ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2099
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ~

[คัดลอกลิงก์]
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 11:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป

.................................................................

ที่มา
http://www.dhammakaya.org/dhamma/boon01.php
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 11:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผลของบุญกิริยาวัตถุ 10


๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
๒) เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
๓) ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
๔) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
๕) ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
๖) ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
๗) ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
๘) ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
๙) มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
๑๐) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
๑๑) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
๒) ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
๓) ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
๔) ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
๕) ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
๖) ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
๗) ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
๘) ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
๒) มีผิวพรรณผ่องใส
๓) มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
๔) มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
๕) เป็นคนใจคอเยือกเย็น
๖) เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
๗) มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
๘) เกิดในตระกูลดี
๙) มีบุคลิกสง่างาม
๑๐) มีมิตรสหายมาก
๑๑) เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
๑๒) เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
๑๓) สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
๑๔) ปราศจากอกุศลทั้งปวง
๑๕) ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
๑๖) มีอายุยืน
๑๗) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ) ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เกิดในตระกูลสูง
๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
๓) มีมิตรสหายดี
๔) ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
๕) มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
๖) ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา

๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
๒) มีมิตรสหายมาก
๓) มีไหวพริบความจำดี
๔) มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ไม่มีความอดอยาก ยากจน
๒) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
๓) มีบริวารดี
๔) เป็นที่รักของผู้พบเห็น
๕) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
๖) มีอายุยืน

๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) มีสุขภาพสมบูรณ์
๒) มีฐานะดี
๓) มากไปด้วยลาภสักการะ
๔) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) เกิดในตระกูลสูง
๒) มีสติปัญญาดี
๓) มีมิตรสหายดี
๔) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม
ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) ไม่มีกลิ่นปาก
๒) มีฟันขาวเรียบ
๓) บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
๔) มีบุคลิกสง่างาม
๕) มีความจำดี
๖) เป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้พบเห็น

๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

๑) มีปัญญาดี
๒) ไม่อดอยาก
๓) ไม่ยากจน
๔) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
๕) มีบุคลิกสง่างาม
๖) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
๗) มีฐานะความเป็นอยู่ดี
๘) มีบริวารมาก
๙) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ

ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน

ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล

ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา

ภาวนามัย อานิสงค์ 10 ข้อดังกล่าว จะสรุปได้ว่า

บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ได้บุญ เพราะจิต ได้ ข่ม ลด ละ เลิก ตัด กิเลส เป็น ชั้นๆ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน
  ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้