ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>>> พระศรีราม <<<

[คัดลอกลิงก์]
11#
โพสต์ 2016-5-3 13:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2016-5-3 13:54

อาตมัน คือ

องค์ปฐมองค์แรก..

เป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง


ยกตัวอย่าง อาตมันที่เป็นทิพย์ ที่สำคัญ ๆ เช่น

ในบรรดาช้างทุกชนิด อาตมันเป็น ช้างเอราวัญ

ในบรรดาสิ่งสุขสว่าง  อาตมันเป็น ดวงอาทิตย์

ในบรรดา พระเวทย์   อาตมันเป็น  สามเวทย์

ในบรรดาภูเขา     อาตมันเป็น เขาพระสุเมรุ

ในบรรดาสิ่งมั่นคง อาตมันเป็น  หิมาลัย




สุดท้ายอันนี้ คงจะหมายถึงพระศรีราม ด้วยหรือเปล่า ????


ในบรรดาบรรพบุรุษ อาตมันเป็น อารยัน (ผู้ปกครอง หรือ ผู้บังคับ)




12#
โพสต์ 2016-5-3 14:00 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ความหมายของพรหมันและอาตมัน


การที่จะศึกษาเรื่องสวภาวะอาตมัน  เราควรที่จะต้องทราบความหมายของอาตมันและพรหมันเสียก่อน  เพื่อนำไปช่วยเพิ่มทรรศนะความเข้าใจของเราให้ประจักษ์ชัดแจ้งในสิ่งทั้ง  ๒  นี้ยิ่งขึ้น
             พรหมัน  หมายถึงสิ่งแท้จริงสูงสุด  หรืออันติมสัจจะ  เมื่อมองจากทรรศนะวัตถุวิสัย  หรือในฐานะเป็นสิ่งที่ถูกรู้  ความหมายของพรหมัน  มีดังต่อไปนี้               คำว่า  พรหมัน  หมายถึงสิ่งแท้จริงสูงสุด  สร้างขึ้นมาจากธาตุ  พฺฤหฺ  (พริ-หะ) ซึ่งแปลว่า  “เพิ่มขนาด ,  แผ่ขยายใหญ่ขึ้น ,  เจริญขึ้น  , ทำให้ใหญ่โตหรือแข็งแรงยิ่งขึ้น”
             ใช้เรียกจิตวิญญาณสูงสุด  หรือพระเจ้าผู้มีพลังอำนาจในการเพิ่มขยายสิ่งซึ่งมีสภาพไม่ปรากฏ  เนื่องจากมีความละเอียดยิ่งกว่าละอองอณู  ให้กลายเป็นสิ่งต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นจักรวาล                 ในคัมภีร์ฤคเวท  พรหมัน  หมายถึง  ความรู้อันศักดิ์สิทธิ์  บทสวดหรือเวทมนต์อันเป็นสิ่งวิเศษ                 คัมภีร์อุปนิษัท  กล่าวว่า  พรหมัน  มาจาก  พฺฤหฺ  ธาตุ  แปลว่า  ยิ่ง  เกิน  มากกว่า  และอติศยนะ (อะติศะนะยะ)   หมายถึง  ความบริสุทธิ์  ความเป็นสิ่งไม่สิ้นสุด  ความเป็นอมตะ
                  มัธวะ  แห่งเวทานตะ  ได้ให้ความหมายว่า  พรหมัน  คือ  บุคคลที่มีคุณสมบัติเต็มบริบูรณ์  (พฤหันโต  หะยัสมิน  คุณะ)                  ฉานโทคยะอุปนิษัท  ได้กล่าวถึงพรหมันไว้ด้วยคำว่า  ตัชชะลาน  (ตชฺชลานฺ)    มีความหมายว่า  สิ่งนั้น  (ตัต)  เป็นที่เกิดของโลก  (ชะ)  เป็นที่กลับคืนสู่แห่งโลก  (ละ)  เป็นที่อิงอาศัยและดำรงอยู่ของโลก  (อัน)

                   ไตตติรียะอุปนิษัท  กล่าวถึงพรหมันไว้ว่า  สิ่งซึ่งเป็นที่เกิดของสรรพสิ่ง  เป็นที่อิงอาศัยแห่งสรรพสิ่ง  และเป็นที่กลับคืนสู่แห่งสรรพสิ่ง                   ความหมายในระยะต่อมา  คำว่า  พรหมัน  ใช้ในความหมายว่า  สิ่งแท้จริงสูงสุด  หรืออันติมสัจจะ  ซึ่งได้วิวัฒน์มาเป็นโลกและสรรพสิ่งในโลก  กล่าวคือ  สิ่งซึ่งเป็นมูลกรณะของสรรพสิ่ง
                   คำว่า  พรหมัน  ที่ใช้อยู่ในคัมภีร์อุปนิษัท  หมายถึง  สิ่งซึ่งเป็นปฐมเหตุของจักรวาล    มี  ๒  รูป  คือ                    รูปที่  ๑  เป็นรูปนามศัพท์  ปุลลิงค์  (คำนามเพศชาย)เวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักที่พยางค์ท้าย   (พฺรหฺมนฺ́)  และหมายถึง  สคุณพรหมัน  เป็นบุคลิกพรหมัน  กล่าวคือ  เป็นพระเจ้าผู้มีคุณสมบัติประเสริฐล้ำเลิศ  เป็นที่พึ่ง  ที่เคารพบูชาของมวลมนุษย์  มีลักษณะปรากฏเป็น  ๓  องค์  ใหญ่ ๆ    ที่เรียกว่า  ตรีมูรติ  คือ  พรหม  ผู้เป็นพระผู้สร้าง  พระวิษณุ  ผู้เป็นผู้คุ้มครองรักษา  และพระศิวะ     ผู้ทำลายล้าง  และสคุณพรหมันมีสถานภาพเป็นพระพรหมันระดับรอง  โดยเรียกว่า  อปรพรหมัน  หรือ อีศวระ  เป็นภาคปุคคลาธิษฐานของสิ่งสมบูรณ์  เป็นพระเจ้าที่มีตัวตนเป็นตัวบุคคล  (Personal God)  การอธิบายถึงพรหมันในลักษณะนี้เป็นการกล่าวพรหมันในแง่โลกียะ  (Cosmic)

                     ข้อความที่แสดงถึงคุณลักษณะของสคุณพรหมันนั้น  ได้แก่  มาณฑูกยะอุปนิษัท  โศลกที่  ๖  ซึ่งกล่าวว่า  พรหมันเป็นเทพเจ้าแห่งสรรพสิ่ง  เป็นผู้รู้ทุกสิ่ง  เป็นผู้คุ้มครองทุกสิ่งจากภายใน  และเป็นที่สิ้นสุดแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง  ฉานโทคยะอุปนิษัท  ก็กล่าวไว้ด้วยคำว่า  ตัชชลาน  ซึ่งหมายถึงสิ่งนั้น  เป็นที่เกิดของโลก  เป็นที่กลับคืนไปสู่แห่งโลก  เป็นที่อิงอาศัยและดำรงอยู่  ไตตติรียะอุปนิษัท  ก็กล่าวไว้ในลักษณะเดียวกันว่าสิ่งซึ่งเป็นที่เกิดของสรรพสิ่ง  เป็นที่อิงอาศัยแห่งสรรพสิ่ง  และเป็นที่กลับคืนสู่แห่งสรรพสิ่ง   ข้อความที่ยกมาจากอุปนิษัทข้างต้นนั้น        เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะของพรหมันในลักษณะที่เป็นสคุณพรหมัน ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้างโลก  การรักษาโลก  และการทำลายโลก

                     รูปที่  ๒  เป็นรูปนามศัพท์  นะปุลสะกะลิงค์ (คำนามที่ไม่บ่งเพศชายหรือหญิง) เวลาอ่านจะออกเสียงเน้นหนักพยางค์ต้น  (พฺร́หฺมนฺ)  หมายถึง  นิรคุณพรหมัน  เป็นอบุคลิกพรหมัน  กล่าวคือ  เป็นพระพรหมันผู้ไม่มีรู้เป็นอจินไตร  ไม่อาจนิยามด้วยคุณสมบัติใด ๆ  ได้  เพียงแต่รู้ว่า  มีอยู่เป็นความจริงอันติมะ  เป็นจิตบริสุทธิ์  ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยกาลาวกาศ  มีธรรมชาติเป็นความบรมสุข  นิรคุณพรหมัน    มีสถานภาพเป็นพรหมันระดับสูงสุด  เรียกว่า  ปรพรหมัน  ในคัมถีร์อุปนิษัท  พระปรพรหมันถือเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ที่ต้องพยายามไปให้ถึงในชาตินี้  เพื่อความหลุดพ้นเป็นอิสระจาก  อวิทยาและทุกข์ภัยในวัฏสงสารตลอดไป   ปรพรหมัน  เป็นภาคธรรมาธิษฐานของสิ่งสมบูรณ์  นิรคุณพรหมันแท้นั้นมีลักษณะเป็น  สัต  จิต  อานันทะ  กล่าวคือ  สัต  คือ  ความมีอยู่จริง  จิต  คือ  ความรู้  และอานันทะ  คือ  ความสุขสูงสุด  ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งหาที่สุดมิได้  หาขอบเขตมิได้     การอธิบายถึงพรหมันในลักษณะนี้เป็นการอธิบายถึงพรหมันในแง่โลกุตระ  (Acosmic)
                     ข้อความที่แสดงถึงลักษณะของนิรคุณพรหมันนั้น  ได้แก่  ข้อความที่กล่าวไว้ใน     พฤหทารัณยกะอุปนิษัท  ว่า  สิ่งซึ่งไม่มีการเสื่อมสลายที่ผู้ฉลาดเคารพบูชาอยู่นี้  เป็นสิ่งไม่หยาบ  (อสถูลมฺ)  ไม่ละเอียด  (อนูณัม)  ไม่สั้น  (อัหระสะวัม)  ไม่ยาว  (อะทีรฆัม)  ไม่ใช่เงา  (อัจฉายัม)  ไม่ใช่ความมืด  (อะตะมัส)  ไม่ใช่อากาศ  (อะนากาศัม)  เป็นต้น  ข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงพรหมันในลักษณะที่เป็นนิรคุณพรหมัน
                     จากข้อความที่ยกมาทั้งหมดข้างต้นนั้น  เป็นการแสดงลักษณะที่แท้จริงของพรหมันในลักษณะต่าง  ๆ  ที่เป็นทั้งสคุณพรหมันและนิรคุณพรหมัน                    อย่างไรก็ตาม  ทั้ง  ๒  ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้  เพราะเป็นสวภาวะของสิ่งที่แท้จริงสูงสุดอันเดียวกันแต่มองคนละด้าน                         ศังกราจารย์  ได้กล่าวว่า  สคุณพรหมันและนิรคุณพรหมันนั้นไม่ต่างกัน  สคุณพรหมันเป็นพรหมันองค์เทียมของนิรคุณพรหมัน สคุณพรหมันเป็นความจริงขั้นสมมติ  เป็นโลกบัญญัติ    เป็นความเชื่อของสามัญชน   ส่วนนิรคุณพรหมันเป็นความจริงขั้นปรมัตถ์                                        ส่วนคำว่า  อาตมัน  (อาตฺมนฺ)  สันนิษฐานว่า  สร้างขึ้นมาจากธาตุ  อนฺ (อัน)  ที่แปลว่า  “หายใจ”  ใช้เรียกส่วนเสี้ยวของพรหมัน  ซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์  (ชีวาตมัน)  ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด  และใช้เรียกสิ่งที่เป็นแก่นสารที่แท้จริงของทุกสิ่งในจักรวาล                      คำว่า  อาตมัน  แปลว่า  ตัวตน  (สิ่งที่เป็นอมตะ   นิรันดร)  มาจาก  อนฺ ธาตุ  แปลว่า  หายใจ  ซึ่งเป็นลมหายใจของชีวิต  ความหมายของอาตมันแผ่กว้างออกไปตามลำดับ  จนมีความหมายครอบคลุมถึงชีวิต  วิญญาณหรือตัวตน






13#
โพสต์ 2016-5-3 14:00 | ดูโพสต์ทั้งหมด

                     ที่มาของคำว่า  อาตมัน  ยังมีสันนิษฐานอื่นอีก  กล่าวคือ  อาจมาจากธาตุ  อตฺ  (อัต) ที่แปลว่า   “ไปเรื่อย , เดินไป”  หรืออาจมาจากธาตุ  อวฺ  ที่แปลว่า “ขับเคลื่อน”  หรืออาจมาจากรากศัพท์  อะ  ที่พบในคำว่า  อะหัม  (อหมฺ)   ที่แปลว่า  “ข้าพเจ้า”  รวมกับคำว่า  ตทฺ  ที่แปลว่า  “สิ่งนั้น”   (พรหมัน)  เป็นอาตมัน  (อาตฺมนฺ)  แปลว่า  “ข้าพเจ้า  คือ  สิ่งนั้น”   หมายถึง  ชีวาตมันของข้าพเจ้า  คือพระพรหมัน                      ด้วยเหตุที่คำว่า  ปราณ  (ปฺราณ)  ซึ่งแปลว่า  “ลมหายใจ   ชีวิต  สิ่งที่เป็นหลักของชีวิต”  ก็มีการสร้างคำขึ้นมาจากธาตุ  อนฺ  เช่นเดียวกับคำว่า  อาตมัน  ดังนั้นในคัมภีร์อุปนิษัท  จึงปรากฏมีคำสอนเกี่ยวกับการใช้  ปราณ  เป็นสัญลักษณ์เพื่อการเพ่งจิตถึงอาตมันของตน  และมีการใช้คำว่า  ปราณ  แทนคำว่า  อาตมัน  ในหลายแห่ง   อาทิ  ในกฐะอุปนิษัท  มีข้อความกล่าวไว้ว่าดังนี้
  ด้วยเหตุที่สกลจักรวาลซึ่งกำลังดำเนินไปอยู่นี้  ได้ถือกำเนิดขึ้นมา  (และ)  เคลื่อนไหวอยู่ในปราณ (อาตมัน) ราธากฤษณัน  กล่าวว่า  อาตมันเป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์  เป็นวิญญาณซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์  เป็นลมหายใจ  (ปราณ)  เป็นความรู้สึกบริสุทธ์ปราศจากกิเลส  และอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น  อาตมันเป็นสิ่งที่คงอยู่  เมื่อทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตนถูกทำลาย ดังนั้น  อาตมันจึงเป็นส่วนที่เหลืออยู่หลังจากส่วนประกอบทางร่างกายและจิตของมนุษย์ของแต่ละคนถูกแยกกระจายออก  ดังฉานโทคยะอุปนิษัทกล่าวไว้ว่า  อาตมันอยู่เหนือกายหยาบและอาตมันที่ถูกรับรู้ในขณะตื่นและขณะหลับฝัน
                  สิ่งเหล่านี้  ล้วนมีธรรมชาติอย่างเดียวกัน  คือ  เป็นสรรพัญญู  สรรพาภิภู  สรรพเดชา  เป็นอมตะ  คือ  ไม่เกิด  ไม่ตาย  และเที่ยงแท้นิรันดร  แต่เรามองไม่เห็นจึงไม่รู้ว่า  อาตมันมีลักษณะหรือสวภาวะเป็นอย่างนี้  อาตมันซ่อนอยู่ในเครื่องห่อ  คือ  โกศะ  ที่ปิดบังตาเราไว้ไม่ให้เห็น  และทำให้เราเข้าใจผิดไปว่ามันคือร่างกายบ้าง  อินทรีย์บ้าง  มนัสบ้าง  ฉะนั้น  ถ้าจะให้เห็นตัวอาตมันจะต้องเปิดเครื่องปกปิดที่เรียกว่า  โกศะ  ๕  อย่างออก  แต่ละอย่างมีดังนี้ ๑)   อันนมัยโกศะ  เครื่องปกปิด  คือ  ข้าวและน้ำ  ได้แก่  ส่วนของร่างกาย  มีกระดูก  เนื้อหนังมังสา  ที่เจริญเติบโตขึ้นมาจากข้าวและน้ำนี้เอง  นี้เป็นเครื่องปกปิดอาตมันชั้นแรก  ถ้าไม่เปิดออก  เราก็เข้าใจผิดว่า  อาตมันคือร่างกาย  แต่ที่จริงร่างกายไม่ใช่อาตมัน  แต่มีขึ้นเพื่ออาตมันและโดยอาตมัน๒)  ปราณมัยโกศะ  เครื่องปกปิด  คือ  ลมหายใจ  ได้แก่  ชีวิต  แม้ว่าชีวิตจะทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้  ทำอะไรได้ก็จริง  แต่ความมีชีวิตอาจตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วดับไป  ฉะนั้น  ชีวิตจึงไม่ใช่อาตมัน  เพราะอาตมันเป็นอมตภาวะ  เราต้องเปิดเครื่องปกปิดคือชีวิตอีกชั้นหนึ่ง  และก้าวต่อไปเพื่อดูตัวอาตมัน๓)     มโนมัยโกศะ  เครื่องปกปิด  คือ  มโนหรือมนัส  ซึ่งทำหน้าที่รู้สึกต่ออารมณ์  มนัสเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางความคิดหรือกระบวนการให้มีการรับรู้อารมณ์  เป็นเพียงเครื่องมือของอาตมันชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้อาตมันมากเข้าไปแล้ว  แต่เป็นเครื่องมือขั้นต่ำที่สามัญสำหรับคนและสัตว์  ขอให้เปิดเครื่องปกปิดนี้ออก แล้วมองข้ามไปอีกชั้นหนึ่ง
                     ๔) วิญญาณมัยโกศะ  เครื่องปกปิด  คือ  วิญญาณ  ได้แก่  ความรู้สึกนึกคิด                 ที่ประกอบด้วยเหตุผล  เป็นความคิดชั้นสูง  มีเฉพาะในคนที่เจริญแล้ว  เครื่องปกปิดชั้นนี้อยู่ใกล้อาตมันมากเข้าไปอีก  แต่เป็นเพียงเหตุผล  ไม่ใช่ตัวอาตมันแท้  ฉะนั้น  จึงขอให้เปิดเครื่องปกปิดนี้ทิ้งไปแล้วก้าวต่อไปอีกชั้นหนึ่ง
                     ๕)   อานันทมัยโกศะ  เครื่องปกปิด  คือ  ความสุข  หมายความว่า  ถ้าผู้ใดเปิดเครื่องปกปิดมาแต่ละชั้น ๆ และมองเห็นตามความเป็นจริงมาแต่ละชั้น ๆ ก็จะมาถึงชั้นสุดท้าย  คือความสุข  แล้วจะพบตัวอาตมันนอนอยู่ที่นั้น  แต่มิได้หมยความว่า  อาตมันอยู่เฉพาะในส่วนนี้เท่านั้น  แท้จริง  อยู่ทั่วไปทุกชั้น แพร่อยู่ทั่วไป  แต่เรามองไม่เห็น  กลับมองเห็นอย่างอื่นไปจากที่ได้แสดงมาทั้งหมด  จะเห็นได้ว่า  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการบอกให้เราได้รู้ถึงอาตมันหรือพรหมันในด้านความหมายและลักษณะของอาตมันหรือพรหมันเท่านั้น  เมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อน  ดังนั้น  เราถึงจะต้องรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่จะกล่าวต่อไปอีกข้างหน้า

บรรณานุกรม
วรลักษณ์  พับบรรจง,  คัมภีร์กำเนิดจักรวาลศาสตร์แห่งชีวิต (ม.ป.พ.: ๒๕๔๕)
S.Radhakritshnan , The  Principal  Upanisads
อดิศักดิ์  ทองบุญ, ปรัชญาอินเดีย(กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตตยสถาน,๒๕๔๖)
Paul Deussen,  “Atman”  in Encyclopaedia of Religion and Ethics, ed. James Hastings, 2ndDelhi : Oriental Book Reprint, 1905)
https://www.gotoknow.org/posts/502432

14#
โพสต์ 2016-6-25 11:03 | ดูโพสต์ทั้งหมด








รามเกียรติ์ ตอน ธรรมะแห่งราชา

กล่าวถึง ท้าวทศรถสอนพระราม เป็นพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่รัชทายาท
และแสดงพระราชจริยาวัตรของกษัตริย์

เนื้อความ เป็นเรื่องราวที่ท้าวทศรถ พระราชบิดาของพระรามให้โอวาทพระราม


เมื่อทรงมอบบ้านเมืองให้ปกครอง เนื้อหาจึงสั่งสอนเรื่องการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
รู้จักให้ทาน ให้มีความเมตตา ยุติธรรม ดับอวิชชา ต่างๆ

นอกจากเป็นการสั่งสอนแก่รัชทายาทแล้ว

ยังเป็นหลักในการปฏิบัติตนของบุคคลโดยทั่วไปได้อีกด้วย



"​ พ่อ จะให้ ครองสมบัติ สืบวงศ์ จักรพรรดินาถา
จงตั้ง อยู่ใน ทศธรรมา เป็นตราชูโลก ทั้งไตรดาล

เจ้าจงเลี้ยง เสนาพลากร ให้ถาวร ดั่งร่ม พฤกษาศาล
เอาความสัตย์ สุจริต เป็นประธาน คือรากแก้ว กิ่งก้านดอกใบ

อันฝูงสัตว์ จตุบาท ทวิบาท จะเกลื่อนกลาด มาพึ่งอาศัย
จงเอาเมตตา นั้นแผ่ไป ดังกลิ่น ดอกไม้ อันตระการ

จะหอม ขจร ทุกประเทศ เย็นเกศ ไปทั่วทิศาศาล
ทานนั้น ต่างผล โอฬาร หว่านให้บำเหน็จ โดยตรา

แก่หมู่ เสนี รี้พล ประชาชน ยาจก ถ้วนหน้า
ตัดโลภ เอาความกรุณา เป็นปัญจ มหานที

ไหลมา ไม่รู้สุดสิ้น อาบกิน เป็นสุขเกษมศรี
อย่าเบียดเบียน ไพร่ฟ้าประชาชี ให้มี ความเดือดร้อน เวทนา

น้ำเย็น ฝูงปลา ก็อาศัย ปักษาพึ่งไม้ ใบหนา
ป่ากว้าง ย่อมมีมฤคา พากัน มาอยู่ สำนัก

จงแผ่ เดชา วรายศ ให้ปรากฎ เกียรติไป ให้ไตรจักร
แก่มนุษย์ เทวัญ คนธรรพ์ยักษ์ ลูกรัก จงฟังพ่อสอนไว้ "





ดัดแปลงจากโคลงสี่สุภาพ 12 บท โดยสันนิษฐานว่า..

พระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์พร้อมกันคราวเดียว 3 เรื่อง คื..

โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ และโคลงทศรถสอนพระราม
ซึ่งโคลงทศรถสอนพระรามก็เอาเรื่องรามเกียรติ์มาเป็น มูลของเรื่อง

15#
โพสต์ 2023-1-28 18:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2023-1-28 18:17

เรากำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน
ดิน น้ำ ฟ้า อากาศ เต็มไปด้วยมลภาวะ
วิกฤตการณ์โรคอุบัติใหม่
ความลุ่มหลงใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
ความสมดุลใกล้ขาดเสถียรภาพ

.... จิตอวตารได้กำเนิดขึ้นอีกครั้งว่า
เราทุกคนต่างรู้ซึ้งในคุณค่าการปกป้องสมดุล
ละวางโทสะ โมหะ และยุทโธปกรณ์รบ
มาปลูกเมตตาธรรมค้ำจุนจักรวาล
เปลี่ยนจิตนักล่าเป็นจิตนักปลูก จิตรู้รักษ์
ดุจดั่งรุทราวตารแห่งศิวะเทพ..หนุมาน
หนุมานผู้ปกปักษ์รามด้วยใจภักดิ์

...ราม ผู้นิรันดร์ด้วยความชอบธรรม
ราม อยู่ในทุกสรรพสิ่ง
อยู่ในผืนดิน น้ำ ฟ้า อากาศ
มนุษย์ วานร พรหมเทพ
วิษณุเทพ ศิวะเทพ
...ราม เป็นสมดุลของโลก สมดุลจักรวาล

ยังไม่สายเกินไปที่จะตื่นขึ้นมาแล้วมองเห็นความเป็นไปของโลก
โลกที่สมดุลก็ย่อมนำความสมดุลชีวิตมาสู่มนุษย์และสรรพชีวิต.. ธรรมชาติและมนุษย์สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว
การคืนสมดุลให้กับโลก ก็คือการหยิบยื่นเสถียรภาพชีวิตให้กับผู้ที่เรารัก
รวมทั้งตนเอง








16#
โพสต์ 2023-2-1 19:13 | ดูโพสต์ทั้งหมด
“พระรามแผลงศรถึงเจ็ดครั้ง
ถึงจะได้นางสีดา”


“คนเราก็เหมือนกัน แค่อย่าทิ้งความฝัน
แม้จะล้มเหลวสักพันครั้ง”


17#
โพสต์ 2023-2-1 19:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หนุมานครองเมือง

          หนุมานเมื่อช่วยพระรามผลาญเผ่าพงศ์ยักษ์และทศกัณฐ์แล้ว พระรามทรงประทานรางวัลให้แก่หนุมานและพลลิงทั้งหลายพร้อมทั้งแบ่งกรุงอยุธยาให้หนุมานครึ่งหนึ่ง แต่หนุมานสำนึกได้ถึงว่าตัวเองเป็นแค่ทหาร บุญบารมีมิเท่าเทียมกันมิควรที่จะนั่งร่วมอาสน์ได้ หนุมานจึงได้เข้าเฝ้ากราบทูลพระราม พร้อมถวายอยุธยาคืน  พระรามจึงแผลงศรให้หนุมานตามไปดูว่าตกลงที่ใด จะยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ให้ ศรนั้นไปตกบนเขาใหญ่เก้ายอด หนุมานแผลงฤทธิ์เอาหางกวาดจนเกิดเป็นกำแพงหินล้อมรอบบริเวณนั้น แล้วจึงกลับมาทูลพระราม พระรามให้เทวดาไปสร้างเมืองให้
          ต่อมาพระอินทร์ให้พระวิษณุกรรม ลงมาสร้างเมืองให้หนุมาน แล้วพระรามประทานชื่อเมืองว่า นพบุรี รวมทั้งแบ่งสมบัติจากกรุงศรีอยุธยา ม้า พล เสนา ให้ครึ่งหนึ่งตามที่ได้เคยปฏิญาณไว้


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้