ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7958
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนภู่ ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน

วัดป่ากลางโนนภู่
ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



๏ ชาติภูมิและการสืบเชื้อสาย

“พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน” มีนามเดิมว่า กู่ เกิดในตระกูล สุวรรณรงค์ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จึงนับเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดกัน ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ปีชวด ปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณนา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ หลวงพรหม (นายเมฆ สุวรรณรงค์) โยมมารดาชื่อ นางหล้า สุวรรณรงค์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเล็ก ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ โดยท่านมีน้องชายคือ พระอาจารย์กว่า สุมโน แห่งวัดป่ากลางโนนภู่ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเกิดในปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ อายุอ่อนกว่าท่าน ๔ ปี และท่านอายุอ่อนกว่าพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้เป็นญาติสนิท ๘ เดือน (พระอาจารย์ฝั้นเกิดในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒)

ตระกูลสุวรรณรงค์ สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไทหรือผู้ไท เมืองวังอ่างคำ แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว (เชื้อสายของพระเวสสันดร) ได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทยครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองพรรณานิคม และผู้นำการอพยพได้รับพระราชทานยศเป็นพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม ซึ่งยศ “พระเสนาณรงค์” นี้เป็นชื่อยศประจำตำแหน่งเจ้าเมืองพรรณานิคม ซึ่งก็มีลูกหลานเจ้าเมืองท่านแรกสืบตำแหน่งกันต่อมาจนถึงพระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองท่านที่สี่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ เมืองพรรณานิคมได้เปลี่ยนเป็นอำเภอพรรณานิคม เจ้าเมืองพรรณานิคมก็เปลี่ยนเป็นนายอำเภอพรรณานิคม พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) จึงเป็นนายอำเภอพรรณานิคมท่านแรก ครั้นต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อเป็นการให้คนไทยมีนามสกุลใช้ต่อท้ายชื่อเป็นสกุลวงศ์ของครอบครัว ทั้งเพื่อป้องกันความสับสนในกรณีที่มีชื่อซ้ำกัน เป็นต้น พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) นายอำเภอพรรณานิคม จึงได้เอานามตัว คือ “สุวรรณ์” มารวมกับนามบรรดาศักดิ์ คือ “เสนาณรงค์” แล้วนำมาตั้งเป็นนามสกุลว่า “สุวรรณรงค์”

เป็นที่น่าสังเกตว่า โยมบิดาของพระอาจารย์กู่มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวง” ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ที่ต่ำกว่า “พระ” ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง คือ “พระเสนาณรงค์” เพียงระดับเดียว ตำแหน่งพระเสนาณรงค์เป็นตำแหน่งของเจ้าเมือง ระดับหัวเมืองชั้นตรี ปกครองโดยเจ้าผู้ครองนคร ระดับ “พระ” และในสมัยก่อนนั้นเมืองพรรณานิคมยังใช้การปกครองด้วยระบบอาญาสี่อยู่ ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่แบ่งตำแหน่งสำคัญออกเป็น ๔ ชั้น ประกอบด้วย เจ้าเมือง, อุปฮาด (อุปราช), ราชวงศ์ และราชบุตร หากเทียบตำแหน่งใหม่เมื่อครั้งมีการปฏิรูปการปกครองมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลทั่วประเทศ โดยยกเลิกการปกครองแบบเก่าที่ใช้ระบบอาญาสี่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ และปี พ.ศ. ๒๔๔๕ อาจเทียบได้ดังนี้ คือ เมืองต่างๆ ให้เรียกว่าอำเภอ, ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ, ให้อุปฮาด (อุปราช) เป็นปลัดอำเภอ, ให้ราชวงศ์เป็นสมุห์อำเภอ และให้ราชบุตรเป็นเสมียนอำเภอ

ดังนั้น พอจะอนุมานได้ว่า โยมบิดาของพระอาจารย์กู่เป็นข้าราชการเทียบเท่าได้กับระดับ “อุปฮาด (อุปราช)” หรือในระบบใหม่ก็คือ “ปลัดอำเภอ” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างจะมีอำนาจมากในสมัยนั้น

ต่อมาในสมัยที่พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์กว่า เจริญวัยเป็นหนุ่มแล้ว เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ผู้เป็นโยมบิดาของพระอาจารย์ฝั้น และหลวงพรหมผู้เป็นโยมบิดาของพระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์กว่า ก็ได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัว ออกจากบ้านม่วงไข่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ออกไปประมาณ ๔ กิโลเมตร ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นอีกให้ชื่อว่าบ้านบะทอง เพราะที่นั่นมีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้นทองหลางใหญ่ดังกล่าวได้ตายและผุพังไปสิ้นแล้ว สาเหตุที่อพยพออกจากบ้านม่วงไข่ ก็เพราะเห็นว่าสถานที่แห่งใหม่อุดมสมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงไหมเพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีลำห้วยขนาบอยู่ถึงสองด้าน ด้านหนึ่งคือลำห้วยอูน อยู่ทางทิศใต้ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือลำห้วยปลา อยู่ทางทิศเหนือ ก่อนอพยพจากบ้านม่วงไข่ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) โยมบิดาของพระอาจารย์ฝั้น ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านปกครองลูกบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขมาก่อนแล้ว ครั้นมาตั้งบ้านเรือนกันใหม่ที่บ้านบะทอง ท่านก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไปอีก เพราะลูกบ้านต่างให้ความเคารพนับถือในฐานะที่ท่านเป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวาง และเยือกเย็น เป็นที่ประจักษ์มาช้านาน

พระอาจารย์กู่เมื่อเจริญวัยขึ้น ท่านเป็นคนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีนิสัยใจคอเยือกเย็น สุขุม สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีกิริยามารยาทสงบสำรวมเรียบร้อย พูดน้อย มีคติจิตใจชอบทางสมณวิสัยมาตั้งแต่เด็ก ครั้นเมื่อเติบใหญ่ได้พอสมควรแล้ว หลวงพรหม (นายเมฆ สุวรรณรงค์) โยมบิดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือในสำนักของพระอาจารย์ต้น จนสามารถอ่านออกเขียนได้ และได้เคยสมัครเข้ารับราชการเป็นเสมียนช่วยกิจการบ้านเมือง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ขอบคุณครับ
สาธุการพระอาจารย์กู่ครับ
กราบหลวงพ่อครับ....
วัดป่ากลางโนนภู่อยู่ใกล้บ้านมาก
แต่ด้วยบุปกรรมกลับมีครูบาอาจารย์
ไกลบ้านแปลกดีเหมือนกันครับสาธุ
กราบท่านครับ
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 18:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และกุฏิของท่าน ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า จ.สกลนคร



.............................................................

♥ รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(๑) http://www.dharma-gateway.com/
(๒) http://www.sakoldham.com/
♥ ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง                                                                                        
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=18308

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 18:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน (ขวา)
และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระอาจารย์กว่า สุมโน พระน้องชาย (ซ้าย)
ณ วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



๏ การอาพาธและการมรณภาพ

ในช่วงปลายชีวิต พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ท่านได้มาเป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า ตำบลถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อจากพระอาจารย์บุตร โดยได้สร้างกุฏิจำนวน ๑ หลัง และหอฉันอีก ๑ หลังไว้ในถ้ำ (ต่อมาท่านก็ได้มามรณภาพ ณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้ โดยมิได้พักจำพรรษา)

กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้อาพาธด้วยโรคฝีฝักบัวที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัวของท่าน โรคนี้เคยเป็นแล้วก็หายไป ด้วยการที่ท่านอาศัยการปฏิบัติทางจิตเป็นเครื่องระงับ ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้พิจารณาเห็นอาการป่วยนี้ว่า คงต้องเป็นส่วนของวิบากกรรมอย่างแน่นอน อันที่จะพ้นจากมรณสมัยด้วยโรคนี้ไม่ได้ ท่านเคยแสดงธรรมเทศนาให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายฟังบ่อยๆ ว่า “ถ้าเราทำความดีถึงที่แล้ว เรื่องของการตายเราไม่ต้องหวาดหวั่นเลย” ท่านได้ตักเตือนพระเณรอย่างนี้เสมอ สอนให้รีบร้อนเด็ดเดี่ยวในการทำความเพียรศึกษาในสมาธิภาวนาให้มาก ตลอดพรรษาท่านมิได้ลดละในการปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา

เมื่อออกพรรษารับกฐินเสร็จแล้ว ท่านก็ได้ลาท่านได้ลาคณะศรัทธาญาติโยมขึ้นไปเจริญจิตตภาวนา บำเพ็ญสมณธรรม ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า ภูพาน ซึ่งท่านได้เคยมาบูรณะต่อจากที่พระอาจารย์บุตรได้เริ่มเอาไว้ เมื่อท่านจะไปได้สั่งว่า จะไปหาที่พำนักซ่อนตายเสียก่อน และเห็นถ้ำลูกนี้พอที่จะอาศัยได้ คณะศรัทธาญาติโยมจึงพร้อมใจกันไปทำเสนาสนะถวาย จนกาลล่วงมาได้ ๓ เดือนเศษ อาการของโรคฝีฝักบัวกลับกำเริบขึ้นอีก คณะศรัทธาญาติโยมได้อาราธนาให้ท่านกลับวัด เพื่อจัดแพทย์มาทำการรักษาพยาบาลให้เต็มที่ แต่ท่านไม่ยอมกลับ

ครั้นถึงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง เวลา ๙.๕๑ น. ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุรวมได้ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓

บรรดาศรัทธาญาติโยมและสานุศิษย์ทั้งหลายรู้สึกเศร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่ได้ปรนนิบัติรักษาพยาบาลจนสุดความสามารถ และในขณะที่จะสิ้นลมปราณนั้น คงเหลือแต่พระอาจารย์กว่า สุมโน พระน้องชาย, พระประสาน ขันติกโร และสามเณรหนู เป็นผู้เฝ้าปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ได้เห็นพระอาจารย์กู่นั่งสมาธิทำความสงบแน่นิ่งอยู่ เฉพาะส่วนภายในโดยมิได้หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อมรณภัย และสิ้นลมหายใจในอิริยาบถที่นั่งสมาธิอย่างสงบ ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า นั้นเอง นับว่าสมเกียรติแก่ท่านผู้ได้ปฏิบัติธรรมในบวรพระพุทธศาสนามาโดยแท้

พระอาจารย์กว่า และบรรดาศรัทธาญาติโยมได้อัญเชิญสรีระสังขารของท่านบรรจุหีบ แล้วนำมาไว้ ณ วัดป่ากลางโนนภู่ เพื่อบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานสนองคุณงามความดีของท่านต่อไป

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 18:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

บรรดาศิษยานุศิษย์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงานประชุมเพลิง
สรีระสังขารท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓
ณ วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร  
พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน นั่งตรงกลางแถวหน้าสุด หมายเลข ๓๘



17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 18:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

แผนที่แสดงเส้นทางการอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
จากวัดป่าบ้านหนองผือ ไปยังวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร




๏ ท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ

ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่น ในปีนั้นเมื่อใกล้จะออกพรรษาเหลืออีกประมาณ ๑๐ วัน ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้บอกพระที่อยู่ใกล้ชิดว่า

“ชีวิตของเราใกล้จะสิ้นแล้ว ให้รีบส่งข่าวไปบอกแก่คณาจารย์ที่เป็นศิษย์เราทั้งใกล้และไกล ให้รีบมาประชุมกันที่บ้านหนองผือนี้ เพื่อจะได้มาฟังธรรมะเป็นครั้งสุดท้าย”

บรรดาพระที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้จดหมายบ้าง โทรเลขบ้างไปยังที่อยู่ของพระคณาจารย์เหล่านั้น บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเมื่อได้รับจดหมายบ้าง โทรเลขบ้างแล้ว ต่างก็ได้บอกข่าวแก่กันต่อๆ ไปจนทั่ว เมื่อการปวารณาออกพรรษาแล้ว ต่างองค์ก็รีบเดินทางมุ่งหน้ามาหาท่านพระอาจารย์มั่นยังบ้านหนองผือ อันเป็นจุดหมายเดียวกัน แต่ท่านพระอาจารย์มั่นได้สั่งให้นำองค์ท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

พระอาจารย์กู่ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านโคกมะนาว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อได้ทราบข่าวก็รีบเดินทางเพื่อมาเฝ้าท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) โดยทันที และเมื่อเหล่าศิษยานุศิษย์ตกลงใจที่จะนำองค์ท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส ตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ พระอาจารย์กู่ก็ได้ติดตามนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปจังหวัดสกลนครด้วย

ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส โดยพาหนะรถยนต์ มาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เป็นต้น สิริอายุของท่านพระอาจารย์มั่นรวมได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๕๖

วันประชุมเพลิงสรีระสังขารท่านพระอาจารย์มั่น ตรงกับวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร คือ ๘๑ วันหลังจากท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ไปร่วมงานด้วย
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 18:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

“พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒”
ณ วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พิจารณาคานหาม เตียง แคร่ไม้ไผ่ มุ้ง ฯลฯ  
ที่เคยใช้ในคราวพระอาจารย์มั่น มาพักอาพาธและจำพรรษา ณ วัดป่ากลางโนนภู่



๏ วัดป่ากลางโนนภู่ ในปัจจุบัน

วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม เป็นวัดเก่าแก่สำคัญสายพระป่ากรรมฐานอีกวัดหนึ่ง อันเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒” อาคารไม้ซึ่งเป็นกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นใช้พักในคราวอาพาธระยะสุดท้าย เป็นเวลา ๑๑ วัน ก่อนจะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ในคืนเดียวกับที่ได้อาราธนาองค์ท่านมายังวัดป่าสุทธาวาส ภายในพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ มีการจัดแสดงบริขารของท่านพระอาจารย์มั่นที่องค์ท่านเคยใช้ยามมาพักอาพาธอยู่ที่วัดแห่งนี้ อันได้แก่ แคร่คานหามที่ได้ใช้อาราธนาองค์ท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือ มาที่วัดป่ากลางโนนภู่แห่งนี้, เตียง, มุ้ง, กลด, ที่นอน, ประทุน ฯลฯ รวมทั้ง ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ตลอดจนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, รูปหล่อเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น, ภาพถ่ายประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าที่หาชมได้ยาก, พระบรมสารีริกธาตุ, อัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น, อัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน, อัฐิธาตุของอดีตเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และพระอาจารย์กว่า สุมโน เป็นต้น

เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) แห่งวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้เมตตามาเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ และบรรจุอัฐิธาตุของท่าน พร้อมทั้งมารับผ้าป่าช่วยชาติในคราวเดียวกัน นับแต่นั้นมาพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ แห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาสืบต่อมา

เสนาสนะที่สำคัญอื่นๆ ภายในวัดป่ากลางโนนภู่ ได้แก่ เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน, เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระอาจารย์กว่า สุมโน รวมทั้ง กุฏิที่พระอาจารย์กว่า สุมโน เคยพักจำพรรษา เป็นต้น

สำหรับสภาพโดยทั่วไป วัดยังคงความสงบสงัด ร่มรื่นร่มเย็น สมกับเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเลือกมาพักในยามอาพาธ ปัจจุบันวัดป่ากลางโนนภู่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสกลนคร (ธ) แห่งที่ ๑๓ ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และมี พระอาจารย์ประจักษ์ ขนฺติโก เป็นเจ้าอาวาส

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้