานาคห้ามปิด






โปรยพลอยแผ่นทองและน้ำหอมถวายลงบ่อน้ำทิพย์






ภายในบ่อน้ำทิพย์



ขอขอบคุณที่มา: http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta25mini12.html

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-3 11:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ยอดพระธาตุองค์เดิม






วิหารหลวงข้างพระธาตุ



จากนั้นพระเจ้าติโลกราชทรงพิจารณาแต่งตั้งให้ท้าวขาพับเป็นผู้ครองเมืองน่านแทนท้าวขาก่าน แล้วให้ท้าวขาก่านไปครอง เมืองเชียงราย ตลอดเวลาที่ครองเมืองอยู่นั้น ท้าวขาพับก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุแช่แห้งที่ทำค้างอยู่โดยเสริมองค์เจดีย์ซึ่ง เดิมสูงเพียง ๑๘ วาให้เป็น ๒๗ วา และขยายฐานเดิมที่กว้างเพียง ๗ วา เป็น ๑๐ วา บุองค์พระเจดีย์ด้วยทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ รวมทั้งก่อสร้างวิหารและพระอุโบสถล้อมรอบจนเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๒ นับแต่นั้นเป็นต้นมาพระธาตุแช่แห้งก็ ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าผู้ครองเมืองน่านมาโดยตลอด นับจากสมัยท้าวอ้ายยวม สมัยเจ้าศรีสองเมือง มาจนถึงสมัยพระเจ้า สุริยพงษ์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้มีการนำเอาแผ่นทองเหลืองมาหุ้มองค์พระเจดีย์หมดทั้งองค์แล้วปิดด้วยทองคำเปลว จากนั้น ได้สร้างพระวิหารคู่กับพระธาตุอีก ๑ หลัง อีกทั้งได้สร้างกำแพงพร้อมด้วยระเบียงล้อมรอบพระธาตุทั้ง ๔ ด้าน ( ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้บางตำนานกล่าวว่าท้าวขาพับเป็นผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์และก่อสร้างวิหาร ตลอดจนอุโบสถล้อมรอบเจดีย์นั้นจนสำเร็จสมบูรณ์ในปี พ . ศ . ๒๐๒๒ ) ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ แผ่นทองเหลืองที่หุ้มองค์เจดีย์ถูกแกะออกไปขายแล้วโบกปูนแทน จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๓ ทางวัดจึงได้หาแผ่นทองเหลืองมาหุ้มใหม่และทำการบูรณะพระธาตุแช่แห้งเรื่อยมา ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน


อนึ่ง มีข้อความในบางตำราได้กล่าวถึงที่มาของชื่อ “พระธาตุแช่แห้ง” แตกต่างออกไปว่า พระธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ในเวียงภู เพียงแช่แห้ง อันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองน่าน และเมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่แห้งแล้งมากแม้แต่การสร้าง โรงหลวงให้พระญาครานเมือง ยังต้องนำไม้มาแช่น้ำแม่เตียนและแม่ลิงเอาไว้ก่อน เวียงภูเพียงจึงได้สร้อยต่อท้ายตามสภาพ ที่กันดารน้ำว่าแช่แห้ง ดัง ตำนานพื้นเมืองน่าน กล่าวไว้ว่า “… น้ำลวดแห้งเสีย ฝนบ่ตก ได้ชื่อว่าแช่แห้ง …” ภายหลังเมื่อมีการสร้างพระธาตุขึ้น จึงตั้งชื่อองค์พระธาตุตามชื่อของเมืองดังกล่าว (“ แช่ ” แปลว่าเมือง ) ปัจจุบันนี้ องค์พระ ธาตุแช่แห้งได้รับการปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถูปรูปเจดีย์พื้นเมือง ทรงระฆังคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จแบบศิลปะล้านนา (เชียงแสน) สูงประมาณ ๕๕.๕ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๒๒.๕ เมตร ภายนอกขององค์พระธาตุหุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ลงรักปิดทอง มีสถูปจำลอง (จุลเจดีย์) ทั้ง ๔ มุมของฐาน ถัดลงมาที่พื้นมีฉัตรแบบพม่า ประดับทั้ง ๔ มุม องค์พระธาตุมีกำ แพงล้อมรอบอยู่ชั้นในและมีระเบียงล้อมรอบ ชั้นนอกกว้าง ๕๗ เมตร ยาว ๘๐ เมตร องค์พระธาตุมีประตูทางเข้า ๔ ทาง


อาคารเสนาสนะของวัดพระธาตุแช่แห้ง ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฎิสงฆ์ โบราณสถานและปูชนียสถานของ วัดพระธาตุแช่แห้งที่สำคัญ ๆ นอกจากองค์พระธาตุที่ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้นยังมีพระวิหารขนาดใหญ่ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ เหนือประตูทางเข้าจะมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปนาคไขว้ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของศิลปกรรมเมืองน่าน ที่นิยมนำเส้นลายของรูปลำตัวนาคมาใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในทางรูปแบบศิลปกรรม หลังคาประดับด้วยตัวนาคยาวจากด้านหน้าจดด้านหลัง ภาย ในประดิษฐานพระพุทธรูปทันใจและหลวงพ่อสังกัจจายน์ รวมถึงพระอุโบสถซึ่งก่อสร้างด้วยอิฐสอปูนและมีโครงสร้างของหลัง คาเป็นไม้ทั้งหมด อีกทั้งวิหารพระนอน (วิหารพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่) ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ตลอดจนศาล ของเจ้าพ่อขาก่าน ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (ผู้สร้างพระธาตุแช่แห้ง) และเสื้อพระธาตุของวัดพระธาตุแช่แห้งที่อยู่ตามทิศต่างๆ ลักษณะรูปทรงเป็นงานสมัยหลัง คาดว่าเป็นการสืบต่อความเชื่อเรื่องทิศ สิ่งสำคัญของวัดพระธาตุแช่แห้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคือ องค์พระธาตุแช่แห้ง วิหารหลวง วิหารพระนอนและบันไดนาคโดย ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๖๕ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ และได้รับการประ กาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓


วิหารหลวง อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผู้า มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ที่ประตูทางเข้าด้านหน้ามีปูนปั้นรูปสิงห์สองตัวตามแบบศิลปะพม่า เหนือกรอบประตูด้านหน้าและหลังประดับลายปูนปั้น เป็นรูปนาคเกี่ยวกระหวัดกันแปดตัว หลังคาทรงจั่วซ้อนลดหลั่นกันสามชั้นตามแบบล้านนา ที่น่าสนใจคือตรงกลางสันหลังคาทำ เป็นส่วนหางของนาคสองตัวเกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้างที่งดงามและหาดูได้ ยากในปัจจุบัน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้