ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 9404
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

งูกับสัญลักษณ์การแพทย์

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2014-1-27 14:00

ตำนานเทพเจ้ากรีก----->งูกับสัญลักษณ์การแพทย์ มันยังไงนะ('_')?





       "งู" ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ร้ายที่มีพิษถึงตาย บ้างก็ว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย ท่านผู้อ่านคงสงสัยแล้วสิว่า เอ๋....ทำไมเจ้างูตัวน้อยถึงได้มีสิทธิได้ไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลต่างๆ คณะแพทยศาสตร์หลายแห่ง หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังมีงูปรากฎอยู่บนตราสัญลักษณ์ของกระทรวง พูดมาตั้งนานท่านผู้อ่านอาจนึกภาพไม่ออกมาลองดูเลยแล้วกัน ^_^




         งูตัวแรกงู A งูของคณะแพทย์ของหมอแบงค์เอง คณะแพทย์ศาสตร์ มศว เอ๋จะว่าเป็นงูซะทีเดียวก็ไม่ได้นะมันพญานาคมากกว่า 55
         งูตัวถัดมา งู B เป็นงูของคณะแพทยศาสตร์กรุงเทพและวชิรพยาบาล    ส่วนงู C และ D เป็นงูของคณะแพทย์ อุบล และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามลำดับ




                ไม่เว้นกระทั้งตราของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังมีงูตัวน้อยเลื้อยพันอยู่ภายในตราสัญลักษณ์
                สงสัยแล้วใช่ไหมครับว่าทำไม........ต้องเป็นงูสัตว์เลื้อยคลายเดินเดินทำมะด้า...ธรรมดาด้วย ทำไมไม่่เอานกเหยี่ยว นกอินทรีย์มาเป็นสัญลักษณ์ล่ะ เท่!กว่ากันเยอะเลย                                                                     

                                                                   คำตอบก็คือ

        ยังไม่เฉลยคับ 55 ไหนลองบอกมาก่อนสิ เห็นงูมาหลายตัวแล้ว มีใครตาไวบ้างว่าจากสัญลักษณ์ที่เห็นมาทั้งหมด งูมันแตกต่างกันอย่างไร ? (คิดง่ายๆนะ ไม่ต้องคิดมาก)

        เอาล่ะเฉลยคือ....หากท่านผู้อ่านลองสังเกตตราทั้งหมดดูดีๆจะพบว่างูมีทั้งแบบงู 1 ตัวพันไม้คทา และแบบมีงู 2 ตัวพันไม้คทา 555 อึ้งเลยสิ >_<  หมอแบงค์ไม่ได้จะกวนอะไรท่านผู้อ่านหรอกนะ แต่ทั้งแบบงู 1 ตัวและแบบงู 2 ตัวต่างมีความหมายในตัวของมันเองสัญลักษณ์ทั้งสองล้วนมีต้นกำเนิดมาจากตำนานเทพเจ้ากรีกโบราณด้วยกันทั้งคู่ต่างกันเพียงมาจากคนละตำนานเท่านั้น

         ไม้เท้าที่มีงูพัน 1 ตัว เรียกว่า ไม้เท้าแห่งแอสคูลาปิอุส (The Staff of Aesculapius )
ไม้เท้าที่งูพันสองตัว เรียกว่า ไม้เท้าคาดูเซียส (Caduceus)

         รู้สึกจะอารัมพบทกันมาพอสมควรแล้ว หมอแบงค์ก็ขอเชิญน้องๆเข้าสู่ตำนานกาพย์แรกกันได้เลยครับ

                                     The Staff of Aesculapius


          ย้อน.....ไปในสมัยที่อดีตกาลอันเก่าแก่
            ย้อน..........ไปในสมัยที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชน หมู่บ้านเล็กๆ
            ย้อน...............ไปในสมัยที่การไปมาหาสู่กันต้องอาศัยเกวียนและสัตว์พาหนะ
            ย้อน.....................ไปในสมัยเพึ่งก่อกำเนิดมาจากความว่างเปล่าได้ไม่นาน สมัยที่โลกนั้นถูกปกครองโดยเทพผู้ยิ่งใหญ่สามองค์ ได้แก่  "ซุส Zeus" "ฮาเดส Hades" และ "โปเซดอน Poseidon" โดยซุสนั้นเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดปกครองเทือกเขาโอลิมปัส สรวงสวรรค์และพื้นพิภพทั้งหมด  ฮาเดสปกครองขุมนรกและบาดาล ส่วนโปเซดอนปกครองมหาสมุทรอันกว้างใหญ่

           ซุสนั้นมีโอรสอยู่องค์หนึ่งนามว่า "อพอลโล" หรือที่เรารู้จักกันในอีกนามคือ เทพสุริยะ หรือเทพเจ้าแห่งสัจจะและความซื่อตรง เมื่อยังเยาว์อพอลโลเที่ยวไปตามแว่นแคว้นต่าง ๆ ทางทิศเหนือของประเทศกรีซ จนถึงแคว้นเธสสะลีซึ่งเป็นดินแดนของชนชาติไฮเพอร์โบเรียน ในแคว้นเธสสะลีมีสาวเจ้าคนหนึ่งหน้าตาสละสลวย งดงามยิ่งนัก ชื่อว่า โครอนนิส (Coronis) เป็นธิดาเจ้าแห่งแคว้นนั้น อพอลโลก็รู้สึกรักใคร่ชอบพอนางโดยทันที ท้ายที่สุดอพอลโลผูกสมัครรักใคร่ได้ เสียกับนางจนตั้งครรภ์ และได้เดินทางกลับเทือกเขาโอลิมปัสไป แต่เทพอพอลโลก็มิได้ทอดทิ้งนาง ยกส่งนกดุเหว่าสีขาวบริสุทธิ์หนึ่งตัวไว้คอยดูแลนาง แต่กลับปรากฎว่า โครอนนิสเป็นหญิงหลายใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่รัก แอบไปคบชู้กับชายอื่น นกดุเหว่าจึงกลับไปบอกอพอลโลนายของตนให้ทราบเรื่อง เมื่อทราบข่าวอพอลโลโกรธมากและบันดาลโทสะ สาปเจ้านกดุเหว่าให้มีขนสีดำตลอดไปโทษฐานเอาข่าวอัปมงคลมาบอก  และได้เดินทางเพื่อไปลงทัณฑ์โครอนนิสด้วยตนเอง แต่ปรากฎว่าเมื่อไปถึงกลับทำนางไม่ลง จึงให้ "เทพอาร์ทีมิส Artemis" ซึ่งเป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์ผู้เป็นที่เคารพรักของเหล่านายพรานเป็นคนลงมือ แผงศรปลิดชีวิตของนางโครอนนิส แต่หลังจากนางโครอนนิสตาย อพอลโลก็รู้สึกผิดและเสียใจต่อการกระทำของตนมาก จึงใช้พลังช่วยชีวิตบุตรของตนซึ่งจวนครบกำหนดคลอด และนำไปฝากให้ไครอน(Chiron) ซึ่งเป็น Centaur ผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้ เป็นผู้เลี้ยงดูและประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ และขนานนามบุตรของตนเองว่า แอสคูลาปิอุส(Aesculapius)

ไครอนนี้เป็นอาจารย์ผู้ปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญในวิชาการต่าง ๆ มีวิชาดนตรี เภสัชกรรมวิทยา และวิชาธนูศิลป์ เป็นต้น เป็นที่นับถือของชาวกรีกโบราณว่า เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชสมุนไพรทำยา และเป็นอาจารย์ของวีรบุรุษคนสำคัญ ๆ ในเทพปกรณัมมากมาย เช่น อคิลีส , เฮอร์คิวลีส(คนนี้น้องๆคงเคยได้ยินชื่อ) , เยสัน , พีลูส , อีเนียส และคนอื่น ๆ อีก,มากมาย เป็นเด็กฉลาดเฉลียวมีความเข้าใจแตกฉานและเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง วิชาที่เขาใส่ใจศึกษาที่สุดได้แก่ โรคศิลป์ เพราะฉะนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขี้น เขาจึงกลายเป็นหมอบำบัดโรคผู้มีความสามารถยิ่ง

          ความสามารถในการบำบัดโรคของแอสคูลาปิอุสนั้นเก่งกาจยิ่งกว่าอาจารย์ของเขามาก ด้วยว่าสามารถบำบัดโรคและความป่วยไข้ได้ทุกชีวิต ซึ่งแม้แต่ไครอนเองก็ทำไม่ได้ ในไม่ช้าชื่อเสียงของแอสคูลาปิอุสก็เลื่องลือไปไกล ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยหนักหนาสาหัสหรือเล็กน้อย ถ้าได้รับการบำบัดจากเขาแล้วอาการก็จะทุเลาลงอย่างรวดเร็ว จนกล่าวว่าหายวันหายคืนเลยทีเดียว ผู้คนพากันไปขอรับการบำบัดโรค ณ สถานบำบัดโรคของเขาจากทุกสารทิศ



            การที่งูมาเกี่ยวข้องกับแอสคูลาปิอุส มีเรื่องเล่าอยู่ว่าขณะที่เขากำลังรักษาผู้เจ็บป่วยในสถานบำบัดโรคของเขา ก็มีงูตัวหนึ่งเลื้อยเขามาและกัดทำร้ายผู้ป่วย เขาจึกตัดสินใจใช้ไม้เท้าทุบฆ่ามันจนตาย และรักษาผู้ถูกมันกัดจนหายดี จากนั้นเขาก็ได้ใช้สมุนไพรชุบชีวิตเจ้างูตัวนั้นขึ้มมา เจ้างูตัวนั้นจึงสำนึกในบุญคุณและเลื้อยขึ้นมาพันไม้เท้าของเขาและยอมเป็นผู้รับใช้ในการรักษาโลกของแอสคูลาปิอุส ภาพไม้เท้าที่มีงูพันหนึ่งตัวจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์และการรักษา แสดงถึงจริยธรรมอันแนวแน่ของแพทย์

การที่แอสคูลาปิอุสมีความสามารถมากจนเป็นที่เลื่องลือก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาอายุสั้นด้วย เนื่องจากเขาเก่งกาจมากจนสามารถรักษาแม้กระทั่งคนตายให้ฟื้นคืนชีวิตได้ จึงทำให้คนตายลดลงยมโลกเกิดความเงียบเหงา จนฮาเดสเทพแห่งความตาย ถึงกลับขุ่นเคืองจนนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อมหาเทพซุส โดยบอกว่า "เจ้าพวกมนุษย์นั้นกำลังคิดกำเริบพยายามเอาตัวเทียบเคียงเทพเจ้า โดยแม้แต่ความตายก็เอาชนะได้ ปล่อยไว้แบบนี้จะเป็นภัยภายหลัง" ซุสฟังความข้างเดียวจึงได้ส่งอัสนีบาต สายฟ้าลงมาถูกตัวเขาตายในทันที เทพอพอลโลรู้สึกโกรธมากทีลูกของตนถูกฆ่าแต่ก็ทำอะไรเทพบิดาไม่ได้ จึงไปจับยักษ์ตาเดียวของเทพเจ้าซุสมาฆ่าเสียเป็นการล้างแค้น เทพซุสจึงลงโทษเทพอพอลโลในความอุกอาจครั้งนี้ โดยเนรเทศอพอลโลให้ลงมาอยู่ในโลกมนุษย์และเป็นขี้ข้ามนุษย์เป็นเวลา 1 ปีจึงจะพ้นโทษ

         ต่อมาภายมหาเทพซุสได้ทราบความจริง และรู้สึกเสียใจกับความหุนหันพลันแล้นของตน จึงเสด็จลงมาโลกมนุษย์ด้วยตนเองและนำดวงวิญญาณของแอสคูลาปิอุสกลับไปยังเทือกเขาโอลิมปัสและจุติใหม่เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา.......

                                            ไม้เท้าคาดูเซียส (Caduceus)

          เรื่องถัดมาเป็นเรื่องของไม้เท้าคาดูเซียส ไม้เท้าที่มีงูพันสองตัว เดิมทีไม้เท้านี้เป็นเพียงไม้เท้ามีปีกของ "เฮอร์เมส Hermes" หรือรู้จักกันในนามเทพแห่งการสื่อสารและการพูด วันหนึ่งขณะที่เออร์เมสลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ก็ได้พบงูสองตัวกำลังต่อสู้กัน พระองค์จึงเอาไม้เท้าทิ่มระหว่างกลางเพื่อยุติความวิวาท เจ้างูทั้งสองจึงหยุดการต่อสู้และเลื้อยขึ้นมาบนไม้เท้าโดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาไม้เท้าคาดูเซียสจึงมีงูพันอยู่สองตัวและกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลาง การทูต การเจรจา และสันติภาพ  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพทย์แต่อย่างใด


           เห็นได้ว่าสัญลักษณ์ของวิชาชีพแพทย์ที่ถูกต้องจริงๆแล้วคือ The Staff of Aesculapius แต่ตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการใช้ไม้เท้า Caduceus เข้ามาปนด้วย อาจเนื่องจากผู้พิมพ์หนังสือตำราแพทย์ในสมัยก่อนใช้ตรา Caduceus สับสนกับ ไม้เท้าแอสคูลาปิอุส แม้กระทั้งกรมการแพทย์ทหารบกของสหรํฐอเมริกาก็นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ดังรูป A จึงอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ไม้เท้า Caduceus แพร่หลายในปัจจุบัน

          ถึงแม้ในปัจจุบันสัญลักษณ์ทั้งสองจะมีใช้ปะปนกันทั่วไป แต่ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ถ้าหน่วยงานที่เอาไปใช้นั้นสื่อถึงความหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของวิชาชีพแพทย์ อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์ที่มีที่มาที่ถูกต้องคือ งูตัวเดียว The Staff of Aesculapius  ครับผม

จบกันไปแล้วนะครับ สนุกไม่สนุกก็ติชมได้ แต่ก็หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ :-) บทความอันนี้เหนื่อยมากเลยต้องหาข้อมูลจากหลายเวปกับหนังสืออีกหลายเล่มเลย โอ้ยเหนื่อย       - -"  ก่อนจะลากันตรงนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ Reference กันหน่อย
  

http://thedoctorstory.blogspot.com
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ขอบคุณครับ....
นาค มังกร Naga
ดูๆ จะฝังอยู่ในความเชื่อของผู้คนในภูมิภาคต่างๆ มาตั้งแต่โบราณ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้