ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1491
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มองให้เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวง

[คัดลอกลิงก์]
มองให้เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวง


มนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น แล้ว ท่ามกลางก็แปรเปลี่ยนไป ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันแปรไป (หมายเหตุ 1) มันไม่อยู่เหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่รู้จักต้นไม้ เครือเขา เถาวัลย์เหล่านั้น ก็เหมือนกับเราไม่รู้จักตัวของเรา ถ้าเราน้อมเข้ามา เป็นโอปนยิกธรรม จึงจะรู้จักว่า ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์นั้น ก็เหมือน กับเรา คนเราเกิดมา ผลที่สุดแล้วก็ตายไป คนใหม่ก็เกิดมาต่อไป อย่างผม ขน เล็บ ของเราเกิดมาก็แปรไป ผม ขน เล็บ หลุดร่วงไปก็ งอกขึ้นมาใหม่ สลับเปลี่ยนกันไปอย่างนี้ไม่หยุดสักที ความเป็นจริง นั้น ถ้าหากเราเข้าใจในข้อปฏิบัติ ก็จะเห็นว่าต้นไม้ก็ไม่แปลกไปจาก เรา จะเห็นของสะอาด ของสกปรก ก็ไม่แปลกไปจากเรา เพราะมัน เป็นอย่างเดียวกัน

ถ้าเราเข้าใจธรรมะ เข้าใจฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์ มัน เปรียบเหมือนกับ ที่ข้างใน กับข้างนอก สังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครองนี่มันก็ เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไรกัน ถ้าเราเข้าใจว่ามันเหมือนกันแล้ว เรา เห็นต้นไม้ว่าเป็นอย่างไร เราก็จะเห็นขันธ์ของเรา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก้อนสกลร่างกายของเรานี้ก็เช่นกัน มันก็ไม่ได้แปลก อะไรกัน ถ้าเรามีความเข้าใจเช่นนี้ เราก็จะเห็นธรรม เห็นอาการของ ขันธ์ห้าของเรา ว่ามันเคลื่อน มันไหว มันพลิกแพลง มันเปลี่ยนมัน แปลงไปไม่มีหยุด

ทีนี้ไม่ว่าเราจะยืน จะเดิน หรือนั่ง หรือนอน ใจของเราก็จะมี สติคุ้มครองระวังรักษาอยู่เสมอ เมื่อเห็นของภายนอกก็เห็นของภาย ใน ถ้าเห็นของภายในก็เห็นของภายนอก เพราะมันเหมือนกัน ถ้าหาก ว่าเราเข้าใจอย่างนี้ เราก็ได้ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าเข้าใจ อย่างนี้ก็เรียกว่า พุทธภาวะ คือผู้รู้เกิดขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นมาแล้วมันรู้ อาการภายนอก รู้อาการภายใน รู้ธรรมทั้งหลายต่างๆ ที่มันเป็นมา ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้


แม้เรานั่งอยู่ใต้ร่มไม้ก็เหมือนกับพระ พุทธเจ้าท่านเสด็จมาโปรดเรา เราได้ฟังเทศน์ของพระพุทธองค์อยู่ เสมอ เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ได้ฟัง เราจะได้เห็นรูป ฟัง เสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันนี้เราก็ได้ฟังเทศน์อยู่ เสมอ เหมือนกับพระพุทธเจ้าเทศน์ให้เราฟัง พระพุทธเจ้าก็คือ ผู้รู้ อยู่ ในใจของเรานี่แหละ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว เห็นธรรมเหล่านี้แล้ว ก็ พิจารณาธรรมอันนี้ได้ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าท่านนิพพานไปแล้วท่าน จะมาเทศน์ให้เราฟัง


พุทธภาวะ คือตัวผู้รู้ คือดวงจิตของเรานี้เกิดรู้ เกิดสว่างมา แล้ว ตัวนี้แหละจะพาเราพิจารณาธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมก็คือ พระพุทธเจ้าองค์นี้แหละ ถ้าตั้งพุทธะเอาไว้ในใจของเรา คือความรู้สึก มันมีอยู่อย่างนี้ เราเห็นมดเราก็พิจารณาไป มันก็ไม่แปลกจากเรา เห็นสัตว์ก็ไม่แปลกจากเรา เห็นต้นไม้ก็ไม่แปลก เห็นคนทุกข์คนจนก็ ไม่แปลกกัน เห็นคนร่ำรวยก็ไม่แปลกกัน เห็นคนดำคนขาวก็ไม่แปลก กัน เพราะสิ่งเหล่านี้มันตกอยู่ในสามัญลักษณะอันเดียวกัน คือ ลักษณะอันเดียวกัน

ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ก็เรียกว่า ผู้นั้นอยู่ที่ไหนก็สบาย จะได้มี พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดเสมอเลยทีเดียว ถ้าผู้ไม่เข้าใจอย่างนี้ ไม่เข้า ใจในเรื่องนี้ ก็นึกอยากจะฟังเทศน์กับอาจารย์อยู่เรื่อยไป เลยไม่รู้จัก ธรรมะ

ที่พระบรมศาสดาของเรา ท่านว่าตรัสรู้ธรรมนั้น ก็คือรู้ธรรมชาติเหล่านี้แหละ

ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักธรรม ชาติธรรมดาอันนี้ พอเราเห็นเข้า
เราก็กระตือรือร้น ตื่นเต้น มีความร่า เริงจนหลงอารมณ์ จึงมีโศกเศร้าเสียใจเพราะหลงอารมณ์
หลงธรรม ชาติเหล่านี้แหละ เมื่อมัวหลงธรรมชาติอันนี้ มันก็คือไม่รู้จักธรรมะนั่น เอง
สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงชี้ธรรม คือ ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา


(หมายเหตุ 2) ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เกิดมา แล้วก็ เปลี่ยนไปแปรไป แล้วดับไป เป็นธรรมดา จะเป็นตัวว่าสุขก็เหมือนกัน


(หมายเหตุ 3) จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็ เหมือนกัน อย่างวัตถุที่เราปั้นขึ้น เช่นถ้วย หม้อต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อถูกปั้นขึ้นมา ก็เกิดจากเหตุจากปัจจัย คือความปรุงแต่งของเรา ขึ้นมาอีกทีหนึ่งเช่นกัน ครั้นได้ใช้ไป มันก็เก่าไป แตกสลายไป มลายไปได้ เพราะเป็นธรรมดาของมัน ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ต่างๆ ก็เหมือน กัน ตลอดจนมนุษย์สัตว์เดียรฉานก็เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นเป็น เบื้องต้น มีความแปรไปเป็นธรรมดาเช่นนั้น

เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะท่านฟังเทศน์เป็นปฐมสาวกนั้น ท่านไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย ท่านเข้าใจว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิด ขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไปเป็นธรรมดา แล้วผลที่สุดก็มีความ ดับเป็นธรรมดาของมัน
เมื่อก่อนนี้พระอัญญาโกณฑัญญะนั้น ไม่เคยได้มีความนึก หรือความคิดอย่างนี้เลย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่เคยพิจารณาให้แจ่ม แจ้งเลยสักครั้ง ฉะนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะจึงไม่ได้ปล่อย หรือไม่ ได้วาง คือมีอุปาทานในขันธ์ทั้งห้านี้อยู่ ต่อมาเมื่อได้มาฟังเทศน์ของ พระบรมศาสดาของเรา ขณะที่ฟังมีพุทธภาวะเกิดขึ้น


(หมายเหตุ 4) ได้มองเห็นธรรมว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่แน่นอน มันเป็น ธรรมชาติหรือธรรมดานี่เอง ท่านจึงบอกได้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไป แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ดับไปเป็น ธรรมดา


(หมายเหตุ 5) ธรรมชาติอันนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้เสมอ ความเห็นของพระอัญญาโกณฑัญญะในขณะที่ฟังนั้น เป็น ความรู้สึกแปลก แปลกจากในอดีตหรือในกาลก่อนที่ได้เคยพิจารณา อันนี้รู้เท่าถึงดวงจิตจริงๆ เป็นได้ว่า พุทธะคือผู้รู้เกิดขึ้นมาในเวลานั้น สมเด็จพระศาสดาท่านทรงเรียกว่า พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตา เห็นธรรมแล้ว

หลวงพ่อชา วัดป่าหนองพง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้