ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6494
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อคติ ความลำเอียง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-3 08:54






อคติ ความลำเอียงมี ๔ คือ....


คำว่า "อคติ" แปลว่า ทางที่ไม่ควรดำเนินไป, ไม่ใช่ทางที่จะเดินต่อไป หรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ.คำว่า อคติ ในภาษาไทยหมายถึง ความลำเอียง, ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม ฯลฯ


"อคติ"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ


"อคติ" มี 4 คือ....

1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ


ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก

ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว
มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียความยุติธรรม


โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง

การที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้น

ค่อนข้างยาก วิธีเดียวที่ทำได้ คือ ฝึกฝนจิตใจ โดยถือหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา

เราเกลียดความอยุติธรรม ความไม่ชอบธรรมอย่างไร คนอื่นก็เช่นเดียวกับเรา

เกลียดความลำเอียงรักความยุติธรรมเหมือนกัน


อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ย่อมมีความลำเอียงอยู่เป็นธรรมดาไม่มากก็น้อย
แต่เราก็ควรพยายามสร้างความยุติธรรมให้มากด้วยการพยายามละความลำเอียงลง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี


ผู้ที่จะละอคติทั้ง ๔ ได้อย่างเด็ดขาดคือ พระสกทาคามิผล ขึ้นไปเท่านั้น


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-3 09:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-3 09:02



1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก (prejudice caused by love or desire; partiality)

2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเกลียด (prejudice caused by hatred or enmity)

3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย
ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไร ถูกอย่างไรผิดอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร (prejudice caused by delusion or stupidity)

4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ (prejudice caused by fear)



ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก

ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว
มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้สูญเสียความยุติธรรม

ขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นใจของคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้น้อย เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของบุคคลเหล่านั้น แต่ความลำเอียง (อคติ) ทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั่น แม้แต่ผู้น้อยหรือเด็กๆ ก็อาจจะเกิดความลำเอียง (อคติ) ขึ้นมาได้เหมือนกัน

เหตุนั้นพระองค์จึงตรัส...

เพื่อลดอคติและสร้างเสริมความเมตตาในกันและกัน ร่วมกันเร่งปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานเกื้อกูลกัน
เพื่อทุกคนจะได้สามารถนำพาประเทศชาติให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง และบรรลุถึงความวัฒนาผาสุกได้โดยสวัสดิ์ดี

พระพุทธศาสนานั้น...   

สอนความจริงเป็นกลาง ไม่ขึ้นต่อบุคคล

กลุ่ม เหล่า  พรรคพวก





http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538759434&Ntype=19



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้