ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อาบน้ำเพ็ญ

[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-6-23 08:31
คศช. ฝ่ายกรองข่าวท่านหนึ่งรายงาน(อย่างไม่เป็นทางกา ...

ขอเป็นข่าวกรองหลายๆชั้นก็จะดีนะครับ...เผื่อพี่ๆเพื่อนๆจะได้ไปร่วมพิธี...ช่วงบ่ายจะแวะมาเช็คกระทู้อีกที  
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-23 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2013-6-23 08:19

คศช. ฝ่ายกรองข่าวท่านหนึ่งรายงาน(อย่างไม่เป็นทางการ)มาว่า ..

อาจจะมีพิธีลงทองสีผึ้งจันทร์เพ็ญ
สงสัยจะเป็น Fullmoon party มากกว่า อ่ะ
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-6-21 18:39
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน ซุปเปอร์มูน จะถือว่าอาบน้ำเ ...

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-21 18:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน ซุปเปอร์มูน จะถือว่าอาบน้ำเพ็ญได้หรือเปล่าหนอ

แต่ที่แน่ๆ ธาตุน้ำคงมีกำลังมากที่สุดในวันนั้น
ขอบคุณครับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-8 10:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนพิธีอาบน้ำเพ็ญ ที่ถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน

มักเป็นพิธีที่ถูกผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์กับพุทธ เพื่อให้เกิดพลังความเข้มขลัง เช่น มีการสร้างวัตถุมงคล พร้อมทั้งได้อาราธนาพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงสมาธิคุณ เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป จากทั่วประเทศมาร่วมนั่งบริกรรมพระคาถานั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกให้วัตถุ มงคลและน้ำที่นำมาเข้าพิธีบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ คล้ายกับงานพุทธาภิเษกพระเครื่องทั่วๆ ไป เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ เกิดกำลังใจกล้าที่จะละชั่วทำแต่ความดี เสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเองตลอดไป

คติความเชื่อเรื่องอาบน้ำเพ็ญ
ตำหรับการอาบน้ำเพ็ญที่เลื่องชื่อ คือ การอาบน้ำเพ็ญของสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ซึ่งท่านจะอาบในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เท่านั้น การอาบนั้นท่านจะให้อาบกลางแจ้ง โดยรอฤกษ์ที่พระจันทร์ลอยเด่นอยู่กลางศีรษะ ในช่วงเวลานั้นจะพบว่าเงาของพระจันทร์จะลอยอยู่กลางขันน้ำมนต์พอดิบพอดี เพราะทุกครั้งที่พระจันทร์เต็มดวง แรงพลังอำนาจจากพระจันทร์จะทำให้น้ำในโลกถูกยกตัวสูงขึ้นกว่าธรรมดาทั่วไป ซึ่งว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องแปลกตามธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้โบราณจารย์จึงได้จัดพิธีอาบน้ำเพ็ญ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-8 10:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อาบน้ำเพ็ญแบบพุทธ-พราหมณ์
คนไทยแต่โบราณเชื่อเรื่องอำนาจพิสดาร ที่เกิดจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งแม้ดวงจันทร์จะมีขนาดไม่ใหญ่ แต่ด้วยความที่อยู่ใกล้โลกที่สุด อำนาจและแรงดึงดูดจึงมีอิทธิพลต่อโลกอย่างมาก โดยมีอิทธิพลต่อน้ำขึ้นน้ำลงบนโลกมนุษย์ ความเชื่อเรื่องอำนาจจากดวงจันทร์เต็มดวง มีอยู่ทุกภูมิภาคของโลกและชาวพุทธเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยวันสำคัญในทางศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือที่เรียกว่า เดือนเพ็ญ จึงเกิดเป็นพิธีกรรมหนึ่งขึ้นมา คือพิธีอาบน้ำเพ็ญ



เพราะเชื่อว่า เมื่ออาบน้ำเพ็ญแล้วจะโชคดี มีลาภ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม คนที่ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บหน้าตาเศร้าหมอง จะหายจากอาการเจ็บป่วย หรือผู้ที่เป็นหมอดู นักพยา กรณ์ แพทย์แผนโบราณ ก็จะทำให้มีความสามารถในการพยากรณ์ ในการรักษาโรคดีขึ้น หรือผู้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษาจะทำให้เรียนเก่ง ความจำดี มีปฏิภาณไหวพริบ เสริมสง่าราศีให้ผุดผ่อง เสริมบารมีแก่ผู้มีญาณเทพ มีองค์เทพคุ้มครอง ขจัดอำนาจมนต์ดำ คุณไสย ภูตผีปีศาจ ที่เข้าแฝงในร่าง กาย ทำให้ชะตาชีวิตรุ่งโรจน์ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คนไทยแต่โบราณจึงได้นำพิธี อาบน้ำเพ็ญเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน "ประเพณีลอยกระทง" คือ เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงตรงศีรษะ ก็จะลงอาบน้ำเพ็ญตามแม่น้ำลำคลอง


พิธีการอาบน้ำมนต์น้ำเพ็ญนั้น มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานคือการประกอบพิธีอาบน้ำเพ็ญที่วัดสุทัศน์สมัยสมเด็จ พระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เสด็จท่านฯ จะประกอบพิธีเพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยเลือกเอาวันเพ็ญ เดือน 12 ถือว่าเป็นวันที่พิเศษอย่างยิ่ง


โดย พิธีจะเริ่มจากพระสงฆ์ทำสังฆกรรม สวดพระ ปาฏิโมกข์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งสงฆ์ทั้ง ปวงต่อด้วยปฐมเทศนา เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร จากนั้นจะเป็นการสวดนพเคราะห์ บูชา เทพยดาประจำวันเกิด เสริมดวงชะตา เสริมวาสนา บารมี โดยพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ประจำแต่ละวันสลับกับโหรหรือบัณฑิต อ่านโองการบูชาเทพยดานพเคราะห์ทั้ง 9



ต่อ ด้วยเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก หมายถึง พระ พุทธ มีความยิ่งใหญ่ดุจดวงอาทิตย์ พระธรรม มีความเยือกเย็น งดงามดุจพระจันทร์ พระสงฆ์ เปรียบเหมือนดวงดาวที่รายล้อมอยู่ บารมี 10 ทัศ สรรเสริญพุทธลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 ประการ และบทเจริญเมตตาใหญ่

ต่อด้วยเจริญพระ คาถาภาณวาร เป็นพระคาถาที่สวดตามวาระ ไม่ค่อยสวดบ่อยนัก เป็นพระคาถาขับไล่เสนียด สิ่งอัปมงคล ป้อง กันภัย แลโรคร้ายต่างๆ และเจริญอายุวัฒนะ ดังเช่น พระมหากัสสปะ อาพาธ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงอาพาธ พระมหาจุนทะก็แสดงถวาย และจบลงด้วยพระคาถาทิพย์มนต์ หมายถึง มนต์อันเป็นทิพย์ มีความสะอาด สดใสและให้ความสำเร็จแก่ผู้ได้ฟัง สังวัธยายทิพย์มนต์ ให้รุ่งโรจน์ รุ่งเรือง ขจัดปัญหาอุปสรรคที่ขัดข้อง ป้องกันภัยจากหมู่อมิตร




ในสมัยพุทธกาล การอาบน้ำเพ็ญแบบพุทธนั้น


ชาวชมพูทวีปส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ คำสอนที่ถือเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำ เรียกว่า นหานสุทธิ ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์เกิดได้เพราะการอาบน้ำชำระบาป แม้พระพุทธเจ้าเองก็เคยถูกพราหมณ์ภารทวาชะชักชวนไปอาบน้ำเพื่อลอยบาปเช่นกัน



ซึ่งพระองค์ก็มีพระดำรัสสอนเกี่ยวกับการอาบน้ำในพระธรรมวินัยของพระองค์ว่า " คนพาลที่ทำความชั่วแล้ว ถึงจะไปสู่แม่น้ำพหุกา แม่น้ำอธิกักกะ แม่น้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสตี แม่น้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี เป็นประจำ ก็ทำให้เป็นคนบริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำเหล่านี้จะทำอะไรได้ จะช่วยชำระสะสางผู้ทำบาปหยาบช้าให้บริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นไม่ได้ ผัคคุณฤกษ์ (ฤกษ์มีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ประมาณเดือนมี.ค.ของทุกปี) เป็นนักขัตฤกษ์ตลอดกาล ของคนที่ไม่ทำความชั่ว อุโบสถก็เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ข้อปฏิบัติที่ดีก็ถึงพร้อมแก่คนบริสุทธิ์ผู้ทำแต่ งานสุจริต
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านอาบน้ำในศาสนาของเรา คือ มอบความปลอดภัยให้สัตว์ทั้งปวง ไม่พูดคำเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ลักทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น มีศรัทธา ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวแล้ว จะต้องไปสู่แม่น้ำเพื่อประโยชน์อันใด แม้แต่การดื่มน้ำจากแม่น้ำเหล่านั้นก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ (ไม่สามารถล้างบาปได้เลย)"

ลอาบน้ำเพ็ญแบบพราหมณ์
พิธีอาบน้ำเพ็ญ ปรากฏหลักฐานตามหนังสือพระราชพิธี ๑๒ เดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ความว่า "วันนี้ ทางศาสนาพราหมณ์เรียกว่า ศิวาราตรี ตอนเช้าพวกพราหมณ์จะนำหม้อทองเหลืองเดินทูนศีรษะไปยังแม่น้ำคงคา นั่งตามริมฝั่งน้ำแล้วใช้หม้อตักน้ำขึ้นมาบริกรรมคาถา แล้วนำมาล้างหน้าบ้วนปาก จากนั้นก็กระโดดลงไปในแม่น้ำคงคา ดำลงไปในน้ำ ๓ ครั้ง โกยดินตมที่อยู่ในน้ำมาฟอกถูตัวแทนสบู่แล้วจึงใช้น้ำชำระล้างถูตัวให้สะอาด เสร็จแล้วจึงเอาหม้อตักน้ำขึ้นมานุ่งผ้าให้เรียบร้อย เดินทูนหม้อน้ำมุ่งหน้าสู่เทวสถานเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป การปฏิบัติเช่นนี้ ถือว่าได้อาบน้ำชำระบาปที่ได้ทำมาทั้งหมด"

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้