นับแต่นั้นมาเสือหรุ่นก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีตลอดมาประมาณ 3 ปี จึงได้พระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจล ใจภารา หลังจากได้รับพระราชทานยศเพียง 1 ปี ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก คือ เสืออุ่น ได้มาปรากฏตัวขึ้นในตำบลนั้น ขุนกาวิลจึงเรียกเสืออุ่นเข้ามาพบแล้ว ท่านกำนันตำบลเชียงรากหรือเสืออหรุ่นจึงอบรมสั่งสอนให้เสืออุ่นให้ประพฤติแต่สิ่งดีงาม ขอให้เลิกทำความชั่วเสียเพราะได้เคยสร้างเวรสร้างกรรมใว้มาก ส่วนเสืออุ่นนั่งฟังอยู่ก็มิได้รับคำแต่ประการใด กับนึกในใจว่า ขุนการวิจลเห่อยศศักดิ์จนลืมเพื่อนเก่าๆเสียสิ้น จึงรีบขุนกาวิจล กลับไป
เมื่อเสืออุ่นลาขุนกาวิจล ใจภารา กลับมาด้วยความไม่พอใจเสืออุ่นเริ่มปล้นห่าเจ้าทรัพย์คนแล้วคนเล่า แล้วเมื่อปล้นฆ่าแล้วทุกๆราย เสืออุ่น จะเอ่ยซื่อ เสือหรุ่น ปล้นฆ่าทุกครั้ง ความทราบถึงเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาให้มีความสงสัยจึง มี
หนังสือถึงขุนกาวิจลให้เข้ามาพบด่วน ฝ่ายขุนกาวิจลได้รับหนังสือแล้วคิดว่าการครั้งนี้ เราคงมีความผิดแน่ๆ เพราะเจ้าเสืออุ่นถูกจับได้ซัดทอดมาถึง และอีกประการหนึ่ง ใครๆ ก็ย่อมรู้ว่าเสืออุ่นคือ สมุนมือขวาของขุนกาวิจลมาก่อนคงจะรุ้เห็นเป็นใจกันแน่จึงได้หลบหนีหายเข้ามาในกรุงเทพ แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามล่าตัวอยู่ตลอดเวลา ขุนกาวิจลเห็นว่าถ้าขืนอยู่ในกรุงเทพต่อไป มิวันใดก็วันหนึ่งต้องถูกจับจนได้ จึงหนีย้อนกลับขึ้นไปบวชอยู่ที่วัดลำลูกกานั้นเอง ประมาณปีพ.ศ. 2431 โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ประมาณ 3 พรรษาครึ่ง เมื่อเรื่องเงียบหายไป ท่านจึงเดินทางเข้ามากรุงเทพ มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพ ต่อจากนั้นเมื่อลูกหลานทราบข่าวก็พากันมาพร้อมทั้ง ศานุศิษย์เพื่อขอของขลังจากท่าน ในระหว่างนั้นท่านยังไม่ได้ทำเครื่องรางของขลังใว้เลยท่านจึงได้ลงมือสักหลังมาตั้งแต่บัดนั้นจนมีกิติสัพท์ร่ำลือว่า (เก้ายอด) กรุงเทพสมัยนั้นย่อมทราบดีว่า นักเลงดังๆ ไม่มีใครเกินก๊ก (เก้ายอด) เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างใว้ระยะหลังมีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์
2.ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ 1 เกรียก (ยาว ประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ 2 องคุลีนิ้ว)
3.กระดูกห่าน กระดูกแร้ง ลงจารขอม ยาวประมาณ 1 องคุลี
4. แหวนเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย
ของทุกชิ้นใน 4 ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฎมาเป็นของ คงกระพันชาตรีโดยตรง
สำหรับตะกรุดโทน หลวงพ่อหรุ่นนั้นมี 2 ชั้น ชั้นแรกทำด้วยตะกั่ว ชั้นที่สอง ทำด้วยทองแดงมีความยาวประมาณ 1 เกรียก มีทั้งชนิด ถักเชียกหุ้มและไม่ถักเชียกหุ้ม ภายหลังลงอักขระและม้วนเรียบร้อย ตะกรุดที่ในภาพประกอบเรื่องนี้เป็นเครื่องรางชิ้นเดียวของอาจารย์หรุ่น ที่แม่ฟัก (ลูกสาวที่ยังเหลือเพียงคนเดียว) มีอยู่และได้มอบให้ลูกชายผู้เขียนบันทึกเรื่องของ หลวงพ่อหรุ่นออกเผยแพร่
เครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ของหลวงพ่อหรุ่น
คือตะกรุด ทำด้วยกระดูกห่าน เป็นกระดูกห่านซึ่งดูเป็นสีขาวนวล ด้านนอกลงอักขระไว้เต็มสำหรับตะกรุดกระดูกห่านนี้อาจารย์พู่ ลูกศิษย์หลวงพ่อซึ่งได้รับมอบหมายให้สักแทน ภายหลังเมื่อหลวงพ่อเสียแล้วเล่าให้ฟังว่า ตะกรุดกระดูกห่าน และเครื่องรางตลอดจนเหรียญนั้นท่านไม่ได้ดำริทำขึ้นเอง เป็นเพีงลูกศิษย์ไปแสวงหาและทำกันมาเสร็จแล้วก็นำมามอบให้ หลวงพ่ออาจารย์หรุ่น ปลุกเสกให้ ซึ่งท่านก็ทำให้ทุกรายไป
หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2471 ณ.วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวนอายุได้ 81 ปี 35 พรรษา พอดี
ประวัติ และ การดูวัตถุมงคล ของท่านแบบละเอียด
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อหรุ่น จัดสร้างประมาณปี พ.ศ.2460 ที่ท่านสร้างเองจะมีจำนวนน้อยมาก แต่จะมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งลูกศิษย์สร้างขึ้นแจกจ่ายกันเองแล้วต่างคนต่างก็นำมา ให้หลวงพ่อหรุ่นปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ประมาณ 4,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ยกขอบโดยรอบเป็นเส้นแบน พิมพ์ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงพ่อหรุ่น ที่คอปรากฏเม็ดประคำ 5 เม็ด ด้านบนสุดจารึก "ตัวอุ" ลากหางยาวไปจนจดขอบหูเชื่อม
ต่อลงมาเป็นอักษรขอมว่า "อะ ระ หัง" มี "ตัวอุ" ขนาบทั้ง 2 ข้าง แถวต่อมาเป็นอักษรขอมว่า "มะ อะ" ถัดลงมามี "ตัวอุ" ซ้อน 2 ตัว ขนาบอยู่ทั้ง 2 ข้าง ถัดจากตัวอุ เป็นอักษรขอมทั้ง 2 ข้างว่า "พุท ธะ สัง มิ" ล่างสุด เป็นโบปลายกนก ภายในจารึกอักษรขอมว่า "ระ อะ ภะ" และมี "ตัวอุ" ขนาบทั้ง 2 ข้าง
สำหรับ พิมพ์ด้านหลัง มีด้วยกัน 2 พิมพ์ เพราะแม่พิมพ์เดิมชำรุดจึงสร้างแม่พิมพ์ด้านหลังขึ้นใหม่ พิมพ์แรก คือ "บล็อกหลังยันต์ใบพัด หรือพิมพ์บล็อกแตก" จะมีรอยบล็อกพิมพ์แตกบริเวณที่พาดลงมาตามขอบเหรียญด้านล่างด้านซ้ายของเหรียญ โดยรอบด้านของเหรียญจะเป็น "ยันต์รูปใบพัด" ทั้งใหญ่ เล็ก ตรงกลางเป็น "ยันต์นะองค์พระ" ด้านบนเป็นตัว "อุ" และมีอักขระขอมเรียงเป็นแถว ส่วนพิมพ์ที่ 2 คือ "บล็อกหลังยันต์นะองค์พระในวงกลม" พิมพ์นี้ยันต์นะฯ จะอยู่ภายในเส้นล้อมวงรูปไข่ โดยรอบจะเป็นอักขระขอม
ตำหนิในพิมพ์ทรงนี้จะเป็นเส้นพิมพ์แตกบริเวณด้านขวาของเหรียญ ตรงมุมล่างที่ยันต์ใบพัด พาดจากขอบเหรียญไปยังยันต์ใบพัดครับผม