ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6275
ตอบกลับ: 24
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ใจเขา ใจเรา

[คัดลอกลิงก์]


เอาใจเขา - มาใส่ใจเรา


           การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  แสดงถึงความเป็นคนรักเพื่อนมนุษย์  ใจกว้าง  เป็นคนไม่เอาตนเองเป็นใหญ่   การรู้จักเอาใจเขา  มาใส่ใจเรา  จึงหมายถึง  การรู้จักคิดถึงใจคนอื่น  รู้จักเปรียบเทียบ  รู้จักเปรียบเทียบดูว่า  ถ้าเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาปฏิบัติหรือกระทำใดๆใแบบที่เรากำลังจะทำหรือพูดมันออกไป
          เช่นเดียวกับความรัก  ของคนสองคน  ซึ้งต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เพราะคนเราทุกคนเกิดมาก็ร้อยพ่อร้อยแม่  ต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป  ใครหลายคนอาจคิดว่าก็เรารักกันนิเราคิดอย่างไรเค้าก็ต้องคิดแบบนั้น  หรือคิดเหมือนกับเรา  แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่ซะทุกอย่างหรือทุกเรื่อง  ที่คู่รักของคุณยอมคุณอาจเป็นเพราะคำว่ารักก็ได้  เขาจึงไม่คิดที่จะขัดใจคุณ  แต่การทำแบบนั้นบ่อยๆอาจจะเป็นผลร้ายตามมากับรักของคุณก็ได้....  


ที่มา http://it-is-a-book.blogspot.com/2012/08/it-is-book.html
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-11-26 19:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-11-13 03:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจเรื่องบางๆๆๆ
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 03:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เพราะไว้วางใจภัยจึงตามมา  


เพราะไว้วางใจภัยจึงตามมา         







         การที่จะทำให้ใครสักคนเชื่อใจและไว้วางใจนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ต้องแสดงตัวตนที่แท้จริง ต้องคบหารู้จักมักคุ้นกันมานานจนสามารถไว้ใจกันได้  แต่บางครั้งกาลเวลาอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะบางคนคบหากันมานานแต่ก็ยังถูกหลอกลวงเพราะอาศัยการไว้วางใจกัน โบราณว่าไว้ว่า “ช้างสารงูเห่า ข้าเก่าเมียรัก” ก็ไม่ควรไว้วางใจเกินไป หากประมาทพลาดพลั้งอาจจะมีอันตรายถึงกับหมดเนื้อหมดตัวหรืออาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
         พระพุทธศาสนามีคำสอนที่ว่าด้วยการไว้วางใจผู้ที่ไม่คุ้นเคยกันหรือแม้แต่ผู้ที่คุ้นเคยก็ไม่ควรไว้วางใจเกินไปนัก
ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท อย่าเผลอตัวเผลอใจอาจจะได้รับอันตรายได้

ดังที่แสดงไว้ในวิสสาสโภชนชาดก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก (27/93/29) ความว่า...


“บุคคลไม่ควรไว้วางใจผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน

แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้วก็ไม่ควรไว้วางใจ

ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน

เหมือนภัยของราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อฉะนั้น”



         ความเป็นมาของภาษิตนี้มาจากอรรถกถาวิสสาสโภชนชาดก เล่มที่ 56 หน้า 339-342  

ได้นำอดีตนิทานว่าด้วยราชสีห์และแม่เนื้อที่มีความรักความคุ้นเคยกัน แต่ในที่สุดก็ต้องเสียชีวิตเพราะความไว้วางใจเกินไป ดังข้อความในชาดกว่า “ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก คนเลี้ยงโคของท่านคนหนึ่ง ต้อนฝูงโคเข้าป่า ในสมัยที่ภูมิภาคแออัดไปด้วยข้าวกล้า ตั้งคอกเลี้ยงโคอยู่ในป่านั้น และนำโครสมาให้ท่านเศรษฐีตามเวลา ก็แลในที่ไม่ห่างคนเลี้ยงโคนั้น สีหะยึดเอาเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อพวกโคซูบผอมไป เพราะหวาดหวั่นต่อสีหะ น้ำนมก็ใส


         อยู่มาวันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนำเอานมมาให้ ท่านเศรษฐีจึงถามว่า สหายโคบาลเป็นอย่างไรหรือ น้ำนมจึงได้ใส เขาแจ้งเหตุนั้น ท่านเศรษฐีถามว่า สหาย ก็ความปฏิพัทธ์ในอะไรๆ ของสีหะนั้นมีบ้างไหม  เขาตอบว่า มีครับนาย มันติดพันแม่เนื้อตัวหนึ่ง

         ท่านเศรษฐีถามว่า แกสามารถจะจับแม่เนื้อนั้นได้ไหม เขาตอบว่า พอจะทำได้ครับนาย ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงจับมันให้ได้ เอายาพิษย้อมขนที่ตัว ตั้งแต่หน้าผากของมัน ขึ้นไปหลายๆ ครั้ง ทำให้แห้ง กักไว้สองสามวัน ค่อยปล่อยแม่เนื้อนั้นไป สีหะนั้นจักเลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หา ถึงความสิ้นชีวิตเป็นแน่ เจ้าจงเอาหนังเล็บเขี้ยวและเนื้อของมันมาให้ แล้วมอบยาพิษอย่างแรงให้ส่งตัวไป คนเลี้ยงโควางข่ายจับแม่เนื้อนั้นได้ด้วยอุบายแล้ว ได้กระทำตามสั่ง สีหะเห็นแม่เนื้อนั้นแล้ว เลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หาอย่างรุนแรง ถึงความสิ้นชีวิต  ฝ่ายคนเลี้ยงโคก็เอาหนังเป็นต้น ไปสู่สำนักพระโพธิสัตว์



         พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้นแล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าเสน่หาในพวกอื่นไม่ควรกระทำ สีหะผู้เป็นมฤคราช ถึงจะสมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ก็เพราะอาศัยความติดพันด้วยอำนาจกิเลส เลียสรีระของแม่เนื้อ ทำการบริโภคยาพิษ ถึงสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน จึงกล่าวคาถาว่า “บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อฉะนั้น”


         พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทที่มาประชุมกันด้วยประการฉะนี้ ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า มหาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล



         ชาดกเรื่องนี้เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่บำเพ็ญบารมีในกำเนิดแห่งเศรษฐี
เป็นสัตว์ผู้จะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปหรือพระโพธิสัตว์


  
คนที่ไม่เคยรู้จักไม่คุ้นเคยต้องคอยระวังให้มาก
บางครั้งเข้ามาตีสนิทอ้างว่ารู้จักกับญาติคนนั้นคนนี้
จากนั้นก็เริ่มวางแผนในการหลอกลวง
ถ้อยคำของคนลวงมักจะเป็นเหมือนคำพูด
ที่เคลือบด้วยน้ำตาลอ่อนหวานน่าเชื่อถือ
คนจะหลอกคนย่อมหาเหตุผลมาล่อลวงจนได้
แม้คนที่คุ้นเคยก็ไม่ควรไว้วางใจจนเกินไป
เว้นระยะห่างไว้เพื่อการพิจารณาก่อนตัดสินใจ
โบราณว่าอย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน เดี๋ยวจะจนใจตัว  
เพราะหากพลาดพลั้งมาอาจจะไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีกเลย

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
09/03/56
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-4-30 14:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อยู่ในสังคมมนุษย์






สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่มนุษย์เสมอไป


ใจที่เห็นแก่ตัวของเรานั่นแหละ


คือสิ่งที่ควรระมัดระวังให้มาก





เมื่อการกระทำต้องเกี่ยวพันกับผู้อื่น





ไม่ต้องเอาใครไปใส่ใจใคร


อย่าเอาเปรียบเขาก็พอ





เมื่อมิได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของตนเอง





แต่ก็ต้องระมัดระวังสวัสดิภาพของผู้อื่น


เราไม่โกรธ เราไม่กลัว เราไม่เจ็บ


แต่ผู้อื่นอาจจะโกรธ อาจจะเจ็บ และอาจจะกลัว





ถึงคราวที่จำเป็นต้องกระทำแล้ว





ก็ลงมือกระทำด้วยสติปัญญาที่ถูกต้อง
ที่ชอบ ที่ควร..เถิด


ไม่ต้องมัวไปคำนึงถึงใจเรา ใจเขา


หรือแม้แต่ใจใครทั้งสิ้น



16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-29 09:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้