ภาพเก่าเล่าเรื่องสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานที่สำคัญสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม....
พิธีโล้ชิงช้า (อดีต) ดูไป ดูมา มัน Extreme เหมือนกันน่ะ!! จะบอกให้... ภาพนี้ยืนยันได้ว่า คนไทย "ล้ำหน้า" เรื่อง Extreme ไปนานแล้วก่อนที่ กระทิงแดง จะบุกเรื่อง Extreme Sport ไปทั้งโลกเมื่อทศวรรษ ที่ผ่านมา....ส่วนเรื่อง "โล้ชิงช้า"หาอ่านได้ทั่วไปทางอินเตอร์เน็ต ครับ...
copy//จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสาชิงช้าเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามและลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานครซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานครแม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ก็ตาม
นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่งที่หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกันแต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลังโดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานครแห่งนี้มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตรฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้าเสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงามกระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาดติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่22 พฤศจิกายนพ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปีพ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี
ที่มา..http://www.bloggang.com
|