ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1973
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระอุปัชฌาย์ขำ (อินทปัญญา) วัดโพธิ์เตี้ย จังหวัดกำแพงเพชร

[คัดลอกลิงก์]
พระอุปัชฌาย์ขำ อินทปัญญา (ลานกระบือ) วัดโพธิ์เตี้ย




พระอุปัชฌาย์ขำ (อินทปัญญา) วัดโพธิ์เตี้ย


             วัดโพธิ์เตี้ย  บ้านปลักไม้ดำ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า"วัดงิ้วงาม" มีหลวงพ่อกล้ายเป็นเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพ หลวงพ่อขำ อินทปัญญาได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ได้เปลื่อนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามลักษณะของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะแคระเตี้ย และปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว ที่วัดโพธิ์เตี้ยมีรูปจำลองหลวงพ่อขำ อินทปัญญาทำด้วยปูนปั้นขนาดเท่าองค์จริง(ผู้เขียนได้ไปวัดโพธิ์เตี้ย ปี พ.ศ.๒๕๓๑ขณะนั้นเป็นวัดร้าง)

           พระอุปัชฌาย์ขำ อินทปัญญา หรือหลวงพ่อขำ ลานกระบือ ท่านเป็นชาวปรักไม้ดำ ถือกำเนิด เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๗ โยมบิดาชื่อช้าง โยมมารดาชื่อนิล มีพี่น้องสามคน เป็นชายทั้งหมด พี่คนโตชื่อมั่น คนที่สองคือหลวงพ่อขำ คนที่สามชื่ออิน ทั้งสามคนไม่มีบุตร ชีวิตของหลวงพ่อขำในวัยเด็กลำบากมาก ท่านกำพร้าบิดา มารดามีสามีใหม่ สามีใหม่ของมารดาเป็นคนไม่เอาถ่านเกียจคร้าน ขี้เหล้าเมายา มักจะหาเรื่องมารดาเสมอ วันหนึ่งสามีใหม่เมาสุราแล้วหาเรื่องตีมารดา ท่านได้ช่วยเหลือมารดาและทำร้ายสามีใหม่จนได้รับบาดเจ็บ หลวงพ่อขำท่านจึงได้เห็นสัจธรรมข้อหนึ่งคือทุกขเวทนาของการดำรงชีวิตในสถานะฆราวาส ท่านจึงเข้าอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดวังตะขบ จังหวัดพิจิตร โดยมีเจ้าอาวาสวัดวังตะขบเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา"อินทปัญญา" เมื่อพระภิกษุขำได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ ตลอดจนวิชาอาคมต่างๆอย่างจริงจัง เพราะเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปรานมาก ดังนั้นปัจจัยที่ได้จากการถวายของญาติโยมท่านจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่างๆ เมื่อทราบว่าที่ใดมีพระอาจารย์ที่เรืองเวทย์ ท่านจะต้องเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ และที่จังหวัดพิจิตร ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน บางคลาน เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองพิจิตรในขณะนั้น หลวงพ่อขำท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์

และได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเงิน ในเวลานั้นศิษย์ร่วมสำนักกับท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อพิธท่านมีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ส่วนตะกรุดของหลวงพ่อขำก็มีอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ แต่ความนิยมอาจจะน้อยกว่าตะกรุดของหลวงพ่อพิธ เพราะจำนวนการสร้างตะกรุดของหลวงพ่อขำมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปรู้จักน้อย ตะกรุดของหลวงพ่อขำที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักในบรรดาศิษย์ของท่านได้แก่ตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และตะกรุดลูกด้านโดยเอาลูกปืนพระรามหกที่ยิงไม่ออกมาลงอักขระ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก (ดีทางมหาอุด)

           หลวงพ่อขำ อินทปัญญาเมื่อท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์เตี้ย และต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เตี้ย ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ สร้างพระเจดีย์สามองค์ด้านหน้าพระอุโบสถ สร้างพระวิหารด้านข้างซ้ายพระอุโบสถ และปั้นรูปจำลองหลวงพ่อขำด้วยปูน(แต่ช่างปั้นไม่สวย)อยู่ด้านหน้าพระวิหาร สร้างหอระฆัง รอยพระพุทธบาทจำลอง และศาลาการเปรียญ
            นอกจากนี้หลวงพ่อขำ ยังได้ศึกษาด้านสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ท่านทำยาเม็ด ยาหม้อ รวมทั้งการอาบน้ำมนต์ อันเป็นการรักษาทางจิตใจอีกทางหนึ่ง นับได้ว่าท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย และวัดของท่านก็คือโรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณนั้นเอง


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-10-12 09:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อขำท่านเป็นพระที่เชียวชาญวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ วัดจะมีประชาชน และข้าราชการทหาร ตำรวจจากจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และกำแพงเพชร ขี่ม้ามาขอบูชาเครื่องรางของขลังอย่างไม่ขาดสาย จึงทำให้ท่านมีปัจจัยมากพอที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์เตี้ยเป็นจำนวนมาก เพิ่อฝากตัวเป็นศิษย์ ขอเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคมจากท่าน วัดโพธิ์เตี้ยในสมัยนั้นจึงรุ่งเรืิองมาก ชื่อเสียงของหลวงพ่อขำก็โด่งดังมาก มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก ยิ่งหลวงพ่อขำมีชื่อเสียงมากเพียงใด ย่อมนำไปสู่ความอิจฉาริษยาของบุคคลบางกลุ่มที่ไม่หวังดี ในที่สุดก็มีการใส่ร้ายป้ายสีหลวงพ่อขำ ว่าท่านประพฤติตนไม่เหมาะสม อวดอุตริผิดมนุษย์ ซึ่งความดังกล่าวก็นำไปสู่การร้องเรียนที่เป็นเท็จต่อพระครูวิเชียรโมลี(ปลั่ง) ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูเมธีคณานุรักษ์รั้งตำแหน่ง รักษาการเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร

            ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี(ปลั่ง)ก็ได้ขี่ม้ามาตรวจสอบความประพฤติของหลวงพ่อขำตามคำร้องเรียนที่วัดโพธิ์เตี้ย เมื่อท่านเจ้าคุณได้เดินตรวจดูบริเวณวัดโพธิ์เตี้ย ก็เห็นความสะอาดและความมีระเบียบของวัด และเมื่อท่านเจ้าคุณได้พบและสนทนากับหลวงพ่อขำ ก็ทราบได้ว่าคำร้องเรียนนั้นเป็นเท็จ และยังทราบว่าหลวงพ่อขำท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและมีความรู้ในวิชาอาคมขั้นอาจารย์ ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และขอเรียนวิชาลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และในเวลาต่อมาท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลีก็ได้แต่งตั้งหลวงพ่อขำเป็นพระอุปัชฌาย์ จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงเชื่อได้ว่าหลวงพ่อขำท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งที่สุดและอาวุโสที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชรที่เคยมีการบันทึกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดแะมหาอุด ท่านเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง(หลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน บางคลานกินท่านไม่ลง)




เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าเล็ก(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อขำ ปี พ.ศ.๒๔๖๖




เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าเล็ก(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อขำ ปี พ.ศ.๒๔๖๖




เหรียญหล่อพระพุทธอุหลัง พิมพ์หยดน้ำหลังอุ หลวงพ่อขำ ปี พ.ศ.๒๔๖๖



           เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๒หรือ๒๕๑๓ได้มีคนร้ายเข้ามาขุดทำลายพระเจดีย์องค์ซ้ายมือซึ่งบรรจุพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อขำ แต่คนร้ายไม่สามารถนำพระเครื่องไปได้ ขณะนั้นหลวงพ่อโนหรือพระครูวินิจวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดแก้วสุริย์ฉาย(วัดลานกระบือ) และเป็นเจ้าคณะตำบล ได้ถือโอกาสนั้นทำพิธีเปิดกรุพระเจดีย์องค์ที่ถูกขุด(ในพิธีเปิดกรุได้นิมนต์หลวงพ่อโถม วัดธรรมปัญญารามหรือวัดหนองสีดา อำเภอคีรีมาส จังหวัดสุโขทัย มาร่วมพิธี) เมื่อเปิดกรุได้พระเครื่องเป็นจำนวนมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ มีทั้งพระเนื้อดิน พระเนื้อชินและพระเหรียญหล่อโบราณพิมพ์พระพุทธอุข้างเนื้อขันลงหิน ประมาณ ๗๒๐ เหรียญ หลวงพ่อโนหรือพระครูวินิจวชิรคุณได้นำพระเครื่องเหล่านั้นออกให้ประชาชนได้บูชา แล้วนำปัจจัยทั้งหมดมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเท่หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อขำและหลวงพ่อกลับ รูปหล่อท่านทั้งสองได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดแก้วสุริย์ฉาย(วัดลานกระบือ)




เหรียญหล่อพระพุทธอุข้างพิมพ์หน้าใหญ่ หลวงพ่อขำ ปี พ.ศ.๒๔๖๖

(ห่วงหัก)


          เหรียญหล่อโบราณพิมพ์พระพุทธอุข้าง เนื้อขันลงหินของหลวงพ่อขำเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องของหลวงพ่อขำ เป็นพระเครื่องที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ เป็นเหรียญที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรหวงแหนมาก และเป็นเหรียญเก่าที่หายากเหรียญหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ค่านิยมอยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐๐ บาทอนาคตมีสิทธิ์ขึ้นถึงหลักแสนแน่นอน เหรียญหล่อพิมพ์พระพุทธอุข้าง ผู้เขียนสันนิฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๖(บางเหรียญด้านหลังมีรอยข้อความว่า"สุโขทัย ๒๔๖๖") เหรียญหล่อพิมพ์พระพุทธอุข้างมีทั้งหมด ๓พิมพ์ เข้าใจว่าสร้างเพื่อตอบแทนผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ ปี พ.ศ.๒๔๗๐
            ประสบการณ์อยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุด แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม         





เหรียญปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อขำ ลานกระบือ


ที่มาของบทความ..http://skeereewichien.blogspot.com/2011/09/blog-post_04.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้