เรื่องที่สอง
เล่ากันว่าในสมัยหนึ่ง ในป่าหิมวันต์ เมืองเมืองหนึ่ง เมืองนี้เป็นเมืองเงียบสงบ มองไปทางไหนก็มีแต่ป่าทั้งนั้น ในป่านั้นก็มีพระฤๅษีชีไพรนั่งบำเพ็ญตะบะเต็มไปหมด ในขบวนเหล่าฤๅษีนั้นก็มีพระพหลฤๅษีอยู่องค์หนึ่งทึ่เป็นใหญ่กว่าฤๅษีทั้งหลาย
อยู่มาวันหนึ่งฤๅษีพหลนั้นได้เดินออกจากสถานที่บำเพ็ญตะบะนั้นเพื่อออกแสวงหาผลไม้ในป่ามาฉันท์ขณะที่เดินผ่านสระน้ำในป่านั้น ก็มีดอกบัวชูช่อยู่ดาษดื่นฤๅษีพหลก็ เหลือบไปเห็นกุมารน้อยคู่หนึ่งนอนในดอกบัวนั้นจึงได้เก็มาเลี้ยงไว้ที่อาศรม ฤๅษรพหลจึงตั้งชื่อสองกุมารน้อยว่ารัตตะกุมาร กับ ยมกะกุมาร ต่อมากุมารน้อยทั้งสองก็ได้
ร่ำเรียนวิชา กับพระอาจารย์ดาบสองค์นั้นจะมีความสามารถรอบรู้หมดทุกอย่าง ส่วนฤๅษีพหนลนั้นก็ได้ถ่ายทอดวิชาให้อย่างหมดสิ้นในที่สุด รัตตะกุมารกับยมกะกุมารก็เจริญเติบโต จนเป็นหนุ่มใหญ่สมชายชาตรีทุกอย่าง สรุปแล้ว รัตตะกุมารก็คือ เจ้ารัก ส่วนยมกะกุมาร ก็คือ เจ้ายม
สำหรับเจ้ารักนั้นเป็นผู้เลอโฉม รวมทั้งหน้าตาลักษณะท่าทางมองแล้วเหมือนมานพน้อยมีรูปร่างมองแล้วไม่เบื่อตาเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป ส่วนยมนั้นเล่าความหล่อเหลาด้อยกว่าเจ้ารักหน่อย เพราะคนเราเกิดมารูปธรรมนามธรรมเหมือนอย่างกับเจ้ายมถึงแม้จะรูปชั่วตัวดำไปนิด ถึงกระนั้นฤๅษีพหลก็ยังมีความรัก ความสงสารยิ่งขึ้น จึงมอบวิชาต่าง ๆ ให้กับเจ้ายมเป็นพิเศษ
เป็นอันว่า เรื่องเชี่ยวชาญในเชิงขบวนยุทธจักร และเวทย์มนต์คาถาต้องยกให้เจ้ายมคนเดียวยุคนั้นวันหนึ่ง รัตตุมาร (เจ้ารัก) กับยมกะกุมาร (เจ้ายม) สองพี่น้องก็คิดอยากจะไปเที่ยวหัวเมืองต่าง ๆ จึงได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกแสวหาประสบการณ์ต่าง ๆ จึงได้ออกเดินทางจนไปถึงเมืองใหญ่แห่งหนึ่งด้วยความ
ปรีชาสามารถต่าง ๆ ของกุมารน้อยทั้งสอง จึงได้เข้ารับราชการกับพระราชาเมืองนั้น
อยู่ต่อมาไม่นานพระราชาจึงแต่งตั้งให้รัตตะกุมาร (เจ้ารัก) เป็นทหารเอาไปครองแคว้นเมือง เมืองหนึ่ง ส่วนยมกะกุมาร (เจ้ายม) นั้น พระราชาแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับในด้านหัวเมืองต่าง ๆ ระหว่างที่รัตตะกุมาร (เจ้ารัก) รับราชการอยู่นั้นเพราะความหล่อเหลามานพน้อย จึงเป็นที่หมายตาต้องใจของพระธิดาลูกเจ้าเมืองนั้นทั้งสอง
จึงเกิดความรักใคร่กัยิ่งนานวันความรักยิ่งประทับแนบแน่นยิ่งขึ้น
ต่อมาพระราชาได้ทราบข่าวของคนทั้งสองจึงไม่พอพระทัยทรงขัดขวางความรักทั้งสองอยู่ตลอดเวลา พระราชา ทรงตรัสว่า “เจ้ารักกับราชนิกุลไม่ควรคู่กัน” พระราชาต้องการให้พระธิดาอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอีกเมือง
หนึ่ง ซึ่งเป็นราชตระกูลกษัตริย์เท่าเทียมกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นพระราชาจึงตัดสินใจส่งพระธิดาไปฝากไว้กับเจ้าเมือง ๆ หนึ่ง
รัตตะกุมาร (เจ้ารัก) ทราบข่าวว่าพระราชาได้แยกคนรักของตนไปอยู่เมืองอื่น จึงเกิดความแค้นเคืองเป็นยิ่ง
นักเจ้ารักจึงวางแผนฆ่าพระราชาอยู่ตลอดเวลาส่วนเจ้ายมคนน้องถึงแม้จะปมด้วยของชีวิตแต่ก็เป็นคนรอบคอบเป็นคน
อารมณ์เย็นจึงได้มายับยั้งการวางแผนฆ่าพระราชาเพราะมันจะมีความผิดอย่างมหันต์
สามวันผ่านมาเจ้ารักก็กินไม่ได้นอนไม่หลับจะนั่งจะเดินก็กระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลาเพราะด้วยพิษรักอันแสนเสน่หาของพระธิดาองค์นั้น จึงหน้ามืดตามัว คิดจะปลงพระชนม์จึงได้ลอบเข้าไปในพระราชวัง จนถึงห้องบรรทมของพระราชาและได้ใช้อาวุธคู่มือ สับพระราชาอย่างไม่มีชิ้นดี จนพระราชาสิ้นพระชนม์
เมื่อฤๅษีพหลผู้เป็นพระอาจารย์ทราบข่าวการกระทำของ รัตตะกุมาร (เจ้ารัก) จึงเกิดความโกรธแค้นเคืองยิ่งนัก ที่ศิษย์ของตนละเมิดคำสั่งสอน จึงได้เรียกกุมารทั้งสองกลับมาเมื่อกุมารทั้งสองเดินทางกลับมาถึงอารมของฤๅษีพหลผู้เป็นอาจารย์ เจ้ารักจึงได้สำนึกผิดและได้สารภาพต่อผู้เป็นพระอาจารย์และมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ละเมิดคำ
สั่งสอนของพระอาจารย์ฤๅษีพหลจึงได้ตัดสินใจให้รัตตะกุมาร (เจ้ารัก) สละเพศฆราวาส ให้บวชประพฤติตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อลบรอยมลทินที่ได้สร้างมาจนกว่าจะสิ้นชีวิตจากโลกไป
ส่วนยมกะกุมารหรือเจ้ายมนั้น ครั้นเมื่อสู่วัยชราจึงได้สละเพศฆราวาสได้ออกบวชตามพี่ชาย (เจ้ารัก) เพื่อบำเพ็ญศีลภาวนา ตามอาศรมของพระฤๅษีในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วไป ต่อมาฤๅษีพหลผู้เป็นพระอาจารย์ถึงวัยชราใกล้ถึงการอายุขัย ย่อมหนีกฏแห่งกรรมไม่พ้นคือ มีเกิดก็ต้องมีดับเหมือนกันทุกชีวิต ฤๅษีพหลจึงเรียกสองนักบวชผู้เป็นศิษย์มาพบอีกครั้งหนึ่งเมื่อสองพระกุมารมาพบพระอาจารย์ฤๅษีพหลจึงถามศิษย์ทั้งสองว่า “อยากได้อะไรที่เหนือกว่าโลกนี้” สองจะปฏิบัติตามคำอาจารย์หมดทุกอย่าง” ฤๅษีพหลจึงให้พรว่า “เจ้าทั้งสองแม้จะไปเกิดชาติปางใดก็ตามขอให้เสน่ห์เป็นที่รักของคนทั่ว ๆ ไป จะไม่มีศัตรูทั้งปวงจะไปเกิดบนโลกมนุษย์ไม่ได้ ท่านทั้งสองจะต้องเป็นวัตถุ แต่ไม่มีชีวิตจิตใจวัตถุสิ่งนั้นจะต้องดังมีชื่อเสียงก้องยืนนาน”
เมื่อฤๅษีพหลกล่าวพรจบทานก็ถึงกาลกิริยาวิญญาณ ก็ออกจากร่างไป ณ ที่นั้น พระกุมารทั้งสองจึงได้ทำการขุดหลุมฝังศพของฤๅษีพหลผู้เป็นพระอาจารย์ในที่นั้น ต่อมาไม่นานหลุมฝังศพของฤๅษีพหลก็เกิดมีไม้ชนิดหนึ่งขึ้นมา มีดอกซ้อนแพรวพราวอันสวยงาม แถมยังเป็นไม้ที่ปวงชนรักใคร่กันทั่วไป ดังประชาชนที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า
ต้นรักซ้อน
ต่อมาก็ได้มีพันธ์ไม้อีกชนิดหนึ่งได้ขึ้นคู่เคียงกับต้นรักซ้อนมีผลชูช่ออันตระกานตาจนภายหลังมีชื่อขานนามว่ารักยม ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกกันว่ามะยมด้วยข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นนักปราชญ์ คณาจารย์ต่างคิดค้นทำรักยกกันขึ้นมา นี่แหละครับความเป็นมาของรักยมรวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
ผู้ที่จะใช้รัก – ยม จะต้องมีหิ้งขนาดปานกลาง หิ้งนั้นต้องติดไว้ที่หัวนอน ก่อนนอนต้องบูชาทุกคืนใช้คาถารักยมหรือจะให้คาถากุมาร 20 ก็ได้ ก็มีอยู่ว่า โอมมะอัดแอ ลืมพ่อลืมแม่ ปู่เจ้าสมิงไพร ช้างกินก็ลืมโรง โขลงกินก็ลืมไพร จะอยู่มิได้ โม ร้องไห้มาหากู มาจนถึงที่สำนักมาตามหลัก มาตามโขลง นางทองอย่าเสือก นางเผือกอย่าทัดไพร อะ อยู่มิได้ โม ร้องไห้มาหากู โอมมะอะทิ เอหิมะมะ นะมะพะทะ อะระหัง
คาถาบทนี้บูชารัก – ยมทุกคืนก่อนนอน จะปลอดภัยจากเรื่องภัยศัตรู แม้แต่คนที่เคยคิดจะเป็นศัตรูกับเราก็จะมาคืนดีกับเราจะสมความปรารถนาหมดทุกอย่าง (ส่วนในเรื่องอภินิหารของรัก – ยมนั้น ผู้เขียนขอสงวนไว้ก่อน
ครับ)
เป็นอันว่า ผู้จะคิดใช้รัก-ยมเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง แม้แต่นายพลนายพันชั้นพิเศษบางท่าน ก็ยังนำไปใช้ติดตัวกันเป็นประจำ แม้แต่คณาจารย์สมัยก่อนมีประชาชนไปขอเครื่องรางของขลังจากท่านเป็นต้นว่า รัก-ยม กุมารทอง และนางกวักอีกมากมายหลายอย่าง
ที่มา
http://www.itti-patihan.com/