ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7692
ตอบกลับ: 21
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่บุญมี โชติปาโล พระดีศรีอุบล

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย majoy เมื่อ 2014-12-3 23:08

หลวงปู่บุญมี โชติปาโล พระดีศรีอุบล

เครดิตภาพและประวัติจาก www.dhammajak.net

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
สาธุครับ
“ดีชั่วก็ตัวเรา จงเอาอยู่ที่ใจ
สวรรค์อยู่ที่ใจ อย่าสงสัย เอาใจเถิด
เดินทางเดียวกัน อย่าเหยียบรอยกัน


ทำสมาธิให้ภาวนา ตาย ตาย ตาย ทุกลมหายใจ”


เก็บไว้ที่ปลอดภัยแล้วครับ...
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2015-1-7 12:33
กราบหลวงปู่ครับ...
ได้ผ้ายันต์หลวงปู่หลงไปชัยนาท
มาผ ...

โชว์หน่อยครับพี่หมอ
กราบหลวงปู่ครับ...
ได้ผ้ายันต์หลวงปู่หลงไปชัยนาท
มาผืนนึงหลายปีแล้ว
หลักคําสอนเรื่องมรณานุสติ การสอนเรื่องมรณานุสตินี้ เป็นการย้ำเตือนให้ตระหนักถึงชีวิตที่มีคุณค่า ไม่ควรปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ และไม่ให้เกิดความกลัวตายเพราะว่าไม่มีใครหนีรอดได้ ดังผญาอีสานดังนี้

“ความตายนี้แขวนคอทุกบาดหย่าง ไผซิถางแหกฟ้าหนีได้บ่ฮ่อนมี ทําดีไว้ตายไปซิได้เพิ่ง ทําชั่วไว้ตายแล้วก็ซ่อยเวร บ่ฮู้จักท่อนี้อย่าเกิดเป็นคน ผู้ใดจําได้แล้วพ้นทุกข์ไปสู่ความสุข”

หลวงปู่บุญมีท่านได้ย้ำเป็นประจำว่า ชีวิตมนุษย์นี้สั้นนัก เมื่อมีเวลาให้กระทําแต่ความดี ความตายนี้อยู่กับเราทุกย่างก้าว ไม่มีใครที่จะหนีความตายได้ มีแต่คุณงามความดีเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของเราเมื่อตายไป ดังผญาอีสานที่ท่านสอนประจําว่า “หาเรือไว้หลายลำแฮท่า หม่าข่าวไว้หลายมื้อแขกสิโฮม”

หลวงปู่บุญมีท่านได้อธิบายว่า เปรียบเหมือนการประพฤติปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นหลัง หาเรือไว้หลายลำแฮท่า หม่าข่าวไว้ ก็คือการกระทําคุณงามความดี สะสมคุณงามความดีอยู่ในศีลธรรม หลายมื้อแขกสิโฮม แขกก็คือลูกหลาน คนรุ่นหลัง คือในอนาคตเราจะได้พึ่งพาสิ่งที่เราได้ทําไว้ ก็คุณงามความดีที่ติดตัวของเรา
หลักคําสอนการครองเรือน ฆราวาสธรรม ๔ คือ ธรรมแก่การครองเรือน หลวงปู่บุญมีท่านเน้นย้ำในการครองเรือนของชาวบ้านญาติโยมผู้ฟังอย่างยิ่ง สําหรับผู้ที่ต้องการหลักธรรมในการปฏิบัติในระดับการดําเนินชีวิต ซึ่งท่านกล่าวถึงหลักฆราวาสธรรม ๔ ว่า ผู้ครองบ้านครองเรือนต้องมีธรรม ๔ ประการ คือ

ข้อ ๑ รักษาสัตย์ สัตย์คือความจริง ปฏิบัติตัวให้เป็นธรรม ตัวไม่เป็นธรรม มันสิมีประโยชน์หยัง

ข้อ ๒ รักษาธรรม ธรรมคือความดีความสงบเรียบร้อย

ข้อ ๓ ขันติคือความอดทน ไม่ทําตนวุ่นวาย

ข้อ ๔ จาคะคือไม่ถือตน ได้แก่ ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น

หลักคําสอนการปฏิบัติของพระสงฆ์ หลักคําสอนการปฏิบัติของพระสงฆ์นี้ หลวงปู่บุญมีท่านมักยกการเล่นคําเป็นการสะกิดใจให้คิดตาม ในลักษณะที่ไม่พึงปฏิบัติของพระสงฆ์ ดังนี้

“...พระกะตัวพระเหลืองซือๆ ติ ตัวธรรมตัววินัยบ่มี พระผ้าเหลืองเปลืองเข้าสุก พระไปหลบเล่น นอนเวนกะแม่นพระ พระเล่นพระเที่ยว พระบ่เหลียวเบิ่งฮีตเบิ่งคอง บ่แม่นพระ พระเหงานอน เบิ่งผู้สาว พระเหงานอนวากๆ พระคาบยอซองเลาะวัด นี้กะพระ จักพระล่ะเว้าให้ฟัง...” “...พระเล่น พระเที่ยว พระบ่เหลียวเบิ่งฮีตเบิ่งคอง พระหามองแต่ผู้สาว ผัดเข้าบ้านใด๋ หากินแต่น้ำชากาแฟ บ่ฮู้จักเจ้าของ จักอันใดเป็นพระ...โกนผม ห่มเหลือง นั่นตี้เรียกว่า พระ...” การผูกคําว่า “พระ” ซึ่งข้างต้นก็จะนําเสนอสิ่งที่พระสงฆ์ ไม่พึงปฏิบัติ ไม่ควรกระทํา

จากคําสอนนี้ หลวงปู่บุญมีท่านจะไม่ให้พระสงฆ์ภายในวัดสระประสานสุข ฉันน้ำชากาแฟโดยเด็ดขาด จะมีแต่น้ำร้อนที่ต้มยาฉันเท่านั้น นี้เป็นสิ่งยืนยันอย่างหนึ่งในการสอนโดยการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้กับพระภิกษุสงฆ์รุ่นหลัง ที่ได้รับฟังพระธรรมเทศนาของท่าน

และต่อไปหลวงปู่บุญมีท่านจะสั่งสอนในเรื่องที่ควรปฏิบัติของพระสงฆ์ โดยใช้การผูกคําว่า “พระ” ดังนี้ “...พระคือคนที่สละตนจากความเสียหาย สละตน...” คําว่า พระ แปลว่า ผู้ชนะ ชนะเปรต ชนะผี ชนะแม้กระทั่งของทานของชาวบ้าน...เราเป็นผู้ชนะจนชาวบ้านญาติโยมเขามีศรัทธา สิ่งที่ท่านปฏิบัติเป็นตัวอย่างและให้พระสงฆ์องค์อื่นๆ ปฏิบัติตาม คือ ถืออัฐบริขาร ๘ ธุดงค์วัตร ๑๓ กิจวัตร ๑๐ อันเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานของพระธรรมยุติกนิกาย หากพระสงฆ์ที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบ ท่านมักจะตําหนิว่าบวชอะไร บวชแล้วไม่รู้ประเพณีทํานองครองธรรม โบราณถึงได้ว่าขาดทุนเหมือนพระได้หวี...” เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าบวชมาแล้วก็หาประโยชน์ไม่ได้

หลักคําสอนให้สํารวมวาจา หลวงปู่บุญมีท่านสอนในเรื่องการพูด ท่านให้ความหมายของคําพูดว่า คําพูดเป็นคําที่ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ ถ้าพูดให้เสียหายก็เสียหายที่สุด ท่านเรียกคําพูดที่มีคุณค่าว่า คําพูดเป็นเอก คําว่าเอกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นคําเลิศประเสริฐ พูดออกไปแล้วมีค่า เป็นสิ่งที่หาเปรียบเทียบไม่ได้ ไม่ใช่คําพูดที่เสียหาย พูดเสียหายถือว่าเป็นคําเหลวไหล คําเป็นโทษเหลือที่สุด คําพูดเสียหายที่เกิดโทษก็คือการพูดในเรื่องของคนอื่น ดังที่ท่านชี้ให้เห็นโทษของการพูดเรื่องของคนอื่น เป็นผญาอีสานว่า “อย่างมงัวก้างกินกลอยท้องอึ่งหลึ่ง”

หลวงปู่บุญมีท่านได้อธิบายว่า “ก้าง” หมายถึง สิ่งที่ไม่มีประโยชน์นํามาพูดกัน สิ่งที่เป็นโทษนํามาพูดกัน สิ่งรักษาชีวิตไม่ได้นํามาคุยกัน มีแต่จะทําลายตัวเอง เหมือนกับ “กินกลอยท้องอึ่งหลึ่ง” ซึ่งกลอยนั้นเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ชาวอีสานนํามานึ่งกิน ถ้ากินมากไม่ดีเพราะว่ามันจะไปขยายตัวในท้อง คําว่า ท้องอึ่งหลึ่ง คือ กินกลอยมากจนทําให้แน่นท้อง เป็นอยู่ไม่สบาย

บางครั้งหลวงปู่บุญมีท่านจะย้ำโดยการตั้งคําถาม “แม่นบ่ล่ะ” เพื่อเป็นการย้ำหรือสะกิดใจให้เกิดความระลึก ซึ่งคําว่า ระลึก คือ การรู้และเข้าใจ แล้วนําไปปฏิบัติจริงในชีวิต และจะกล่าวถึงผู้ที่ระลึกได้แล้วว่า ผู้ใดฮู้เมื่อตัวแล้ว คําเหล่านี้ดีแล้ว พยายามเอามาใช้ให้มีราคามีคุณค่าแก่ตัว มีคุณค่าไปตลอดฮอดลูกฮอดหลาน

หลักคําสอนให้มีสติ หลวงปู่บุญมีท่านมีหลักคําสอนเรื่องสติ ความระลึกได้ให้กับตนเองเสมอ ซึ่งคําว่า ระลึกได้ คือให้ระลึกถึงว่าตัวเป็นคน คน หมายถึง การตั้งอยู่ในความดี รวมความว่า สติ ในที่นี้ก็คือ มีสติที่ระลึกถึงความดี แล้วนําไปปฏิบัติจริงในชีวิต หลวงปู่บุญมีท่านให้ความสําคัญกับสติเป็นอันดับแรกในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งท่านมักใช้คําถามกับผู้ฟังว่า ระลึกได้หรือยัง ? มั่นใจหยัง ? เป็นต้น ย่อมเป็นที่รู้ดีทั่วกันว่า ถ้าคนลงเสียสติก็เท่ากับเป็นคนบ้า เท่าที่สติธรรมที่มีกันอยู่ทั่วๆ ไป เป็นสติที่พอป้องกันไม่ให้เป็นบ้ากันเท่านั้น เพราะฉะนั้นสติจึงเป็นตัวเอกสําหรับแก้ความบ้าที่ไม่รู้ตัว โดยการพยายามปลูกฝังสติให้มีขึ้นในตัวให้มากที่สุด

วิธีการตรวจสอบความมีสติด้วยการโยนของ เป็นการตรวจสอบว่าระลึกได้แล้วหรือไม่ เป็นการประเมินผลในสิ่งที่ได้สอนมา กล่าวคือ เมื่อถึงเวลาหลวงปู่บุญมีท่านกำลังสั่งสอนชาวบ้านญาติโยมผู้ฟังอยู่นั้น หากผู้ฟังคนไหนเผลอเรอ หรือสนใจสิ่งอื่นอยู่นอกเหนือจากคําสอนที่กําลังดําเนินไป ท่านจะโยนก้อนขนม ถุงน้ำ เต้าหู้ ผลไม้ ให้กับผู้ฟัง หากผู้ฟังรับได้ ท่านมักกล่าวว่า “มีปัญญารักษาตัว” หากผู้ฟังรับไม่ได้ ท่านมักกล่าวว่า “ของรักษาชีวิต จิตใจ รับไม่ได้” “ของใส่ปากรับเอาบ่ได้ บัดรับเอาผู้บ่าวผู้สาวรับดีแท้ๆ”
วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าได้ผลเป็นที่ประจักษ์ คือหลวงปู่บุญมีท่านให้กล่าวตาม ดังนี้ “สาธุ ข้าขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระแก้วองค์ที่หนึ่ง ผู้ให้กําเนิดเกิดเป็นคนมา มาแต่วันก่อเกิด เชื่อแล้ว เป็นแก้วศักดิ์สิทธิ์ประจําชีวิตมาแต่มื้อเกิด” กราบ (คําสั่ง) ต่อจากนั้นท่านจะสอนโดยที่ชาวบ้านญาติโยมกําลังหมอบกราบอยู่ว่า “พระแก้วองค์ที่หนึ่งผู้ให้กําเนิดเขาเรียกว่า พ่อ พูดภาษาหยาบๆ ว่าอีพ่ออีแม่...” เอาขึ้น (คําสั่ง) พอลุกขึ้นแล้วท่านพานํากล่าวต่อว่า “สาธุ ข้าขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระแก้วองค์ที่ ๒ ผู้ให้กําเนิดเกิดเป็นคนมา ให้น้ำนมและข้าวป้อน รักษาชีวิต มาแต่วันก่อเกิด เชื่อแล้ว เป็นแก้วศักดิ์สิทธิ์ประจําชีวิตมาแต่มื้อเกิด” กราบ (คําสั่ง) ขณะที่ชาวบ้านญาติโยมกําลังหมอบกราบอยู่นั้น ท่านจะสอนว่า “พระแก้วองค์ที่ ๒ เราใหญ่มาแล้วเลยเห็นพระแก้วเป็นผ้าเช็ดมือเช็ดเท้า พระแก้วเว้าพระแก้วสอนกะว่า เฮ้ยเจ้าคนล้าสมัยอยู่อย่าสิเว้าผัดว่า เลยถือว่าพระแก้วนี้เป็นคนล้าสมัย โตมาลืมพระแก้วนี้หละเพิ่นว่าลืมชีวิตเจ้าของ คั่นลืมพระแก้วแปลว่าบ่มีความรู้รักษาโต พระพุทธเจ้าเพิ่นสร้างบารมีมาท่อใด กะหยังเป็นหนี้อยู่ หนี้พระแก้ว จนได้ฮอดพระแก้วไปเกิดอยู่ชั้นดาวดึงส์ ท่านกะนําไปใช้ค่าน้ำนมและข้าวป้อน” เอาขึ้น (คําสั่ง) ในขณะหมอบกราบนั้น ทุกๆ ครั้งท่านจะบอกให้ผู้ที่หมอบกราบอยู่นั้นระลึกให้เห็นหน้าบิดามารดาของตนเองทุกครั้งไป เป็นเทคนิควิธีในการย้ำเตือนอย่างหนึ่ง

หลักคําสอนให้พิจารณาตนเอง หลวงปู่บุญมีท่านให้พิจารณาที่ตนเป็นที่ตั้ง คือให้ระลึกถึงว่าตัวเป็นคน อย่าให้ความวุ่นวายเสียหายมาครอบงําประจําใจ คน หมายความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในทางดีมีปัญญา หาทางดีให้แก่ตัวได้ ดีกายก็เรียกว่ากายเรียบร้อย ดีวาจาก็เรียกว่าวาจาเรียบร้อย ดีใจก็เรียกว่าใจเรียบร้อย ๓ อย่างนี้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณงามความดี และท่านมักกล่าวด้วยคําพูดที่สะกิดใจว่า ไอ้คนวุ่นวายเสียหายนั่น มันเป็นบ้าไปในทางเสียหาย มันบ่ฮู้เมื่อว่ามันเป็นคน...บ่มีความฉลาด ฮู้เมื่อตัวแล้วกะบ่กลัวความเสียหายอีกด้วย นั้นยังเรียกว่าไม่ใช่คนหนา “เกิดมาให้เป็นคน แล้วเป็นหยังคือจังบ่เฮ็ดความดีให้แก่ตน เกิดมาเสียเปล่า เกิดมาเน่าอยู่ในโลกสงสาร บ่ได้ไปนิพพานนําพระพุทธเจ้า ฟ้าวแต่นําลูกนําหลานบ่อนสิพาคลานเข้าหม้อนรก ละความทุกข์บ่ได้วุ่นวายทําลายตัว พูดซ่ำนี้กะฮู้เมื่อบ่เล่า” การใช้ผญาอีสานสอนเรื่องให้พิจารณาตัวเอง ไม่ให้พูดเรื่องของคนอื่น เช่น “อย่าไปโสดาด้วยความดีของผู้อื่น มันบ่ลื่นค่าขนดัง ใผได้ยินได้ฟัง เขาด่าโคตรพ่อโคตรแม่” หลวงปู่บุญมีท่านได้อธิบายว่า ความดีของคนอื่นหรือเรื่องของคนอื่นเราอย่าได้ไปสนใจ ขนาดเรื่องขนจมูกของตัวเองเรายังไม่เห็น ซึ่งหมายถึงเรื่องของตัวเองยังไม่เข้าใจ
หลักคําสอนความกตัญญูต่อบิดามารดา หลวงปู่บุญมีท่านเน้นย้ำเรื่องความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดามาก ซึ่งท่านใช้คําว่า “พระแก้ว” แทน บิดามารดา คําว่า พระแก้วคือเป็นแก้วที่ดีกว่าทุกอย่าง แก้วสารพัดนึกเป็นแก้วที่คนเราทุกคนต้องระลึกถึงเสมอ บางครั้งท่านก็สะกิดใจให้รู้คุณของพระแก้ว และตําหนิผู้ที่ไม่รู้จักตอบแทนคุณพระแก้ว ถ้าเป็นเจ้านายก็ไม่ก้าวหน้า เป็นพ่อค้าพ่อขายก็ร่อยหรอล่มจม ความกตัญญูต่อบิดามารดานี้ หลวงปู่บุญมีท่านจะมีวิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อให้เข้าใจและระลึก คําว่า “ระลึก” แสดงให้เห็นถึงเมื่อรับรู้และเข้าใจแล้วนําไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจําวัน โดยหลวงปู่บุญมีท่านมักใช้คําผญาอีสานซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอีสาน เช่น “ทางเส้นเค้าอย่ากวดหนามปก อย่าไปเทียวทางฮกป่าดงเสือฮ้าย เสือบายเจ้าบ่มีผู้ซ่อย บัดห่าจ่อย บ่มีผู้ซ้ำบ่แล” จากประโยคดังกล่าวท่านได้อธิบายว่า

“ทางเส้นเค้าอย่ากวดหนามปก” ทางเส้นเค้าก็คือพ่อกับแม่ อย่ากวดหนามปกก็คืออย่าทําไม่ดีกับพ่อแม่ ให้เชื่อฟังกตัญญูรู้คุณ และหมั่นทําบุญ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อจะได้ส่งผลบุญนี้ไปใช้หนี้สินบิดามารดา “อย่าไปเทียวทางฮกป่าดงเสือฮ้าย” คือเป็นการเตือนเรื่องการคบมิตร คนไม่ดีนั้นเปรียบได้เหมือนกับเสือ “เสือบายเจ้าบ่มีผู้ซ่อย บัดห่าจ่อย บ่มีผู้ซ้ำบ่แล” เมื่อคบคนไม่ดีแล้วก็จะนําพาเราไปในทางที่ไม่ดีด้วย ไม่มีใครช่วยเราได้นอกจากตัวเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นการสอนให้เชื่อฟังบิดามารดา การคบมิตร และโทษของการคบมิตร

นอกจากนั้น หลวงปู่บุญมีท่านได้ใช้วิธีการเล่านิทาน เรื่องความกตัญญูของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังตระหนักถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นแบบอย่างในความกตัญญู ดังนี้ “พระพุทธเจ้าท่านให้พรพระแก้วของท่านตอนอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านบรรยายธรรมอันประเสริฐ ทดแทนหนี้สินพระแก้ว พวกรุกขเทวดาบริวารของนางสิริมหามายาเป็นหมื่นเป็นแสนมาฟัง พากันร้องไห้สนั่นหวั่นไหว เสียใจว่าไม่ได้ลูกดีเหมือนนางสิริมหามายา” พระพุทธเจ้าได้เอ่ยขึ้นว่า “เจ้าจะพากันมาร้องอย่างนี้ไม่มีประโยชน์อะไร ตั้งใจปฏิบัติตน สร้างตนให้ดี หาทานให้ดีแล้วจึงมาสํานึกระลึกปรารถนาเอาลูกที่ดี เราจะได้ด้วย ความร้องไห้อย่างนี้มันจะได้หรือ” พวกนั้นเลยหยุดการร้องไห้ เวลาเป็นเทวดาก็ไม่รู้จักทดแทนพระแก้ว บูชาพระแก้ว เป็นหนี้ทับตัวอยู่ไม่รู้ แล้วจะไปร้องไห้มีประโยชน์อะไร” จะเห็นได้ว่าเป็นความสามารถที่หลวงปู่บุญมีท่านใช้สั่งสอน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้