ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2086
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อแปลก วัดลำน้ำ จ.ราชบุรี

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่อแปลก  วัดลำน้ำ จ.ราชบุรี




  เส้นทางแห่งธรรมเป็นหนทางเข้าสู่ธารแห่งความสงบนั้นมิได้โปรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบเสมอไปหากผู้ที่ต้องการจะแสวงหาความสงบสุขทางธรรมที่ยังคงยึดอยู่กับกิเลส ตัณหา และความโลภ และคิดว่าเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางแห่งการแสวงหาทรัพย์สมบัติเพื่อสะสมไว้ในยามลาสิกขาบทเป็นเรื่องที่ควรพึ่งประมวลปฏิบัติ
  ความสงบสุขทางจิตถือเป็นนิมิตแห่งการเข้าสู่เส้นทางธรรมของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะต้องละทางโลกให้สิ้น หนึ่งในบรรดาพระคณาจารย์ผู้เรืองวิชาศึกษาตามพุทธศาสนาจนเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาญาติโยมลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศรูปหนึ่งของ จ.ราชบุรี ที่เอ่ยชื่อถึงแล้วชาวราชบุรีคงไม่มีใครปฏิเสธถึงความน่าศรัทธาของท่าน พระคณาจารย์ท่านนี้ก็คือ หลวงพ่อแปลก แห่งวัดลำน้ำ ต.ดอนใหญ่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี หลวงพ่อแปลกท่านนี้แม้ว่าท่านจะอายุอานามหลายพรรษาเข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมมาช้านานประกอบกับปฏิปทาของท่านที่เสมอต้นเสมอปลายไม่เคยแปรเปลี่ยน เป็นเสมือนเขื่อนที่สะสมเอาแรงทานศรัทธาของสาธุชนใกล้ไกลที่ต่างให้ความนับถือท่านมากขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับ จนบางท่านที่พึ่งจะพบเจอหลวงพ่อแปลกมักจะเกิดความสงสัยไปถึงเหตุที่ทำให้สาธุชนรู้จักนับถือท่านได้ถึงขนาดนี้  วันนี้จึงจะได้ถือโอกาสเปิดตำนานความเป็นมาที่เล่าขานกันมาและประวัติที่มาของท่านอันเป็นต้นกำเนิดแห่งความศรัทธาของท่านที่หลวงพ่อแปลกท่านจะร่วมเล่าให้เราท่านได้รับรู้กันทั่วประเทศ

  หลวงพ่อแปลกนั้นแต่แรกเริ่มเดิมที่ท่านก็เป็นชาวราชบุรีมาตั้งแต่กำเนิด ท่านเกิดที่บ้านหมู่ที่ 8 ต.ดอนใหญ่ โดยโยมบิดาท่านชื่อ เตี้ย โยมมารดาท่านชื่อ อี่ นามสกุลเดิมของท่านคือ แน่จิตร ครอบครัวของท่านประกอบไปด้วยพี่น้อง 6 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 3 คน โดยตัวท่านเองนั้นเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านยังคงเยาว์วัยอยู่นั้นท่านก็มีโอกาสที่ได้มาใกล้ชิดกับที่วัดลำน้ำแห่งนี้อยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากท่านเองเป็นเด็กที่อยู่ใกล้กับบริเวณวัด ดังนั้นการศึกษาเบื้องต้นของท่านนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาอาศัยวัดลำน้ำแห่งนี้มาเป็นสถานศึกษาเบื้องต้นตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากที่ท่านได้ศึกษาจากที่วัดลำน้ำแห่งนี้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง โดยขณะนั้นเหตุที่ต้องไปอยู่ที่วัดคงคาเพราะว่าที่วัดลำน้ำแห่งนี้ในสมัยนั้นยังเป็นแค่สำนักสงฆ์ ไม่สามารถประกอบพิธีอุปสมบทได้ และเมื่อท่านตั้งใจว่าจะอุปสมบทครั้งนี้อย่างจริงจัง ท่านจึงได้โยกย้ายไป ซึ่งหลวงพ่อแปลกท่านจำได้ว่าในปีนั้นเป็นปีพ.ศ.2477 ท่านได้รับการอุปสมบทจากหลวงพ่อแช่ม  วัดดอนใหญ่ มาช่วยเป็นอุปัชฌาย์ให้ และพระอาจารย์กร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยเมื่อถึงเวลาที่จะบวชท่านก็ได้ไปบวช ณ พัทธสีมาวัดดอนใหญ่ และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของที่มาแห่งการเดินเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรในการบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นจุดแรกของชีวิตในการเป็นพระภิกษุสงฆ์ของท่าน  การอุปสมบทของชายไทยนั้นโบราณท่านถือว่าเป็นการแสดงถึงการกตัญญูรู้คุณต่อบุพการี และเมื่อหลวงพ่อแปลกท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็เริ่มที่จะเข้าสู่การศึกษาธรรมอย่างแท้จริง หลวงพ่อแปลกท่านมุ่งเน้นถึงความต้องการที่จะเข้าหาแก่นแท้ของพุทธศาสนา ต้องการความเข้าใจและในที่สุดท่านก็ต้องการจะเข้าถึงการปฏิบัติ เมื่อท่านปฏิบัติแล้วท่านจึงเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ชาวพุทธศาสนานั้นสามารถดำรงอยู่ได้ช่ัวลูกหลานนั้นก็คือ จะต้องมีสถานที่ประกอบพิธีกรรมซึ่งนั้นก็คือ วัด นั่นเองหลังจากบวชแล้วหลวงพ่อแปลกท่านไม่เคยลืมสถานทีอันเป็นบ้านเกิดของท่าน โดยท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดลำน้ำ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์ที่ไม่มีถาวรวัตถุใดๆมากมาย มีเพียงศาลาที่ใช้ประกอบพิธีหลังเก่าๆที่หลังคารั่ว เมื่อฝนตกครั้งใดก็ต้องหลบฝนกัน เมื่อท่านคิดได้เช่นนั้นหลวงพ่อแปลกท่านก็พยายามหาวิธีที่จะสร้างวัด โดยในสมัยนั้นวิธีที่จะสร้างได้ก็ต้องรวบรวมกำลังศรัทธาจากชาวบ้านซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นก็ไม่ค่อยที่จะมีปัจจัยมากมายนัก แต่กำลังศรัทธาด้วยแรงกายและจิตใจมีมากมายอยู่แล้ว ชาวบ้านแทบทุกครัวเรือนในละแวกนั้นจึงตกลงใจกันที่จะบริจาคข้าวในนาให้แก่วัดเพื่อให้วัดได้มีข้าวและเอาข้าวเหล่านี้มาเป็นค่าแรงในการที่จะจ้างคนงานที่จะมาช่วยสร้างวัด ซึ่งขณะนั้นค่าแรงงานคนงานก่อสร้างก็ตกเพียงวันละ 50สตางค์เท่านั้น เมื่อหลวงพ่อแปลกท่านเริ่มมีความหวังในการจ้างแรงงานคนแล้วอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการก่อสร้างก็คือ ไม้ ท่านจึงจำเป็นที่จะต้องหาไม้เพื่อมาใช้สร้าง ซึ่งย้อนหลังไปในยุคนั้นการที่จะหาซื้อไม้นั้นก็ยากยิ่งเพราะไม่มีร้านค้าขายไม้อย่างเช่นปัจจุบัน แม้ว่าป่าไม้ยังคงอุดมสมบูรณ์ทางการจะมีการแบ่งเขตให้สามารถตัดไม้ขายได้แต่ไม้ขนาดที่ท่านต้องการทีี่จะเอามาก่อสร้างวัดนั้นไม่ว่าจะเป็นเสาหรือคานขื่อต่างๆ ก็หาได้ยากยิ่งในช่วงนั้น เพราะว่าการซื้อขายทั้งหลายต่างหยุดชะงักเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี หลวงพ่อแปลกท่านจึงต้องเดินทางไปที่จังหวัดกาญจนบุรี  พอดีไปเจอกับกำนันเฮงก็ได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดี แต่พอเข้าพรรษาท่านก็ต้องกลับวัดลำน้ำ มาจำพรรษา ไม้ที่ได้มาก็พอได้มาสร้างกุฏิแต่ก็ยังไม่มีหลังคา ต้องอาศัยเป็นเพิงหลบฝนไปชั่วคราวก่อน แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อพอออกพรรษาท่านก็เข้าป่าไปหาไม้อีก ท่านได้ข่าวมาว่าแถวๆพิษณุโลกมีไม้ท่านก็เดินทางไปโดยการโดยสารเรือแดงในสมัยนั้นใช้เวลาในการเดินทางเรือทั้งหมด 10 วัน 10 คืน จึงมาถึงพิษณุโลกด้วยความประสงค์แค่มาหาไม้ไปสร้างวัด ซึ่งก็พอได้ไม้มาบ้าง

                                                                                                                                              

  หลวงพ่อแปลกท่านมีความตั้งใจที่จะสร้างวัดนี้ให้สำเร็จอย่างมาก เพราะเป็นสถานที่ที่มีบุญคุณกับท่านมาตั้งแต่เด็ก ท่านต้องเดินทางจากจังหวัดหนึ่งไปจังหวัดหนึ่งทุกๆช่วงเวลาออกพรรษาเพื่อไปหาไม้มาสร้างวัด ทั้งจังหวัดพิษณุโลก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ไปจนถึงชุมพร ไม้ที่ได้มาจากแต่ละที่ถูกรวบรวมมาก่อสร้างเป็นวัดลำน้ำ โดยครั้งแรกนั้นหลวงพ่อแปลกท่านเล่าให้ฟังว่าท่านได้เริ่มสร้างกุฏิ และศาลาการเปรียญ จนกระทั่งเข้าสู่พรรษาที่ 3 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดลำน้ำแห่งนี้ โดยครั้งนั้นท่านกำลังพยายามสร้างโบสถ์ และด้วยความวิริยะอุตสาหะหลวงพ่อแปลกท่านก็สามารถสร้างโบสถ์หลังแรกของวัดลำน้ำได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2480 โดยหลวงพ่อแปลกท่านยังบอกว่าครั้งนั้นโบสถ์เสร็จแต่ยังไม่ค่อยสวยงามนักเนื่องจากมีการฉาบปูนก็เป็นปูนกาว และฉาบเฉพาะด้านนอกเท่านั้นด้านในยังไม่ได้ฉาบ เนื่องจากอุปกรณ์และปัจจัยต่างๆในช่วงนั้นขาดแคลนมาก ด้วยความตั้งใจจริงอย่างอุตสาหะของหลวงพ่อแปลก  ในที่สุดด้วยวันเวลาที่ผ่านมาทุกอย่างก็ได้บรรลุจุดหมาย วัดลำน้ำในปัจจุบันจึงแลดูสวยสดงดงามควรค่าแก่การเป็นศาสนะสถานอย่างแท้จริงภายใต้การดูแลปกครองของหลวงพ่อแปลก ซึ่งเป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของบรรดาสาธุชนทั้งหลยที่ต่างเดินทางมาพึ่งบารมีจากท่านไม่ขาดสาย แม้ภารกิจของท่านจะมีมากมายไม่เคยสร้างซา แต่ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะสร้างสรรสาธารณะประโยชน์หรือแม้แต่การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านมักจะเอ่ยถึงคติธรรมประจำใจให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาให้ยึดมั่นถือมั่น ให้ปฏิบัติความดี และที่สำคัญต้องรู้สึกสงสารตัวเองแต่อย่าเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพราะจะทำให้เกิดความท้อถอยไม่ก้าวหน้า สิ่งใดที่ยังไม่ได้ลงมือทำก็อย่าพึงคิดว่าทำไม่ได้ ให้ทำเสียก่อน สู้เสียก่อน คนเราไม่ว่าเกิดเป็นเพศไหนชาติไหน ขอให้มีความขยันในการทำมาหากินจะต้องเกิดความสุขแก่ชีวิตในบั้นปลายทุกๆคน

https://www.facebook.com/perdbuntueg/photos/a.559334937558030/721384378019751/?type=3&theater
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้