ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 9433
ตอบกลับ: 53
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ~

[คัดลอกลิงก์]
~ มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ~

มงคล
คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่

๑. การไม่คบคนพาล
        
๒. การคบบัญฑิต
        
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
        
๕. เคยทำบุญมาก่อน
        
๖. การตั้งตนชอบ

๗. ความเป็นพหูสูต
        
๘. การรอบรู้ในศิลปะ
        
๙. มีวินัยที่ดี

๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
        
๑๑.การบำรุงบิดามารดา
        
๑๒.การสงเคราะห์บุตร

๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
        
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
        
๑๕.การให้ทาน

๑๖.การประพฤติธรรม
        
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ
        
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

๑๙.ละเว้นจากบาป
        
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
        
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

๒๒.มีความเคารพ
        
๒๓.มีความถ่อมตน
        
๒๔.มีความสันโดษ

๒๕.มีความกตัญญู
        
๒๖.การฟังธรรมตามกาล
        
๒๗.มีความอดทน

๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
        
๒๙.การได้เห็นสมณะ
        
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

๓๑.การบำเพ็ญตบะ
        
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
        
๓๓.การเห็นอริยสัจ

๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
        
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
        
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก

๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
        
๓๘.มีจิตเกษม
  ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากคร้าบ
52#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2013-11-18 16:10
ขอใจพี่กิต ครับที่มาช่วยต่อจะได้อ่านจบไว้ไว้ ...

จบแล้วครับ ขอบคุณครับ
ยอดเยี่ยมเลยครับ
50#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓๘.มีจิตเกษม

๏ จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร.


เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ ๔ ประการคือ

๑.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่ากามคุณซึ่งประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส

๒.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้ หรือคงอยู่ตลอดไป

๓.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ โดยให้ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว

๔.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง
49#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร

    -โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย

    -โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง

    -ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด

๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)

    -ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)

    -การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)

    -ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)

    -การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)

    -ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)

    -ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)

    -ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ

    ๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า

    ๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว

    ๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า
48#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

๏ หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม.


กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ

๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)

    -ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)

    -ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)

    -ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)

    -ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)

    -ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)

    -ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)
47#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓๖.มีจิตไม่โศกเศร้า

๏ คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง.


ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ

    ๑.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทองด้วย

    ๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่

การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้

    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา

    ๒.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา

    ๓.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น

    ๔.คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น
46#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-18 16:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

๏ ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ.


คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี ๔ ประการคือ

    ๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น

    ๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี

    ๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

    ๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย

การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ

    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ

    ๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้