ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดประจำรัชการ

[คัดลอกลิงก์]
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยรัชกาลที่ ๓
   ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดสุทัศนเทพวรารามอีก และในรัชกาลนี้เองได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามพระอารามว่า “ วัดสุทัศนเทพวราราม ” ดังมีความปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า“ ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโต เสาชิงช้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปลายแผ่นดินก็โปรดให้ทำพิหารใหญ่ขึ้น การยังไม่ทันแล้วเสร็จ เชิญเสด็จพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้ การที่อื่นยังมิได้ทำ ก็พอสิ้นแผ่นดินไปครั้งนี้จะต้องทำเสียให้เป็นวัดขึ้นให้ได้ จึงให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองดูทั่วไปทั้งวัดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศรทำพระอุโบสถใหญ่และทำพระระเบียงล้อมพระวิหารการนั้นก็แล้วสำเร็จทั่วทุกแห่งทั้งกุฏิสงฆ์ด้วย จึงให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกอยู่วัดเกาะแก้ว ตั้งเป็นพระพิมลธรรมเป็นเจ้าอธิการจัดเอาพระภิกษุในวัดพระเชตุพนวัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ รวมได้ ๓๐๐ รูปไปอยู่เป็นอันดับพระราชทานชื่อ วัดสุทัศนเทพวราราม ” ๑
   แต่ในหนังสือเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๓ ฉบับกรมราชบัณฑิตพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ ว่า “ ต่อมา จุลศักราช ๑๑๙๖ (พ.ศ. ๒๓๗๗) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโตนั้น เมื่อในปัจฉิมรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ได้โปรดให้ทำพระวิหารใหญ่ขึ้น การก็ยังไม่ทันแล้ว เชิญพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้ การอื่นก็ยังมิได้กระทำอะไรลง ก็พอเสด็จสวรรคตล่วงไป ครั้งนี้จะต้องขวนขวายให้เสร็จจงได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศ กับพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ปันหน้าที่กันดูแลทำทั่วไปทั้งพระอาราม ครั้นการเสร็จแล้วพระราชทานนามว่าวัดสุทัศนเทพวราราม แล้วสร้างพระวิหารจนสำเร็จ และโปรดให้สร้างพระอุโบสถ ส่วนพระประธานในพระอุโบสถนั้นหล่อขึ้นใหม่ที่โรงหล่อในพระบรมมหาราชวัง จะเป็นวันเดือนปีใดยังไม่พบหมาย เป็นแต่ได้ความตามหนังสือตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานรวบรวมมีความย่อๆ ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อเมื่อทรงสถาปนาพระอารามใหญ่กว่าพระที่หล่อในกรุงรัตนโกสินทร์องค์อื่นๆ หน้าตักกว้างถึง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ ดังนี้ แต่ในจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า ณ วัน ๔ฯ ๑๑ ๑ ค่ำ (ปีระกานพศก จุลศักราช ๑๑๙๙) พระโองการรับสั่งให้ชักพระประธานทรงหล่อหน้าตัก ๓ (๒ วา ๓ ศอก ๑ คืบ) มาประทับสมโภช มีการมหรสพพร้อมที่พระทวารวิเศษไชยศรี (ยังไม่ได้สอบสวนให้แน่) ณ วัน ๕ฯ ๒ ๑ ค่ำ ชักพระพุทธรูปทรงเลื่อนชักแห่ประโคมฆ้องกลองชัยชนะครื้นครั่นสนั่นเสียงมโหรี จีนไทยแขกมอญ มีโรงโขนละคร งิ้ว มอญรำ หุ่น ฝุ่นเมืองเหนือหนุนมานมัสการ ทั้งได้ดูงานสมโภช สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดินทร์บรมบาทเสด็จทรงพระราชยานเสด็จตามชินาจารย์พระพุทธองค์ ประทับทรงเสด็จยังพลับพลา แล้วชะลอเลื่อนข้ามตะพานมาตลอดพ้นราษฎรกล่นเกลื่อนกว่าหมื่นพันชวนกันมาวันทา เข้าชักพร้อมหน้าจนถึงที่สถิตสถานพระอุโบสถ ปรากฏการมหรสพสมโภช สำเนียงเสียงเสนาะโสต ปราโมทย์โมทนาพิณพาทย์ทำบูชาสัก ๑๐๐ วง ฉลองพระพุทธองค์ชินวร สโมสรแสนเกษม เปี่ยมเปรมอิ่มด้วยศรัทธา ถ้วนหน้าประชาชน พระโองการรับสั่งขนานนามวัดให้ชื่อ วัดสุทัศนเทพธาราม (สิ้นข้อความจดหมายเหตุเพียงนี้)
ผูกพัทธสีมา
ครั้นต่อมาเมื่อปีเถาะเบญจศก จุลศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ทรงพระกรุณาโปรดให้ผูกพัทธเสมาพระอุโบสถ กำหนด ณ วันขึ้น ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ เพลาบ่ายทั้ง ๓ วัน พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ครั้น ณ วัน ฯ ๑ ๒ ค่ำ พระราชาคณะ ฐานานุกรม ๔๐๐ รูป ประชุมพร้อมกันผูกพัทธเสมาพระอุโบสถ รุ่งขึ้นวัน ฯ ๒ ๒ ค่ำ พระสงฆ์ ๔๐๐ รูป รับพระราชทานฉันแล้วถวายไทยทาน เจ้าพนักงานชาวพระเครื่องต้นกองในออกไปทำเครื่องถวาย เจ้าต่างกรมและหากรมมิได้ทำสำรับเลี้ยง พระสงฆ์ ขุนนาง ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ไปจนถึงแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่นั้น ให้กรมนาจ่ายข้าวสารให้เจ้าพนักงานเครื่องต้นทำเครื่อง ข้าวเหนียวดำ ๓ ถัง ขาว ๓ ถัง ข้าวสารข้าวเจ้าที่ขาวเป็นตัวดี ๑๐ ถัง ให้เข้าโรงครัววัดสุทัศน์ฯ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ให้กับวิเศษพวกหุงเลี้ยงพระสงฆ์เป็นตัวขาวดี ๔๐ ถัง ขุนหมื่นนายด้านนาย งาน ๒๐ ถัง จ่ายให้แต่ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ให้เร่งเอาไปส่งจ่ายให้ทันกำหนด อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายฟืนแสมสานขนาดกลางให้กับชาวพระเครื่องต้นทำสำรับ ๑๕๐๐ ดุ้น และวิเศษพวกหุงข้าวเลี้ยงพระสงฆ์นายด้านนาย งาน ๘๐๐ ดุ้น เร่งจ่ายให้แต่ ณ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ อนึ่ง ให้นาย ศักดิ์ พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลขเข้าโรงครัว ๒๐ คน ให้กับวิเศษ ๑๐ คน สำหรับจะได้ตักน้ำผ่าฟืนใช้เบ็ดเสร็จ ให้มีนายหมวดคุมไปส่งให้กับจะหมื่นอินทภาษที่โรงครัววัดสุทัศน์ฯ แต่ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เพลาเช้า อนึ่งให้นายแดงกองส่วนจัดใบตองมาส่งวันละ ๓๐ มัดๆ ๒๐ ยอด ให้มาส่ง ณ ทิมดาบชาววัง ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓, ๑๔, ๑๕ ค่ำทั้ง ๓ วัน ให้เอามาส่งที่โรงครัววัดสุทัศน์ฯ ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรมค่ำ ๒ ค่ำทั้ง ๓ วัน
อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์สานกระจาดก้นกว้าง ๔๓๐ ใบ ให้เจ๊กผูกหวายปิดกระดาษให้งามดีให้เอาไปส่งให้เสมียนตรากรมวังที่วัดสุทัศน์ แต่ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตามรับสั่ง
จดหมายอีกฉบับหนึ่ง ด้วยพระยารักษามณเฑียรรับพระราชโองการใส่เกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า กำหนดจะได้อาราธนาพระสงฆ์ฐานานุกรมอันดับตั้งสวดพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓, ๑๔, ๑๕ ค่ำ เป็นการคำรบ ๓ วัน ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน ฯ ๑ ๒ ค่ำ พระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรมอันดับจะได้ตั้งสวดพระพุทธมนต์ผูกพัทธสีมา มีเครื่องเล่นสมโภชต่างๆ นั้น ให้เกณฑ์ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนพระราชวังหลวง ราชวังบวร ซึ่งต้องเกณฑ์ราชวัติฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น ในการพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุลาไล มาปักตั้งแต่สะพานถ่านถึงสะพานเสาชิงช้ารอบกำแพง โดยยาวถึง ๒๔ เส้น ๑๘ วา ฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น คันหนึ่ง ให้มีฉัตรกระดาษ ๖ ชั้นๆ ละ ๕ ชั้น โคมดอกบัว ตามประทีป ๑๒ ดอก ราชวัติสำหรับฉัตร ๖ ผืน ให้มีนางสิงห์ด้วยจงทุกผืน น้ำมันมะพร้าวตามประทีปให้ไปเบิกต่อคลังราชการและให้เจ้ากรมปลัดกรมสมุห์บัญชีเร่งรัดจัดแจงซ่อมแซมให้ดีงาม ทำให้แล้วตามกำหนดแล้วให้เอาไปปักตั้งแต่ ณ วัน ๗ฯ ๑๐ ๒ ค่ำ ครั้นเพลาพลบค่ำแล้ว ให้เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์จุดประทีปบูชาพระรัตนตรัยให้พร้อมกันทั้ง ๔ คืน แต่โคมดอกบัวนั้นให้มาดูตัวอย่างที่วังกรมรักษ์รณเรศร์ จงทุกกรมแล้วให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้มาเฝ้าพิทักษ์รักษาฉัตรราชวัติ โคม อย่าให้เป็นอันตรายได้ จนกว่าจะเสร็จการ อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามประทีปเสมอ วันละ ๑๒ ทะนาน อย่าให้ขาดได้ และสั่งอื่นๆ อีกตามตำราหมายฯ
บรรจุพระบรมธาตุ

16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยรัชกาลที่ ๒
   ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เสวยราชสมบัติในปีนั้น เมื่อได้ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว เมื่อปีมะแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ ถึงปีระกาเบญจศกจุลศักราช ๑๑๗๕ จึงได้ทรงสร้างวัดสุทัศน์ต่อมา โดยพระราชดำริว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระดำริจะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนคร พอก่อรากพระวิหารประดิษฐานพระศรีศากยมุนีแล้ว ก็พอสิ้นรัชกาล ยังมิได้ประดิษฐานเป็นสังฆาราม ซี่งเรียกกันในเวลานั้นว่า วัดพระโต จึงโปรดให้สถาปนาต่อมา สร้างพระวิหารยังไม่แล้ว “ แล้วทรงพระดำริให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่ยกเข้าไป ทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพกับกรมหมื่นจิตรภักดี
   เรื่องบานประตูวัดพระใหญ่ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าพระโต คือพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์นี้ได้ความชัดเจนดีนัก ประหลาดที่ไม่ใคร่จะมีใครรู้ เล่ากันไปต่างๆ นานา แต่ที่ทรงเองเห็นจะเป็นบานกลาง เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ มีพระราชประสงค์อยากจะให้สลักบานอย่างพระวิหารพระศรีศากยมุนี โปรดให้กรมขุนราชสีห์และช่างสลักมีพระยาจินดารังสรรค์เป็นต้น ไปคิดอ่านสลักให้เหมือนเช่นนั้นไม่สำเร็จต้องสลักเป็นสองชั้นซ้อนกันลงเพราะถากไม้ไม่เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงถากรูปหุ่นดีนัก จึงได้ถากลายบานนี้ได้เพราะเป็นการเหลือวิสัย ที่ช่างเขียนหรือช่างสลักจะทำ
   ไม้บานประตูพระวิหารนี้ เป็นไม้กระดานแผ่นเดียวสลักดีไม่มีที่ไหนเหมือน อันเป็นของที่ควรชมอยู่ทุกวันนี้ ไม้บานหนา ๑๖ เซ็นต์ หน้ากว้าง ๑.๓๐ เมตร ยาวหรือสูง ๕.๖๔ เมตร สลักลึกลงไป ๑๔ เซ็นต์ เป็นรูปภูเขาต้นไม้ มีถ้ำคูหา และรูปสัตว์ต่างๆ เสือ ลิง กวาง หมู จะขาบ งู อึ่งอ่าง นก และอื่นๆ อีกมาก สลักเป็นรูปเด่นเป็นตัว สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ น่าพิศวงมาก ซึ่งไม่เห็นมีที่ไหนจะทำได้เหมือนอย่างนี้ มีคำเล่าสืบกันมาว่า ช่างที่สลักบานพระวิหารพระโตนี้ เมื่อทำการเสร็จแล้ว ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือน จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสีย ข้อนี้ทางสันนิษฐานเห็นว่า เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักนั้น ให้ประดิษฐ์ทำขึ้นใช้ทำการอื่นอีกไม่ได้ต้องยุบทำอย่างอื่นต่อไป มีคำเล่ากันว่าเมื่อมีความประสงค์จะต้องการเครื่องมือเล็กใหญ่รูปคดโค้งอย่างไร ก็สั่งให้ช่างเหล็กทำขึ้นอย่างนั้นสำหรับใช้ในการนั้น ครั้นเสร็จการนั้นแล้วเครื่องมือนั้นก็ใช้การอื่นไม่ได้ เป็นเหมือนเอาเครื่องมือทิ้งน้ำ คงเอาไว้แต่ลายฝีมือ ข้อนี้เป็นความสันนิษฐาน แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นไม่ทราบ สุดแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณาลงสันนิษฐานฯ
   การสร้างพระวิหารพระศรีศากยมุนี ในรัชกาลที่ ๒ เพียงแต่ตัวประธานพระวิหารยังไม่มีมุขเด็จหน้าหลังทั้ง ๒ ด้าน ช้านานประมาณ ๑๐ ปี ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ ยังไม่ได้ยกช่อฟ้าใบระกา และยกบานประตูหน้าต่าง ทรงสลักบานประตูยังค้างอยู่ ก็ทรงพระประชวร ครั้นถึงวัน ๔ฯ ๑๓ ๘ ค่ำ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ ก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน (๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗)

15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒๑๘. เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทตามกระบวนนี้ ดูเป็นลักษณะอย่างเดียวกันกับแบกตัวลำยอง (กรมหลวงพระราชวังบวรทรงแบกตัวไม้ลำยองด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกจนถึงยอดเขาพระพุทธบาท) เห็นจะเสด็จพระราชดำเนินได้จริง เพราะการชักพระเช่นนี้คงจะเดินไปช้าๆ และไปติดไปขัด ต้องหยุดเอะอะกันบ่อยๆ เป็นเวลาได้ทรงพัก แต่คงจะทรงเหนื่อยมาก เพราะทรงพระประชวรอยู่แล้วจึงได้เซ
๒๑๙. เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรารับพระองค์ไว้
๒๑๙. กรมขุนกษัตราองค์นี้ คือเจ้าฟ้าเหม็น เดิมเป็นเจ้าฟ้าสุพันธุพงษ์ แล้วเปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ได้เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต
๒๒๐. พระศรีศากยมุนี ๖ (ทำเนียบนามภาค ๑ หน้า ๓ เป็น พระศรีสากยมุนี (วิจิตร))มีลายจารึกไว้(ใน) แผ่นศิลาตั้งศักราชว่า ไปข้างหน้าลุงจะให้สัตย์ต่อหลาน ผู้น้อยจะเป็นผู้ใหญ่ ๆ จะได้เป็นผู้น้อย จารึกไว้แต่แรกสร้าง(มี)อยู่
๒๒๐. คำจารึกแผ่นศิลาที่พระศรีศากยมุนี ซึ่งผู้แต่งนำลงไว้ในที่นี้ เห็นจะเป็นด้วยเห็นจริงในใจว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์เป็นอาว์ ถวายสัตย์ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นหลาน
๒๒๑. แล้วยกพระขึ้นที่ เสด็จกลับออกพระโอษฐ์ในที่สุดเพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สุดเท่านั้นแล้ว
๒๒๑. ซึ่งกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงยกพระขึ้นที่ในข้อนี้ เมื่อตรวจสอบสวนหลายแห่งเข้าใจได้ความว่า ท่านไม่ได้หวังจะกล่าวว่าพอแห่พระไปถึงแล้ว ก็เชิญขึ้นตั้งที่ทีเดียวเป็นอันได้ความ การเชิญพระขึ้นตั้งที่นั้นควรเป็นปีมะเส็งเอกศกต้นปี จวนสวรรคตอยู่แล้ว ถ้าลำดับการวัดสุทัศน์ และแห่พระศรีศากยมุนี ทั้งน้ำทั้งบกเห็นจะเป็นดังนี้
เดือน ๓ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ ขุดราก
เดือน ๕ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐ พระศรีศากยมุนีลงมาถึงสมโภช
ดือน ๖ แห่ขึ้นทางบก ขึ้นไปวัดสุทัศน์ในเดือน ๖ นั้นเอง ก่อฤกษ์แต่ได้ความต่อไปว่า ได้ทรงปฏิสังขรณ์แก้ไขพระศรีศากยมุนี เททองใหม่ที่วัดสุทัศน์นั้นเอง แรกที่จะรู้เรื่องนี้ได้เห็นคำอาราธนาเทวดา สำหรับราชบัณฑิตอ่าน ซึ่งได้มาแต่หอสมุด มีเนื้อความขึ้นนโม ๓ จบ อิติปิโสจบแล้ว จึงอาราธนาออกชื่อว่า ข้าพระพุทธเจ้า พระยาธรรมปรีชา หลวงธรรมสุนทร หลวงเมธาธิบดี ขุนศรีวรโวหาร ราชบัณฑิตยาจารย์ทั้งปวง พร้อมกันทำอัชเฌสนกิจอาราธนาสัตยาธิษฐาน เฉพาะพระพักตร์ พระศรีรัตนตรัยเจ้า ด้วยสมเด็จพระบรมขัตติยาธิบดินทร์ปื่นประชามหาสมมติเทวราช พระบาทบพิตรพระเจ้าอยู่หัว (ต่อไปก็สรรเสริญพระบารมีและพระราชศรัทธาบำรุงพระพุทธศาสนาแผ่พระราชกุศล แล้วจึงดำเนินความต่อไปว่า) บัดนี้ทรงพระราชศรัทธากระทำการปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ตรำแดดตรำฝน ต้องเพลิงป่า หาผู้จะพิทักษ์รักษามิได้ อยู่ที่เมืองสุโขทัยนั้น
ทรงพระกรุณาเจดีย์ฐาน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา ลักขณะอันใดมิได้ต้องด้วยพุทธลักขณะผิดจากบาลีและอรรถกถานั้น ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้ต้องด้วยพระอรรถกถาและพระบาลี ตั้งพระทัยจะให้พระราชพิธี ปฏิสังขรณ์นี้สำเร็จโดยสิริสวัสดิ์ปราศจากพิบัติบกพร่อง การที่จะใส่ไฟสำรอกขี้ผึ้งเททองนั้นจะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ต้องด้วยพระราชประสงค์จงทุกประการ จึงมีพระราชบริหารดำรัสสั่ง ให้อาราธนาพระเถรานุเถระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี มีสมเด็จพระสังฆราชาธิบดีเป็นประธาน ให้มาประชุมกันเจริญพระปริตร ขอพระรัตนตรัยให้ช่วยอภิบาลบำรุงรักษาข้าพระพุทธเจ้าราชบัณฑิตมาอาราธนาอันเชิญ เทพยเจ้าทุกสถาน สัคเค กาเม จรูเป ฯลฯ ลงท้ายเป็นคำสัตยาธิษฐาน ยัง กินจิ รัตนัง โลเก ฯลฯ แล้วก็จบ
เมื่อได้เห็นเช่นนี้ ถึงว่าจะเชื่อว่าเป็นประกาศรัชกาลที่ ๑ ก็ยังไม่สู้แน่ ภายหลังได้พบหมายเป็นข้อความต้องกัน จึงเอาเป็นแน่ได้ ในหมายฉบับนี้ว่า พระชำนิรจนารับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าจะได้หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดเสาชิงช้า ณ วัน ๓ ฯ ๒ ๔ ปีมะเส งสัมฤทธิศก เพลาบ่ายสามโมงนั้นบัดนี้โหรมีชื่อ คำนวณพระฤกษ์ทูลเกล้าฯ ถวายเลื่อนเข้ามา พระสงฆ์ ๓๐ รูปจะได้เจริญพระพุทธมนต์ เพลาบ่ายวันขึ้น ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ครั้น ณ วัน ๔ ฯ ๕ ๒ เพลาเช้า ๒ โมง บาท ๑ พระฤกษ์จะได้เททอง พระสงฆ์ที่สวดมนต์จะได้รับฉัน ให้นายด้านวัดปลูกโรงทึมสงฆ์ให้พอพระสงฆ์ ละสั่งอื่นๆ ต่อไปตามตำราหมาย
มีข้อยันกันว่า อนึ่งให้พระราชบัณฑิตแต่งคำอาราธนาเทวดา แล้วนุ่งผ้าขาวสวมเสื้อครุยไปอาราธนาเทวดา ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ เพลาบ่าย ๕ ค่ำ เช้าทั้ง ๔ วัน มีบูชาจุฬาฐทิศทั้ง ๔ วัน
มีเกณฑ์ดอกไม้แขวน แต่เรียกชอบกลว่า แล้วให้เย็บพวงมะโหด ร้อยพู่กลิ่นส่งให้สนมพลเรือน ออกไปแขวนบูชาวันละ ๑๐๐ พวงทั้ง ๔ วัน และมีกำหนดอีกหนึ่งว่าให้ล้อมวังเหลาไม้กลัดเข้าไปส่ง ณ ทิมดาบชาววัง จะได้ส่งให้ท่านข้างในเย็บพวงมะโหด ๕๐ กำๆ ละ ๓๐ อัน ให้ส่งทั้ง ๓ วัน
เมื่อมีการต้องหล่อแก้อยู่เช่นนี้ ก็ต้องกินเวลาไปอีกช้านาน เป็นเวลาที่ได้ก่อพื้นพระอุโบสถและฐานพระขึ้นไปถึงที่ทับ กันกับการตกแต่ง คงจะได้ไปแล้วเสร็จยกพระพุทธรูปขึ้น ในที่ปีมะเส็งเอกศกใกล้เวลาเสด็จสวรรคต ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในเวลาพระขึ้นตั้งที่ อันเป็นเป็นเวลาทรงพระประชวรมากอยู่แล้ว จึงรับสั่งว่า เพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว เหตุด้วยทรงเป็นห่วงกลัวจะสวรรคตเสียก่อนที่ได้เชิญพระขึ้นที่ การแต่งพระศรีศากยมุนี และการก่อฐานพระคงจะได้ทรงเร่งรัดอยู่มาก ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นเชิญพระขึ้นที่ทันสมพระราชประสงค์ ทรงพระโสมนัสจึงทรงเปล่งอุทานว่า “ สิ้นธุระแล้ว ”
กรมหลวงนรินทรเทวี นำมากล่าวในที่นี้ด้วยความยินดี ต่อพระราชศรัทธาพระราชอุตสาหะ ทั้งหวังจะสรรเสริญพระราชสติสัมปชัญญะ ซึ่งทรงกำหนดทราบกาลของพระองค์ ถ้าหากว่าไม่ทรงประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และมิได้ผูกพันพระราชหฤทัย ในการที่จะได้ทอดพระเนตรเห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ไม่ทรงเร่งรัดให้การนั้นสำเร็จไปพร้อมกัน ช้าไปอีกไม่เท่าใดก็จะไม่ได้ทอดพระเนตรเห็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสร้างปราสาทราชมนเทียรพระราชวัง พระนครและพระอารามใหญ่ อย่างวัดพระเชตุพนเป็นต้น มิได้ทอดทิ้งให้การนั้นติดค้างอยู่เลย ย่อมทำให้แล้วสำเร็จทันทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นไว้แต่วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งได้ลงมือเมื่อปลายแผ่นดินเสียแล้ว จึงไม่ทรงหวังพระราชหฤทัยว่าจะได้ทอดพระเนตรการพระอารามนั้นแล้วสำเร็จ ทรงกำหนดพระราชหฤทัยไว้แต่เพียงให้ได้เห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ก็เป็นอันพอพระราชประสงค์ ความที่ทรงมุ่งหมายนั้นได้สำเร็จดังพระราชประสงค์ คำซึ่งรับสั่งว่าสิ้นธุระนั้น กรมหลวงนรินทรเทวีจึงถือว่าเป็นคำปลงพระชนมายุ ณ เดือน ๗ เดือน ๘ ทรงพระประชวรหนักลง ณ วัน ๕ฯ ๑๓ ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) ปีมะเส็งเอกศก เวลา ๓ ยาม ๘ บาท เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี
(สิ้นประวัติการก่อฤกษ์พระวิหารพระศรีศากยมุนีเพียงนี้)

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
  พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร
วัดประจำรัชการที่ ๘



ผู้สร้างและมูลเหตุที่สร้าง
   วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
   ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น ” ๒
พระศรีศากยมุนีมาถึง
   อีกฉบับหนึ่ง ด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาให้อาราธนาพระพุทธรูปซึ่งอยู่ ณ เมืองสุโขทัยลงมากรุงเทพฯแล้ว ทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้า พระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการมหรสพสมโภชเพลากลางวัน กลางคืน ครั้นถึงวัน ๓ ฯ ๙ ๕ ค่ำ (ไม่มีปี ไม่มีศักราช เห็นจะเป็นปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐) เพลาเช้า พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันที่เรือบัลลังก์ แล้วเถิงเพลาบ่าย ๒ โมง จะได้ตั้งบายศรี ทอง เงินตอง ที่เรือหน้าพระพุทธรูป สมโภชเวียนพระเทียนนั้น ให้ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนมารับแว่นเวียนพระเทียนให้พร้อม จงทุกหมู่ทุกกรม อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
   สั่งบายศรีแปลกอยู่ บายศรีเงินสำรับ ๑ ทองสำรับ ๑ ตอง ๒ สำรับ รวม ๔ สำรับให้มีพุ่มข้าว ขันเชิงพานรองนำวักแว่น (สำหรับ) เวียนเทียน ติดเทียน เทียนยอดบายศรีแป้งหอม น้ำมันหอม
   อนึ่ง พระพุทธรูปนั้นไม่ใช่องค์เดียวเห็นจะ ๓ องค์ จึงสั่งเครื่องนมัสการให้สนมพลเรือนรับเครื่องทองน้อย สำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำรับ ๑ เครื่องกระบะมุกสำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์น้อย ๒ สำรับ
เชิญพระศรีศากยมุนีสถิตวัดสุทัศนเทพวราราม
พระศรีศากยมุนี
   หมายฉบับที่ ๓ นี้ ควรจะอยู่ที่ ๒ แต่เหตุไฉนเขาจึงจดไว้เป็นที่ ๓ ก็ไม่ทราบ ครั้นจะคัดขึ้นไปไว้ที่ ๒ เกรงจะผิด เหตุด้วยหมายฉบับหลังไม่มีปีและศักราช จึงได้ลงเรียงไว้ตามลำดับเดิม แต่ไม่เห็นมีท่าทางที่จะผิดด้วยการที่หล่อแก้ซ่อมแปลง ได้ทำที่วัดสุทัศน์ มีเดือนปีปรากฏว่าเป็นเดือนยี่ปีมะโรงสัมฤทธิศก สมโภชพระเดือน ๕ ปีมะเส็งเอกศกไม่ได้ เพราะพระไม่ได้ไปถึงที่ดังนี้
๒๑๗. ณ ๒ ๑ ฯ ๕ ๖ ค่ำ ทรงยกเลื่อนชักตามทางสถลมารค พระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวังหน้าบ้านร้านตลาดจนถึงที่
๒๑๗. การชักเลื่อนพระตามทางบกนั้น แพพระพุทธรูปได้มาเทียบที่ท่าช้าง แต่ที่ท่าช้างประตูเมืองไม่ตรงถนน ถึงว่าจะตรงถนน พระก็ใหญ่กว่าประตูเข้าไม่ได้ จึงต้องรื้อกำแพง เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนั้นในราชการจึงเรียกเป็นท่าพระมาทุกวันนี้
๒๑๘. ทรงพระประชวรอยู่แล้ว แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมี หวังที่หน่วงโพธิญาณจะโปรดสัตว์ ทำนุกบำรุงพระศาสนา เสด็จพระดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นเซพลาด



13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



[size=15.555556297302246px] ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ในปีต่อมาได้ปิดทอง กาไหล่ พระรัศมี ฝังพระเนตรใหม่ และตัดพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์ นี้ เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามอย่างยิ่ง องค์หนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลม ขนาดใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน หลังเจดีย์ออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน ข้างในมีภาพเขียน ฝีมือช่างจีน เทคนิค และฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี
ถัดเก๋งจีนเป็น วิหารพระศาสดา เป็นวิหารใหญ่แบ่งเป็น ๒ ห้อง ด้านหลัง เป็นพระพุทธไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ฝาผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติและชาดก ด้านหน้าประดิษฐานพระศาสดา รัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้อัญเชิญมาจากวัดสุทัศน์เทพวราราม

   ในบริเวณพุทธาวาสนั้นมีศิลปกรรมน่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็น พระ พุทธบาทโบราณสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาข้าง พระอุโบสถพลับพลา เปลื้อง เครื่อง สร้างเป็นเครื่องแสดงว่าวัด นี้รับพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จ เปลื้องเครื่องทรงในศาลานี้ก่อนเสด็จเข้าวัด
   นอกจากนี้ที่ซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถบานประตูมีรูปเซี่ยวกาง แกะสลักปิดทอง เป็นฝีมือ ช่างงดงามทีเดียว

ศิลปกรรมในเขตสังฆวาส

   ศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็น ตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ

   ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือ ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้ ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี

มหามกุฏราชวิทยาลัย

   ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดำริพระสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาขึ้นเมื่อวันที 30 ธันวาคม 2488 และมหาเถรสมาคมได้รับรองสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 เป็นการศึกษาที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน

    การศึกษาระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น 4 คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะ ศึกษาศาสตร์ พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ารับศึกษาในระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจะต้องมีความรู้เปรียญ 4 ประโยค นักธรรมเอก หรือเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 สายปรยัติ กำหนดเวลาเรียน 7 ปี แบ่งเป็นชั้นบุรพศึกษา 1 ปี เตรียมปี 1 และ เตรียมปี 2 รวม 3 ปี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 ส่วนชั้นนักศึกษา 4 ปี และต้องออกปฏิบัติงาน 1 ปี รวมเป็น 8 ปี จึงจะจบหลักสูตร และต้องสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคด้วยจึงจะได้รับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต
   ส่วนการศึกษาระดับปริญญาโทศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา

ข้อมูลวัด
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์ 0 2282 8303, 0 2281 6427 โทรสาร 0 2281 0294
ความสำคัญ :- พระอารามหลวง ชั้นเอก
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
- ที่ประทับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สังกัดคณะสงฆ์ :ธรรมยุต
ประวัติพระพุทธรูป : พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระโต (องค์ใหญ่)
เว็บไซต์ :www.watbowon.org , [url]www.watbowon.com

[/url]
แผนที่วัด :
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :
เจ้าอาวาส :สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)


ที่มาhttp://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watbowon.php
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-11-19 15:30

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร

วัดประจำรัชการที่ ๖
ประวัติและที่ตั้ง ของวัดบวรนิเวศวิหาร

   วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็น วัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย

ศิลปกรรมที่ควรชมภายในวัดบวรนิเวศวิหาร

   วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรม และถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย แบ่งออกเป็น ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดย กำแพง และ คูน้ำมีสะพานเชื่อมถึงกันเดินข้ามไปมาได้สะดวก ศิลปกรรมที่สำคัญ ของวัดนี้ที่น่า สนใจ มีดังนี้

ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาส

   ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประต?หน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้นพระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๔ โดย โปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิด ทองประดับกระจก ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบ พระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลทสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ใน รัชกาลปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกระเดียดไปทาง ศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาล ที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้ีมีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของศิลปะ ไทย เมื่อโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้วก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรม ฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของ จิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือ ฝรั่งเข้า มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียน ตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯเข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือ ประตูหน้าต่าง ขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก นับเป็น ผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ มีคำจารึก พรรณาเขียน ไว้ที่ช่องประตู หน้าต่างรวม ๑๖ บาน

    นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วที่เสาพระอุโบสถเขียนภาพแสดงปริศนาธรรมเปรียบด้วย น้ำใจคน ๖ ประเภทเรียกว่า ฉฬาภิชาติ ด้วย ภายในพระอุโบสถนี้ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อ โลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรง อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี โดยรื้อออกเป็น ท่อนๆ แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี พระศกเดิมโต พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทองมีพระสาวกใหญ่ นั่งคู่หนึ่งเป็นพระปั้นหน้าตัก ๒ ศอก



11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร ป.ธ.๖)

เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)

ข้อมูลวัด
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
ความสำคัญ :พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และวัดประจำรัชกาลที่ ๕
สังกัดคณะสงฆ์ :ธรรมยุต
แผนที่วัด :
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :
เจ้าอาวาส :สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร ป.ธ.๖)

ที่มา http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watratbhopit.php
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ)ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส ภายใต้พระประธานมิได้เพียงบรรจุพระสรีรังคารของ ร.๕ เพียงเท่านั้นยังบรรจุพระสรีรังคารของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ด้วย



การวางตัวของพระอุโบสถกับพระวิหารเป็นแบบวัดพระปฐมเจดีย์ คือวางแนวทิศตรงกันข้าม โดยด้านข้างจะมีทางเข้าไปในรอบ ๆพระเจดีย์ ข้างในพระเจดีย์มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่ด้วย ซึ่งเล่ากันมาว่าขุดพบใต้ต้นตะเคียนริมคลองหลอด ซึ่งเชื่อกันว่าคนที่อยากมีลูกมาขอพรก็จะมีลูกสมใจ ภายในพระเจดีย์ยังมีทางขึ้นไปบนฐานเจดีย์ด้วย ในอดีตสามารถมองเห็นภูเขาทองได้ด้วย
ศิลปกรรมที่สำคัญในวัดได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก
[size=15.555556297302246px]




[size=15.555556297302246px]   วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่าสถิตมหาสีมาราม หมายถึงการมีเขตเสมาใหญ่มากล้อมรอบทั้งวัด แทนที่จะมีแค่ เสมารอบ ๆ พระอุโบสถเท่านั้น และที่น่าสนใจอีกอย่างคือกระเบื้องเบ็ญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหารและเจดีย์ ระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วย ลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น และทุกแผ่นเขียนด้วยมือ และออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่างๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
  พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำัรัชกาลที่ ๕


บริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวง บดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ  



[size=15.555556297302246px]
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ร.๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ โดยสร้างเลียนแบบ ๒ วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔

โดยภายในวัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ปูชนียวัตถุ-ปูชนียสถาน ของวัดราชประดิษฐ์
   วัดราชประดิษฐ์ ถึงแม้จะเป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดเล็ก ซึ่งมีเนื้อที่ตั้งวัดอยู่เพียง ๒ ไร่ ๒ งาน กับ ๙๘ ตารางวาเท่านั้น แต่ภายในบริเวณวัดได้บรรจุเอาความสวยงามวิจิตรตระการตา เป็นสง่าภาคภูมิไม่น้อยไปกว่าพระอารามหลวงอื่นๆ ที่มีบริเวณพระอารามใหญ่กว่าเลย ดังจะเห็นว่า เมื่อก้าวพ้นประตูวัดทางด้านทิศเหนือซึ่งมีบานประตูเป็นไม้สักสลักเป็นรูป “เสี้ยวกาง” กำลังรำง้าวอยู่บนหลังสิงห์โต จะเห็น “พระวิหารหลวง” ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นไพที ทรวดทรงทั่วไปสวยงามมาก มีมุขหน้าและหลัง ทั้งหลังประดับด้วยหินอ่อนตลอด หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีส้มอ่อนๆ มีช่อฟ้าใบระกาประดับเสริมด้วยพระวิหารให้เด่นประดุจตั้งตระหง่านอยู่บนฟากฟ้านภาลัย หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นรูปมหาพิชัยมงกุฎบนพระแสงขรรค์ ซึ่งมีพานแว่นฟ้ารองรับมหาพิชัยมงกุฎและพระขรรค์นั้น พานแว่นฟ้าประดิษฐานอยู่บนหลังช้าง ๖ เชือก ทั้งสองข้างประดับด้วยฉัตรห้าชั้น พื้นของหน้าบันเป็นลายกนกลงรักปิดทองทั้งหมด ตังหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นลวดลายดังกล่าวนั้น นับว่าเป็นหน้าบันที่วิจิตรพิสดาร เป็นยอดของสถาปัตยกรรมอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซุ้มประตูหน้าต่างประดับรูปลายปูนปั้น ลงรักปิดทองติดกระจกสีเป็นรูปมงกุฎทุกบาน ตัวบานประตูหน้าต่างสลักด้วยไม้สักเป็นลายก้านแย่ง ซ้อนกันสองชั้นลงรักปิดทองติดกระจกสี ทำให้ดูงดงามยิ่งขึ้น
   ด้านหลังพระวิหาร มีซุ้มซึ่งแกะสลักด้วยหินอ่อนทั้งแผ่น ภายในซุ้มเป็นที่ประดิษฐานศิลาจารึก ประกาศในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ ฉบับ ฉบับแรกเป็นประกาศสร้างวัดถวายพระสงฆ์ธรรมยุกติกนิกาย ลง พ.ศ. ๒๔๐๗ ฉบับหลังเป็นประกาศงานพระราชพิธีผูกพัทธสีมา ลง พ.ศ. ๒๔๐๘ ข้อความในศิลาจารึกทั้ง ๒ ฉบับ นั้นนับว่ามีความสำคัญซึ่งเป็นมหามรดกล้ำค่า ที่เป็นมหาสมบัติของคณะธรรมยุติกายที่ได้รับพระราชตกทอดมาจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔

ข้อมูลวัด
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
๒ ถ.สราญรมณ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทร : ๐๒-๖๒๒-๑๐๓๐
ความสำคัญ :พระอารามหลวง ชั้นเอก และวัดประจำรัชกาลที่ ๔
สังกัดคณะสงฆ์ :ธรรมยุต
เว็บไซต์วัด :http://www.rajapradit.com/
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :
แผนที่วัด :

ที่มา http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watratchapradit.php
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้