ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8291
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

๙ วัดลำพูน:อนาคตเมืองมรดกโลก

[คัดลอกลิงก์]
วัดพระธาตุหริภุญชัย (พระธาตุแห่งแรกแห่งภาคเหนือ)


            วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส  ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี  ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=310420
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
. วัดมหาวัน (ต้นกำเนิด พระรอดดัง ของเมืองลำพูน)

            วัดมหาวันลำพูนเป็นต้นกำเนิดของพระรอด ถ้าลองย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.1200 เศษเมื่อมีฤาษีสององค์นามว่า วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นพระสหายกันได้ปรึกษาหารือตกลงที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวง เมื่อพระฤาษีทั้งสองสร้างเมืองแล้วเสร็จจึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวีราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ขึ้นมาปกครองเมืองพร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระสงฆ์ พราหมณาจรรย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่างๆ อย่างละ 500

            พระนางจามเทวีทรงใช้เวลาเดินทางโดยล่องขึ้นมาตามแม่น้ำปิงนานกว่า 7 เดือน จากบันทึกจามเทวีวงศ์พงศาวดารเมืองระบุว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาถึงนครหริภุญชัยได้ 7 วันก็ทรงประสูติพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ อนันตยศและมหันตยศ หลังจากนั้นวาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองจึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษกพระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญชัยเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นครองเมืองหริภุญชัยแล้ว พระองค์จึงได้ชักชวนอาณาประชาราษฏร์ให้ร่วมกันสร้างพระอารามใหญ่น้อยเพื่อถวายแด่พระรัตนตรัย ทั้งยังเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ที่มาจากกรุงละโว้ ซึ่งวัดต่างที่พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้นมีอยู่ 5 วัดด้วยกัน

·       วัดอรัญญิกรัมมาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ปัจจุบันคือวัดดอนแก้วรวมกับวัดต้นแก้ว

·       วัดมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ คือวัดกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันคือวัดรมณียาราม

·       วัดอาพัทธาราม อยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันคือวัดพระคงฤาษี

·       วัดมหาลดาราม อยู่ทางทิศใต้ ปัจจุบันคือวัดประตูลี้

·       วัดมหาวนาราม อยู่ทางทิศตะวันตก ปัจจุบันคือวัดมหาวัน

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดจามเทวี เจดีย์ทวารวดีสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

            วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวี  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่  ๑ งาน  ๕ ตารางวา โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู่กุด  ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด  ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง  ประกอบกับตำนานและนิยาย ซึ่งกล่าวกันว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ  แต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู่กุด บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุด (ศิลาจารึกลำพูนหลักที่สอง ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย  จังหวัดลำพูน)  ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด  ที่ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น  ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู่กุดนี้ น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์  คือ  พุทธศตวรรษที่ ๑๗   และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์ หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙   เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาช่วยก่อสร้างโบสถ์  วิหาร  กุฏิ   ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐  มีชื่อว่า วัดจามเทวี จนถึงปัจจุบัน




4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพระยืน ศูนย์กลางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ สถานที่พบจารึกภาษาไทยหลักแรกในภาคเหนือ

            ในดินแดนทั้งแคว้นลานนาไทย ศิลาจาตึกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏว่าใช้ตัวอักษรไทยของสุโขทัยนั้นก็คือ ศิลาจารึกของพระมหาสุมณะเถระที่ปรากฏการขุดพบ ณ บริเวณวัดพระยืนเมืองลำพูนแห่งนี้ เนื่องด้วยพระมหาสุมณะเถรองค์นั้นได้ไปจากเมืองสุโขทัย และบางทีท่านจะเป็นผู้นำเอาแบบของตัวอักษรไทยสุโขทัย เข้าไปใช้ในลานนาไทย นับแต่นั้นมาชาวเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและเมืองอื่น ๆ ในลานนาไทยได้ใช้ตัวอักษรไทยสุโขทัยชั่วระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเมื่อราว พ.ศ.2050 ชาวลานนาไทยได้เลิกใช้ตัวอักษรไทยสุโขทัยและกลับไปใช้ตัวอักษรของพวกไทยลื้อ คือไทยเมืองสิบสองปันนา จะเป็นด้วยเหตุใด ไม่ทราบแน่ บางทีอาจจะเป็นเพราะเหตุที่ตัวอักษรไทยเหมืองของพวกไทลื้อมีรูปลักษณะ กลมป้อมคล้ายตัวอักษรของพม่า ซึ่งภายหลังได้มีอำนาจครอบคลุมทั่วเขตแดนลานนาไทย จึงต้องเปลี่ยนแปลงการใช้ตัวอักษรให้กลมกลืนกับตัวอักษรของพม่าเป็นการเอาใจใส่และป้องกันภัยตัวก็เป็นได้"


๕. วัดเกาะกลาง อุทกสีมา(เขาพระสุเมรุ)กลางสระอโนดาต แห่งแรกในประเทศไทย

            โบราณสถาน วัดเกาะกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อคาว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กม. เท่านั้น ถือเป็นวัดที่มีการขุดพบซากโบราณสถานเก่าแก่ที่สมบูรณ์มากที่สุดใน จ.ลำพูน ด้านทิศเหนือ มีเจดีย์ที่มีลักษณะที่โดดเด่น โดยเป็นลักษณะของเรือนธาตุ มีเสากลางรองรับ ซึ่งนับว่า เป็นแบบที่ยังไม่เคยพบในโบราณสถานแหล่งใดของประเทศไทยมาก่อน โดยลักษณะของเจดีย์ ตั้งอยู่กลางน้ำ มีฐานลานประทักษิณกลม เป็นสถาปัตยกรรมทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 10-14 ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ลายปูนปั้น มีความงดงาม สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฝีมือของช่างหลวง ในยุคทองของอาณาจักรล้านนา

๖.วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) จุดเสี่ยงธนูของพระนางจามเทวี

            ประวัติวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ตามตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวว่า…ในปี พ.ศ. ๑๒๐๖ พระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นเรือมาจากเมืองละโว้มาตามแม่น้ำปิงตามคำเชิญของสุเทวฤาษีและสุกกทันตฤาษี เพื่อขึ้นครองเมืองหริภุญชัย ระหว่างที่พระนางเสด็จขึ้นมาตามแม่น้ำปิงได้ผ่านสถานที่ต่างๆ พอมาถึงท่าน้ำชื่อว่า เจียงตอง (ปัจจุบันอาจเป็นอำเภอจอมทอง) พระนางจึงหยุดพักลี่พล ณ ที่นั่น และได้ตรัสกับนายธนูผู้ขมังเวทย์เป็นผู้จัดการคาดคะเน ยิงธนูหาภูมิประเทศที่วิเศษที่จะสร้างวัด โดยที่พระนางได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าหากลูกธนูไปตก ณ ที่แห่งใด จะให้สร้างองค์มหาเจดีย์ และวัด ณ ที่แห่งนั้น

            ดังนั้น นายธนูผู้มีพระเวทย์ก็ยิงลูกธนูหันหัวศรมุ่งตรงมาทางทิศเหนือ ๓ ครั้ง เป็นที่ประหลาดอัศจรรย์ในเมื่อลูกธนูได้พุ่งขึ้นไปบนฟ้าทั้ง ๓ ดอกจากจุดที่ยิงจากเจียงตอง ลูกธนูพุ่งมาตามแรงอธิษฐานของพระนางเจ้า แล้วตกลงมาทั้งสามครั้ง ซึ่งนายธนูได้ติดตามค้นหาลูกธนูที่ยิงมานั้นก็ได้พบว่าตกมายัง ณ จุดที่สร้างองค์เจดีย์กู่ละมัก พระนางจึงโปรดฯให้มีการสร้างมหาเจดีย์ขึ้นบริเวณดังกล่าวพร้อมกับรับสั่งให้ช่างเอาธนูทั้ง๓ ดอกนั้นบรรจุลงไปบนองค์พระเจดีย์นั้นด้วย   

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดบ้านก้อง หอไตรกลางสระน้ำ ณ ที่ซึ่งแม่น้ำสามสายบรรจบกัน (ปิง- กวง-ทา)

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ศูนย์รวมสล่าจาวยอง บนแผ่นดินเก่าสุวรรณภูมิ

            วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ๑๐๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน   ประวัติพระเจ้าตาเขียวพุทธสถานล้านนาไทย (๓)เรียบเรียงโดย.. บัณฑิต ศาลาวัด ระบุว่า

            ตามตำนานภาคเหนือ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ตำนานพระเจ้าห้าร้อยชาติ ตำนานท้องถิ่น ได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จประกาศพระพุทธศาสนาสั่งสอนไปยังทุกหมู่บ้าน พร้อมด้วยสาวก ทุกๆแห่งที่ผ่านไปได้ประทานรอยพระพุทธบาท พระเกศาธาตุ และได้ตรัสพยากรณ์ สถานที่นั้นๆ ไปด้วย จนเสด็จมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ทรงพยากรณ์ว่า ภายหน้าจะเป็นนครที่รุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนามาก มีนามว่า "หริภุญชัยนคร" ณ ที่พระพุทธองค์ประทับพักมี ลัวะชื่อ เม็งคบุตร ได้ชวนผู้คนแถวนั้นมาฟังธรรม และรู้ถึงอานิสงส์แห่งการสร้างพระพุทธรูป จนเข้าถึงพระรัตนตรัยกันโดยถ้วนหน้า พระอินทร์ทูลขอพระเกศาธาตุ พระองค์ประทานให้แล้วเสด็จต่อไป เม็งคบุตรพร้อมหมู่คนท้องถิ่น ได้พากันขุดอุโมงค์ นำพระเกศาธาตุใส่ผอบทองคำ และใส่ในโกฎิเงินอีกชั้น พร้อมทั้งของมีค่ามากมาย บรรจุลงในอุโมงค์แล้วปิดด้วยอิฐขนาดใหญ่ต่อมาพญานาคได้นำศิลาหินใหญ่จากบาดาลมาปิดทับอุโมงค์อีกชั้นหนึ่ง ( ณ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน)

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-12 10:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วันแสนข้าวห่อ  จุดสั่งสมเสบียงอาหารเลี้ยงชาวเมือง หริภุญไชย สู่โศกนาฎกรรมเรือนจำและพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือ  

            ศิลาจารึกที่พบในเขตจังหวัดลำพูน สามารถแบ่งออกได้เป็นสองระยะคือ-  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ศิลาจารึก เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีอยู่แปดหลัก จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ เป็นภาษามอญโบราณก็มี จารึกเป็นภาษาบาลีแล้ว แปลเป็นภาษามอญก็มี หรือจารึกทั้งภาษามอญ และภาษาบาลีรวมกันไปก็มีกลุ่มศิลาจารึกทั้งสองกลุ่มดังกล่าว แสดงให้เห็นลักษณะของกลุ่มชนที่ใช้อักษรภาษามอญกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มชนที่ใช้อักษรไทย ภาษาไทยอีกกลุ่มหนึ่ง หลักฐานด้านศิลาจารึกระหว่างสองกลุ่ม มีช่องว่างของเวลาที่ยาวมากตกประมาณ ๓๐๐ ปี หากนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ มาถึงสมัยพระเจ้ากือนา

            ศิลาจารึกกลุ่มอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณ และภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑) ลักษณะศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีแดงรูปใบสีมา ขุดพบที่วัดดอนแก้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ห่างออกไปประมาณ ๒๕๐ เมตร

            เรื่องจารึก กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย พระนามว่า พระเจ้าสววาธิสิทธิ พระองค์ทรงสถาปนาวัดเชตวัน ทรงสร้างกุฏิ เสนาสนะ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลอยุ่พำนัก ทรงให้จารคัมภีร์พระไตรปิฎกขึ้นหลายผูก ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญนี้แก่  สรรพสัตว์จงพ้นทุกข์ และให้ประสบสุขด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยนั้น
            ความที่จารึกต่อมา กล่าวถึงการสร้างเจดีย์สามองค์ของพระองค์พระชายา และโอรส ซึ่งที่ตั้งของเจดีย์ทั้งสามเรียงกันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และในจารึกยังกล่าวถึงการทรงผนวชของพระองค์ และโอรสทั้สอง แสดงให้เห็นขัตติยราชประเพณีการผนวชของกษัตริย์ในคติพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  


            สำหรับทัวร์บุญเก้าวัดครั้งนี้มีค่าลงทะเบียนของผู้ใหญ่ถูกแสนถูกท่านละ ๑๙๙ บาท เด็กอายุไม่เกิน ๑๔ ปี ลดพิเศษครึ่งราคา เหลือ ๙๙ บาท

สิ่งที่ท่านจะได้รับคือ

·         เอกสารแผ่นพับประกอบการบรรยายนำชม ด้วยภาษางดงาม ข้อมูลเจาะลึก พร้อมแผนที่แหล่งท่องเที่ยว

·         อาหารกลางวันสูตรพิเศษ เครื่องดื่ม ของว่าง

·         การร่วมกิจกรรมงานบุญตามวัดต่างๆ ที่ไปไหว้สา

·         สิทธิในการรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของสหพันธ์ฯ

·         อิ่มบุญกับทัวร์วัฒนธรรมโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากร

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ครับ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-14 16:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
toywater ตอบกลับเมื่อ 2014-3-13 19:52
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ครับ

รู้จักบ้างหรือเปล่า
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-3-14 16:52
รู้จักบ้างหรือเปล่า

รู้แค่วัดหลวง เท่านั้นล่ะ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้