ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12710
ตอบกลับ: 24
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พญานาคราช มหาเทพผู้เลื่อมใสและศรัทธาพระพุทธศาสนา

[คัดลอกลิงก์]
พญานาคราช มหาเทพผู้เลื่อมใสและศรัทธาพระพุทธศาสนา


25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-25 04:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-4-18 02:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"หากดวงตก ใจอย่าตกตาม"
"ให้บูชาพญานาคไว้ พญานาคจะคุ้มครองผู้ที่บูชา"
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-12-7 15:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"ตระกูลของนาค"

นาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ

ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ

แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่
พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ

สรุปเรื่อง พญานาค (โดยพิศดาร)

--------------------------------------------------------------------

พญานาค ๔ ประเภท ๑๐๒๔ ชนิด

พญานาค ๔ ประเภท

๑. กฏฺฐมุข พญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง คือ ถ้ากัดผู้ใดแล้วร่างกายผู้นั้นจะแข็งไป
หมดทั้งตัว อวัยวะต่างๆ เช่น แขน จะงอเข้าและยืดออกไม่ได้ และ
ปวดมาก
๒. ปูติมุข พญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วรอยแผลที่ถูกกัดนั้นจะเน่า
และมีน้ำเหลืองไหลออกมา
๓. อคฺคิมุข พญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วก็เกิดความร้อนไปทั่วทั้งตัว
และรอยแผลที่ถูกกัดนั้นก็เป็นรอยริ้วคล้ายกันกับถูไฟไหม้
๔. สตฺถมุข พญานาคนั้นมีพิษชนิดหนึ่ง ซึ่งไปกัดผู้ใดเข้าแล้วผู้นั้นก็เหมือนกับ
ถูกฟ้าผ่า

ในบรรดาพญานาคที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ ประเภทนี้ พญานาคประเภทหนึ่งๆ ก็มีวิธีทำอันตรายได้ ๔ ชนิด คือ

๑. ทัฏฐวิสพญานาค ถ้ากัดแล้วก็เกิดพิษซ่านไปทั่วทั้งตัว
๒. ทิฏฐวิสพญานาค ใช้มองดูแล้วพ่นพิษออกทางตา
๓. ผุฏฐวิสพญานาค มีพิษทั่วๆไปที่ร่างกาย ใช้ร่างกายกระทบเข้าก็กัดเป็นพิษซ่าน
ออกมาได้
๔. วาตวิสพญานาค ใช้ลมหายใจพ่นเป็นพิษ และพิษอันนี้สามารถแผ่ซ่านไปได้,
รวมพญานาค ๔ ประเภท ก็มีวิธีที่จะทำอันตรายได้ ๑๖ ชนิด

ในบรรดา ๑๖ ชนิดนี้ ชนิดหนึ่งๆ แบ่งเป็นกิริยาของพิษได้อีก ๔ ชนิด คือ

๑. อาคตวิส น โฆรวิส มีพิษแผ่ซ่านไปอย่างรวดเร็วแต่ไม่รุนแรง
๒. โฆรวิส น อาคตวิส มีพิษแรงมาก แต่พิษนั้นแผ่ออกไปอย่างช้าๆ
๓. อาคตวิส โฆรวิส มีพิษแผ่ซ่านไปอย่างรวดเร็ว และแรงมาก
๔. น อาคตวิส น โฆรวิส มีพิษแผ่ออกไปช้าและไม่แรง

รวมเป็นวิธีที่จะทำอันตรายได้เป็น ๖๔ ชนิด

--------------------------------------------------------------------

ในบรรดา ๖๔ ชนิดนี้ ชนิดหนึ่งๆ ได้แบ่งการเกิดออกเป็น ๔ ชนิด คือ

๑. อัณฆชพญานาค พญานาคที่เกิดในไข่
๒. ชลาพุชพญานาค พญานาคที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสทชพญานาค พญานาคที่เกิดจากเหงื่อไคล
๔. โอปปาติกพญานาค พญานาคที่เกิดเป็นโอปปาติกะ

รวมพญานาคทั้งหมดมี ๒๕๖ ชนิด

--------------------------------------------------------------------

ในบรรดาพญานาค ๒๕๖ ชนิดนี้ ชนิดหนึ่งๆ แบ่งที่เกิดออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑. ชลชพญานาค พญานาคที่เกิดอยู่ในน้ำ
๒. ถลชพญานาค พญานาคที่เกิดบนบก

--------------------------------------------------------------------

รวมพญานาคเป็น ๕๑๒ ชนิด
ในบรรดาพญานาค ๕๑๒ ชนิดนี้ ชนิดหนึ่ง แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

๑. กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ
๒. อกามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกาม

รวมเป็นพญานาค ๑๐๒๔

คำอธิบายที่ระบุถึงพญานาคว่ามี ๑๐๒๔ ชนิดนี้ มีมาในขันธวัคคสังยุตตอัฏฐกถานาควัคค์

--------------------------------------------------------------------

ลักษณะของพญานาคที่มีประจำตัวอยู่เสมอ ๕ อย่าง

พญานาคที่มีฤทธิ์มากนั้นสามารถจะเนรมิตตนเองให้เป็นคนได้ ถึงแม้จะเนรมิตตัวเองให้เป็นคนได้ก็จริง แต่ลักษณะอาการ ๕ อย่างที่มีประจำตัวอยู่เสมอนั้น ไม่สามารถคงร่างเนรมิตไว้ได้ ต้องปรากฏร่างเป็นพญานาคตามเดิมนั้นเอง ลักษณะอาการ ๕ อย่างนั้น คือ

๑. ในขณะปฏิสนธิ ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค
๒. ในขณะลอกคราบอยู่ รูปร่างสัณฐานคงความเป็นพญานาคอยู่ตามเดิม
๓. ในขณะเสพเมถุนอยู่กับพญานาคด้วยกัน คงร่างเป็นพญานาค
๔. ในขณะนอนหลับนั้น ถ้าหากเวลาใดนอนหลับไปโดยปราศจากสติ ขณะนั้นร่างกายก็กลับเป็นพญานาคขึ้นมา
๕. ในขณะตาย ก็ต้องปรากฏเป็นพญานาค

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในธัมมบทอัฏฐกถา สังยุตตอัฏฐกถา วินยมมหาวัคคอัฏฐกถาว่า

นาคสฺส ปน ปญฺจสุ สภาวปาตุกมฺมํ โหติ ปฏิสนฺธิกา
เล ตจชหนกาเล สชาติยา เมถุนกาเล วิสฺสฏฺฐนิทฺโทกฺ-
กนกาเล จุติกาเลติ.

--------------------------------------------------------------------

การปรากฏขึ้นเป็นปกติของร่างกายพญานาคในเวลา ๕ อย่าง คือ

๑. ในขณะปฏิสนธิ
๒. ในขณะกำลังลอกคราบอยู่
๓. ในขณะกำลังเสพเมถุนอยู่กับพญานาคด้วยกัน
๔. ในขณะกำลังหลับปราศจากสติ
๕. ในขณะตาย

--------------------------------------------------------------------

บุคคลที่ไม่มีการกระทำเป็นอันตรายต่อมรรคผล
แต่ก็จัดเข้าประเภทติรัจฉาน

ธรรมดาเทวดาทั้งหลายล้วนแต่เป็นบุคคลที่ควรได้มรรคผลด้วยกันทั้งสิ้น แต่จัดเข้าจำพวกติรัจฉานนั้น เพราะบวชไม่ได้ ดังมีสาธกบาลีแสดงได้ในวินยอัฏฐกถากังขาวิตรณีอัฏฐกถา และวินยสังคหอัฏฐกถาว่า

ยสฺส อุปสมฺปทา ปฏิกฺขิตฺตา โส ติรจฺฉานคโต นาม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปฏิเสธซึ่งความอุปสมบทแก่
บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า ติรัจฉาน

มีสาธกบาลีแสดงไว้ในวินยมหาวัคคอัฏฐกถาว่า

อนฺตมโส สกฺกํ เทวราชานํ อุปาทาย โกจิ
อมนุสฺสชาติโย สพฺโพ อิมสฺมึ อตฺเถ ติรจฺฉานคโตติ
เวทิตพฺโพ.

บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบว่า เฉพาะเรื่องนี้ บุคคลที่ไม่มี
ชาติเป็นมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นพระอินทร์ก็ตาม ต้องจัดเข้าใน
ประเภทติรัจฉาน

--------------------------------------------------------------------

อายุของพญานาค

อายุของพญานาคไม่แน่นอน บางทีก็อายุยืน บางทีก็อายุสั้น พวกที่มีอายุยืนนั้น ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกถึง ๕ องค์ก็ตาม พญานาคก็คงมีอายุอยู่ เช่นพญานาคตัวหนึ่งชื่อกาละ กาละพญานาคนี้ มีอายุมาตั้งแต่พระกกุสันธะจนถึงพระสมณโคตรมะ และจะมีอายุยืนต่อไปอีกจนถึงพระศรีอริยเมตตรัย

(ที่มา ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตสังคหฎีกา)

21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 00:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 13:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 13:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คาถาอัญเชิญพญานาค (ตั้งนะโม 3 จบ)
นะมามิ ลิละ สาเข ปัตถะ ละปะ ธัมเม สะคะลับตี สะเยตานาคะ ลาเชนะยะ ปิสะโตฯ


พระคาถาถวายการสักการะบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)
เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง มะยัง
หรือ
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา (ชื่อพระนามอย่างเช่น องค์ วาสุกรีนาคราช,อนันตนาคราช,ภุชงค์นาคราช,นาคาธิบดีศรีสุทโธ,) วิสุทธิเทวาปูเชมิ ถ้าเป็นองค์นางพญานาคี ก็เปลี่ยนเป็น นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ (เช่น กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา วาสุกรีนาคราช วิสุทธิเทวาปูเชมิ) เป็นต้น               


คาถาบูชาพญานาคราชอีกบทหนึ่ง (ตั้งนะโม 3 จบ)
นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี สัมศานติ โลก มา สาทยะ โมทเต ศาศติช สมาช
หรือกล่าวย่อ คือ (คัด สะ มะ อุ มะ) 9 จบ


คาถาบูชาพญานาค (คาถานี้ได้มาจากเสด็จปู่ยมโลก) ตั้ง นะโม 3 จบ

นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 13:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน
ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้