Baan Jompra

ชื่อกระทู้: คิดเป็นธรรม ค้ำสติ [สั่งพิมพ์]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-12 12:29
ชื่อกระทู้: คิดเป็นธรรม ค้ำสติ

[attach]1374[/attach]


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-12 14:54
[attach]1377[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-12 15:46

[attach]1382[/attach]
อาการของจิตแต่ไม่ใช่จิต (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

ความเป็นจริงนั้น ธรรมะมันอยู่ตรงนั้นแหละ ตรงความอยากกับความไม่อยากนั่นแหละ แต่เราไม่มีปัญญา ก็พยายามไม่ให้อยากบ้าง เดี๋ยวก็อยากบ้าง อยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ความจริงทั้งสองอย่างนี้ หรือทั้งคู่นี้มันตัวเดียวกันทั้งนั้น ไม่ใช่คนละตัว แต่เราไม่รู้เรื่องของมัน


พระพุทธเจ้าของเรา และสาวกทั้งหลายของพระองค์นั้นท่านก็อยากเหมือนกัน แต่ "อยาก" ของท่านนั้น เป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆ หรือ "ไม่อยาก" ของท่าน ก็เป็นเพียงอาการของจิ
ตเฉยๆอีกเหมือนกัน มันวูบเดียวเท่านั้น ก็หายไปแล้ว


ดังนั้นความอยากหรือไม่อยากนี้ มันมีอยู่ตลอดเวลาแต่สำหรับผู้มีปัญญานั้น "อยาก" ก็ไม่มีอุปาทาน "ไม่อยาก" ก็ไม่มีอุปาทาน เป็น สักแต่ว่าอยากหรือไม่อยากเท่านั้น ถ้าพูดตามความจริงแล้ว มันก็เป็นแต่อาการของจิต อาการของจิตมันเป็นของมันอย่างนั้นเอง




ที่มา : หนังสือ "อ่านใจธรรมชาติ" ของ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-12 15:48

[attach]1383[/attach]
ความตาย...เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ความตาย...เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

...

ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอยฯ

(มันมีเท่านี้เอง โดย ท่านพุทธทาส อินฺทปญฺโญ)





โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-15 10:40
ไม่รู้จะทำได้แค่ไหน
[attach]1681[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-15 10:41
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2013-4-15 10:52

ไม่รู้จะทำได้แค่ไหน
[attach]1683[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 12:21
[attach]1686[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 12:23
[attach]1687[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 12:24
[attach]1688[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 12:26
[attach]1689[/attach][attach]1690[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 14:25
[attach]1699[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-15 17:05
[attach]1703[/attach][attach]1704[/attach]



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-16 11:27
[attach]1774[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-16 11:28
[attach]1775[/attach]
โดย: AUD    เวลา: 2013-4-16 18:39
[attach]1810[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-16 18:39
[attach]1811[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-16 18:40
[attach]1812[/attach]



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-17 10:19
[attach]1841[/attach][attach]1839[/attach][attach]1840[/attach]
โดย: AUD    เวลา: 2013-4-17 15:20
[attach]1860[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-17 15:21
[attach]1861[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-18 18:55
[attach]1927[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-18 18:55
[attach]1928[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-18 18:56
[attach]1929[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-19 19:51
[attach]2124[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-19 19:51
[attach]2125[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-19 19:52
[attach]2126[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:43
[attach]2303[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:43
[attach]2304[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:43
[attach]2305[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:45
[attach]2306[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:46
[attach]2307[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-20 16:46
[attach]2308[/attach]



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-21 09:53
"กรรม" ไม่มีเอียง (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


สัตว์ไปตกนรกถามถึงเรื่องกรรม กรรมของสัตว์นี้ก็มีมาตลอด มาถึงจุดนี้ๆ นั่น
เห็นไหมล่ะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ มาตกตูมเอาเลย ตกมาด้วยสายของกรรมส่งเข้ามาๆ
ทั้งนั้น เมื่อส่งเข้ามานรกหลุมใด สุขที่ไหน ทุกข์ที่ไหน ภพใด ชาติใดมันก็ต้อง
เป็นผู้เสวยอยู่ตามภพชาตินั้นๆ เช่น ส่งมาเป็นมนุษย์นี้ เราเองไม่รู้ว่าเราเกิด
มาจากอะไร เราถึงได้มาเป็นมนุษย์

นี่ให้พระพุทธเจ้าทายปุ๊บทันทีเลยไม่ต้องนานละ
นี่แต่ก่อนเธอสร้างอันนั้นๆ
มาได้มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้คือ
ความดีนั้นแหละ เรื่องความชั่วไม่มีหวัง ถ้า
เกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดเป็นเศษมนุษย์ เศษส้วมเศษถานไปอีก ไม่ว่าจะเป็นส้วม
เป็นถานยังเศษไปอีก นู่น เกิดเป็นอะไรๆ มาตามสายทั้งนั้น

เป็นมนุษย์เป็นสัตว์แต่ละประเภท มาตามสายของกรรมตัวเองที่สร้างมาๆ
สร้างดีสร้างชั่ว กรรมของตัวเองสร้างมา ไม่มีผู้อื่นใดมาสร้างให้ แล้วใครจะ
มาลบล้างได้


นี่ละเป็นอย่างนั้น ฟังซิสัตว์ตกนรกอยู่นั้น
พระพุทธเจ้าทำนายซิ สัตว์ตัวนี้ตก
นรกนี้เพราะทำกรรมอะไร
ทำกรรมอันนั้นๆ บอกตลอดถึงตัวเหตุเลย ทำมา
จากโน้นมาถึงนี้ ทำจากโน้นมาถึงนี้ๆ สัตว์นรกแต่ละรายๆ จะบอกสายทางเข้า
มาตลอดๆ นะ

ใครทำดีทำชั่วขนาดไหน บรรดาสัตว์ทั่วโลกจะมีมาตามสายทางทั้งนั้นๆ สาย
ทางบุญทางกรรม ทำชั่วก็มาตามสายทางชั่ว กรรมดีก็มาตามสายทางดี
เหมือนนักโทษ นักโทษยังมีแน่นอนบ้างไม่แน่นอนบ้าง

แต่พอเป็นหลักฐานได้ก็คือว่า
ที่เป็นนักโทษนี่เพราะอะไร เพราะเขาไปฉกไป
ลักไปปล้น คนนี้ไปลักคนนี้ไปขโมย คนนี้ไปปล้น
มันก็มีสายทางของมันเข้ามา
บางคนบริสุทธิ์แต่สู้หลักฐานพยานเขาไม่ได้ เขาเอาหลักฐานพยานมาทับ ทั้งๆ
ที่บริสุทธิ์เขาหาว่าไม่บริสุทธิ์ ติดคุกได้อยู่ แต่อันนี้ก็เป็นกรรมของผู้นี้อีก

เหตุแต่ก่อนที่มาเป็นคนบริสุทธิ์มาติดคุกนี้
คือแต่ก่อนไปแกล้งทำเขาอย่างนั้นๆ
ให้เขาเป็นอย่างนั้นๆ แน่ะ
มีอีกเข้าใจไหมล่ะ ไม่ใช่อยู่ๆ มานะ ที่แกล้งทำเขา
ที่บริสุทธิ์ให้เป็นคนมีโทษมีกรรม
แล้วกรรมนั้นตามมาจึงได้มาเป็นนักโทษทั้ง
ที่ไม่ได้ขโมย
แน่ะ มันมีสายกรรมมาอย่างนั้นตลอด


สายกรรมจะไม่ปล่อยสำหรับผู้ทำเลย ใครทำสัตว์ทำ สัตว์ไม่รู้กรรมก็ตาม
กรรมไม่เอียง กรรมทางดีทางชั่วเป็นกรรมมาตลอดในสายสัตว์สายบุคคล
ตลอดไปเลย อย่าพากันประมาทนะ ไม่พ้นจากสายกรรมติดตัวไปเอง


ไม่ว่าไปทางดีทางชั่ว มาเกิดเป็นมนุษย์ไปสวรรค์ชั้นพรหมเพราะกรรมอะไรๆ นี้
กรรมของตัวเองนั้นแหละ ติดแนบไปเรื่อย ส่งไปด้วยๆ จนกระทั่งถึงนิพพาน
เพราะอะไรอีก แน่ะ ก็คือว่าสร้างบารมีคือความด้ล้วนๆ ถึงขั้นเต็มที่แล้วหลุดพ้น
แน่ะ เป็นอย่างนั้นนะ พากันจำเอา

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
luangta.com


โดย: AUD    เวลา: 2013-4-22 21:53
[attach]2426[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-23 07:13
[attach]2427[/attach]



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-24 13:13
[attach]2491[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-24 13:15
[attach]2492[/attach]
โดย: AUD    เวลา: 2013-4-24 19:51
[attach]2497[/attach]



โดย: AUD    เวลา: 2013-4-25 15:45
[attach]2582[/attach]



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-30 11:34
[attach]2662[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-4-30 11:37
[attach]2663[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-2 12:29
[attach]2675[/attach]
โดย: sriyan3    เวลา: 2013-5-2 15:40
ขอบคุณสำหรับธรรมะดีครับ มีประโยชน์มากครับ
โมทนากับธรรมทานของทุกท่านที่นำมาลงด้วยนะครับ
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-5 09:05
ท่าน ว.วชิรเมธี  ท่านว่าไว้

               " ความอยาก...น้อยลง
                  ความสุขก็จะเพิ่มมากขึ้น "

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-11 13:51
เป็นของธรรมดา
.."ร่างกายชีวิตอันนี้ มันจะต้องมีการเกิด แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย อันนี้เป็นธรรมดาที่เราว่า ชราธัมโมหิ ชะรัง อะนะตีโต เป็นธรรมดา ไม่มีทางหรอกใคร ๆ จะมาแก้ไขเรื่องธรรมดา ไม่มี เพราะมันเป็นธรรมดาแล้ว ธรรมดามันเป็นของจริง มันเป็นของประจำโลกประจำสังขาร ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ที่มีสังขารปรุงแต่ง มีรูปมีนามแล้ว ก็ต้องแปรปรวนอยู่อย่างนั้น เกิดแล้วก็ต้องแก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย แม้ไม่เจ็บก็ตาย เมื่อสรุปความย่อ ๆ แล้วเมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็บ่ายหน้าไปสู่ความตาย หรือความฉิบหาย อยู่อย่างนี้ทุกรูปทุกนาม ของบรรดาผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีชีวิต แต่ต้นไม้ ภูเขาเลากา เขาก็จะเป็นไปทำนองเดียวกัน แต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นหละ "..
..หลวงปู่ศรี มหาวีโร ..

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-11 14:54
[attach]2909[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-12 09:40
[attach]2911[/attach][attach]2912[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-17 14:36
[attach]2991[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-17 14:37
[attach]2992[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-17 14:37
[attach]2993[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-19 10:46
[attach]3002[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-20 20:02
[attach]3026[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-21 13:03
2-3 วันก่อน ได้รู้ซึ้ง กับคำท่านว่า

"ชอบก็กิเลส..ไม่ชอบก็กิเลส"
"อยากก็กิเลส..ไม่อยากก็กิเลส"

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-22 20:10
" ศาสนาพุทธ สอนอะไร ? "ธรรมทานโดย หลวงพ่อชา สุภัทโท


ครั้งหนึ่ง..เคยมีชาวตะวันตก ที่หวังแจ้งเกิดในหลักธรรม ได้ยิงคำถามตรงประเด็นแบบไม่ถนอมน้ำใจคนที่ต้องตอบ ว่า..“ศาสนาพุทธ สอนอะไร?”
แทนการตอบคำถาม..หลวงพ่อท่านได้ชี้นิ้ว ไปที่ก้อนหินเขื่องบนกระดาน “ยกก้อนหินนั้น ขึ้นมาสิ...โยม”

ฝรั่งนายนั้น ทำตามที่หลวงพ่อบอก
“หนักไหม” ท่านถาม
“หนักครับ” ฝรั่งเจ้าของปุจฉา ที่ตนเองคิดว่าลึกล้ำ ร้องตอบ

หลวงพ่อ จึงไขปริศนาธรรมนั้น ว่า..
“อะไรมันหนัก ก็วางลงเถิด สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน มีเพียงเท่านี้”



โดย: oustayutt    เวลา: 2013-5-31 19:39
โยม เขาลากเกี๊ยะอยู่ห้องนู้น โยมเอาหูไปรองเก๊ยะเขาทำไม

หลวงปู่บุดดา


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-2 11:14
[attach]3255[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-6 10:13
จับได้ .วางเป็น.เห็นธรรม
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-7 16:22
[youtube]BCIN_MtPgxk&feature=player_detailpage[/youtube]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-10 22:14
ทุกข์เพียงกาย ใจไม่ทุกข์

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ


ชาติปิ ทุกฺขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชราปิ ทุกฺขา
ความแก่ก็เป็นทุกข์

มรณมฺปิ ทุกฺขํ
ความตายก็เป็นทุกข์

โสก ปริเทว ทุกฺข โทมนสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา
ความโศก ความรำไรรำพัน ความทุกข์(ความไม่สบายกาย)
โทมนัส(ความไม่สบายใจ) และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข
ความประสบด้วยสิ่งที่ ไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข
ความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์

ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ
ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์

สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
โดยย่อแล้ว อุปาทานขันข์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์



****************************


รู้...ทุกขะ-อริยะ-สัจจะ แท้

รู้...เกิด แก่ เจ็บ ตาย รูปกายนี้

รู้...โศกเศร้า เหงาคร่ำครวญ ป่วนฤดี

รู้...ทุกข์มี เพราะขันธ์ห้า อุปาทาน


สัจจญาณ...รู้สังขาร ทุกข์จริงแท้

กิจจญาณ...รู้จักแก้ (ด้วย)กัมมัฏฐาน

กตญาณ.....รู้ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่นาน

ทุกข์นิพพาน สันติสุข ไม่ทุกข์ใจ.



เจริญในธรรมโดยทั่วกัน


ธัมโมชญา


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-12 15:05
เรื่องของ "ความเมตตา"

เมตตา ...ได้แก่

- ความเป็นมิตร
- ความรักที่ไม่ประกอบด้วยกาม
- ความหวังดี ปรารถนาดี
- ความเอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ อนุเคราะห์
- ความเย็น
ฯลฯ

อานิสงค์ของเมตตา ..

- หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย
- เป็นที่รักมนุษย์และเทวดา
- ผิวพรรณผ่องใส่
- จิตเป็นสมาธิเร็ว
ฯลฯ

"เมตตา" แท้นั้น ไม่มีขอบเขต สามารถแผ่ไปได้ทั่วทั้งจักวาล
ดังพุทธภาษิตว่า "โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา" เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

เมื่อมีเมตตา .. กรุณา คือความสงสารก็ตามมา
เพราะ "เมตตาเป็นเหตุ กรุณาเป็นผล"..

"เมตตาและกรุณา" นี่เอง นำมาซึ่ง "การให้อภัยให้อโหสิกรรม"
ซึ่งเป็นการ การฝึกจิตพัฒนาจิต เป็นการยกระดับจิตของตนเอง
ให้ดีขึ้น สูงขึ้น มีค่าขึ้น .

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-12 15:10
"ชนะโดยธรรม" ?

ชนะผู้ตะหนี่ โดยการให้
ชนะผู้เบียดเบียนอยู่ โดยการไม่เบียดเบียนตอบ
ชนะผู้โกรธอยู่ โดยการไม่โกรธตอบ

แพ้ที่ไม่ก่อทุกข์ คือ แพ้ด้วย "การให้อภัย"
ให้ความเมตตากรุณา


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-13 14:13
[attach]3460[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-18 20:17
สงบก็รู้. ไม่สงบก็รู้
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-23 10:20
[size=1em]จุดด่างพร้อยในชีวิต
ความเกลียดเป็นเหมือนจุดด่างพร้อยในชีวิต
ลบไม่ได้ก็คล้ายชีวิตสะอาดขึ้นไม่ได้
หลายคนทำผิดใหญ่ๆแล้วเสียใจ เหมือนมีตราบาป
ชีวิตมีตำหนิ หรือเหมือนความด่างพร้อยที่ไม่อาจลบ
ความรู้สึกคล้ายๆกันยังเกิดขึ้นได้จากอีกหลายปัจจัย
เช่น โดนไล่ออก โดนรุมประนาม โดนประจานสาดเสียเทเสีย ฯลฯ
แต่เรื่องตื้นๆ ง่ายๆ ก็กลายเป็นความรู้สึกจำพวกเดียวกันได้
โดยเฉพาะสำหรับคนที่รักสงบ ใจสะอาด
ไม่อยากเอาเรื่องเอาราวกับใคร
ถ้าเมื่อใดต้องเจอคนเลว คนเห็นแก่ตัวจัด
หรือคนที่ทำร้ายกันแบบไม่ปรานีปราศรัย
ก็จะเกิดจุดดำขนาดใหญ่ในใจ
เป็นความเกลียดที่เหมือนสัตว์ร้ายกัดหัวใจเรา
หรือเป็นความแปดเปื้อนที่ยากจะสลัดให้หลุด
ตอนทำผิด โดนด่าสาดเสียเทเสีย เราถูกกระทำ
แต่ตอนเกลียด เหมือนยอมตกอยู่ในความมืด เราเป็นฝ่ายกระทำ
ที่เหมือนกันไม่ว่าเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือฝ่ายกระทำ
คือความรู้สึกราวกับมีแผลสดที่แห้งยาก
กลับมาปวดแสบปวดร้อนได้เรื่อยๆ
การไม่หาทางจัดการกับความเกลียด
ก็เหมือนการไม่พยายามถอนพิษงู
หรืออย่างน้อยก็เหมือนไม่พยายามเอาจุดด่างพร้อยออกจากใจ
คุณจะรู้สึกแย่ได้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะรู้สึกดีกับอีกกี่เรื่องในชีวิต
นอกจากฝึกสวดมนต์แผ่เมตตา ยังมีวิธีง่ายๆอีกวิธีหนึ่ง
คือ เห็นเข้าไปให้ชัดๆ ว่าเกลียดเมื่อไหร่ ใจมืดเมื่อนั้น
เมื่อรู้สึกถึงความมืดอย่างมีสติ
แม้ไม่ต้องพยายามทำลายความมืด
ใจคุณจะสว่างขึ้นเองแล้ว และสว่างขึ้นทุกทีเมื่อเห็นบ่อยๆ
นี่เป็นวิธีง่ายๆแต่ได้ผลครับ น่าลองนะ
ดังตฤณ
มิถุนายน ๕๖

โดย: zonya    เวลา: 2013-6-24 11:12
[attach]3659[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-24 11:58
zonya ตอบกลับเมื่อ 2013-6-24 11:12

ใช่ครับยุคสมัยนี้ คนอดทนคือคนโชคดี
โดย: zonya    เวลา: 2013-6-24 16:39
[attach]3668[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-26 08:57
"การผูกเวรกันนำมาซึ่งทุกข์ไม่จบไม่สิ้น แต่เวรระงับได้ด้วยอโหสิกรรม เวรก็จะระงับกันไป"

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-28 11:17
เช้านี้มาฟังพุทธพจน์ก่อนออกไปใส่บาตรกัน
"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตเสียจากบาป
เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป"
คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙
ขอเราทุกคน...อย่ามัวรั้งรอในการสร้างความดี
เพราะวันเวลาจะกลืนกินชีวิตของเราไปเช่นกัน

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-6-28 18:57
ศัตรูของเรา คือ ความโกรธ ความเกลียด ความติดยึดในความคิดและอุดมการณ์ สู้กับศัตรูเหล่านั้น ศัตรูที่อยู่ในใจของเราเอง

ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ลูกขอตั้งปณิธานว่า ลูก-จะ-ไม่พูด-อย่างหนึ่ง-กับ-ฝ่ายหนึ่ง และพูด-อีกอย่างหนึ่ง-กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งคำพูดเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเกลียดชัง และความแตกแยกกันมากขึ้น

ถ้าใครสักคนได้เข้ามาบ่นถึงความทุกข์ของเขากับลูก และคิดว่าความทุกข์ของเขาเกิดจากผู้อื่น สิ่งแรกที่ลูกจะปฏิบัติคือ "ตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง" เพื่อที่จะให้บุคคลนั้นผ่อนบรรเทาความทุกข์ลง

ถ้าลูกได้ฟังและตระหนักรู้ว่า บุคคลนั้นมีความคิดเห็นที่ผิดพลาดในสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ ลูกจะใช้วิธีอันเป็นกุศโลบายที่จะช่วยให้เขา ได้มองสถานการณ์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ลูกจะใช้กุศโลบายที่จะช่วยให้เขาได้ เห็น-ต้นเหตุ-แห่ง-ทุกข์ ที่-เนื่อง-มา-จาก-ความคิดเห็น-ที่-ผิด ของ-เขา-เอง

ลูกจะบอกเขาเกี่ยวกับความยากลำบาก ความทุกข์ และคุณสมบัติด้านบวกของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อเตือนให้เขาจำได้ถึงสิ่งเหล่านั้น และมองสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้น ลูกจะพยายามสนับสนุนให้เขา เข้าไปหาคนอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้นั่งลงด้วยกันและเริ่มต้นสื่อสารกันใหม่

ถ้าจำเป็นลูกยินดีจะสนับสนุน และช่วยให้เขาพูดทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เขาไม่สามารถพูดออกมาได้ กับอีกฝ่ายหนึ่ง ลูกจะหลีกเลี่ยงการกระทำให้ตนเองฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่ง และต่อต้านอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความแตกแยก ร้าวฉานและความไม่เกิดสุข ในครอบครัวหรือชุมชน


หลวงปู่ติช นัท ฮันห์

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-7-3 19:47
อย่าส่ายจิตไปหาคนนู้นคนนี้


หลวงพ่อชา
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-7-5 20:24
จิต ต้องคอยระวัง
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-7-15 10:59
[attach]3920[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-7-30 21:17
ความคิดที่อันตราย

พระไพศาล วิสาโล


ในการบรรยายคราวหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รับคำถามจากแพทย์หญิงท่านหนึ่งว่า
หากผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เธอควรทำอย่างไร เนื่องจากมีผู้เตือนว่า
หากเธอช่วยเหลือเขา จะเป็นการแทรกแซงกรรมของเขา
การกระทำของเธอนั้นแม้เป็นบุญ ก็เป็น “บุญสีดำ” ซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อเธอ


แม้ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเรื่อง “บุญสีดำ”มาก่อน (คุ้นแต่คำว่า กรรมดำ กรรมขาว)
แต่ไม่รู้สึกแปลกใจกับความเห็นดังกล่าว เนื่องจากระยะหลังได้ยินบ่อยขึ้น
ก่อนหน้านี้ก็ได้ยินอาจารย์พยาบาลท่านหนึ่งพูดว่า
การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น
อาจทำให้ “เจ้ากรรมนายเวร”ของเขาไม่พอใจ และมาทำร้ายเราได้
เธอมีความเห็นว่า คนใกล้ตายนั้นกำลังชดใช้กรรม
ดังนั้นจึงควรปล่อยให้เขารับกรรมไป เธอคงหมายความต่อไปว่า
หากเขายังไม่หมดบุญหมดกรรม ก็คงยังไม่ตายง่าย ๆ


ความคิดที่ว่า คนใกล้ตายนั้นกำลังชดใช้กรรม
ดังนั้นเราจึงควรปล่อยเขาไป (ตามบุญตามกรรม)
ไม่ควรยื่นมือไปช่วยเหลือเขา
เป็นความคิดที่อันตรายมาก เพราะถ้าเห็นด้วยกับความคิดนี้
ต่อไปเมื่อเห็นใครกำลังจมน้ำตาย เราก็ไม่ควรไปช่วยเขา
เห็นคนประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน นอนรอความตาย
ก็ไม่ควรพาเขาส่งโรงพยาบาล
เห็นใครที่กำลังตายเพราะน้ำท่วมไฟไหม้
ก็ต้องปล่อยเขาไป ถือเสียว่าเป็นกรรมของสัตว์


ถ้าคิดต่อไปตามตรรกะของความเชื่อดังกล่าว ก็หมายความว่า
ใครที่กำลังประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
แม้จะยังไม่ใกล้ตาย เราก็ไม่ควรช่วยเขา
เพราะเขากำลังใช้กรรม(ที่อาจทำไว้ในอดีตชาติ)
หากเห็นผู้หญิงกำลังถูกฉุดคร่าอนาจารหรือกระทำชำเรา
ก็ควรนิ่งเฉยหรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น เห็นคนหิวโหย หรือประสบภัยพิบัติ
ก็ต้องปล่อยเขาให้เขาเผชิญทุกข์ตามลำพัง
ความคิดดังกล่าวถ้ามองให้สุดสาย ก็เห็นได้ไม่ยากว่า
ถ้าคนไทยคิดแบบนี้กันหมด เมืองไทยก็เป็นอื่นไปไม่ได้
นอกจากเป็นดินแดนอนารยะสมบูรณ์แบบ
เพราะผู้คนอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไม่มีความเมตตาปรานีต่อกันเลย


แม้จะไม่มีความรู้ทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องกฎแห่งกรรมเลย
ก็น่าจะเห็นได้ไม่ยากว่าความคิดดังกล่าวมีจุดอ่อนอย่างมาก
ใครก็ตามที่มีความคิดดังกล่าว ลองนึกภาพว่าหากลูกสาว
หรือน้องสาวของตน ถูกฉุดคร่าอนาจารหรือทำร้าย
ถ้ามีคนเห็นเหตุการณ์ต่อหน้าต่อตา
คุณอยากให้คนเหล่านั้นนิ่งเฉยหรือไม่ และหากเขานิ่งดูดาย
โดยให้เหตุผลว่า ลูกสาวหรือน้องสาวของคุณกำลังใช้กรรม
จึงไม่อยากแทรกแซงกรรม คุณจะรู้สึกกับคนเหล่านั้นอย่างไร
จะว่าไปแล้วไม่ต้องคิดให้ไกลตัว คนที่มีความคิดดังกล่าว
หากเห็นลูกของตนกำลังถูกทำร้ายอยู่ต่อหน้า
คุณจะอยู่นิ่งเฉยเพราะเห็นว่าลูกกำลังชดใช้กรรมหรือไม่


ถ้าคุณไม่ยอมนิ่งเฉย อีกทั้งไม่อยากให้ใครนิ่งเฉยปล่อยให้ลูกของคุณ
ถูกทำร้ายด้วยเหตุผล ดังกล่าว ควรหรือไม่ที่คุณจะนิ่งเฉย
เวลาเห็นลูกของคนอื่นเดือดร้อนหรือกำลังจะตายด้วยเหตุผลเดียวกัน


ความคิดดังกล่าวนอกจากจะทำให้ผู้คนไม่อยากเป็นพลเมืองดีแล้ว
ยังทำให้คนไทยไม่อยากทำหน้าที่ของตนให้ถึงที่สุดด้วย
โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ช่วยชีวิตผู้อื่น เช่น หมอ พยาบาล
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากความคิดเช่นนี้แพร่หลายในหมู่หมอและพยาบาล
อะไรจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย
(ที่จริงอาจต้องถามต่อไปว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับอาชีพหมอและพยาบาล
เพราะในเมื่อเป็นอาชีพที่ต้อง “เสี่ยง”กับการถูกเจ้ากรรมนายเวร
หรือ “บุญสีดำ”เล่นงาน จะมีอาชีพนี้ทำไม สู้ไปเป็นวิศวกร ทนายความ
หรือนักร้องนักแสดงไม่ดีกว่าหรือ)


ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความคิดดังกล่าวถูกขยายความให้ครอบคลุมไปถึง
ความพยายามทุกอย่างที่เป็นการช่วยชีวิตผู้คน
แม้จะไม่ใช่การลงมือช่วยด้วยตัวเอง แต่เป็นการช่วยในเชิงนโยบาย
ก็ถือว่าเป็นการแทรกแซงกรรม ที่ส่งผลให้ผู้ช่วยเหลือเดือดร้อนด้วย
เมื่อสามปีที่แล้ว แพทย์ใหญ่ท่านหนึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ก็มีการพูดกันในหมู่แพทย์จำนวนหนึ่งว่า
เป็นเพราะท่านผลักดันนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรคจนสำเร็จ
ทำให้ผู้คนจำนวนมากรอดตาย
เจ้ากรรมนายเวรของคนเหล่านั้นจึงหันมาทำร้ายท่านแทน


ทุกวันนี้ “เจ้ากรรมนายเวร” เป็นสิ่งที่คนไทยสะพรึงกลัวกันมาก
และถูกมองว่าเป็นต้นเหตุแห่งความวิบัตินานาประการของผู้คน
แต่ไม่เคยมียุคใดที่ฤทธานุภาพของเจ้ากรรมนายเวร
จะขยายขอบเขตกว้างขวางอย่างทุกวันนี้
จนสามารถทำร้ายคนดีที่ช่วยเหลือผู้อื่น
โดยมีพฤติกรรมไม่ต่างจากเจ้าพ่อหรือนักเลงที่หากแก้แค้นศัตรูของตนไม่ได้
ก็หันมาเล่นงานคนที่ช่วยเหลือศัตรูของตน


ความคิดแบบนี้จัดว่าเป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เอง
และไม่สอดคล้องกับหลักการของพุทธศาสนา
จริงอยู่พุทธศาสนาสอนว่า ความชั่วเมื่อได้ทำลงไป
ย่อมส่งผลให้ประสบความทุกข์ร้อน
หากทำร้ายใครก็ย่อมประสบผลร้ายในเวลาต่อมา
ในชาดกมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับผู้เคยมีเวรมีกรรมหรือถูกกระทำในชาติก่อน
แล้วมาแก้แค้นกันในชาติถัดมา นั่นคือที่มาของคำว่า เจ้ากรรมนายเวร
แต่เจ้ากรรมนายเวรในแง่นี้มิใช่อำนาจมืดที่ทรงฤทธานุภาพ
และเต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวพร้อมจะทำร้ายใครก็ตาม
ที่ขัดขวางการแก้แค้นของตนอย่างที่เข้าใจในคนบางกลุ่มเวลานี้


แนวคิดเรื่องเจ้ากรรมนายเวร หากเชื่อแล้วทำให้คนกลัวบาป
ไม่กล้าเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเชื่อแล้วทำให้นิ่งดูดาย
หรือไม่กล้าช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ ย่อมเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
อีกทั้งยังขัดกับคำสอนทางพุทธศาสนาที่เน้นเรื่องเมตตากรุณา
และการทำความดี เพราะ “ทำดีย่อมได้ดี”
หากทำความดี อุทิศตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว
ได้รับผลตอบแทนคือประสบเคราะห์จากกรรมนั้น
ก็เท่ากับขัดแย้งกับพุทธพจน์ที่ว่า “ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”



การช่วยเหลือผู้อื่นที่ประสบความทุกข์ยากนั้น
หาใช่การแทรกแซงกรรมหรือกฎแห่งกรรมไม่
เพราะถึงอย่างไรกฎแห่งกรรมก็ไม่มีใครสามารถแทรกแซงหรือขัดขวางได้อยู่แล้ว
เนื่องจากเป็นกฎธรรมชาติที่แน่นอนตายตัว
จริงอยู่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุปัจจัย
แต่ก็ไม่สมควรที่เราจะเหมารวมว่า ใครก็ตามที่ประสบความทุกข์ร้อน
นั่นเป็นเพราะเขาเคยทำความไม่ดีในอดีตชาติ
ดังนั้นจึงต้องปล่อยให้เขารับกรรมไป
ใครที่มีความเชื่อเช่นนั้น ก็แสดงว่ากำลังสมาทานลัทธินอกพุทธศาสนา
ที่ชื่อ “ลัทธิกรรมเก่า” (คือความเชื่อที่ว่า สิ่งใดก็ตามที่ประสบ
ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน)





โดย: oustayutt    เวลา: 2013-7-30 21:18
คนไทยจำนวนมากสมาทานลัทธิกรรมเก่า (ปุพเพกตเหตุวาท)
โดยสำคัญผิดว่าเป็นคำสอนทางพุทธศาสนา
ดังหลายคนเชื่อว่าความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลแห่งกรรมในอดีตชาติ
(ทั้ง ๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าคนเราเจ็บป่วยด้วยหลายสาเหตุ
ไม่ใช่เพราะกรรมอย่างเดียว) แต่น่าแปลกก็ตรงที่ว่าคนที่มีความเชื่อแบบนี้
เวลาล้มป่วยแทนที่จะอยู่นิ่งเฉย กลับแสวงหาการรักษาพยาบาล
หรือไม่ก็พยายามเยียวยาตนเอง
โดยไม่คิดว่าเป็นการแทรกแซงกรรมแม้แต่น้อย
แต่เหตุใดเวลาคนอื่นประสบความทุกข์ยาก จึงกลับวางเฉย
ด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องการแทรกแซงกรรมของเขา


เมื่อเห็นคนประสบความทุกข์ยาก ปุถุชนอย่างเราย่อมไม่มีทางรู้ได้เลยว่า
เขากำลังรับผลกรรมจากอดีตชาติหรือไม่
แต่ถึงรู้ก็สมควรที่เราจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือ
เพราะนั่นเป็นคุณธรรมและหน้าที่ที่มนุษย์พึงมีต่อกัน
มองอย่างเห็นแก่ตัว หากเราไม่ทำ นั่นก็แสดงว่าเรากำลังสร้างกรรมใหม่
ที่เป็นอกุศลกรรมให้แก่ตนเอง
ใครจะไปรู้ว่าในวันหน้าหากเราประสบเหตุร้ายแบบเดียวกัน
คนอื่นอาจเมินเฉยอย่างเดียวกับที่เราเคยทำกับผู้อื่น
หากเราไม่ปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเรา ก็ไม่ควรทำสิ่งเดียวกันนี้กับผู้อื่น

จริงอยู่ผู้ประสบเภทภัยหรือผู้ป่วยใกล้ตาย
อาจกำลังรับผลแห่งกรรมหนักที่เคยทำไว้
แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราควรจะนิ่งดูดาย
แต่หากทำเต็มที่แล้ว ไม่สามารถเยียวยารักษาหรือช่วยเหลือได้
ก็ต้องทำใจปล่อยวาง ถึงตอนนั้นจะบอกว่าเป็นกรรมของเขา
เราไม่อาจฝืนกรรมของเขาได้ ก็มิใช่เรื่องเสียหาย
ดีกว่าที่จะวางเฉยแต่แรกโดยอ้างว่าเป็นกรรมของสัตว์


พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเมตตากรุณา
กฎแห่งกรรมคือความจริงที่พระพุทธองค์นำมาสอน
เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทำความดี หนีความชั่ว หมั่นสร้างบุญกุศล
และเอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น รวมทั้งฝึกฝนจิตใจเพื่อให้ลดละความเห็นแก่ตัว
จนหลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน
ทำให้มีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่มีประมาณ
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ นับวันกฎแห่งกรรมถูกใช้เพื่อส่งเสริมความเห็นแก่ตัว
อยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไร้น้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์
ขณะที่บุญกุศลถูกตีความเพื่อส่งเสริมความโลภ
(เช่น ทำบุญเพื่อให้ถูกหวยรวยพนัน หรือถวาย ๑๐๐ บาทแต่หวังรวยเป็นล้าน)
มุ่งเอาเข้าตัวยิ่งกว่าจะเผื่อแผ่ผู้อื่น


ทัศนคติดังกล่าวลุกลามไปจนถึงขั้นมีความเชื่อในคนบางกลุ่มว่า
เราไม่ควรแผ่ส่วนบุญให้ใครมากนัก เพราะจะทำให้บุญของเราเหลือน้อยลง
(คนที่คิดเช่นนี้ไม่เข้าใจแม้กระทั่งคำสอนพื้นฐานเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัตติทานมัย หรือการทำบุญด้วยการการแผ่ส่วนบุญให้ผู้อื่น
ซึ่งหมายความว่ายิ่งแผ่ส่วนบุญให้ผู้อื่น เราก็ยิ่งได้บุญมากขึ้น)


สัตว์ที่กำลังรอถูกเชือด หากเราช่วยไถ่ชีวิตเขาออกมาได้ ย่อมถือว่าเป็นบุญฉันใด
การช่วยเหลือผู้ใกล้ตายให้มีชีวิตรอด หรือจากไปอย่างสงบ ก็ถือว่าเป็นกุศลฉันนั้น
ชาวพุทธไม่มีความคิดว่าการไถ่ชีวิตสัตว์เป็นการแทรกแซงกรรมฉันใด
ก็ไม่ควรมองว่าการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์เป็นการขัดขวางกฎแห่งกรรมฉันนั้น


โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-1 14:56
ความสุข ๒ ชั้น ( ธรรมะเดลิเวอรี่)
โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง.แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน
โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
***
อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย
เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า
ช้า ก็หาว่าอืดอาด
โง่ ก็ถูกตวาด
พอฉลาด ก็ถูกระแวง
ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง
ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด
เฮ้อ นี่แหละชีวิตคนทำงาน

ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน
ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย ฯลฯ
โดยจะว่าไปแล้ว บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ ๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ
อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า
' ไม่เบื่อหรอกครับท่าน เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ ... แต่ผมให้เข้าครับ' ( แล้วไป)
อาตมาจึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก)
ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า
ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย
ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด
ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ
เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น
อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า
งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน
ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง
หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย
เจริญพร...

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-2 21:57
[attach]4092[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-6 13:01
รู้จักปล่อยวาง ถ้ามัน หนัก
รู้จักหยุดพัก ถ้ามัน เหนื่อยล้า
รู้จักแก้ไข ถ้าเคย ผิดพลาดมา
รู้จักไขว่คว้า เมื่อโอกาส มาหาเรา!

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-12 20:56
[attach]4182[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-18 20:02
 

มรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่น ๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเราเมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วยังจะมีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็ต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสติ นั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไร ๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว

มรณสตินี้ พระพุทธเจ้าทรงถามภิกษุทั้งหลายว่าภิกษุทั้งหลายเธอพิจารณามรณสติอย่างไร ภิกษุบางองค์กราบทูลว่า ข้าพระองค์พิจารณามรณสติแล้ว กลัวว่าชีวิตจะไม่ข้ามวันข้ามคืนไปได้ กลัวจะตายก่อนไม่ทันฉันบิณฑบาต บางองค์พิจารณาขณะฉันอยู่ ก็กลัวว่าจะตายก่อนฉันไม่ทันเสร็จ แม้ถึงอย่างนั้นพระองค์ยังตรัสว่าประมาทอยู่

เมื่อผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเช้าออกนั้นจึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
โดย: oustayutt    เวลา: 2013-8-18 20:26
[attach]4245[/attach]

โดย: เฟม...zonya    เวลา: 2013-9-2 15:18

อย่าปิดกั้น "ตัวเอง" เพราะ "ความอิจฉา"
อย่าปิดกั้น "ความก้าวหน้า" เพราะ "อคติ"
อย่าปิดกั้น "คนอื่น" เพราะ "ความมีทิฐิ"

อย่าปิดกั้น "สติ" เพราะ "เอาแต่ใช้อารมณ์"..!!!

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-10-9 19:49
[attach]4926[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-11-5 21:28
ศีลกับธรรมพาเฮาดีได้ ควรตัดสินใจน้อมเข้าเพิ่ง

รัตนะพระไตรหน่วยแก้ว       แนวพายั้งอยู่จั่งเย็น

ไผบ่ถือศีลธรรมพระพุทธเจ้า เป็นคนเสียชาติเปล่า

ไผบ่เชื้อธรรมพระพุทธเจ้า    ตายถิ่มค่าอยู่ไส

(ศีลกับธรรมนำเราได้ดี ควรน้อมนำใจให้มีศีลธรรม ยึดพระรัตนไตรเป็นที่พึ่ง คนไม่มีศีลธรรมถือว่าเกิดมาตายเสียชาติเกิดแท้ๆ)

โดย: oustayutt    เวลา: 2013-11-5 21:30
อ่านตัวให้ออก             บอกตัวให้ได้


ใช้ตัวให้เป็น       ฝึกใจให้เย็นอยู่เสมอ


อย่าเผลอ   ทำใจให้เป็นหนึ่ง...

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-1-19 07:25
กวีนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ากล่าวไว้ว่า


     เห็นกันอยู่เมื่อเช้า             สายตาย
สายอยู่สุขสบาย                   บ่ายม้วย
บ่ายชื่นรื่นรวยราย                 เย็นดับ  ชีพแฮ
เย็นเล่นกับลูกด้วย               ค่ำม้วยอาสัญ

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-1-19 10:00
[attach]6362[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-1-27 15:16
[attach]6382[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2014-2-8 22:38
[attach]6421[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-2-11 11:24
[attach]6430[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-2-11 21:28
[attach]6433[/attach]
โดย: oustayutt    เวลา: 2014-2-23 22:14
[attach]6527[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-3-17 16:13
คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

        หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ได้เคยสอนเรื่องการปฏิบัติพระกรรมฐาน ไว้ว่าเราทุกคน ถ้าก่อนจะตาย ถ้าจิตจับอารมณ์ที่เป็นบาป อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะนั้นแล้วก็ตาย อย่างนี้ตายไปอบายภูมิแน่ ถึงแม้จะทำบุญไว้มากสักเพียงไรก็ตาม ต้องไปนรกก่อน เราจะไปสวรรค์ก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีชีวิตอยู่ ถ้ามีความฉลาด ถึงแม้ว่าเราจะบาปมากจะมีบุญน้อย ก็ควบคุมอารมณ์ ที่เป็นบุญไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าทุกคนตั้งใจ ไว้เฉพาะพระนิพพาน ถึงแม้เราจะมีบุญน้อย เราก็สามารถไปพระนิพพานได้

        พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงอย่านึกถึงความชั่วที่ทำมาแล้ว ความชั่วก็คือ บาป บาปก็คือ ความชั่วเราไม่ยอมนึกถึงมัน นึกถึงความดีอย่างเดียว ควบคุมจิตให้เป็นฌาน ให้ได้ทุกวัน ฌานก็ได้แก่ อารมณ์ชิน คิดไว้เสมอว่า เราจะเจริญสมาธิภาวนาได้ทุกอย่างเป็นพุทโธ วันหนึ่งเราสามารถทำได้สัก ๑๐ นาที ๒๐ นาทีก็ตาม แม้จะมีเวลาน้อย และถ้าทำได้ ให้นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เราชอบ แล้วภาวนาอย่างนี้ทุกวันจนชิน อย่างนี้เรียกว่าเป็นฌาน

        ถ้าทำได้แบบนี้ทุกวัน ถึงแม้จะบาป มากขนาดไหนก็ตาม ก่อนตายแทนที่จะเห็นภาพ ที่เราเคยทำบาป บาปจะเข้ามาไม่ได้ มันมีแต่ภาพของบุญอย่างนี้ไปสวรรค์แน่ เป็นอย่างต่ำ การเจริญพระกรรมฐานอันดับแรก ให้ทุกคนกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่หายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่หายใจออก อาจจะภาวนา "พุทโธ" หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" สัก ๒-๓ ครั้ง ก็ได้ตามความพอใจมากก็ได้น้อยก็ได้แล้วก็หลับไป พอตื่นขึ้นมาใหม่ๆ ก็นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอีกแล้วก็ภาวนาว่า "พุทโธ" อีก

        ทำอย่างนี้ทุกวัน จนกระทั่งวันไหนถ้าเราไม่มีโอกาสจะทำ วันนั้นรำคาญ ต้องทำเป็นอารมณ์ชิน อย่างนี้ ถือว่า ทรง ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว แม้ศีลมันจะขาดมันจะบกพร่องบ้าง ถึงยังไงก็ตาม ตายแล้วต้องไปสวรรค์แน่นอ

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-3-18 19:34
[attach]6636[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-3-22 19:54
[attach]6645[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-3-22 19:55
[attach]6646[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-3-22 19:56
[attach]6647[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-4-26 13:30
ตอน ‘มโนไปเอง’
เอาแต่อยู่กับความคิดในหัวของตัวเอง
คุณอาจรู้สึกเหมือน ‘ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง’
หรือไม่อีกทีก็ ‘ทำได้ทุกอย่าง’ เกินจริง
ต่อเมื่อออกจากความคิดในหัว เลิกมโน
หันมาอยู่กับการลงมือทำจริง
จากสิ่งที่ริเริ่มคิด
หรือจากปัญหาที่ติดอยู่
แบบไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย
เอาง่ายๆเท่าที่ทำได้เลย
ตัวตนแบบคิดไปเองจะค่อยๆเลือนหาย
กลายเป็นตัวตนโง่ๆ ตัวตนฉลาดๆ
ผลัดกันโผล่โฉมออกมาให้รู้ตัวทีละนิดว่า
ทำอะไรได้แค่ไหน ยังต้องเรียนรู้อะไรถึงค่อยทำได้
ทุกคนจะรู้จักตัวเองจริงๆจากความโง่ที่หายไป
ไม่ใช่จากความฉลาดที่มีอยู่ก่อน
ดังตฤณ
เมษายน ๕๗

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-4-28 19:43
[attach]7264[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-5-26 21:03
[attach]7448[/attach]





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://www.baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2