ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 9201
ตอบกลับ: 25
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดประจำรัชการ

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-11-19 15:11

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
  พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๑

- พระพุทธเทวปฏิมากร -


วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย
   พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวาอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน
   มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑
   ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"
   ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตกคือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
   แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ
   เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวง ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น


ที่มา http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watpho.php


26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-20 12:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดสวย ศิลปะก็งดงาม
อนุโมทนาครับ
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพระราม 9
ยังไม่เคยไปเลย
ขอบคุณครับ
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
  วัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ

วัดประจำรัชการที่ ๙

[size=15.555556297302246px]
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ด้วยวิธีเติมอากาศที่บึงพระราม ๙ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และปรับปรุงสภาพพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ ดำเนินการจัดตั้งวัด เพื่อเป็นพุทธสถานในการประกอบกิจของสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
ต่อมาในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนาน ๕-๒-๕๔ ไร่ เพื่อดำเนินการสร้างวัดในนามมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้จัดสร้างวัด ซึ่งมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส
การสร้างวัด
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างวัดเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชน ที่ตั้งอยู่บริเวณไกล้เคียง และเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในการเผยแผ่ศีลธรรม และจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน
เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญนาภิเษก และวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงประกอบพิธีฝังลูกนิมิต ตามประเพณี
   วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากวัดอื่น เนื่องจากเป็นวัดขนาดเล็กใช้งบประมาณที่ประหยัด และเรียบง่ายที่สุด ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ สระน้ำ กุฎีเจ้าอาวาส กุฎีพระจำนวน ๕ หลัง โรงครัว และอาคารประกอบที่จำเป็น อาคารทุกหลังจะใช้สีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด สวยงาม ส่วนอุโบสถจะเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยโบราณผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ
- พระอุโบสถ -
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานอนุญาตให้ พระราชสุมนต์มุนี (อภิพล อภิพโล) เลขานุการในพระองค์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นองค์ปฐมแห่งอาราม ตั้งแต่วันอาสาฬหบูชา ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา พร้อมด้วยคณะสงฆ์ภิกษุสามเณรจำนวนหนึ่ง
พระประธาน
   พระประธานที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้รับการออกแบบจากเรืออากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ซึ่งเป็นสถาปนิกของกรมศิลปากร และได้ทำการออกแบบทั้งสิ้น ๗ แบบ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน จากนั้นมูลนิธิชัยพัฒนานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทอดพระเนตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบ พระพุทธรูปปางมารวิชัย(ปางชนะมาร) โดยได้ทรงแก้ไขแบบอีกเล็กน้อยด้วยพระองค์เอง และคณะอนุกรรมการการก่อสร้างฯ ได้มอบให้อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน คณบดีคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ปั้นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในครั้งนี้
   พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดความสูงจากทับเสร็จ (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพุทธสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ ฐานชุกชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลืองผสมทอง ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอุดมคติและเหมือนจริง ด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ที่เหมือนจริง แต่มีพระเกศาเป็นอุดมคติ ซึ่งมีลักษณะที่สวยงาม กลมกลืน และปราณีตยิ่งนัก


ข้อมูลวัด
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ซอยพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑๙
ถนนพระราม ๙ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ :วัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, พระอารามหลวง
สังกัดคณะสงฆ์ :ธรรมยุต
เว็บไซต์วัด :http://www.chaipat.or.th/n_stage/rama9/rama9t.php
http://www.rama9temple.com/
แผนที่วัด :


ที่มา http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watphraram9.php

21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระศรีศากยมุนี (พระประธานในพระวิหารหลวง)

   พระศรีศากยมุนีเป็นพระประธาน ในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่กว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ที่ปรากฏในประเทศไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงกล่าวอ้างถึงว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.๑๘๙๐-๑๙๑๙ ปีครองราชย์) แห่งสุโขทัย โปรดให้หล่อ และทำการฉลองในปีพุทธศักราช ๑๙๐๔

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ (พระประธานในพระอุโบสถ)

   พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม หล่อขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ปางมารวิชัย ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูงปั้นลายปิดทองคำเปลว ประดับกระจกสี เบื้องหน้าพระพุทตรีโลกเชษฐ์ ประดิษฐานพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดาที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร

พระพุทธเสฏฐมุนี (พระประธานในศาลาการเปรียญ)

   พระพุทธเสฏฐมุนี เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นโดยใช้กลักฝิ่นโลหะ ที่ทำการปราบปรามยึดมาจากหัวเมืองต่างๆ มาหลอมหล่อเป็นพระพุทธรูป

[size=15.555556297302246px]
- บริเวณวัด -


พระวิสุทธาธิบดี ( วีระ ภทฺทจารี ปธ.๙ )

- เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- เจ้าคณะภาค ๔

ข้อมูลวัด
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
แขวงราชบพิตร เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ :พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย
สังกัดคณะสงฆ์ :มหานิกาย
เว็บไซต์วัด : http://www.watsuthat.thai2learn.com/index.html
แผนที่วัด :
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :
เจ้าอาวาส : พระวิสุทธาธิบดี ( วีระ ภทฺทจารี ปธ. ๙ )
ที่มา http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watsutat.php
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยรัชกาลที่ ๕
ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ สมัยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นเจ้าอาวาส ๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) จัดการซ่อมพระวิหารพระศรีศากยมุนีเป็นครั้งใหญ่ ได้ลงมือซ่อม เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๕๗ ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๓๘) มีรายการที่ได้ซ่อมทำไปแล้ว แจ้งต่อไปนี้
     ๑. หลังคาพระวิหาร ตัวไม้และกระเบื้องชำรุดมาก ได้รื้อออกเปลี่ยนเชิงกลอนใหม่ต่ออกไก่ต่อแปหัวเสา ต่อขื่อใหญ่ในปธานและซ่อมกลอนระแนง แล้วมุงกระเบื้องซึ่งรื้อออก ที่ยังดีใช้ได้แต่ไม่พอ ได้รื้อกระเบื้องที่เฉลียงไปมุงเพิ่มเติม แล้วได้ถือปูน อกไก่ และเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ ที่หน้าบัน ได้ซ่อมเทวรูปและกระจัง แล้วลงรักปิดทองประดับกระจกที่ตัวช้างเอราวรรณและรูปพระอินทร์แล้วเสร็จ ที่หน้าบันมุขเด็จและหน้าบันเฉลียงได้ซ่อมกระจังกับม่านสาหร่าย ลงรักปิดทองแล้วทั้งสองหน้า
     ๒. หลังคาเฉลียงในปธาน ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ได้เปลี่ยนเชิงกลอนใหม่แล เปลี่ยนแปจันทัน แลต่อคอสอง เปลี่ยนกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
     ๓. หลังคามุขลดในปธาน แลเฉลียงมุขลด ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นต่ำ เปลี่ยนเชิงกลอน แปหัวเสา จันทันกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้า เปลี่ยนกรอบแว่น มุงกระเบื้องใหม่ แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ทั้ง ๔ ด้าน
     ๔. มุขเด็จในปธานแลเฉลียงมุขเด็จ ได้เปลี่ยนเชิงกลอน ไม้ทับหลังเชิงกลอนแปหัวเสา แปลาน จันทัน กลอน ระแนงเปลี่ยนกรอบแว่น เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
     ๕. มุขลดมุขเด็จและเฉลียง เปลี่ยนเชิงกลอน กลอน ระแนง แปลาน จันทันไม้ทับ หลังเชิงกลอน เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
     ๖. ผนังพระวิหารภายนอก เสาเฉลียงและเสามุขเด็จ ได้ซ่อมปูนทรายแลถือปูนผิวใหม่ ภาพชำรุดเป็นแห่งๆ ยังไม่ได้ซ่อม
     ๗. ซุ้มหน้าต่าง ๑๐ ซุ้ม ชำรุดมาก ได้ทำ ๑ ซุ้ม นอกนั้นชำรุดเล็กๆ น้อยเป็นแต่ซ่อมตัวนาคหางหงส์และกระจังแล้วลงรักปิดทอง บานหน้าต่างตัวไม้ยังดีอยู่เป็นแต่ที่ปิดทองไว้เดิมลบเลือนไป ได้ลงรักปิดทองใหม่ตามลวดลาย แต่พื้นยังหาได้ลงรักปิดทองไม่
     ๘. ซุ้มประตู ๖ ซุ้ม ได้ซ่อมแลลงรักปิดทองทาสีแล้ว ๓ ซุ้ม ด้านหลังยังไม่ได้ซ่อมค้างอยู่ ๓ ซุ้ม
     ๙. บัวปลายเสาติดผนังพระวิหาร ๔ ต้น บัวปลายเสามุขเด็จ ๘ ต้น ได้ลงรักปิดทองและประดับกระจกเหมือนอย่างเดิม แต่บัวปลายเสาที่เสารายมุขเด็จกับเสาเฉลียงพระวิหาร ได้ซ่อมแลทาสีเหลืองเท่านั้น หาได้ลงรักปิดทองประดับกระจกเหมือนของเก่าไม่
     ๑๐. พื้นในองค์พระวิหารเดิมปูกระเบื้องหน้างัว ได้เปลี่ยนใหม่ปูด้วยศิลาอ่อน ปูแล้วไปประมาณ ๙ ส่วนใน ๑๐ ส่วน ยังค้างอยู่ข้างพระประธานด้านตะวันออก
     ๑๑. กำแพงแก้วได้ซ่อมปูนทรายแลถือปูนผิวทั้ง ๒ ชั้น
     ๑๒. วิหารทิศตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนเชิงกลอนใหม่ แลเฉลียงวิหารทิศเปลี่ยนแปลานเชิงกลอนกับซ่อมฝ้าแลซ่อมกลอนระแนง มุขลดวิหารทิศเปลี่ยนเชิงกลอน เฉลียงมุขลดเปลี่ยนเชิงกลอนแลช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ แต่หน้าบันยังไม่ได้ปิดทอง ประดับกระจก วิหารทิศตะวันออกเฉียงใต้ซ่อมกลอนระแนง แลเปลี่ยนเชิงกลอน แลซ่อมฝ้ากลอนระแนง แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ใหม่ หน้าบันยังไม่ได้ลงรักปิดทองแลประดับกระจก วิหารทิศด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มุขลดแลเฉลียง เปลี่ยนเชิงกลอนแลซ่อมกลอนระแนงเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ใหม่ หน้าบันลงรักปิดทองได้หน้า ๑ ยังค้างอยู่หน้า ๑ วิหารทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมกลอนระแนง ที่มุขลดเปลี่ยนเชิงกลอน แลซ่อมกลอนระแนงเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา แลเปลี่ยนฝ้าใหม่ หน้าบันปิดทองแล้ว ๑ หน้า ยังค้างอยู่อีก ๑ หน้า
     ๑๓. ฝ้าเพดานหลังคาเฉลียงในปธาน หลังคามุขลด ในปธานแลเฉลียง มุขเด็จในปธานแลเฉลียงมุขลดมุขเด็จแลเฉลียงที่เปลี่ยนตัวไม้ใหม่บ้างเหล่านี้ไม่ได้ลงรักปิดทองลายฉลุเหมือนของเดิมเป็นแต่ทาสีแดงเท่านั้น
     ๑๔. บานประตูพระวิหารทั้งด้านหน้าด้านหลัง ๖ ประตูของเก่านั้นสลักเป็นลายเครือไม้ลงรักปิดทอง แต่ทองลบเลือนไปมาก ตัวไม้บานประตูแลลายสลักนั้นยังดีอยู่ ยังไม่ได้ลงรักปิดทอง
     ๑๕ . พระระเบียงด้านหน้า บางแห่งได้เปลี่ยนเชิงกลอน แปลานจันทันกระเบื้อง แลได้ซ่อมปูนทรายถือปูนผิวบนอกไก่ แลที่ซุ้มประตูได้เปลี่ยน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกใหม่ แล้วไปด้านหนึ่ง ค้างอยู่ ๑ ด้าน

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยรัชกาลที่ ๔
   ลุถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างเพิ่มเติมต่อมาเมื่อจุลศักราช ๑๒๑๕ (พ.ศ. ๒๓๙๖) ทรงดำริว่า “ วัดสุทัศน์นั้น พระศาสดา ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยไปเชิญเอามาแต่วัดบางอ้อยช้างในกรุงเทพฯ มาไว้ที่วัดประดู่ ทรงเห็นว่า พระศาสดา พระชินราช พระชินสีห์ ท่านอยู่วัดเดียวกันจะให้ไปอยู่วัดในเรือกสวนนั้นไม่สมควร จึงให้ไปเชิญมาไว้หน้าพระอุโบสถต่อพระประธานใหญ่ออกมา ภายหลังวิหารวัดบวรนิเวศแล้ว ก็ให้เชิญพระศาสดาไปไว้แล้วให้สร้างพระพุทธรูปใช้ใหม่องค์ ๑ พระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์นั่งฟังธรรมเทศนา ประดิษฐานแทนไว้ในพระอุโบสถแล้วถวายนามพระประธานในวิหารว่า “ พระพุทธศรีศากยมุนี ” พระประธานในพระอุโบสถถวายพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ ๑.
๑. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.๔ ฉบับสำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้า ๗๗๕-๗๗๖ (วิจิตร)
โปรดให้เชิญพระพุทธศาสดามาวัดสุทัศน์
   ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิการ เสนาบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระพุทธศาสดาหน้าตักกว้าง ๖ ศอก อยู่วัดประดู่ จะชักลงเรือสำปั้นแห่มาท่าพระ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า จะได้เชิญพระลงเรือ แห่มาแต่วัดประดู่มาประทับอยู่ท่าพระสมโภชคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน ฯ ๕ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า จะได้ชักขึ้นจากท่าแห่ไปทางประตูวิเศษไชยศรีเลี้ยวป้อมเผด็จดัษกรถนนโรงม้า ตรงไปถนนเสาชิงช้าไปไว้หน้ามุขพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ให้กรมนครบาลป่าวประกาศ ประชาราษฎรไทย จีน ตั้งเครื่องบูชาตามบก เรือ แพ แล้วให้ไล่ โรงร้าน เรือ แพ อย่าให้กีดขวางทางที่จะแห่พระพุทธรูปได้เป็นอันขาด อนึ่ง ให้พันจันทนุมาตย์เกณฑ์เรือกราด เรือราชการยาว ๙ ถึง ๑๐ วา ๓๐ ลำ มีธงมังกรปักจำลองหน้าท้ายลำละ ๒ คัน ไปแห่ชักพระพุทธรูป แต่วัดประดู่มาจนถึงท่าประตูท่าพระ ให้มีเชือกชักจูงทุกลำ แล้วให้เกณฑ์พิณพาทย์ ๔ สำรับลงเรือพระพุทธรูป ๔ มุมเรือ ให้ไปลงเรือพระพุทธรูปที่วัดประดู่แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งให้ทันกำหนด แล้วให้บอกบุญแก่กันกับนักเลงเพลง ปรบไก่ ดอกสร้อย สักวา ตามประดาที่มีอยู่ในกรุงเทพฯ ให้มาเล่นสมโภชพระพุทธรูปที่ท่าพระ แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาค่ำ คืนหนึ่ง อนึ่งให้แผ่พระราชกุศลไปในพระบวรราชวงศ์และให้จัดเรือญวน แจว ๑๐ ลำ ให้มีนาย เรือ เชือกชัก ไปจูงเรือพระพุทธรูปที่วัดประดู่มาจนถึงท่าพระ ให้นุ่งห่มตามประสา แล้วให้มีพิณพาทย์ จีน ไทย ลงเรือตีประโคมให้ครึกครื้น อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจ่ายโคมแก้วให้ ๔ ตำรวจ ๑๖ ใบ ไปแขวนเรื่อยมาใส่พระพุทธรูปให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ ๔ ตำรวจ ตามโคมแก้ว ๑๖ ใบให้พอคืนหนึ่ง อนึ่งให้กรมท่าพระจัดพิณพาทย์ ๔ สำรับไปแห่พระพุทธรูปแต่วัดประดู่ แต่วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าให้หาเรือไปตามชอบใจ อนึ่งให้สนมพลเรือนรับพวงดอกไม้ต่อท่านข้างในไปแขวนเพดาน พระพุทธรูปให้งามดี ๓๐ พวง ให้เร่งไปแขวนแต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งให้ไปแขวนที่ท่าวัดประดู่ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์เลขไพร่หลวง ๓๐๐ คน ให้มีนายหมวดกำกับดูแล แล้วให้ส่งต่อพระอินทรเทพ แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาบ่าย อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษจ่ายผ้าขาวดิบให้ ๔ ตำรวจ ทำเพดานระบายให้พอเรือ ประมาณพระพุทธรูปให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
สร้างศาลาโรงธรรม
ลุจุลศักราช ๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกศาลาโรงธรรม มีหมายสั่งว่า ด้วยจะหมื่นจงขวารับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า กำหนดฤกษ์จะได้ยกศาลาโรงธรรมที่วัดสุทัศนเทพวราราม ณ วัน ฯ ๑๒ ๙ ค่ำ เพลาเช้าย่ำรุ่ง ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลข ๓๐ คนกับนายการแต่ ณ วัน ฯ ๑๑ ๙ ค่ำ เพลาบ่าย
หล่อพระพุทธเสฏฐมุนี
พระพุทธรูปประธานในการเปรียญนั้น หล่อในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีกุนเอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ (พ.ศ. ๒๓๘๒) ด้วยกลักฝิ่นที่จับมาเผาเสีย หน้าตัก ๔ ศอก-คืบ-นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถวายพระนามว่า พระพุทธเสฏฐมุนีฯ
ได้ความเพิ่มเติมว่า “ ทรงปราบเรียบตั้งแต่ภาคกลางลงไปจนภาคใต้ คราวที่ใหญ่ที่สุดปราบตั้งแต่ปราณจนถึงนครฯ ฟากหนึ่ง ตะกั่วป่าถึงถลางอีกฟากหนึ่ง ได้ฝิ่นดิบเข้ามา ๓,๗๐๐ หาบเศษ ฝิ่นสุก ๒ หาบ โปรดให้เผาที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ครั้งนั้นพวกขี้ยาได้กลิ่นคงแทบขาดใจตาย กลักฝิ่นเอามาหล่อพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์ฯ ” ๑.
๑. จาก- แผ่นดินที่สาม ของ นาย สมภพ จันทรประภา ฉบับพิมพ์ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ หน้า ๒๓ (วิจิตร)
ฉลองศาลาดิน
ลุจุลศักราช ๑๒๒๐ (พ.ศ. ๒๔๐๑) ปีมะเมียสัมฤทธิศก โปรดฯ ให้จัดการฉลองศาลาดินริมวัดสุทัศน์ มีกำหนดว่า ณ วัน ฯ ๑๐ ๔ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก สั่งให้ชาวพระคลังอากาศทำโคมนาฬิกา ๑๐ โคม เสา ๖ ทำให้แล้วแต่วัน ฯ ๑ ๔ ค่ำ
ปิดทองบานหน้าต่างพระวิหาร
ลุถึงปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ (พ.ศ. ๒๔๐๒) โปรดให้ปิดทองบานหน้าต่างพระวิหาร มีใจความในหมายสั่งว่า ด้วยจะหมื่นจงขวารับพระราชวังบวรกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติใส่เกล้าฯ สั่งว่า ช่างทำหน้าต่างพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามเสร็จแล้วยังหาได้ปิดทองนั้นไม่ ให้เจ้าพนักงานคลังทองจ่ายทองกับรักไปให้ เช็ดรักปิดทองให้พอให้ปิดแต่วัน ฯ ๑๐ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้านั้น ให้ แวง วัง คลัง นา ข้าราชการไปกำกับดูแล อย่าให้ของหลวงขาดหายไป ให้ไปดูแลทุกวันจนกว่าจะเสร็จ
การปิดทองบานหน้าต่างพระวิหารนั้น ปิดทองที่ทรงโปรดให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ บานหน้าต่างพระวิหารเดิมที่ทรงสร้างในรัชกาลที่ ๓ แกะสลักเป็นรูปแก้วชิงดวงตลอดทั้งบาน ปิดทองประดับกระจก มาในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้ปั้นลายด้วยปูนน้ำมันเป็นรูปเครือต้นไม้ และรูปสัตว์ทับลงบนลายของเดิม แต่หาปิดทับลายเดิมจนมิดไม่ แล้วจึงให้ปิดทองรูปลายที่ปั้นใหม่นั้น
เชิญพระศาสดาไปสถิตวัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๖ (พ.ศ. ๒๔๐๗) ปีชวด โปรดให้ชักพระพุทธรูปพระศาสดา ๑ ไปวัดบวรนิเวศได้ความตามหมายสั่งว่า ด้วยพระบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระสงฆ์ ๑๐ รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ณ วัน ฯ ๗ ๕ ค่ำ เพลาบ่าย ครั้น ณ วัน ฯ ๘ ๕ ค่ำ เพลาเช้า ฉันแล้วจะได้ชักพระพุทธรูปไปวัดบวรนิเวศ (ต่อนั้นไปก็สั่งจัดการสมโภชที่วัดบวรนิเวศ)
พระพุทธศาสดา ได้มาประทับอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ๑๐ ปี ๖ เดือน แล้วเชิญไปวัดบวรนิเวศฯ จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปและพระอสีติมหาสาวกขึ้นแทนไว้ในพระอุโบสถ ปั้นด้วยปูนระบายสี มิได้ลงรักปิดทอง


18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต่อมา ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ โปรดให้แห่พระบรมธาตุไปบรรจุพระประธานในพระอุโบสถมีข้อความในหมายเหตุว่าด้วยพระยารักษามณเฑียร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ เวลาเช้าจะได้แห่พระบรมธาตุไปบรรจุพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศน์นั้น ให้เกณฑ์ทูลละอองเป็นคู่เคียงพระบรมธาตุ พระเทพรักษ์รณฤทธิ์ ๑ พระมหาสมบัติ ๑ ให้นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยลำนอกเท้าให้เร่งมาเตรียมคู่เคียงให้ทันกำหนด
อีกฉบับหนึ่ง สั่งว่าจะเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารค ทรงปิดทองพระประธานวัดสุทัศน์ ณ วันเดือน ๔ แรม ๙, ๑๐ ค่ำ เพลาบ่ายเพลาเช้าทั้ง ๒ เพลา เกณฑ์ข้าราชการตั้งกองรายรับทางเสด็จ ตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีจนถึงวัดสุทัศน์ฯ เป็นจำนวนคน ๒๘๗ คนนั้น ให้เจ้าพนักงานคลังราชการจ่ายไต้ ๒๘๗ ไปๆ คอยจ่ายให้กับผู้ต้องเกณฑ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ เพลาบ่าย กองพระยากำแหง กองหลวงจตุรงค์โยธา กองพระราชพิทไภย ๒๙ กองหลวงพลภาพ กองหลวงปราบพลแสน ๓๐ กองหลวงวิจารย์สารี หลวงโภชยากร ๔๐ กองหลวงสุรินทรเดชหลวงเทพเดช ๔๐ กองหลวงเทเพนทร์ หลวงสรรพเพธ ๔๐ กองหลวง ณรายฤทธาขุนวิจิตรจอมราช ๓๐ กับให้ผู้ต้องเกณฑ์มารับเอาไต้ต่อชาวพระคลังราชการที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ เพลาบ่าย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
อีกฉบับหนึ่งว่า ด้วยพระยารักษามณเฑียรรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า จะเสด็จพระราชดำเนินไปวัดสุทัศน์ฯ ณ วัน ฯ๔ ค่ำ เพลาบ่าย เสด็จทางพระวิหารออกทางพระวิหาร แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าเสด็จทางถนนตีทอง ออกถนนตีทองนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์จุกช่องถือคบเพลิงฟังการให้พร้อม ให้คลังราชการเอาเสื่อลวดไปเตรียมรับเสด็จให้พร้อมตามสั่งรับ
อาราธนาเจ้าอาวาสองค์แรก
   ต่อมาในปีเถาะจุลศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ทรงสถาปนาสร้างกุฎีสงฆ์เสร็จแล้ว ถึง ณ วัน ๔ฯ ๑๑ ๖ ค่ำ โปรดให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเกาะแก้วลังการาม (วัดสัมพันธวงศ์) มาครองวัดสุทัศน์เป็นองค์แรก ภายหลังทรงเลื่อนขึ้นเป็นพระพิมลธรรม และเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
๑. อู่ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
ยกบานประตูพระอุโบสถ
   ลุจุลศักราช ๑๒๐๖ (พ.ศ. ๒๓๘๗) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบานประตูพระอุโบสถ มีข้อความในจดหมายกระทรวงวังว่าด้วยหลวงนายฤทธิ์มหาดเล็ก รับราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่ากำหนดฤกษ์จะได้ยกบานประตูพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ณ วัน ๘ฯ ๑๔ ๒ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงนั้น ให้ชาวพนักงานคลังฝ่ายซ้ายจัดขันล้างหน้า ๑ ใบ ชาวพระคลังวิเศษจัดผ้าขาวกว้างคงปัก ยาว ๓ แขนผืน ๑ ไปส่งให้กับผู้รับสั่งสำหรับจะได้เป็นกำนันช่าง อนึ่งให้เจ้าพนักงานพิณพาทย์สำรับ ๑ ฆ้องชัยสำรับ ๑ แตรสำรับ ๑ สังข์สำรับ ๑ กลองแปดสำรับ ๑ ให้ไปเตรียมคอยประโคมให้ทันฤกษ์ตามรับสั่ง
หล่อพระเจดีย์ – สร้างสัตตมหาสถาน
   ครั้นต่อมา ณ วัน ฯ ๕ ๑๑ ค่ำ โปรดให้ช่างหล่อ หล่อพระเจดีย์หลังซุ้มเสมาวัดสุทัศนเทพวราราม ให้กรมนาจ่ายข้าวสารให้แก่วิเศษหุงเลี้ยงช่างหล่อ ๒๐ ทะนาน เพลาเช้าเหมือนอย่างทุกครั้ง ครั้นมาเมื่อ ณ วัน ๑๒ ฯ๑๒ ค่ำ โปรดให้ช่างหล่อๆ แผ่นหน้าโขน หลังซุ้มเสมาและระฆังฝรั่งใส่วัดสุทัศน์ฯ (การหล่อพระเจดีย์และแผ่นหน้าโขนหลังซุ้มเสมานั้นหล่อด้วยดีบุกยังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้) และโปรดให้สร้างสัตตมหาสถานเจดีย์ ๗ สถานก่อเป็นแท่นด้วยอิฐประดับด้วยศิลาแกะสลักสัตตมหาสถานที่สร้างนี้ ปลูกต้นไม้โพธิ์ ไม้ไทร ไม้จิก ไม้เกต และรูปเรือนแก้ว เป็นรูปเก๋งจีน ทำด้วยศิลาล้วน กับทรงสร้างพระพุทธรูปปางประทับ ในสัตตมหาสถานหล่อด้วยทองแดงขัดเกลี้ยง (ด้วยศิลาเนื้อละเอียด) ปางมารวิชัยนั่งใต้ไม้โพธิ์ ๑ ปางยืนถวายเนตรประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา ๑ ปางจงกรมแก้วพระศิลา ๑ ปางทรงพิจารณาธรรมนั่งสมาธิ ๑ ปางทรงประทับใต้ไม้ไทรสมาธิ ๑ ปางนาคปรก ๑ ปางทรงรับผลสมอ บาตร ข้าวสัตตุ นั่งสมาธิใต้ต้นไทร กับโปรดให้หล่อรูปพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ด้วยทองแดงขัดเกลี้ยง
หล่อรูปม้า
   ลุจุลศักราช ๑๒๐๘ (พ.ศ. ๒๓๘๙) ณ วัน ฯ ๖ ๓ ค่ำ โปรดให้หล่อรูปม้า ๒ ตัว ใส่ที่พระวิหาร ต่อมา ณ วัน ๗ฯ ๑๒ ค่ำ ในปีนั้น โปรดให้หล่อใหม่เพิ่มเติมอีก
สมโภชพระอาราม
   ลุจุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐) ในศกนี้โปรดให้มีการสมโภช มีข้อความในหมายว่า ด้วยพระยาบำเรอรักษ์รับพระราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า วันวิสาขบูชาให้เจ้าต่างกรม และหากรมมิได้ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ออกไปปฏิบัติเลี้ยงพระสงฆ์วัดสุทัศน์ จะให้มีละครดอกไม้เพลิงในการสมโภชฉลองทั้ง ๓ วัน ครั้น ณ วัน ฯ ๑๓ ๖ ค่ำ เพลาบ่าย พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ณ วัน ฯ ๑๔ ๖ ค่ำ เพลาเช้าพระสงฆ์รับพระราชทานฉัน ณ วัน ฯ ๑๕ ๖ ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชา มีการเวียนเทียนสมโภชบูชาฯ
ถ้าจะลำดับการสร้างวัดสุทัศน์ฯ ในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สถาปนา ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๙๖ (พ.ศ. ๒๓๗๗) จนถึงจุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐) ซึ่งเป็นปีสมโภชรวม ๑๓ ปี ถ้าจะลำดับการสร้างตั้งแต่ขุดรากก่อฤกษ์พระวิหารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ จุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐) อันเป็นปีสมโภชรวม ๔๐ ปี


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้