ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5487
ตอบกลับ: 6

พระสังฆารามโพธิสัตว์กวนอู

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-9-7 16:48





เป็นอันแน่ทีเดียว ที่ในยุคหลังจะหาผู้ใดเสมอเหมือนท่านลอร์ดกวนมิได้แล้ว
ท่านยืนเด่น อยู่เหนือกว่าเศียร และไหล่ของบรรดาผู้ทรงเกียรติอื่น ๆ
ดุจเทพเจ้า และเหี้ยมหาญน่าพรั่นพรึงในยามสงคราม สง่างาม และสุภาพอ่อนโยนในยามสงบ
ศุภราศีเปล่งปลั่ง ดั่งดวงอาทิตย์ ในนภากาศยามเที่ยง
กอปร ด้วยความมีรัศมี เยี่ยงผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในบูรพากาลนั้น
ท่านสถิตเป็นแบบอย่างอันรุ่งโรจน์ที่สุด สำหรับทุกยุค
มิใช่แต่เฉพาะในทุรยุค ที่ท่านมีชิวิตอยู่


     นี่คือคำนิยม ที่ปรมาจารย์ยาขอบ เขียนเชิดชู กวนอู ไว้ในหนังสือสามก๊กฉบับวณิพก เป็นคำนิยมที่ถอดความจากหนังสือสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของบริวิท เทเลอร์ ซึ่งบริวิท เทเลอร์ ก็นำความอันนี้มาจากหนังสือสามก๊กภาษาจีน อีกต่อหนึ่งโดยไม่มีการตัดทอน
      ด้วยความอันนี้เอง ที่บ่งบอกถึงความนิยมชมชอบในตัวกวนอู ทั้งสามก๊กไทย สามก๊กจีน หรือสามก๊กอังกฤษ และยกย่องให้กวนอูอยู่เหนือตัวละครใด ๆ ทุกผู้คนในเรื่องสามก๊ก ให้อยู่ในสถานะอันสูงส่ง ของเทพเจ้า ดังที่ ยาขอบ ให้สมญาว่า “เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ”

      ในสามก๊ก กวนอู คือบุคคลผู้เป็นเอกด้านความซื่อสัตย์ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของพระพุทธศาสนา กวนอู คือ “พระสังฆารามโพธิสัตว์” พระโพธิสัตว์ผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาวัดวาอาราม และพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร

พระสังฆารามโพธิสัตว์ (伽藍菩薩)

      พระสังฆารามโพธิสัตว์ (Sangharama Bodhisattva : 伽藍菩薩) หรือ เชียหลานผูซา ในภาษาจีนกลาง และ เกียนั้มพู้สัก ในภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ได้บำเพ็ญโพธิสัตว์บารมีไว้มาก แล้วได้ทำการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามาตลอดชีวิต เมื่อเวลาที่บุคคลผู้นั้นได้ละสังขารมนุษย์ไป บุคคลผู้นั้นจะได้รับการยกย่องให้เป็นพระสังฆารามโพธิสัตว์

      เดิมทีการสร้าง พระสังฆารามโพธิสัตว์ ในประเทศจีนเกิดจากจินตนาการของผู้สร้าง ใครจะปั้นเป็นหน้าใครก็ได้ ต่อมาเมื่อมีริเริ่มนำ กวนอู มาเป็นต้นแบบ จึงมีคนทำตามและใช้รูปปฏิมากรรมของเทพเจ้ากวนอูมาเป็นรูปสักการะของพระสังฆารามโพธิสัตว์สืบต่อกันมาทั่วทั้งประเทศจีนจนถึงทุกวันนี้ และนี่อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่ส่งเสริมบารมีของ เทพเจ้ากวนอู ให้สูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้น

      ทั้งนี้ในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูได้แสดงออกถึงความเป็นผู้บรรลุธรรมชั้นสูง ในตอนที่กวนอูจุดเทียนอ่านหนังสือทั้งคืน เพื่อเฝ้าคุ้มกันพี่สะใภ้ ซึ่งความในตอนนี้ คุณ เรือง วิทยาคม ได้อธิบายไว้ในหนังสือสามก๊กฉบับคนขายชาติ ว่าเป็นการเจริญกสิณชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เตโชกสิณ” มีใจความดังนี้

      พิเคราะห์แล้วเห็นได้ชัดว่าฉายาเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ของกวนอูนั้นมิใช่ได้มาเพราะคำยกย่องอันเลื่อนลอย หากได้มาเพราะอำนาจแห่งจิตบางชนิดที่ขุนพลผู้นี้ได้ฝึกฝนเป็นที่อาศัยแห่งจิตตัว การนั่งดูหนังสือในอาการสงบนิ่งตลอดทั้งคืนก็คืออาการของการเข้าสมาธิจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้กวนอูเป็นนักรบที่มีจิตใจมั่นคง มีจิตใจบริสุทธิ์ และมีพลังซึ่งเรื่องราวในสามก๊กได้เผยให้เห็นหลายครั้งหลายหน

      ร่างกายของคนเราต้องอาศัยอาคารบ้านเรือนเป็นที่พัก จิตใจก็เช่นเดียวกันย่อมมีที่พักที่พิง เป็นแต่ว่าคนโดยทั่วไปไม่รู้และไม่เข้าใจ ที่อาศัยอันเป็นที่พักพิงของจิตนี้เรียกว่า “วิหาร” คืออาศัยวิหารธรรมข้อใดก็เรียกวิหารธรรมข้อนั้นว่าเป็นที่อาศัยของจิต อาการนั่งดูหนังสือตลอดรุ่งน่าจะเป็นกรณีที่จิตได้พึ่งพิงอาศัยการกำหนดสติมั่นอยู่กับการกำหนดลมหายใจหรืออานาปาณสติวิหาร หรือมิฉะนั้นการที่มีดวงเทียนวางอยู่เบื้องหน้าก็อาจเป็นการเจริญกสิณชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เตโชกสิณ”

      กวนอู เป็นผู้ที่มีสมาธิจิตขั้นสูง และไม่ใช่เรื่องยกย่องจนเกินเลยให้เป็นเทพเจ้า การมีผู้คนกราบไหว้ เคารพนับถือบูชามานับพันปี จึงไม่ใช่เรื่องปั้นแต่ง และอย่างน้อย ๆ การที่เราบูชา พระสังฆารามโพธิสัตว์กวนอู ยังเป็นกุศโลบายเตือนใจ ให้เราตั้งตนอยู่ในคุณธรรม เหมือนดังคำพูดของชาวจีนที่ว่า..


โหงวเฮ้งดี ฮวงจุ้ยดี มีความรู้ความสามารถดี แต่ไร้คุณธรรมความซื่อสัตย์ก็ไร้ค่า .... สวัสดีครับ

เครดิต http://samkok911.blogspot.com
โพสต์ 2015-4-20 14:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
โพสต์ 2015-4-23 08:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
โพสต์ 2015-4-27 17:36 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
โพสต์ 2017-3-27 06:47 | ดูโพสต์ทั้งหมด
โพสต์ 2017-3-27 11:43 | ดูโพสต์ทั้งหมด
โพสต์ 2019-6-1 06:35 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้